Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 14 การช่วยเหลือเบื้องต้นในเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ - Coggle…
บทที่ 14
การช่วยเหลือเบื้องต้นในเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ
ความหมายของอุบัติเหตุ
หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บ อันตรายและเสียชีวิตได้
อุบัติเหตุในเด็กเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ สัมพันธ์กับวัยและพัฒนาการ เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน
สาเหตุและปัจจัย
วัยของเด็ก
เด็กที่อยู่ในวัยต่างกันพัฒนาการจะต่างกันไปคนละวัย อุบัติที่เกิดขึ้นก็ต่างกันด้วย
สภาพครอบครัว
มีพ่อแม่ในหลายครอบครัวที่ต้องทำงาน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลลูก
สิ่งแวดล้อม
ลักษณะชุมชนเมืองที่มีบ้านพักแออัด มีคลองน้ำ แม่น้ำ หรือถนน เด็กออกไปเล่นนอกบ้านอาจทำให้ได้รับอันตรายจากสิ่งแวดล้อมได้
อุบัติเหตุ
จมน้ำ (drowning)
เป็นสาเหตุที่พบบ่อยและทำให้เสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่งในเด็ก
สาเหตุ
จมในน้ำจืด
อาจทําให้เกิดภาวะปอดแฟบเนื่องจากน้ำจืดจะทําลายสารเคลือบผนังถุงลม (surfactant) น้ำจะถูกดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดอย่างรวดเร็ว ทําให้ปริมาตรเลือดเพิ่มเลือดเจือจาง เม็ดเลือดแดงแตก มีการเปลี่ยนแปลงอิเล็กโทรลัยท์
จมในน้ำทะเล
น้ำทะเลมีความเข้มข้นกว่าพลาสมาในเลือด ทําให้โปรตีนในเลือดในปอดถูกดูดซืมเข้าถุงลมทําให้ถุงลมปอดแตก มีเลือดออกและมีน้ำคั่งในปอด ปริมาตรเลือดในหลอดเลือดลดลง เลือดมีความเข้มข้นมากขึ้นและมีอิเล็กโทรลัยท์สูงขึ้น เกิดภาวะขาดออกซิเจน หัวใจวายและเสียชีวิตได้
การป้องกันการจมน้ำ
ดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดเมื่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ เมื่อเด็กอายุ 4 ปีขึ้นไปควรหัดให้เด็กว่ายน้ำได้ กรณีโดยสารเรือผู้ปกครองควรใส่เสื้อชูชีพพอดีตัวให้แก่เด็ก
การช่วยเหลือเบื้องต้น
ถ้าเด็กหายใจเองได้ ให้ถอดเสื้อผ้าที่เปียกน้ำออก ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าที่แห้งสะอาดเช็ดตัว คลุมตัวไว้เพื่อทําให้เกิดความอบอุ่น จัดให้นอนในท่าตะแคงกึ่งคว่ำ
ถ้าเด็กจมน้ำนานเกิน 4 นาที อาจทําให้สมองตายได้ ต้องรีบทําการช่วยคืนชีพ อย่างต่อเนื่องจนกว่าการหายใจและการไหลเวียนเลือดจะเป็นปกติ
อุ้มขึ้นจากน้ำ โดยให้ศีรษะเด็กอยู่ต่ำกว่าทรวงอกเพื่อป้องกันการสําลักน้ำเข้าปอด
สิ่งแปลกปลอมเข้าตา หู จมูก คอ หลอดลม
การช่วยเหลือเบื้องต้น
สิ่งแปลกปลอมเข้าตา
ห้ามขยี้ตา
ใช้น้ำสะอาดราดผ่านตาเบาๆ จากหัวตาไปหางตา โดยเอียงหน้าให้ตาข้างที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ด้านล่าง ถ้าเป็นเด็กโตให้ลืมตาในน้ำ
ถ้าล้างตาแล้วสิ่งแปลกปลอมไม่หลุดออก อาจใช้วิธีเขี่ย
ถ้าเขี่ยสิ่งแปลกปลอมไม่ออก ให้ปิดตาเด็กทั้งสองข้างเพื่อไม่ให้กรอกลูกตาไปมา ปลอบโยนไม่ให้ตกใจ แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
ถ้าเป็นสารเคมีเข้าตา
1.ไม่ขยี้ตา
2.ล้างตา โดยตะแคงหน้าให้ตาด้านที่ถูกสารเคมีอยู่ด้านล่าง ใช้น้ำล้างตาอย่างน้อย 10 นาที จากหัวตาไปหางตา ระวังอย่าให้น้ำกระเด็นไปถูกตาอีกข้างหนึ่ง
3.ปิดตาข้างที่ถูกสารเคมีโดยใช้ผ้าก็อซหรือผ้าสะอาด
4.ส่งโรงพยาบาล
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
1.ไม่เอาสิ่งแปลกปลอมออกเอง
2.ส่งโรงพยาบาล โดยให้กำลังใจหรือปลอบโยนเด็กขณะนำส่งโรงพยาบาล
3.ถ้าเป็นแมลงเข้าหู ให้เด็กนั่งลง ตะแคงศีรษะให้หูที่มีแมลงเข้าไปอยู่ด้านบน หยอดน้ำมันพืชหรือน้ำอุ่นลงไปในรูหู แมลงจะลอยขึ้นมา แล้วหยิบแมลงออก ถ้าไม่ได้ผลให้นำส่งโรงพยาบาล
สิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก
1.ปลอบโยนเด็กอย่าให้ตกใจ
2.ให้เด็กสั่งน้ำมูกแรงๆ โดยเอามือปิดรูจมูกข้างที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอม
