Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Respiratory Distress Syndrome - Coggle Diagram
Respiratory Distress Syndrome
ความหมาย
คือภาวะหายใจลำบากของทารกตั้งแต่กำเนิด เกิดจากการที่ปอดยังสร้างไม่สมบูรณ์ และขาดสาร Surfactant หรือ สารลดแรงตึงผิว อันมีผลทำให้ปอดแฟบ หายใจเข้าออกได้อย่างไม่เป็นปกติ และหากเป็นรุนแรง ทารกก็จะไม่สามารถหายใจเองได้ ซึ่งสาเหตุหลักๆ นั้น เป็นผลมาจากการคลอดก่อนกำหนด แต่ทั้งนี้ เด็กที่อยู่ในครรภ์ครบกำหนดก็สามารถพบภาวะ RDS ได้เช่นกัน แต่จะมีจำนวนน้อยกว่ามาก และถ้าหากมีก็จะเป็นสาเหตุมาจากปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ อาทิ คุณแม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งมีผลทำให้ปอดของทารกพัฒนาช้ากว่าอายุครรภ์จริงนั่นเอง
พยาธิสภาพ
ทารกที่เกิดก่อนกำหนดโครงสร้างและการทำหน้าที่ของปอดยังไม่สมบูรณ์ ปอดของทารกขาดสารลดแรงตึงผิว ส่งผลให้ถุงลมแฟบขณะทารกหายใจออก ปริมาณของอากาศที่เหลือในปอดหลังการหายใจออก (Function Residual Capacity: FRC) ลดลงปริมาตรและความยืดหยุ่นของปอด (Lung compliance) ลดลง ทารกต้องใช้แรงในการหายใจเพิ่มขึ้น เกิดความไม่สมดุลระหว่างการระบายอากาศและการกำซาบออกซิเจน ส่งผลให้มีปริมาณออกซิเจนในร่างกายต่ำ (Hypoxemia) และมีภาวะเลือดเป็นกรด (Respiratory และ metabolic acidosis)
ทารกที่อายุครรภ์น้อยจะมีโอกาสเกิดภาวะ RDS รุนแรงขึ้นจนเกิดภาวะปอดแฟบ (Atelectasis) ซึ่งจะยิ่งทวีความรุนแรงของภาวะเป็นกรด ส่งผลให้หลอดเลือดที่ปอดหดตัวเกิดเลือดลัดวงจรจากขวาไปซ้าย (Right to left shunt) ที่ Ductus arteriosus และ Foramen ovale จะยิ่งทำให้ภาวะขาดออกซิเจนมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ปอดทารกจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่อายุครรภ์ 24 วัน โดยเริ่มมีตุ่มนูนออกจากหลอดลม และจะมีการแยกของท่อหลอดลมใหญ่ซ้ายและขวา (Two mainstream bronchi) เมื่ออายุประมาณ 6 สัปดาห์ตลอดการตั้งครรภ์จะมีการพัฒนาและการเจริญของหลอดลมเล็ก (Bronchi) หลอดลมฝอย(Bronchiole) หลอดลมฝอยส่วนปลาย (Terminal bronchiole) และท่อถุงลม (Alveolar ducts) ถุงลม (Alveolar sacs) และถุงลมเล็ก (Alveoli) เมื่ออายุครรภ์ 16 - 28 สัปดาห์ ถุงลมจะมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีเส้นเลือดฝอย (Capillaries) มาเลี้ยงบริเวณผนังของถุงลม ในช่วงนี้จะเริ่มมีการสร้าง Alveolar cell type I และ Alveolar cell type II ซึ่ง Alveolar cell type II เป็นเซลล์ที่มีหน้าที่ในการสร้างสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) ดังนั้นในระยะนี้จึงมีการสร้างสารลดแรงตึงผิวขึ้น แต่อัตราการผลิตไม่คงที่แน่นอนและปริมาณไม่เพียงพอที่จะทำหน้าที่ช่วยให้ถุงลมคงรูปและมีความยืดหยุ่นการสร้างสารลดแรงตึงผิวจะเสร็จสมบูรณ์สามารถทำหน้าที่ได้เมื่ออายุครรภ์ 34 สัปดาห์
สาเหตุ
ภาวะของมารดา
hypoglycemia
Polycythemia
Hyaline Membrane Disease (HMD)
Cardiomyopathy
การใช้ยาในทางที่ผิด การถอนยา
Diabetes mellitus
anemia
เงื่อนไขทางสูติกรรม
Hydrops fetalis (ทารกบวมน้ำ) น้ำในช่องช่องปอด (pleural effusion)
คลอดก่อนกำหนด
ยาชาทั่วไป
การคลอดเร็ว
การใช้ยาสลบตอนคลอด
PROM (ภาวะน้ำเดินก่อนกำหนด)
ปัญหาการคลอดที่ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปสู่ทารกลดลง
การผ่าคลอด
การตั้งครรภ์แฝด
MSAF (meconium stained amniotic fluid)
Antepartum hemorrhage (ตกเลือด)
อุบัติการ
ทารกเกิดก่อนกำหนดมีโอกาสเกิดภาวะ RDS ได้มากถึงร้อยละ 50 และ 30 -40% ของทารกกลุ่มนี้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในแต่ละปีทั่วโลกจะมีทารกเกิดก่อนกำหนดประมาณ 15 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น สำหรับประเทศไทยข้อมูลจากผลการศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะ RDS ในทารกเกิดก่อน กำหนดระยะท้าย พบอุบัติการณ์ RDS คิดเป็นร้อยละ 50.14 โดยอุบัติการณ์เกิดภาวะ RDS จะแปรผกผันกับอายุครรภ์และน้ำหนักแรกเกิด ยิ่งอายุครรภ์น้อยโอกาสการเกิดภาวะ RDS ก็ยิ่งมีมากขึ้น
