Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Neonatal Jaundice, นางสาวพัชรีวรรณ ใจมา 6101210323
นางสาวแสงดาว แซ่โซง…
Neonatal Jaundice
อาการ
1.อาการตัวเหลือง
มักเห็นที่บริเวณใบหน้าก่อน ถ้ากดลูบบริเวณดั้งจมูกจะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นทารกคลอดก่อนกำหนดมีผิวบางทำให้ดูเหลืองมากกว่าเด็กโต ที่มีระดับบิลิรูบินเท่ากัน อาการตัวเหลืองจะเห็นชัดมากขึ้นลามมาที่ลำตัวและแขนตามลำดับ (cephalocaudal progression) เมื่อระดับบิลิรูบินค่อยๆสูงขึ้น ในทารกเกิดครบกำหนดพบว่าถ้าอาการเหลืองเห็นได้ที่ใบหน้า ที่หน้าอกเหนือสะดือ ระดับบิลิรูบินสูงประมาณ 12 มก. / ดล. หรือ ต่ำกว่า ถ้ามือและเท้าเหลืองระดับบิลิรูบินมักจะสูงเกิน 15 มก. / ดล.
พบได้ในเด็กที่มีการทำลายของเม็ดเลือดแดงอย่างมากมักเป็นอาการที่พบได้เฉพาะราย hydroph fetallis จาก Rh incompatibility หรือซิฟิลิส แต่กำเนิด
พบได้ใน hemolytic disease of the newborn หรือโรคติดเชื้อในครรภ์เกิดขึ้นเนื่องจากการสร้างเม็ดเลือดแดงมากเพื่อชดเชยส่วนที่ถูกทำลายไปใน ABO incompatibility จะมีการแตกสลายของเม็ดเลือดแดงที่มักจะไม่รุนแรงตับและม้ามจึงไม่ค่อยโตพวก galactosemia จะมีตับโตมาก แต่คลำม้ามไม่ได้
- ซึมถ้าระดับบิลิรูบินสูงมาก ๆ
มักจะทำให้ทารกซึมต้องแยกจากทารกติดเชื้อหรือเป็น galactosemia 5. จุดเลือดตามตัวหรือมีรอยเลือดออกบนผิวหนังอาจพบเป็น petichi หรือ purpuric spoth ตามผิวหนังพบในทารกที่มีการติดเชื้อในครรภ์หรือมีผิวหนังหรือมี cephalhematoma หรือ subgaleal hematoma ที่เกิดจากการคลอดแทรกซ้อน
- จุดเลือดตามตัวหรือมีรอยเลือดออกบนผิวหนัง
อาจพบเป็น petichi หรือ purpuric spoth ตามผิวหนังพบในทารกที่มีการติดเชื้อในครรภ์หรือมีผิวหนังหรือมี cephalhematoma หรือ subgaleal hematoma ที่เกิดจากการคลอดแทรกซ้อน
-
ความหมาย
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดภาวะตัวเหลืองใน
ทารกแรกเกิดหมายถึง ภาวะที่ทารกมีระดับบิลิรูบินในเลือดสูงกว่าค่าปกติ (ไม่เกิน 12 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในทารกคลอดครบกำหนดและไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรในทารกคลอดก่อนกำหนด) แล้วทำให้เกิดอาการตัวเหลืองภาวะนี้พบได้ในทารกปกติและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนเนื่องมาจากขบวนการ metabolism ของบิลิรูบินในทารกแรกเกิดยังไม่สมบูรณ์ดี แต่ทารกส่วนหนึ่งจะมีปัญหาตัวเหลืองรุนแรงเนื่องจากระดับของบิลิรูบินในเลือดที่สูงมากกว่าปกติเช่นทารกที่มีภาวะตัวเย็นขาดออกซิเจนภาวะติดเชื้อน้ำตาลในเลือดต่ำหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบประสาทและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ชนิดของภาวะตัวเหลือง
เป็นภาวะตัวเหลืองที่พบในทารกปกติเกิดจากการมี unconjugated bilirubin สูงในช่วงสัปดาห์แรกและจะค่อยๆสูงสุดเมื่ออายุ 2-5 วันหลังคลอดในทารกเกิดครบกำหนดระดับ bilirubin สูงสุดประมาณ 10-14 mg / dL เมื่ออายุ 3-4 วัน และจะค่อยๆลดลงจนเข้าสู่ระดับปกติประมาณอายุ 7-10 วันในทารกเกิดก่อนกำหนด physiologic jaundice จะรุนแรงกว่าในทารกเกิดครบกำหนดและระดับของบิลิรูบินสูงสุดอาจมีค่ามากกว่าที่พบในทารกเกิดครบกำหนดโดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดของบิลิรูบินประมาณ 10-12 mg / dl เมื่ออายุ 5 วันสาเหตุจากการที่ตับยังเจริญไม่เต็มที่เป็นผลจากระดับเอนไซม์ UDP-glucuronyl transferase ต่ำ อีกทั้งยังมีแบคทีเรียในทางเดินอาหารน้อยทำให้สามารถขับ bilirubin ออกจากร่างกายได้น้อยกว่าผู้ใหญ่ภาวะเหลืองนี้จะสังเกตเห็นได้จากผิวหนังเยื่อบุตาขาวและเล็บโดยเริ่มปรากฏให้เห็นจากบริเวณใบหน้าไปสู่ลำตัวแขนขาฝ่ามือและฝ่าเท้าพบได้ในทารกปกติซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย
2.2 ภาวะตัวเหลืองจากการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้เพิ่มขึ้นอาจเกิดจากทารกดูดนมได้น้อย, ลำไส้ของทารกมีการทำงานที่ลดลง, ทารกกลืนเลือดปริมาณมากเข้าไป, ภาวะลำไส้อุดตันซึ่งทำให้บิลิรูบินตกค้างและถูกดูดซึมมากขึ้น
2.3 ภาวะตัวเหลืองจากการกำจัดบิลิรูบินได้น้อยกว่าปกติมีหลายสาเหตุเช่นภาวะขาดธัยรอยด์ฮอร์โมน แต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism), ภาวะพร่องเอนไซม์ UDP-Glucuronyl Transferase, ท่อน้ำดีอุดตัน (Obstructive Jaundice), ยาบางชนิด