3.ถ้าสิ่งแปลกปลอมนั้นอยู่ไม่ลึก ให้ใช้ปากคีบเล็กๆ คีบวัตถุนั้นออกมา โดยให้เด็กก้มหน้าเล็กน้อย เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในจมูกมากขึ้น
4.นำส่งโรงพยาบาล ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่
สิ่งแปลกปลอมติดคอหรือหลอดลม
ในทารก
1.ให้นอนคว่ำบนแขนของผู้ช่วยเหลือ ศีรษะเด็กห้อยต่ำ จับคางและไหล่ของทารกให้มั่นคง ตบกลางสะบักทั้ง 2 ข้างแรงๆ ประมาณ 5 ครั้ง
2.ถ้าสิ่งแปลกปลอมยังไม่หลุด ให้จับนอนหงายบนแขนอีกครั้ง วางนิ้วชี้และนิ้วกลางตรงบริเวณครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก กดแรงๆ 5 ครั้ง
3.ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมในคอให้ใช้นิ้วกดลิ้นเอาไว้ ล้วงเอาสิ่งแปลกปลอมออก ถ้าไม่เห็นอย่าล้วงคอ เพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมตกลึกเข้าไปในหลอดคอมากขึ้น
ในเด็กเล็กหรือเด็กโต
1.พยายามให้เด็กไอออกมา ถ้าทำได้ แต่ไม่ควรใช้เวลากับการไอมากนัก
2.เด็กเล็กให้นอนคว่ำพาดตักผู้ช่วยเหลือ ตบกลางหลังระหว่างกระดูกสะบักด้วยความแรงปานกลาง 5 ครั้ง ติดต่อกัน เด็กโตให้เด็กก้มศีรษะลง ตบกลางหลังระหว่างกระดูกสะบักแรงๆ 5 ครั้งติดต่อกัน
3.ถ้าตบหลังแล้วสิ่งแปลกปลอมยังไม่หลุด ให้เด็กนอนหงายบนพื้นแข็ง ถ้าเด็กเล็กให้นอนหงายบนตัก ใช้สันมือวางบนส่วนล่างของกระดูกหน้าอก กดแรงๆ 5 ครั้ง
4.ตรวจดูในปาก ใช้นิ้วมือกดลิ้นเอาไว้ ล้วงสิ่งแปลกปลอมที่เห็นออกมา ไม่ล้วงอย่างไม่มีจุดหมายเพราะอาจทำให้สิ่งแปลกปลอมตกลึกเข้าไปในหลอดลมอีก
5.ถ้าสิ่งแปลกปลอมติดอยู่และเด็กรู้สึกตัวใช้เทคนิคการกดบริเวณหน้าท้อง (Heimlich maneuver) ให้ผู้ช่วยเหลือยืนด้านหลังเด็ก ใช้แขนทั้งสองข้าง โอบตัวเด็กบริเวณใต้รักแร้ มือขวาของผู้ช่วยเหลือกำแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ ส่วนมือซ้ายวางบนมือขวาแล้วออกแรงกดอย่างรวดเร็ว กดเป็นระยะๆ 6-10 ครั้ง พยายามทำจนกว่าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา
6.ถ้าสิ่งแปลกปลอมติดอยู่และเด็กไม่รู้สึกตัว ให้เด็กนอนหงาย ผู้ช่วยเหลือคุกเข่าคร่อมตัวเด็ก ใช้มือขวาวางบนท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ มือซ้ายทับมือขวา กดและดันมือทั้งสองข้างในทิศทางเข้าในและเฉียงขึ้นบน กดเป็นระยะสม่ำเสมอจนกว่าสิ่งแปลกปลอมหลุดออกมา
7.ตรวจดูในปาก ถ้าสิ่งแปลกปลอมยังไม่หลุดออก ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
การป้องกัน
เก็บอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ให้เรียบร้อย โดยเฉพาะวัตถุที่มีขนาดเล็ก
ไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหารที่เสี่ยงจะทำให้ติดคอ เช่น ผลไม้ที่มีเมล็ด ปลาที่มีก้างติด ไก่ที่มีกระดูก
ไม่ควรเล่นกับเด็ก ทำให้เด็กหัวเราะหรือให้เด็กวิ่งเล่นขณะรับประทานอาหารจะทำให้เด็กสำลักได้ง่าย
ควรเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัย ของเล่นไม่ควรมีชิ้นส่วนเล็กที่หลุดได้ง่าย
ไฟไหม้, น้ำร้อนลวก
แผลจากความร้อน (burns)
หมายถึง การบาดเจ็บที่ได้รับจากสารเหลวที่ร้อนหรือสารที่ติดไฟได้ เช่น น้ำมันร้อน น้ำร้อน กระแสไฟฟ้า หรือสารเคมีต่างๆ ความรุนแรงของการถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวกขึ้นอยู่กับความลึกของชั้นผิวหนัง ความกว้าง ตำแหน่งของบาดแผล อายุของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บ และสิ่งที่เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บหรือได้รับอุบัติเหตุ
สาเหตุ
วัตถุ สิ่งของที่มีความร้อน โดยการสัมผัสกับผิวหนัง สูดดม ทำให้ผิวหนังเกิดแผล
สารเคมี อยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว ก๊าซ ความรุนแรงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารเคมีและระยะเวลาที่สัมผัส
กระแสไฟฟ้า จะทำลายระบบประสาท กล้ามเนื้อ เส้นเลือด และกระดูก
สารกัมมันตรังสี เนื้อเยื่อที่ถูกสารกัมมันตรังสีอาจตายได้
การช่วยเหลือเบื้องต้น
