Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจิตสรีระแปรปรวน (Psychosomatic Disorders), นางสาวภาวิตา ทิพย์ญาณ…
โรคจิตสรีระแปรปรวน (Psychosomatic Disorders)
ภาวะที่มีความผิดปกติของร่างกายเกิดขึ้น
โดยปัจจัยหรืออาการทางจิตเป็นตัวกระตุ้น
ความเครียดที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อระบบประสาท
อัตโนมัติที่ควบคุมอวัยวะต่างๆของร่างกาย
ทำให้มีอาการดังต่อไปนี้
1.ระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากผิดปกติ ทำให้กระเพาะเป็นแผล ปวดท้อง ลำไส้หดรัดตัวมากผิดปกติทำให้ท้องเสีย
2.ระบบไหลเวียนเลือด หัวใจเต้นเร็ว อาจเต้นผิดจังหวะ หลอดเลือดตีบตันจากการมีไขมันมาเกาะ ทำให้หลอดเลือดอุดตันจนความดันโลหิตสูงขึ้นและเลือกไหลเวียนไม่สะดวก
3.ระบบกล้ามเนื้อ จะเกร็ง หดตัวจนปวดตามร่างกายและปวดศีรษะ
การวินิจฉัยจะพบว่าอาการทางกายสัมพันธ์กับความเครียด ต้องซักถามลงลึกถึงจะทราบเนื่องจากคนไข้มักปฏิเสธว่าไม่สัมพันธ์กัน
การรักษาจะใช้หลายวิธีร่วมกัน ได้แก่
1.การรักษาโรคทางกายตามอาการที่เกิด เช่น ยาลดกรดรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ยาลดความดันโลหิต เพื่อให้ผู้ป่วยสบายขึ้น ลความเครียด
2.รักษาทางจิตใจ ผ่อนคลายความเครียดและทำใจให้สงบ
3.ออกกำลังกายและหางานอดิเรกทำเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ
4.จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการทำงาน การพักผ่อน การนอนหลับ
Somatic Symptom Disorder
ผู้ป่วยจะมีความผิดปกติทางกายหลายรูปแบบจึวงต้องมาพบแพทย์อยู่ประจำโดยที่แพทย์ไม่สามารถตรวจพบความผิดปกติดังกล่าวได้หรืออาจไม่พบสาเหตุของอาการดังกล่าว โดยอาการมากน้อยขึ้นอยู่กับความเครียด โดยมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
อาการ Somatic Symptom Disorder ตาม DSM 5
1.มีอาการทางกายตั้งแต่ 1 อาการขึ้นไป
จนทำให้ไม่สุขสบาย รบกวนชีวิตประจำวัน
2.มีพฤติกรรมกังวลเกี่ยวกับสุขภาพ อย่างน้อย 1 ข้อ ดังต่อไปนี้
1)มีความคิดต่อเนื่องเกี่ยวกับอาการของตนเองอย่างจริงจัง
2)วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพในระดับสูง
3)ใช้เวลาอย่างมากในการจดจ่อกับอาการ
3.พบว่าอาการทางกายยังคงอยู่มากกว่า 6 เดือน ถึงแม้จะไม่ต่อเนื่อง
การรักษาโดยการทำจิตบำบัด ชนิด Cognitive behavior therapy (CBT) โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยได้แสดงความรู้สึกหรือพูดถึงปัญหาในชีวิตและความต้องการด้านจิตใจมากกว่าการรับฟังอาการทางกายและการรักษาด้วยยา
คลายกังวลและยาต้านอาการซึมเศร้า
Conversion Disorder
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
เป็นกลุ่มโรคจิตเวชที่มีความผิดปกติทางกาย ดังนี้
1.ประสาทสัมผัส (Sensory symptoms)
มีอาการชาหรือชาครึ่งซึก ซึ่งไม่ได้เกิดจากระบบประสาท
2.การเคลื่อนไหว (Motor symptoms) แขนขาไม่มีแรง เดินเอนไปมา
3.ชัก (Seizure symptoms) ชักดิ้นสะเปะสะปะแต่รู้สึกตัวดีขณะชัก
4.การรับสัมผัสพิเศษ (Special sense) ตามองไม่เห็น
หูไม่ได้ยิน พูดไม่มีเสียง จมูกไม่ได้กลิ่น
อาการ Conversion Disorder ตาม DSM 5
1.มีอาการด้านการเคลื่อนไหวหรือการรับสัมผัส 1 อาการขึ้นไป
2.อาการทางคลินิกพบว่าไม่สัมพันธ์กันระหว่างอาการทาง
ระบบประสาทกับอาการทางกาย แต่สัมพันธ์กับปัญหาด้านจิตใจ
3.สาเหตุมาจากสังคม การประกอบอาชีพ หรือสิ่งสำคัญในชีวิต
การรักษาโดยการทำจิตบำบัดแบบประคับประคอง
การทำพฤติกรรมบำบัดและสิ่งแวดล้อมบำบัด และสุดท้าย
การรักษาด้วยยา เพื่อลดอาการของโรคที่รบกวนการดำเนินชีวิต
ได้แก่ ยาต้านเศร้า Anti-depressants เพื่อลดอารมณ์เศร้าในราย
ที่มีอารมณ์เศร้าร่วมด้วย และยาต้านความกังวล Anti-anxiety drugs
เพื่อลดความวิตกกังวล
llness Anxiety Disorder หรือ Hypochondriasis
ผู้ป่วยจะหมกมุ่นและกังวลว่าตนจะเป็นโรคร้ายแรงเนื่องจากร่างกายมีความผิดปกติไปจากเดิม จะมีประวัติการไปพบแพทย์หลายคนและหลายครั้ง(Doctor shopping)
อาการตาม DSM-5 1.หมกมุ่นคิดว่าตนเป็นโรคร้าย 2.ตรวจไม่พบอาการหรือพบเพียงเล็กน้อย 3.วิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพหรือไวต่อสัญญาณเตือนของสุขภาพ 4.ปฏิบัติพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพมากไป เช่น ตรวจเช็คอาการซ้ำๆ และ 5.หมกมุ่นนานอย่างน้อย 6 เดือน
การรักษาโดยการทำจิตบำบัด จะช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวกับโรคได้ดีและควรนัดผู้ป่วยมาตรวจอย่างสม่ำเสมอไม่นัดห่างมาก เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าถูกทอดทิ้ง หลีกเลี่ยงการตรวจพิเศษที่ไม่จำเป็น
นางสาวภาวิตา ทิพย์ญาณ รหัสนักศึกษา 62122301062