Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 โรคจิตสรีระแปรปรวน - Coggle Diagram
บทที่ 9
โรคจิตสรีระแปรปรวน
ความหมาย
ภาวะที่มีความผิดปกติของร่างกาย หรือโรคทางกายเกิดขึ้นโดยปัจจัยทางจิตใจมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดโรค หรือทําให้ความผิดปกตินั้น ๆ มีอาการรุนแรงขึ้น
อาการ
ระบบทางเดินอาหาร
ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ทําให้หัวใจเต้นเร็ว เต้นผิดจังหวะหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจตีบลงมีไขมันมาเกาะ
ระบบกล้ามเนื้อ
มีการหดตัว เกร็งแข็ง เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ
ประสาทอัตโนมัติ
ความเครียดจะกระตุ้นอารมณ์ในสมอง ซึ่งจะกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติให้ทํางานผ่านแนวเชื่อมโยงกับไขสันหลัง
การรักษา
การรักษาโรคทางกายให้สงบตามอาการที่เกิด
การรักษาทางจิตใจ การผ่อนคลายความเครียด และทําใจให้สงบ
การออกกําลังกายให้แข็งแรง จิตใจเผชิญความเครียดได้ดีมีการผ่อนคลาย
การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมสถานที่ทํางาน ที่อยู่อาศัย ไม่เครียด การทํางานพอเหมาะ
ความผิดปกติทางกายเนื่องจากสาเหตุทางจิตใจ
Somatic Symptom Disorder
อาการ
อาการทางกายตั้งแต่ 1 อาการขึ้นไป ซึ่งทําให้ไม่มีความสุข
มีพฤติกรรม ความรู้สึก ความกังวลที่มากเกินไปกับอาการทางกาย
อาการทางกายไม่ปรากฏอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ป่วยยังรู้สึกว่าอาการยังคงอยู่ ปกติพบมากกว่า 6 เดือน
การรักษา
จิตบําบัด ชนิด Cognitive behavior therapy (CBT)
ยารักษาอาการวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า
Conversion Disorder
อาการด้านประสาทสัมผัส (Sensory symptoms) แสดงออกโดยมีอาการชา
อาการ
มีอาการตั้งแต่ 1 อาการขึ้นไป เป็นการเจ็บป่วยทางกายที่เกิดขึ้นในระบบการเคลื่อนไหว หรือการสัมผัส (Voluntary motor or Sensory function)
อาการทางคลินิกจะสัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจ เนื่องจากมีความเครียดทางจิตใจ
สาเหตุของอาการมาจากสภาวะทางสังคม การประกอบอาชีพ
อาการด้านการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) แสดงออกโดยมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ
อาการชัก (Seizure symptoms) ผู้ป่วยมีอาการชักแบบดิ้นสะเปะสะปะ และมักรู้สึกตัวดีระหว่างการชัก
อาการผิดปกติของการรับสัมผัสพิเศษ (Special sense) เช่น ตามองไม่เห็น (Blindness) หูไม่ได้ยินเสียง (Deafness) พูดไม่มีเสียง (Aphonia) จมูกไม่ได้กลิ่น (Anosmia)
การรักษา
จิตบําบัดแบบประคับประคอง หรือจิตบําบัดระยะสั้น
การทําพฤติกรรมบาบัด และปรับสิ่งแวดล้อม
Illness Anxiety Disorder
อาการ
ผู้ป่วยหมกมุ่นครุ่นคิดว่าตนเองเป็นโรคที่ร้ายแรง
ไม่พบอาการทางกาย หรือถ้ามีอาการ ก็มีอาการเพียงเล็กน้อย
มีความวิตกกังวลสูงเกี่ยวกับสุขภาพ และผู้ป่วยไวต่อสัญญาณเตือนเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเอง
ผู้ป่วยปฏิบัติต่อพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพมากเกินไป
การหมกมุ่นเกี่ยวกับการเจ็บป่วย จะแสดงให้เห็นอย่างน้อย 6 เดือน
การหมกมุ่นเกี่ยวกับความเจ็บป่วย จะไม่สามารถหาคําอธิบายที่ดีกว่าความพกพร่องด้านจิตใจมาอธิบาย
การรักษา
ใช้จิตบําบัดกลุ่ม จะช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวเข้ากับโรคได้ดี
ควรนัดผู้ป่วยมาตรวจอย่างสม่ําเสมอ ไม่นัดห่างมาก เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง
การพยาบาลผู้ป่วย
สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยยอมรับพยาบาลทั้งในด้านบุคลิกภาพ และความรู้ความสามารถ
ดูแลอาการทางกายโดยตั้งอยู่บนข้อเท็จจริง
ให้ผู้ป่วยบอกความรู้สึกว่าเขารู้สึกอย่างไร และให้ระบายความรู้สึกนั้นออกมา เพื่อให้ผู้ป่วยได้ระลึกรู้ความรู้สึก และความต้องการของตนเองมากกว่าที่จะไปมุ่งอยู่ที่อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย
ช่วยผู้ป่วยให้ได้พัฒนาวิธีการที่เหมาะสมที่จะพูดระบายความรู้สึกและความต้องการของตนเองให้มากขึ้น
จํากัดพฤติกรรมของผู้ป่วย โดยการเฉยเสียเมื่อเขาบ่นหรือมุ่งความสนใจไปที่อาการทางกายและให้แรงเสริมทางบวกเมื่อเขามีพฤติกรรมที่เหมาะสม
ให้การพยาบาลด้วยความเสมอต้นเสมอปลาย
หันเหความสนใจของผู้ป่วยไปที่การเข้าร่วมกิจกรรมบาบัด
ไม่ตอกย้ําหรือตําหนิติเตียนเกี่ยวกับปัญหา หรือความคับข้องใจของผู้ป่วย
นางสาวศศิกานต์ ชูแก้ว
รหัสนักศึกษา 62122301080