ไฟไหม้เสื้อผ้า
ใช้น้ำดับไฟ โดยเด็กนอนลง หันส่วนที่ติดไฟไว้ข้างบนแล้วใช้น้ำราดลงไป อย่าปล่อยให้เด็กวิ่งหรือนอนกลิ้งกับพื้น เพราะไฟจะลามมากขึ้นไปติดบริเวณอื่น
ถ้าไม่มีน้ำดับไฟ ใช้เสื้อ หรือผ้าห่มหนาหรือผ้าหนาๆ ห่อตัวเด็กแล้วนอนกับพื้น ไม่ใช้ผ้าไนล่อนหรอืผ้าโปร่งห่อตัวเด็ก
ใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าที่ไหม้ออก แล้วนำส่งโรงพยาบาล ถ้าผิวหนังที่ถูกไฟไหม้เป็นบริเวณกว้าง
ไฟฟ้าดูด
1.ปิดสะพานไฟ เพื่อตัดกระแสไฟฟ้าที่เข้าสู่ตัวเด็ก
2.ถ้าไม่สามารถตัดกระแสไฟฟ้าได้ในขณะนั้น ผู้ช่วยเหลือยืนบนวัสดุที่เป็นฉนวน เช่น รองเท้าแห้งๆ กล่องไม้ กล่องกระดาษ ใช้ด้ามไม้ หรือเข็มขัดหนัง เขี่ยสายไฟให้หลุดจากตัวเด็ก ระวังไม่ให้มือไปสัมผัสเท้าเด็ก เพราะอาจถูกไฟดูดไปด้วย
3.ถ้าเด็กไม่มีอาการผิดปกติ ภายหลังถูกไฟฟ้าดูด ให้นอนพักและสังเกตอาการผิดปกติ ปลอบโยนให้เด็กสงบ
4.ถ้าหมดสติ หรือหยุดหายใจ ต้องให้การช่วยเหลือต่อไป โดยทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
5.รีบนำส่งโรงพยาบาล
การประเมินดีกรีความลึกของบาดแผลไฟไหม้
แผลไหม้ระดับแรก (First degree burn) การไหม้จะจํากัดอยู่ที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า (epidermis) เท่านั้น โดยบาดแผลจะแดง (Erythema)
ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเย็นประคบหรือใช้ถุงพลาสติก ใส่น้ำแข็งผสมน้ำเล็กน้อยวางตรงบริเวณที่มีบาดแผล เพื่อลดอาการปวดแสบปวดร้อนและป้องกัน มิให้เนื้อเยื่อถูกทำลายมากขึ้น อาจใช้น้ำเย็นราด หรือแช่ในน้ำใส่น้ำแข็ง หรือ อย่างน้อย 20 นาที หรือจนกว่าอาการปวดแสบปวดร้อนลดลง
ปิดแผลด้วยผ้ากอซ หรือผ้าสะอาด
ถ้ายังมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีตุ่มใส ควรไปหาหมอ
แผลไหม้ระดับที่สอง (Second degree burn)
บาดแผลระดับที่สองชนิดตื้น (Superficial partial-thickness burn)
บาดแผลระดับที่สองชนิดลึก (Deep partial-thickness burns)
ถ้าบาดแผลกว้าง เช่น ประมาณ 10-15 ฝ่ามือ (10-15%) ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้รวดเร็ว หรือเกิดที่บริเวณหน้า (รวมทั้งปาก และจมูก) ซึ่งอาจทำให้หายใจลำบาก หรือเกิดที่ตา หู มือ เท้า หรืออวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งอาจเป็นแผลเป็นได้ง่าย ควรส่งโรงพยาบาลทันที ขณะที่รอส่งโรงพยาบาล อาจให้การช่วยเหลือ เบื้องต้น
รีบใช้น้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ ใช้ผ้าสะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วใช้ผ้ากอซ หรือผ้าสะอาดปิดไว้
แผลไหม้ระดับที่สาม (Third degree burn) บาดแผลไหม้จะลึกลงไปจนทําลายหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อขุมขนและเซลล์ประสาท
สารพิษ
สารพิษ หมายถึง สารที่เข้าสู่ร่างกายแล้วทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย ร่างกายที่ได้รับอันตรายจากสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย เรียกว่า การได้รับสารพิษ หรือการถูกสารพิษ หรือการเกิดพิษ (poisoning) ถ้าเกิดอาการทันที เรียกว่า acute poisoning แต่ถ้าสะสมไว้ในร่างกายแล้วเกิดอาการภายหลัง เรียกว่า chronic poisoning
ชนิดของสารพิษ
กลุ่ม สารพิษที่มีสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบ เช่น สีทาบ้าน สีทาของเล่น สีย้อมผ้า เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
ระดับสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 40 ไมโครกรัม/เดซิลิตรจะมีภาวะซีด เด็กจะมีอาการปวดท้องรุนแรง
ระดับสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 10 ไมโครกรัม/เดซิลิตรจะทำให้การพัฒนาของสมองช้าลง รวมทั้งการสร้างฮีมในเม็ดเลือดแดงลดลง
ระดับสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 100 ไมโครกรัม/เดซิลิตร ทำให้เด็กเกิดอาการทางสมอง ได้แก่ อาการชัก ปัญญาอ่อน อัมพาต ตาบอด หมดสติ และเสียชีวิตได้
