Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะสำลักขี้เทา Meconium Aspiration syndrome (MAS) - Coggle Diagram
ภาวะสำลักขี้เทา
Meconium Aspiration syndrome (MAS)
อาการแสดง
1.ทารกที่เป็น MAS มักเป็นทารกที่คลอดครบกำหนดหรือเกินกำหนด
2.มีประวัติ fetal distress
3.Apgar score ต่ำ
4.มีขี้เทาในน้ำคร่ำ (thick mecomium stained amniotic fluid)
ความรุนแรง
รุนแรงน้อย
-ทารกจะหายใจเร็วเพื่อเพิ่ม minute ventilation
-ทำให้ความดันคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
-ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของเลือดเข้าสู่ภาวะปกติ
-อาการจะหายไปภายใน 24 ชั่วโมง
รุนแรงปานกลาง
-ทารกจะมีอาการของการกดการหายใจ
-หายใจเร็ว
-ช่องซี่โครงยุบลงขณะหายใจ
-เขียวคล้ำ
-อาการจะค่อยๆทวีความรุนแรง
-มีความรุนแรงสูงสุดภายใน 24 ชั่วโมง
-มักหายได้ภายใน 4-7 วันหากไม่มีอาการแทรกซ้อน
รุนแรงมาก
-ทารกจะมีการหายใจล้มเหลวทันทีหลังคลอด หรือ 2-3 ชั่วโมงหลังคลอดอาการของการกดการหายใจชัดเจน
-ฟังเสียงปอดได้ rhonchi และ crackle
-อาจมีอาการเลือดขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง
-ไม่ดีขึ้นเมื่อให้ออกซิเจนเนื่องจากภาวะของแรงดันเลือดในปอดที่สูงมาก
การรักษา
1.เตรียมอุปกรณ์ในการดูดเสมหะและเครื่องมือในการใส่ท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจนให้พร้อม
2.มีความเสี่ยงต่อการสำลักขี้เทาให้ใช้ลูกยางแดงดูดทางปากและจมูกเมื่อศีรษะทารกพ้นจากช่องคลอด
3.ในรายี่มีขี้เทาที่เหนียวและปริมาณมากจะใส่ท่อช่วยหายใจและดูดขี้เทาออกทางท่อช่วยหายใจ
4.หลังจากดูดออกหมดแล้วหากทารกไม่หายใจควรให้แรงดันบวกผ่านทางท่อช่วยหายใจ
5.หลังจากนั้นจะดูดขี้เทาจากกระเพาะอาหาร โดยการดูดจากสายยางให้อาหารผ่านทางจมูกหรือปาก
ทารกที่เสี่ยงภาวะนี้ได้แก่
1.ทารกคลอดที่ครรภ์เกินกำหนด
2.น้ำหนักแรกคลอดต่ำ
3.การคลอดนานทางช่องคลอด
4.มารดามีความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์
5.ภาวะครรภ์เป็นพิษในมารดา
6.มีน้ำหนักมากเกินกว่าปกติขณะตั้งครรภ์
ภาวะสำลักขี้เทา
-การสำลักเอาขี้เทาที่อยู่ในน้ำคร่ำเข้าปอดในทารกแรกเกิด
-มีการเคลื่อนไหวของทรวงอกตื้นๆและไม่สม่ำเสมอตั้งแต่อายุประมาณ 24 สัปดาห์
-มีความถี่ประมาณ 30-90 ครั้งต่อนาที
-เมื่ออายุครรภ์ ประมาณ 34 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทรวงอกสม่ำเสมอมากขึ้น อัตราการเคลื่อนไหวจะมีค่าประมาณ 40-60 ครั้ง/นาที
-การเคลื่อนไหวนี้จะทำให้ lung fluid ของทารกมีการเคลื่อนที่ใน tracheobronchial tree ทำให้ lung fluid เคลื่อนจากถุงลมทารกสู่น้ำคร่ำได้
-ในภาวะปกติจะไม่มีน้ำคร่ำเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด