Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การทำหัตถการตามขอบเขตวิชาชีพพยาบาล - Coggle Diagram
การทำหัตถการตามขอบเขตวิชาชีพพยาบาล
หัตถการทางการแพทย์ หมายถึง
ขั้นตอนทางการแพทย์ที่เป็นแนวทางปฏิบัติมีมุ่งหมายเพื่อให้การดูแลผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ หรือรักษาผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ เพื่อกำหนด วัด หรือวินิจฉัยผู้ป่วย
ข้อจำกัดและเงื่อนไขในการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการ
ผดุงครรภ์ เกี่ยวกับการทำหัตถการในการรักษาพยาบาล
เบื้องต้น
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง (ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่สภาการพยาบาลกำหนด)
การใส่และถอดห่วง (IUD)
การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น (cryotherapy)
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลุกด้วยวิธี VIA (visual inspection using acetic acid)
การเลาะก้อนใต้ผิวหนังบริเวณที่ไม่เป็นอันตราย
การผ่าตัดตาปลา
การฝังและถอดยาคุมกำเนิด (Norplant)
ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง
การให้ยา ทางปาก ทางผิวหนัง ทางหลอดเลือดดำหรือช่องทางอื่น ๆ ตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต ภาวะสูญเสียสมดุล ของสารน้ำในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะช็อค การปฐมพยาบาล หรือตามแผนการรักษาของ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การให้ออกซิเจน
การเช็ดตา ล้างตา (Eye irrigation) หยอดตา ป้ายตา ปิดตา หรือการล้างจมูก
ล้างตาตามขั้นตอนดังนี้
ดึงหนังตาล่างลง ให้ผู้ป่วยมองขึ้นด้านบนแล้วจึงล้างเยื่อบุตาล่าง
ดึงหนังตาบนขึ้น ให้ผู้ป่วยมองลงข้างล่างแล้วจึงล้างเยื่อบุตาบน
ให้ผู้ป่วยกลอกตาไปมาทางซ้ายและขวา สลับกันไปเพื่อล้างเยื่อบุให้ทั่วถึง
การผ่าตัดเอาสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งไม่อันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายออกการจี้หูดหรือจี้ตาปลา โดยฉีดยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง
การทำแผล การตกแต่งบาดแผล การเย็บแผล การเย็บแผลขนาดลึกไม่เกินชั้นเนื้อเยื่อไขมัน ใต้ผิวหนัง
(subcutaneous tissue)การตัดไหม การผ่าฝีในตำแหน่งซึ่งไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย โดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง หรือฉีดยาชาเฉพาะที่
การให้เลือด (Blood Transfusion) ตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม
การสอดใส่สายยางลงไปในกระเพาะอาหาร (Nasogastric tube) เพื่อให้อาหาร ให้ยา หรือล้างกระเพาะอาหารในรายที่กินสารพิษ หรือตามแผนการรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
การสวนปัสสาวะ หรือการเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะ ในรายที่ไม่มีความผิดปกติของระบบ