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้รับประทานยา succimer ตามแผนการรักษา เพื่อขับสารตะกั่วออกจากร่างกาย รวมทั้งสังเกตอาการข้างเคียง คือ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่น และมีผลต่อหน้าที่ของตับ ถ้าพบอาการผิดปกติดังกล่าว รายงานแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ดูและให้เม็ดเลือดแดงชนิดเข้มข้น (packed red cell) ตามแผนการรักษา เพื่อเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดแดงให้แก่เลือดในระบบไหลเวียน รวาทั้งการสังเกตบันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการให้เม็ดเลือดแดงชนิดเข้มข้นด้วย
ดูและให้เด็กรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ไข่ และอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ไข่แดง ตับ เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง
ติดตามประเมินภาวะซีดโดยการตรวจผิวหนัง เยื่อบุตา และหาระดับฮีมาโตคริท เมื่อพบความผิดปกติ รายงานแพทย์ เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้องรวดเร็ว
ติดตามการตรวจหาระดับสารตะกั่วในเลือดเพื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีภาวะซีด เนื่องจากมีระดับสารตะกั่วในเลือดมากกว่า 40 ไมโครกรัม/เดซิลิตร
กลุ่มสารกัดกร่อน เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นกรดและด่างที่เข้มข้น สามารถทำลายเนื้อเยื่อที่สัมผัสได้ เช่น น้ำยาล้างสุขภัณฑ์ น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาซักผ้าขาว เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
การรับประทานจะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนในปาก น้ำลายไหลยืด อาจพบแผลในช่องปาก กลืนลำบาก อาเจียนเป็นเลือด อาจมีอาการช็อก ท้องอืด มีไข้ เสียชีวิต เนื่องจากหลอดอาหารทะลุ เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ลำไส้ทะลุ มีเดียแอสตินัมอักเสบ (mediastinitis) การสำลักเข้าสู่ทางเดินหายใจ จะทำให้เสียงแหบหรือไม่มีเสียง หายใจมีเสียงดัง หายใจลำบาก เนื่องจากการบวมของกล่องเสียง หลอดลมหรือเนื้อปอดถูกทำลาย หากหกราดผิวหนังจะทำให้ผิวหนังปวดแสบปวดร้อนมาก ผิวหนังแดง พอง ลอกหลุดเป็นแผล ถ้ากระเด็นเข้าตาจะทำให้ตาแดงอักเสบ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อถูกทำลาย เนื่องจากการได้รับสารกัดกร่อน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาเบื้องต้นที่ถูกต้องรวดเร็วขึ้นอยู่กับชนิดและหนทางที่ได้รับสารกัดกร่อน เพื่อลดความรุนแรงของสารกัดกร่อนต่อเนื้อเยื่อของร่างกาย ดังกล่าวไว้แล้วในการรักษาเบื้องต้น
ดูและให้ยาลดกรด เช่น milk of magnesia หรือยากลุ่ม H2 antagonist เพื่อลดการหลังกรด เช่น cimethidine ตามแผนการรักษา
กรณีที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีให้ดื่มน้ำ และนมประมาณ 1 แก้ว เพื่อเจือจางสารกัดกร่อน และลดฤทธิ์ในการกัดเนื้อเยื่อ
เตรียมผู้ป่วยและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการตรวจและรักษาเมือเกิดภาวะฉุกเฉิน เช่น ตรวจพบอาการหายใจลำบาก เนื่องจากกล่องเสียงบวมจนอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนต้น อาจต้องดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษา หรือเตรียมผู้ป่วยเพื่อรับการเจาะคอ เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกขึ้น
ดูแลให้เพรตนิโซโลน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ตามแผนการรักษา เพื่อลดการอักเสบบวมของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย
พยาธิสภาพ
ถ้าได้รับสารพิษโดยการรับประทานจะทำลายเนื้อเยื่อตลอดทางเดินอาหาร เกิดการอักเสบบวมแดง และเกิดเนื้อเยื่อผังผืด ส่งผลให้หลอดอาหารตีบแคบใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา ถ้าหกราดผิวหนัง ทำให้ผิวหนังถูกทำลาย มีอาการบวมแดงพองและลอกหลุด ถ้ากระเด็นเข้าตาขาว จะเกิดการอักเสบบวมแดง ถ้าถูกระจกตาจะทำให้กระจกตาเป็นแผล อันตรายที่เกิดขึ้นจากสารกัดกร่อนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้น ระยะเวลาที่สัมผัส ลักษณะของสารพิษ ถ้าเป็นชนิดน้ำ การทำลายจะกว้างกว่าชนิดผง เป็นต้น