2.1 ภาวะตัวเหลืองจากการแตกของเม็ดเลือดแดง เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นภาวะเม็ดเลือดแดงแตกจากหมู่เลือดของมารดาและของทารกไม่เข้ากัน (Blood group incompatible) ซึ่ง ABO incompatability พบบ่อยที่สุดในประเทศไทยเกิดในมารดาที่มีเลือดกลุ่มโอและบุตรมีเลือดกลุ่มเอหรือปีส่วน Rh incompatability พบน้อยมากความผิดปกติของรูปร่างเม็ดเลือดแดง (Spherocytosis หรือ Elliptocytosis), ภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase (G-6-PD Deficiency) ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย, โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ภาวะเลือดข้นเกินไป (Polycythemia), ภาวะเลือดออกบริเวณหนังศีรษะ (Cephalhematoma) ซึ่งต้องหาสาเหตุและรักษาที่ต้นเหตุ
2.4 ภาวะตัวเหลืองจากการสร้างบิลิรูบินมากกว่าปกติร่วมกับการขับถ่ายบิลิรูบินน้อยกว่าปกติภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia), ภาวะติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์ เช่น การติดเชื้อซิฟิลิส (Congenital Syphilis) หัดเยอรมัน (Congenital German Measles), ภาวะขาดออกซิเจน, ทารกที่แม่เป็นเบาหวาน (Maternal Diabetes), ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome)
ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน พบในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวโดยจะพบว่ามีสารบิลิรูบินสูงขึ้น แต่จะค่อยๆลดระดับลงเองเมื่อทารกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ส่วนมากจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดแดงแตกไม่มากและตับก็ยังทำงานเป็นปกติ
- ภาวะตัวเหลืองจากปัญหาการกินนมได้น้อยหรือไม่พอ
ภาวะนี้มักเกิดในช่วงอายุ 2-4 วันโดยเกิดจากการที่ทารกยังดูดนมได้ไม่ดีและปริมาณน้ำนมแม่ยังมีน้อย ทำให้ทารกขาดน้ำและพลังงานมีการขับถ่ายออกมาน้อยไปด้วยบิลิรูบินที่อยู่ในลำไส้ของทารกก็จะถูกดูดซึมกลับเข้าไปในกระแสเลือดแทนที่จะถูกกำจัดออกจากร่างกายพร้อมกับของเสียที่ถูกขับถ่ายออกมาดังนั้นการให้นมบ่อยขึ้นโดยอาจให้นมทุก 2-3 ชั่วโมงอย่างถูกวิธีจะทำให้ลิรูบินลดลงได้
พยาธิสภาพของโรค
บิลิรูบินเกิดจากการแตกตัวของฮีโมโกลบินซึ่งได้มาจากเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัยหรือแตกจากการถูกทำลายเป็น Unconjugated bilirubin (UB) ซึ่งละลายน้ำไม่ได้ต้องจับกับอัลบูมินในซีรั่มและถูกนำไปที่ตับเกิดการ conjugate ได้เป็น conjugated bilirubin (CB) ซึ่งละลายน้ำได้แล้วถูกขับถ่ายทางน้ำดีและปัสสาวะ แต่เมื่อผ่านลงมาในลำไส้บิลิรูบินที่ละลายในน้ำอาจถูกย่อยสลายในลำไส้กลายเป็นบิลิรูบินที่ไม่ละลายในน้ำใหม่และถูกดูดซึมกลับเข้าสู่กระแสเลือด (entero hepatic circulation)
สาเหตุ
- มีการสร้าง bilirubin มากกว่าปกติจากภาวะต่างๆที่มีการสลายตัวของเซลล์เม็ดเลือดแดงเช่น การที่หมู่เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน (ABO incompatibility และ Rh incompatibility) เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติซึ่งภาวะทั้ง 2 ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติภาวะเลือดข้นมีภาวะเลือดออกในร่างกายทำให้มีการสลายตัวและมี bilirubin เข้าสู่กระแสเลือดมากกว่าปกติการที่มารดาได้รับยา oxytocin ที่ใช้ในการเร่งคลอดซึ่งสามารถทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของทารกแตกได้ง่ายขึ้นหรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือด
- มีการขับ bilirubin ได้น้อยหรือไม่ได้ ซึ่งสามารถเกิดได้จากลำไส้มีการเคลื่อนไหวน้อยหรือทารกดูดนมน้อยมีการอุดตันของลำไส้ ท่อน้ำดีอุดตันหรืออักเสบ ทำให้เกิดการดูดซึม bilirubin จากลำไส้กลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตมากกว่าปกติ
- ตับมีความสามารถในการเปลี่ยน bilirubin เป็นชนิด conjugated bilirubin ได้น้อย ซึ่งอาจเกิดจากทารกคลอดก่อนกำหนดทำให้ระดับเอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยน bilirubin ต่ำกว่าปกติทารกขาดเอนไซม์ UDP glucuronyl transferase หรือที่เรียก Crigler Najjor Syndrome ที่เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ที่พบในทารกชาวอาหรับหรืออาจเกิดจากได้รับยาบางชนิดที่ขัดขวางการเปลี่ยนรูปของ unconjugated bilirubin
-