ทางเดินปัสสาวะ
การสวนทางทวารหนัก ในรายที่ไม่มีข้อบ่งชี้อันตราย
การดาม หรือการใส่เฝือกชั่วคราว
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
การเจาะเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำส่วนปลายหรือปลายนิ้ว หรือสารคัดหลั่งของเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตามข้อบังคับหรือประกาศที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
หัตถการอื่น ๆ ตามที่สภาการพยาบาลประกาศกำหนด
การถอดเล็บ โดยใช้ยาระงับความรู้สึกทางผิวหนัง หรือฉีดยาชา
เฉพาะที่
ใช้สายยางรัดโคนนิ้วให้แน่น แล้วฉีดยาชา
สอดปลายกรรไกรเข้าใต้เล็บ
ถ่างปลายกรรไกรออกเพื่อแยกเล็บออกจากพื้นเล็บ
ใช้คีมจับปลายเล็บแล้วดึงออก
ทำความสะอาดแผลหลังดึงเล็บออก แล้วปิดด้วยแผ่นตาข่ายที่มีน้ำยาหล่อลื่น เช่น ก๊อซชุบยาปฏิชีวนะ ชนิดครีม หรือ sofra-tulle
ใช้ผ้าพันแผลพันปลายนิ้วให้แน่น
ดึงสายยางรัดที่โคนนิ้วออก
การทำแผลและการตกแต่งบาดแผล
การประเมินบาดแผล
ซักประวัติข้อมูลต่าง ๆ จากผู้ป่วย ได้แก่ วัน เวลาที่เกิดบาดแผล สาเหตุการเกิดบาดแผลและการรักษาบาดแผลก่อนมาสถานบริการสุขภาพ รวมถึงการได้รับวัคซีนบาดทะยัก
ประเมินลักษณะบาดแผล ได้แก่ ตำแหน่ง ขนาด (ความกว้าง ความยาว ความลึก) โดยวัด
เป็นเซนติเมตร ลักษณะเนื้อเยื่อในแผล ผิวหนังรอบ ๆ แผล สิ่งแปลกปลอม และสิ่งขับหลั่งในแผล
การพิจารณาการจัดการบาดแผล
บาดแผลที่ควรเย็บ คือ บาดแผลหลังการได้รับอุบัติเหตุนานไม่เกิน 6 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 12 ชั่วโมง และแผลมีลักษณะขอบแผลเรียบ เนื้อเยื่อในแผลไม่ชอกช้ำไม่มีสิ่งแปลกปลอมในแผลรเย็บปิด บาดแผลควรใช้วัสดุเย็บชนิดเส้นเดียว (monofilament) เพราะจะไม่เป็นแหล่งเกาะของแบคทีเรีย
กรณีบาดแผลนานเกิน 12 ชั่วโมง จะไม่เย็บแผล แต่ให้นัดทำแผลทุกวัน
บาดแผลที่ต้องส่งต่อทันทีหลังให้การดูแลเบื้องต้น ได้แก่ บาดแผลที่มีกระดูหักร่วม
ด้วย บาดแผลที่มีเส้นเลือดฉีกขาด และบาดแผลที่มีเนื้อเยื่อหายไป จนไม่สามารถดึงเอาผิวหนังมาชิดกันได้
บาดแผลที่ลึกถึงเฉพาะ Epidermis หรือชั้น dermis สามารถหายเองได้ ควรล้างบาดแผลเพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม
การทำความสะอาดผิวหนังรอบ ๆ บาดแผล
การใช้ยาชาเฉพาะที่
ชนิดของยาชา
Procaine Hydrochloride หรือ Novocaine: นิยมใช้บ่อยออกฤทธิ์เร็ว มีฤทธิ์นาน 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง
Lignocaine Hydrochloride หรือ Lidocaine หรือ Xylocaine:เป็นยาชาที่นิยมใช้มาก เนื่องจากมีฤทธิ์ต่อประสาทส่งความรู้สึกมากกว่าประสาทสั่งการเคลื่อนไหว
Pontocaine Hydrochloride เป็นยาชาที่มีฤทธิ์ระงับความรู้สึกดี แต่มีพิษมากจึงนิยมใช้น้อย
วิธีการใช้ยาชาเฉพาะที่
การใช้ทาหรือหยอด (Topical application) คือ การใช้ยาชาที่ดูดซึมง่ายCocaine หรือ Tetracaine ทาหรือหยอดลงไปบนเนื้อเยื่อของร่างกาย
การฉีดเฉพาะที่ (Infiltration) คือการฉีดยาชาโดยตรงในบริเวณที่ต้องการผ่าตัดหรือบริเวณที่ปวด
การสกัดบริเวณ (Field block) คือการฉีดยาชาลงไปตามแนวเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ชาแค่บริเวณนั้น
การฉีดยาสกัดประสาท (Nerve block) คือการฉีดยาชาลงไปตามแนวเส้นประสาทเส้นใด้เส้นหนึ่งโดยเฉพาะ ชาทั้งเส้นประสาท
การทำให้ชาโดยฉีดที่ไขสันหลัง (Spinal block) คือ การฉีดยาชาที่ไขสันหลังแล้วทำให้ชาที่ลำตัวตลอดจนขาทั้งสองข้าง
การชะล้างบาดแผล
การเย็บแผล
ประเมินการสูญเสียเลือดว่ามีเลือดออกภายนอกให้เห็น หรือว่ามีเลือดออกภายใน ซึ่งต้องประเมิน โดยใช้สัญญาชีพเป็นหลัก และอื่น ๆ ประกอบ
ประเมินขนาดและลักษณะของบาดแผลว่ามี การถลอก ฟกช้ำ ห้อเลือด หรือแผลฉีกขาด
บาดแผลที่ไม่ควรเย็บ
สุนัขกัด ตกน้ำครำ และแผลติดเชื้อ บาดแผลสกปรกและชอกช้ำมากต้องอาจต้องเปิดปากแผลไว้และเย็บปิดบาดแผลในภายหลัง และให้นัดทำแผลทุกวัน
บาดแผลเรื้อรังสกปรก เช่น บาดแผลที่นานกว่า 24 ชั่วโมง บาดแผลไฟไหม้
ชุดเย็บแผล
Tooth Forceps ใช้สำหรับหยิบจับภายนอก เช่น ผิวหนัง
Non Tooth Forceps ใช้หยิบจับภายใน
Needle Holder ใช้สำหรับการจับเข็ม เพื่อคุมน้ำหนัก และทิศทางในการเย็บแผล
วัสดุเย็บ หรือด้าย ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ Silk และ Nylon
วัสดุที่ละลายได้เอง (Absorbable Sutures) ไม่ต้องตัดไหม
Plaincatgut ละลายได้เร็ว 5-10 วัน ใช้เย็บกล้ามเนื้อที่ไม่ลึกมาก ไม่ต้องใช้แรงในการดึงรั้งมาก เช่น บริเวณปากลำตัวที่แผลไม่ลึก
Chromic catgut ละลายได้ช้า 10-20 วัน ไม่ค่อยระคายเคือง ใช้ในการเย็บกล้ามเนื้อที่ต้องใช้ระยะเวลานานเพื่อที่จะทำให้แผลติด
วัสดุที่ไม่ละลายเอง (Non-Absorbable Sutures)
ไหมดำ (Silk) ราคาถูก ผูกปมง่าย และไม่คลาย
เส้นใยสังเคราะห์ เช่น Nylon เส้นเหล่านี้มี
ความแข็งแรงมากกว่าไหมดำ แต่ผูกปมยากและ คลายง่าย
กรรไกรตัดไหม
ถุงมือ sterile
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง
ยาชาเฉพาะที่
หลักการเย็บแผล
ยึดหลักปราศจากเชื้อ (Sterile Technique)
เลือกเข็มให้เหมาะกับแผลที่จะเย็บ
เข็ม Cutting คือเข็มที่มีคมด้านข้าง ส าหรับเย็บเนื้อที่มีความเหนียว เช่น พังผืด ผิวหนัง และเอ็นต่าง ๆ
เข็ม Taper หรือเข็มกลม (Round) ใช้ส าหรับเย็บเนื้อที่อ่อนและไม่ต้องการให้ขอบเข็มบาดเนื้อ ได้แก่ การเย็บลำไส้กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ และหลอดเลือด ปลอกประสาท
ข็มโค้งมาก สำหรับเย็บแผลแคบ ๆ เข็มโค้งน้อย สำหรับแผลที่มีเนื้อที่เย็บกว้าง
การจับเข็ม
เข็มเย็บผ้าหรือเข็มตรงใช้มือจับเย็บ
เข็มโค้ง ต้องใช้คีมจับเข็มที่ประมาณ
1/3 ค่อนมาทางโคนเข็ม
การใช้คีมจับเข็ม (Needle Holde)
จับ needle holder โดยสอดนิ้วโป้งกับนิ้วนาง เข้าใน
เครื่องมือตลอดเวลาจะสะดวก
เวลาตักควรปักเข็มตั้งฉากกับผิวหนัง
แผลตื้น ๆ ที่ใช้ไหมขนาดเล็กเย็บ
ควรเย็บชิดขอบแผล เย็บห่างขอบแผลประมาณ 1
cm. และแต่ละฝีเข็มห่างกัน 1 cm.