กลุ่มน้ำยาทำความสะอาดเสื้อผ้า หรือทำความสะอาดร่างกาย เช่น ผงซักฟอก น้ำยาซักแห้ง สบู่ก้อน หรือสบู่เหลว เป็นต้น
พยาธิสภาพ
ผงซักฟอก การรับประทานผงซักฟอกเข้าไปจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเกินอาหารสารฆ่าเชื้อโรคที่ผสมในผงซักฟอกจะมีฤทธิ์ต่อระบบประสาท
น้ำยาซักแห้ง มีสารพวก halogenated hydrocarbon ผสมอยู่ ดังนั้นเมื่อรับประทานน้ำยาซักแห้งเข้าไปจะทำลายสมอง ตับ ไต เด็กจะมีภาวะไตวาย ตับวาย กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระตุ้น มีภาวะสมองอักเสบอย่างเฉียบพลัน ทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ถ้ารับประทานสาร halogenated hydrocarbon เข้าไปในปริมาณ 3-4 มิลลิกรัม
สบู่ ผสมด้วย inorganic phosphate ซึ่งเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดฟอง ถ้ารับประทานสบู่เข้าไปจะกระตุ้นระบบประสาท และทำให้เกิดความไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกาย จะเกิดการระคายเคื่องต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร ถ้ากระเด็นเข้าตาจะระคายเคืองต่อเยื่อบุตา
การรักษา
ถ้ารับประทานน้ำยาซักแห้ง ต้องรีบทำให้อาเจียน เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษในกระเพาะอาหารและลำไส้ และรีบส่งโรงพยาบาลทันทีเพื่อล้างกระเพาะอาหาร ถ้ารับประทานผงซักฟอกและสบู่ ไม่จำเป็นต้องทำให้อาเจียน ถ้ามีอาเจียนมากอาจจำเป็นต้องให้ยาแก้อาเจียน ไม่จำเป็นต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล
ถ้ากระเด็นเข้าตา ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง
กลุ่มไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน น้ำมันสำหรับจุดบุหรี่ เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
การรับประทานน้ำมันจะทำให้เกิดอาการเจ็บ ๆ แสบบริเวณคอ ปวดศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน มีเสียงในหู อาจมีท้องเสีย ขณะรับประทานอาจสำลักง่าย ทำให้เกิดปอดอักเสบ ซึ่งจะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อยหอบ เขียว และมีไข้ต่ำ ๆ การสูดดมจะทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มเป็นสุข ต่อมาจะอ่อนเพลีย ไม่มีแรง วิงเวียน กระสับกระส่าย หงุดหงิด ซึม ถ้าเป็นมากอาจชัก หมดสติ ถ้าน้ำมันหกราดผิวหนังจะมีอาการเจ็บแสบผิวหนัง
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อพบอาการของการติดเชื้อร่วมด้วย
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
ให้ออกซิเจน ถ้าเด็กมีอาการเหนื่อยหอบ และหายใจลำบาก
พิจารณาใส่ท่อหลอดลมคอ ถ้าเด็กมีอาการชักหรือหมดสติ การหายใจไม่ดี และมีภาวะขาดออกซิเจน
อาจให้รับประทานถ่านบริสุทธิ์ เพื่อจับน้ำมันก๊าด
ถ้าเด็กมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ การรักษาที่ดีที่สุดคือ การสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด
1.การรักษาเบื้องต้น
1.1 ถ้าได้รับโดยการรับประทานเข้าไป ห้ามทำให้อาเจียน ห้ามล้างกระเพาะอาหาร เพราะจะทำให้สำลักเข้าปอดได้ง่าย
1.2 ถ้าได้รับโดยการหกราดผิวหนัง ล้างด้วยน้ำสบู่หลาย ๆ ครั้ง
5.กลุ่มยาฆ่าแมลง เช่น ยาฆ่าแมลงทำลายผัก ผลไม้ ยาฆ่ามด ปลวก ชนิดที่ใช้มากที่สุดมีส่วนประกอบของ organophosphate เป็นอันตรายมากต่อคน เนื่องจากตกค้างในผักและผลไม้
พยาธิสภาพ
muscarinic receptor จะมีอาการน้ำลายไหล น้ำตาไหล เหงื่อออกมาก ปัสสาวะราด ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง มีเสมหะในหลอดลมเพิ่มมากขึ้น หลอดลมตีบ ฟังปอดได้เสียงวี๊ด หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำลง และม่านตาหดเล็ก