Respiratory Distress Syndrome (RDS) เป็นปัญหาระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อยในทารกเกิดก่อนกำหนด และเป็นสาเหตุสำคัญของความเจ็บป่วยและการเสียชีวิตของทารกกลุ่มนี้
พบว่าปัญหาด้านการหายใจเป็นภาวะแทรกซ้อนอันดับหนึ่งของทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย การศึกษาภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้ายในประเทศไทยที่โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชปี พ.ศ.2554พบว่ามีภาวะหายใจลำบากมากกว่าทารกครบกำหนดคิดเป็น 11.8 เท่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของสิริขวัญและคณะ ศึกษาที่โรงพยาบาลศิริราช พ.ศ.2549-2551 และการศึกษาของรรินและคณะ ศึกษาที่โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พ.ศ.2554-2557 พบว่าอายุครรภ์ที่น้อยยิ่งสัมพันธ์ กับภาวะหายใจลำบากในทารกเกิดก่อนกำหนดจากการขาดสารลดแรงตึงผิว (Respiratory distress syndrome; RDS) รองมาคือ ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด(transient tachypnea of the newborn ;TTN)
อาการและอาการแสดง
มีภาวะหยุดหายใจ (Apnea)
อาการเขียว (Cyanosis)
พบการดึงรั้งของช่องระหว่างซี่โครง (Intercostal retraction) หรือใต้ซี่โครง(Subcostal retraction)
หายใจออกมีเสียงดัง (Expiratory grunting)
หายใจเร็ว (อัตราการหายใจมากกว่า 60 ครั้ง/นาที)
ปีกจมูกบาน
ในทารกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม อาจมีภาวะหายใจล้มเหลว หรือภาวะช็อกตั้งแต่แรกเกิด
ภาวะแทรกซ้อน
เกิดอากาศสะสมบริเวณรอบหัวใจหรือทรวงอก
มีเลือดออกในสมองหรือปอด
เกิดการแข็งตัวของเลือด ลิ่มเลือด
ความผิดปกติในด้านพัฒนาการด้านต่าง ๆ เช่น ความบกพร่องทางสติปัญญา มีปัญหาด้านการมองเห็น เป็นต้น
มีปัญหาในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดเรื้อรังในทารกแรกเกิดและภาวะปอดแฟบ เป็นต้น
ติดเชื้อในกระแสเลือด
ไตวาย
การวินิจฉัยโรค
การเอกซเรย์ทรวงอกเพื่อตรวจหาความผิดปกติบริเวณปอด
การทดสอบด้วยเครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Pulse Oximetry Test) เพื่อตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดของทารกผ่านเซนเซอร์ที่ติดอยู่บริเวณปลายนิ้วหูหรือนิ้วเท้าและการเจาะเลือดประเมินระดับออกซิเจนโดยตรง
การตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการติดเชื้อที่อาจเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติ
อาการไม่รุนแรงเด็กสามารถหายใจเองได้ในระดับหนึ่งแพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ออกซิเจนธรรมดาแล้วไม่นานเด็กก็จะปรับตัวได้หายใจได้ดีมากขึ้น
อาการระดับกลางเด็กมีภาวะหายใจลำบากค่อนข้างมากแพทย์จะพิจารณาใช้เครื่องช่วยหายใจที่ใส่ผ่านจมูกเพื่อดันอากาศและออกซิเจนเข้าไปในปอดของเด็กเพื่อให้ปอดที่แฟบขยายตัวร่วมกันกับการให้ออกซิเจนเพื่อให้ร่างกายเด็กแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีขึ้นจนกระทั่งหายเป็นปกติ
อาการระดับรุนแรงมากในกรณีที่เด็กหายใจเองไม่ได้เลยหรือใส่เครื่องช่วยหายใจผ่านทางจมูกแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์จะใช้การรักษาด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจแบบ 100%
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปัญหาที่ 2 ทารกมีโอกาสเกิดภาวะอุณหภูมิกายเปลี่ยนเเปลงได้ง่ายเนื่องจากระบบควบคุมอุณหภูมิยังเจริญไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์
อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตั้งอุณหภูมิตู้อบ 35.5 องศาเซลเซียสและตรวจสอบการทำงานของตู้อบให้ทำงานได้ตามปกติ