หมุนเข็มให้ปลายเข็มเสยขึ้น โดยใช้ข้อมือ
ใช้มือซ้ายจับโคนเชือกไว้มือขวาถือคีมจับเข็มรูดออกไปจนเข็มหลุดจากเชือกแล้ววางคีมมา จับปลาย
เชือกอีกด้านหนึ่ง จัดความยาวของเชือกสองด้านให้เท่ากัน พร้อมกับดึงขอบแผลให้มาติดกัน แล้วผูกเงื่อนตาย
ใช้กรรไกรตัดไหม ตัดด้ายโดยให้เหลือโคนไว้ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร
ประเภทของการเย็บแผล
เย็บแบบธรรมดา ชนิดปล้อง (Simple interrupted suture ) คือ ใช้เข็มตักเข้าไปที่เนื้อใต้ผิวหนังส่วน
ที่ต้องการเย็บเพียงครั้งเดียว แล้วผูกเป็นปมไว้ที่ด้านข้าง ซึ่งใช้กับแผลโดยทั่ว ๆ ไป
เย็บแบบซ้อน ( Mattress suture) คือ การเย็บย้อนตอบกลับ โดยใช้เข็มเย็บตักเข้าไปที่เนื้อใต้ผิวหนัง
ให้ลึกจากขอบแผลข้างหนึ่งไปโผล่ขอบแผลอีกข้างแล้วย้อนเข็มกลับมา
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีบาดแผล
ระวังอย่าให้แผลสกปรก และเปียกน้้ำ
ถ้าพันผ้า หรือเข้าเฝือก เพื่อให้เคลื่อนไหวได้น้อยใน 24 ชั่วโมงแรก
ถ้ามีอาการอักเสบ ให้รีบมาพบแพทย์
ให้มาตัดไหมตามนัด
การตัดไหม
แผลบริเวณใบหน้า ควรตัดไหมเมื่อครบ 5 วัน
แผลบริเวณศีรษะ ควรตัดไหมเมื่อครบ 7-10 วัน
แผลบริเวณลำตัวที่ผิวหนังไม่ตึงมาก ควรตัดไหมเมื่อครบ 7 วัน
แผลบริเวณแขนขาหรือผิวหนังที่ตึงมาก ควรตัดไหมเมื่อครบ 7-10 วัน หรืออาจถึง 10-14 วัน ใน
ต าแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวมาก
แนวทางปฏิบัติในการผ่าฝีและเลาะซีสต์(cyst)
ฝี หมายถึง ตุ่มหนองที่เกิดการอักเสบ เจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน และก่อตัวขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
ซีสต์ (cyst) หมายถึง ก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นตามร่างกาย โดยมีลักษณะเป็นถุงที่บรรจุอากาศ ของเหลวน้ำ ไขมัน หรือมีเนื้อเยื่อ ซึ่งถือเป็นความความผิดปกติของร่างกาย
อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการผ่าฝีและเลาะซีสต์(cyst)
ใบมีดผ่าตัด (Blades)
ด้ามมีด
Towel clips: ใช้ในการจับผ้า
Retractor: ใช้ถ่างขยายแผล
Arterial clamp: ใช้หนีบจับเส้นเลือดและเนื้อเยื่อ
Metzenbaum: ใช้ตัดและเลาะเนื้อเยื่อ
Sponge holder: ใช้สำหรับจับก๊อซเช็ดทำความสะอาดตำแหน่งที่จะทำผ่าตัดก่อนการผ่าตัด
น้ำยาต่าง ๆ ได้แก่ 0.9%NSS, Hibiscrub, Providine scrub, เป็นต้น
อุปกรณ์อื่น ๆ ที่ใช้สำหรับเย็บแผล และยาชา
วิธีการผ่าตัดก้อนใต้ผิวหนังที่พบบ่อย
lipoma เป็นก้อนไขมันใต้ผิวหนัง ค่อนข้างนิ่ม ไม่มีรูปเปิดเหมือนถุงไขมัน ก้อนไขมันจะอยู่ใต้ผิวหนังและบนกล้ามเนื้อ
fibroma ลักษณะแข็ง ไม่ติดกับผิวหนัง เคลื่อนที่ได้
วิธีการผ่าตัด
ฉีดยาชา ลงมีด และใช้นิ้วมือ/ Forceps/Arterial clamp หรือ Metzenbaum แหวกเลาะ ปลิ้นก้อนออกมา lipoma จะมีหลอดเลือดมาเลี้ยงที่ขั้ว ให้ใช้ Arterial clamp จับที่ฐาน แล้วตัดก้อนออก ผูกเส้น เลือด จากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด
Sebaceous cyst เป็นก้อนใต้ผิวหนังและติดกับผิวหนัง ถ้าบีบจะมีสารสีขาว ๆ ออกมา แตกเองได้ เกิดจากต่อมไขมันอุดตัด
วิธีการผ่าตัด
ฉีดยาชารอบถุงถึงก้นถุง ลงมีดเป็นรูปวงรี ตัดส่วนที่ติดกับผิวหนังออก เลาะลงไปทั้งสองข้าง ระวังอย่าให้ถุงแตก ใช้ Forceps/Arterial clamp หรือ Metzenbaum แหวกเลาะ จับขั้วขึ้นมาแล้วตัดถุงออก จากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด
Wart เป็นตุ่มผิวหนังที่นูนสูงขึ้นเป็นแท่งปลายตัด ที่ปลายเป็นขุย ๆ มันกมีสีดำ เป็นจุดเล็ก ๆ
วิธีการผ่าตัด
ฉีดยาชารอบถุงถึงก้นถุง ลงมีดเป็นรูปวงรีใช้ Tooth forceps จับที่ตัวหูดใช้มีดหรือMetzenbaum ตัดที่ฐาน จากนั้นเช็ดทำความสะอาดแผลและเย็บปิด หากหุดมีขนาดใหญ่ต้องอยู่ในดุลยพินิจของ