nicotinic receptor กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ ทำให้มีอาการหายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก สั่น มีอาการชัก หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตสูง
ระบบประสาท จะมีอาการตื่นเต้น กระวนกระวาย นอนไม่หลับ สับสน ฝันร้าย ปวดศรีษะ เดินเซ อารมณ์แปรปรวน พูดไม่ชัด ชัก และหมดสติ
การรักษา
การรักษาเบื้องต้น
1.1 ถ้าได้รับโดยการรับประทานเข้าไป ให้รีบทำให้อาเจียน หรือล้างท้องด้วยน้ำ หรือน้ำเกลือปกติ อาจเติม 5% NaHCO3 เพื่อให้เป็นด่าง หลังจากนั้นควรให้ถ่านบริสุทธิ์ และยาระบาย คือ magnesium sulphate เพื่อเร่งการขับถ่ายสารพิษที่ยังค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้
1.2 ถ้าได้รับโดยการหกราดผิวหนัง เสื้อผ้า รีบถอดเสื้อผ้าออก และล้างผิวหนังด้วยน้ำสบู่หลาย ๆ ครั้งนาน 10-15 นาที
ให้ยาแก้พิษ
atropine sulphate
อายุ < 12 ปี ให้ 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามด้วย 0.02-0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทุก 10-30 นาที
อายุ > 12 ปี ให้ 1-2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทางหลอดเลือดดำทุก 5-30 นาที การให้ atropine จะได้จนกระทั่งมีอาการปากแห้ง ผิวหนังอุ่น รูม่านตาขยาย แสดงถึงการรักษาได้ผล
pralidoxime (2-PAM หรือ protopam)
อายุ < 12 ปี ให้ 25 – 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ให้ซ้ำได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงอีกครั้ง หลังจากนั้นให้ทุก 10-12 ชั่วโมง
อายุ 12 ปี ให้ 0.5-1 กรัม ทางหลอดเลือดดำใน 15 – 30 นาที
ถ้าเด็กมีอาการรุนแรงมาก อาจให้ 2-PAM ร่วมกับ atropine
ให้ถ่านบริสุทธิ์เพื่อเร่งการขับถ่ายสารพิษ
รักษาตามอาการ และประคับประคองเพื่อช่วยชีวิต เช่น การช่วยการหายจใจโดยการจัดท่านอน การดูดเสมหะ และให้ออกซิเจน
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และยังรับประทานเองไม่ได้
กลุ่มยารักษาโรค ยาที่ใช้ในการรักษาโรค ถ้าได้รับเกินขนาดทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ เช่น แอสไสพริน พาราเซตามอล ยาแก้แพ้(antihistamine) มอร์ฟีน (morphine) และยากลุ่ม barbiturate เป็นต้น
พยาธิสภาพ
พาราเซตามอล
ขนาดที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายไม่แน่นอน แต่การได้รับยาพาราเซตามอลขนาดสูง ๆ ครั้งเดียวจะทำให้เกิดอันตรายต่อเซลล์ตับ ส่งผลให้การทำหน้าที่ขอบตับเสียไป และเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะตับวาย ขนาดของพาราเซตามอลที่เป็นพิษคือ 140 มิลลิกรัม/กิโลกรัมของน้ำหนักตัว
แอสไพริน
ขนาดของแอสไพรินที่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย คือ 200-280 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ระดับยาในเลือดสูงสุดภายใน 2 ชั่วโมง หลังรับประทานยา พิษของแอสไพรินจะกระตุ้นศูนย์หายใจ ทำให้เกิดภาวะ hyperventitation ร่างกายขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาก จนทำให้เกิดภาวะหายใจเป็นกรด (respiratory acidosis) ร่างกายมีการเผาผลาญมากกว่าปกติ มีอาการใช้ออกซิเจนมาก ความร้อนเพิ่มขึ้น ทำให้มีอาการไข้สูง และเกิดภาวะ metabolic acidosis นอกจากนี้ยังพบว่า พิษของแอสไพรินจะขัดขวางกระบวนการแข็งตัวของเลือด เกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้มีภาวะเลือดออกง่าย
อาการและอาการแสดง
พาราเซตามอล
24 ชั่วโมงแรกจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก ซีด อ่อนเพลีย ระยะต่อมาวันที่ 2 และ 3 จะมีอาการทางตับ เจ็บชายโครงขวา ระยะที่ 3 (ใน 1 สัปดาห์) จะมีอาการตัว ตาเหลือง มีอาการของภาวะตับวาย และทำให้เสียชีวิตได้
แอสไพริน
มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ หายใจเร็ว ระดับความรู้สติลดลง ซึม สับสน หมดสติ มีภาวะเลือดออกง่าย มีอาการแสดงภาวะขาดน้ำ เหงื่อออก มีไข้ มีภาวะโซเดียมต่ำ โพแทสเซียมต่ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ และปัสสาวะออกน้อย