2.วัดอุณหภูมิทุก 4 ชั่วโมง
3.จัดให้นอนในที่นอนที่ทำด้วยผ้าลักษณะคล้ายรังนก (nest)
4.เปลี่ยนผ้าอ้อมผ้าปูที่นอนให้ทารกทุกครั้งที่เปียกชื้นจากอุจจาระหรือปัสสาวะ
ปัญหาที่ 3 ทารกมีโอกาสติดเชื้อในร่างกายเนื่องจากการเกิดก่อนกำหนดระบบภูมิคุ้มกันยังไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์
ทารกไม่เกิดการติดเชื้อในร่างกาย
กิจกรรมการพยาบาล
1.ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
2.ดูแลความสะอาดสิ่งแวดล้อมของทารก
3.บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
4.สังเกตอาการและอาการแสดงต่าง ๆ ที่ผิดปกติ เช่น ซึมมีไข้หยุดหายใจ
5.ดูแลให้ยา Ampicillin และ Gentamicin ตามแผนการรักษา
ปัญหาที่ 1 ทารกมีภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอเนื่องจากถุงลมปอดทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์
กิจกรรมการพยาบาล
2.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งโดยจัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูง 30 องศา
3.ฟังเสียงปอดก่อนและหลังดูดเสมหะสังเกตลักษณะการเคลื่อนไหวและการขยายของทรวงอกทั้งสองข้าง
4.ดูแลท่อช่วยหายใจให้อยู่ในตำแหน่งตลอดเวลาดูแลเครื่องช่วยหายใจให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
1.บันทึกสัญญาณชีพและค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนทุก 1 ชั่วโมงเพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจน
5.ให้สารน้ำตามแผนการรักษา
6.ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วัตถุประสงค์การพยาบาล
1.ทารกได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
2.ทารกมีแลกเปลี่ยนก๊าซอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปัญหาที่ 4 ทารกมีโอกาสเกิดภาวะขาดสารน้ำสารอาหารและความไม่สมดุลของอิเล็คโทรลัยต์เนื่องจากมีการสูญเสียน้ำทาง insensible loss และระบบทางเดินอาหารยังทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์
วัตถุประสงค์
ทารกได้รับสารน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอและป้องกันการสูญเสียน้ำของทารก
กิจกรรมการพยาบาล
2.ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารอาหารทางหลอดเลือดดำและนมตามแผนการรักษา
3.สังเกตและบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกาย
1.ประเมินภาวะขาดน้ำชั่งน้ำหนักทุกวัน
ปัญหาที่ 5 ทารกมีโอกาสเกิดการถูกทำลายของของผิวหนังเนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของโครงสร้าง
วัตถุประสงค์
ป้องกันการถูกทำลายของผิวหนังของทารก
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลทำความสะอาดผิวหนังทารก
2.ใช้พลาสตอร์ขนาดเล็กที่สุดติดบนผิวหนังหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารระคายคืองกับผิวหนังทารก
3.เปลี่ยนบริเวณที่พันสายวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดทุก 2-3 ชั่วโมง
ปัญหาที่ 6 การสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับทารกไม่ต่อยม่ต่อเนื่องจากสภาวะวิกฤตของทารกทำให้ทารกต้องถูกแยกจากครอบครัว
วัตถุประสงค์เพื่อให้ทารกมีปฏิสัมพันธ์กับบิดามารดาอย่างเหมาะสมสร้างสายสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมการพยาบาล
1.สนับสนุนให้บิดามารดาได้เข้าเยี่ยมทารก
2.เปิดโอกาสให้บิดามารดาสร้างสายสัมพันธ์กับทารก
3.จัดให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการดูแลทารกร่วมกัน
4.จัดสถานที่ให้มารดาได้อยู่เฝ้าดูแลทารกตลอดเวลาเมื่อทารกมีอาการดีขึ้นเพื่อให้มารดาได้เรียนรู้การดูแลทารก
ปัญหาที่ 7 ทารกมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเครื่องช่วยหายใจเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ
ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจสอบตำแหน่งท่อช่วยหายใจอยู่ในตำแหน่งถูกต้อง
2.ทำการผูกยึดทารกดูแลการทำงานของเครื่องช่วยหายใจให้มีประสิทธิภาพ
3.จัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศาเพื่อให้ปอดขยายตัวได้มากขึ้น
4.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง
5.ดูแลทารกได้พักผ่อนเพื่อลดการใช้ออกซิเจน
6.ระบายอากาศออกจากกระเพะอาหารป้องกันอาการท้องอืด
1.ประเมินสัญญาณชีพค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดทุก 1 ชั่วโมง
2.สังเกตและประเมินการเคลื่อนไหวของผนังทรวงอกและฟังเสียงลมเข้าปอดประเมิน
3.สังเกตและบันทึกอาการอาการแสดงของระบบประสาท
4.ติดตามภาพถ่ายรังสีทรวงอกเพื่อประเมินภาวะปอด
แนวทางการรักษา RDS
การช่วยหายใจ (Assisted ventilation) การช่วยหายใจมีความสำคัญมากในการรักษา RDS เนื่องจากทารกไม่สามารถหายใจนําออกซิเจนเข้าไปในปอดได้ด้วยตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรักษาด้วยสารลดแรงตึงผิว (Surfactant replacement therapy) เป็นการรักษามาตรฐานอย่างหนึ่ง
การให้ภายหลังจากการเกิดโรค (Rescue treatment)
การให้เพื่อป้องกัน (Prophylaxis therapy) คือ การให้ทันทีหลังทารกเกิดในทารกที่มีความเสี่ยงสูง เช่น GA น้อยกว่า 30 สัปดาห์
การรักษาด้วยออกซิเจน (Oxygen therapy)
การรักษาแบบประคับประคอง (Supportive treatment)
ดูแลให้ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเหมาะสม
การรักษาสมดุลของน้ำและอิเล็กโทรไลต์รักษาดุลกรด - ด่างในเลือด ในทารกที่มีภาวะ RDS จะยอมรับค่าความดันก๊าซในเลือดแดง (Arterial blood gas) ที่ pH > 7.25, PaO2 50 – 80 มม.ปรอท และ PaCO2 40 - 55 มม.ปรอท
ติดตามการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ น้ำหนักของทารกและบันทึกปริมาณน้ำเข้าและออกจากร่างกาย รวมทั้งการสังเกตอาการหายใจ เพื่อประเมินสภาวะความรุนแรงของโรค
การรักษาระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงและระดับฮีโมลโกลบินให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ควบคุมและป้องกันการติดเชื้ออาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะตามอาการ หรือประวัติของทารกที่เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อ
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้อุ่นคงที่เสมอ โดยให้ทารกอยู่ในตู้อบ
การพยาบาลทารก RDS ภายใต้หลักการดูแล 5 หลักการ
Airway clearance
การจัดท่านอน ควรสลับท่านอนของทารกเป็นระยะ ร่วมกับการประเมินอาการของทารก
การดูดเสมหะที่ถูกต้องจะช่วยทำให้ทางเดินหายใจโล่ง และสามารถลดการเกิดเยื่อจมูกบวมด้วย
Control temperature
การดูแลทารกในตู้อบ (Incubator) ควรติดตามค่าอุณหภูมิของตู้ให้เหมาะสมกับอายุและน้ำหนักของทารก
การป้องกันการสูญเสียความร้อนทั้ง 4 ทิศทาง คือ การนํา การพา การแผ่รังสี และการระเหย
Lung expansion
ติดตามและดูแลให้ทารกได้รับการช่วยหายใจตามค่าที่กำหนดไว้ตามแผนการรักษา
ป้องกันการสูญเสียแรงดันที่ทารกควรได้รับ (Lose of PEEP)
การประเมินภาวะท้องอืด (Abdominal distention)
Nutrition
เมื่อทารกอาการดีขึ้นตรวจพบการเคลื่อนไหวของลำไส้ แพทย์จะเริ่มให้นมมารดา ซึ่งจะเริ่มให้นมทางสายยาง (Orogastric tube) โดยเฉพาะในทารกที่อายุครรภ์น้อยกว่า 32 – 34 สัปดาห์
ทารกที่มีภาวะ RDS ต้องได้รับสารอาหารทางหลอดเลือดดำทาง Umbilical Vein Catheter (UVC)
Oxygenation
ประเมินและติดตามอาการแสดงทางคลินิกโดยใช้เครื่อง Pulse oximeter เพื่อประกอบการพิจารณาในการปรับปริมาณออกซิเจนให้เหมาะสม โดยควบคุมระดับค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดแดง (SpO2) ให้อยู่ระหว่าง 90 -94%
ประเมินและติดตามอาการแสดงที่บ่งบอกถึงภาวะพร่องออกซิเจน เช่น หายใจเร็วมีการดึงรั้งของช่องกระดูกซี่โครง (Retraction) อาการเขียว (Cyanosis)