การรักษา
พาราเซตามอล
ให้ยาแก้พิษคือ acetylcysteine ควรให้ยาแก้พิษก่อนให้ถ่านบริสุทธิ์ เพราะถ่านบริสุทธิ์จะทำให้ฤทธิ์ในการแก้พิษของ acetylcysteine ลดลง acetylcysteine มีกลิ่นและรสชาติไม่ดี ถ้าใช้รับประทานควรผสมด้วยน้ำผลไม้ หรือน้ำหวาน หรือให้ทางสายยางเข้าสู่กระเพาะอาหาร
ให้รับประทานถ่านบริสุทธิ์ เพื่อเคลือบเยื่อบุกระเพาะอาหาร ลดการดูดซึมยา
กระตุ้นให้อาเจียน หรือล้างท้องเพื่อลดปริมาณยาในกระเพาะอาหาร
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ภาวะขาดน้ำ
กรณีที่มีภาวะตับวายโดยมีอาการเช่น ความรู้สึกสติลดลง และหมดสติ อาจพิจารณาทำการเปลี่ยนถ่ายเลือด
แอสไพริน
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ เพื่อเร่งการขับยาออกทางปัสสาวะ และแก้ภาวะขาดน้ำ
ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างโดยการให้โซเดียมไบคาร์บอเนต 2-3 มิลลิอิควิวาเลนท์/กิโลกรัม ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 4-6 ชั่วโมง หรือให้ 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 น้ำเกลือนอร์มัล 100 มิลลิลิตร ผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต 3-5 มิลลิอิควิวาเลนท์(mEq) หยดให้หมดใน 1 ชั่วโมง จะช่วยเร่งการขับ aslicylate ออกทางปัสสาวะมากขึ้น
ให้ถ่านบริสุทธิ์เพื่อลดการดูดซึมของยา
ให้วิตามิน เค ในรายที่มีภาวะเลือดออกง่าย
รีบทำให้อาเจียน หรือล้างท้อง เพื่อลดปริมาณยาในกระเพาะอาหาร
ในรายที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องทำการเปลี่ยนถ่ายเลือด หรือ dialysis
หลักการรักษาเมื่อเด็กได้รับสารพิษ
เอาสารพิษออกจากร่างกายให้มากที่สุดและรวดเร็ว เพื่อให้มีการตกค้างของสารพิษในร่างกายน้อยที่สุด เด็กจะมีอันตรายน้อยลง หรือปลอดภัย มีหลายวิธี ได้แก่
1.1 ทำให้อาเจียน เป็นวิธีที่ดีที่สุด
1.2 การล้างท้อง (gastric lavage) ควรทำในรายที่หมดสติ หรือไม่อาเจียนภายหลังการให้ยาแล้ว
1.3 การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือให้ยาที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง เช่น โซเดียมไบคาร์บอเนต (NaHCO3) เพื่อช่วยเร่งขับสารพิษพวกแอสไพริน เป็นต้น
1.4 การเปลี่ยนถ่ายเลือด (blood exchange) หรือ hemodialysis หรือ peritoneal dialysis เป็นต้น
การประคับประคองสัญญาณชีพให้ปกติ เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะผู้ป่วยอาจตายจากภาวะหัวใจวาย หรือหายใจวาย หรือแม้จะให้การรักษาถูกต้องแล้วก็ตาม
การให้ยาแก้พิษ การใช้ยาแก้พิษจะได้ผลดีต่อเมื่อทราบว่าเด็กรับประทานสารพิษชนิดใด ยาแก้สารพิษอาจออกฤทธิ์ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ทำลาย สารพิษโดยตรง หรือแย่งแทนที่สารพิษแล้วขับออกจากร่างกาย หรือทำให้สารพิษตกตะกอน หรือดูดซับสารพิษ เพื่อไม่ให้ดูดซึมเป็นต้น
การป้องกันการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย การรับประทานสารพิษพวกกรด หรือด่างเข้าไป ต้อง ทำให้เจือจาง หรือเคลือบกระเพาะเพื่อไม่ให้ทำอันตรายกับผนังกระเพาะ
พิษจากแมลงสัตว์ กัด ต่อย
การป้องกัน
1.สอนเด็กให้หลีกเลี่ยงการเล่นกับสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงไว้เอง ไม่รังแกสัตว์
2.สอนเด็กให้รู้จักวิธีการเล่นหรือดูแลสัตว์เลี้ยงในบ้านอย่างถูกวิธี เช่น วิธีการให้อาหาร ไม่เล่นกับลูกสุนัขที่เพิ่งเกิด เพราะแม่สุนัขอาจหวงลูกจนกัดได้
3.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน
4.จัดบ้านให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันสัตว์มีพิษมาอาศัย
5.ไม่ให้เด็กเล่นในที่มีหญ้ารก หรือสกปรก เพราะอาจมีสัตว์อันตรายมาอาศัยอยู่
การช่วยเหลือเบื้องต้น
เมื่อถูกสุนัข ลิง กระรอกกัด
1.ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำและสบู่ เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล์ 70% ทา Povidone-iodine บนแผล
2.ควรไปพบแพทย์เพื่อฉีดยาป้องกันบาดทะยักหรือโรคพิษสุนัขบ้า แต่ถ้าเด็กถูกกัดบริเวณศีรษะ หน้าและหลายตำแหน่ง นำเด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าทันที พร้อมทั้งสังเกตอาการของสัตว์ที่กัดด้วย
เมื่อถูกสัตว์มีพิษกัดหรือต่อย
1.ถ้าเป็นงูพิษ ให้นอนนิ่งๆ ทันทีที่ถูกงูพิษกัด เพื่อลดการไหลเวียนของเลือด ใช้สายรัดที่ทำจากยางหรือผ้าที่มีความกว้างประมาณ 2 นิ้วมือรัดเหนือแผลให้แน่นพอสอดนิ้วได้และคลายสายรัดทุก 15 นาที
2.ถ้าเป็นผึ้ง ตัวต่อ ต่อย ต้องเอาเหล็กในออก โดยใช้ใบมีดขูดออกหรือใช้เทปใส ปิดทาบบริเวณที่ถูกต่อยแล้วดึงเทปใสออก เหล็กในจะติดมาด้วย แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่ เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% ประคบด้วยความเย็น
3.ถ้าถูกพิษแมงกะพรุน จะทำให้ผิวหนังบวมไหม้ ให้ใช้คาลาไมน์โลชั่น หรือครีมที่มียาแก้แพ้ทา ก็จะบรรเทาอาการได้ แมงกะพรุนบางชนิดมีพิษร้ายแรงทำให้หายใจขัดหมดสติต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
การช่วยฟื้นคืนชีพในเด็ก
ตามคู่มือการช่วยชีวิตในเด็ก Pediatric Resuscitation ฉบับล่าสุด พ.ศ.2558
1.คำนิยามของผู้ป่วยเด็กในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ
กลุ่มทารกแรกเกิด (neonate) หมายถึง ทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 4 สัปดาห์
กลุ่มเด็ก (pediatric) หมายถึง เด็กอายุตั้งแต่ 4 สัปดาห์จนถึงเด็กโตที่ยังไม่มีสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงของการเข้าสู่วัยหนุ่มสาว
2.การตรวจดูว่ามีชีพจรหรือไม่ ถ้าเป็นคนทั่วไป หากพบว่าผู้ป่วยหมดสติและไม่หายใจ ให้ช่วยกดหน้าอกทันที แต่ถ้าเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ให้คลำหาชีพจร แต่ควรใช้เวลาหาชีพจรไม่เกิน 10 วินาที
ผู้ช่วยเหลือควรช่วยทั้งกดหน้าอกร่วมกับการช่วยการหายใจ กรณีไม่สามารถช่วยหายใจ ให้กดหน้าอกอย่างเดียวได้
การกดหน้าอกอย่างถูกต้องทำโดย กด 1 ใน 3 ของความหนาของทรวงอกในแนวหน้าหลัง หรือ 1.5 นิ้วในเด็ก อายุต่ำกว่า 1 ปี และ 2 นิ้ว ในเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี ในผู้ป่วยวัยรุ่นไม่เกิน 6 ซม.
5.ยืนยันการใช้ลำดับการช่วยเหลือเป็น C-A-B ในผู้ป่วยเด็กที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น
6.ปรับอัตราการกดหน้าอกเป็น 100 ถึง 120 ครั้งต่อนาที
7.การช็อกด้วยไฟฟ้า (Defibrillation) ควรใช้พลังงานไฟฟ้า 2-4 จูลต่อกก.
การช่วยฟื้นคืนชีพเด็กขั้นพื้นฐาน
1.ขั้นตอนแรกเมื่อประสบเหตุ
ตรวจดูสภาพที่เกิดเหตุว่าปลอดภัยหรือไม่
ตรวจสอบว่าผู้ป่วยหมดสติและหายใจหรือไม่ โดยการร้องเรียกหรือเขย่าเบาๆ บริเวณหัวไหล่
ตรวจดูว่ามีอันตรายหรือบาดแผลที่มองเห็นจากภายนอกหรือไม่
ประเมินว่าผู้ป่วยต้องการการช่วยเหลือทางการแพทย์หรือไม่
2.ขั้นตอนการทำ CPR
เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี กดหน้าอกด้วยวิธี two-finger technique หรือ two thumb-encircling hands โดยกดลึก 1.5 นิ้ว
เด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อาจกดด้วยวิธีมือเดียว (One handed technique) หรือกดหน้าอกด้วยวิธีสองมือ (two handed technique) โดยกดลึก 2 นิ้ว ในผู้ป่วยวัยรุ่นไม่เกิน 6 ซม.
กรณีมีผู้ช่วยคนเดียว ให้กดหน้าอก 30 ครั้ง ตามด้วยเป่าลมผ่านปากหรือจมูกประมาณ 1 วินาที จำนวน 2 ครั้ง สังเกตการเคลื่อนขึ้นลงของหน้าอก (30:2 คิดเป็น 1 cycle) ให้ทำ 5 cycle หรือ 2 นาที แล้วค่อยโทรตาม EMS
กรณีมีผู้ช่วยสองคน ให้กดหน้าอก 15 ครั้ง ช่วยหายใจ 2 ครั้ง (15:2 คิดเป็น 1 cycle) ให้กดหน้าอก 1 คน ช่วยหายใจ 1 คน เปลี่ยนหน้าที่ทุก 2 นาที
อ้างอิง
วัชรา สุขแท้. (2564). บทที่14 การช่วยเหลือเบื้องต้นในเด็กที่ได้รับอุบัติเหตุและสารพิษ. เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์. จาก
https://classroom.google.com/w/Mzc3MDI2NDQzMDkx/tc/Mzc3MDI2NDQzMDk3