Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart Disease), จัดทำโดย: นางสาวบุษบา…
โรคหัวใจที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Heart Disease)
สาเหตุ
เกิดจากการที่เด็กป่วยเป็นโรคในระบบต่างๆของร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการทํางานของหัวใจ ทําให้หัวใจทํางานผิดปกติ โดยเฉพาะโรคโรคหัวใจรูมาติค (Rheumatic Heart Disease) และโรคไข้รูมาติค (Rheumatic fever) ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ
โรคไข้รูมาติค (Rheumatic fever)
เป็นกลุ่มอาการของการอักเสบที่เกิดข้ึนตามหลังจากการติดเชื้อที่คอหรือต่อมทอนซิล จากเชื้อโรค Beta hemolytic streptococcus group A ซึ่งเข้าทางปากและลำคอเด็ก
ลักษณะพิเศษ คือ เมื่อเคยเป็นแล้วมักจะเป็นซ้ำอีก
พบบ่อยในกลุ่มเด็ก อายุ 5 –15 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย โดยจะแสดงอาการหลังจากติดเชื้อที่คอแล้วประมาณ 1–5 สัปดาห์
โรคหัวใจรูมาติค (Rheumatic Heart Disease)
เป็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจซึ่งเกิดจากการเป็นไข้รูมาติค(Rheumatic fever) ส่งผลให้ลิ้นหัวใจเสียหน้าที่ ในระยะหลังคือโรคลิ้นหัวใจไมตรัลรั่ว(regurgitation) ตีบ(stenosis) หรือ Aortic regurgitation ต่อมาอาจทำให้หัวใจวายและลิ้นหัวใจผิดปกติอย่างถาวร
การรักษา
ให้ยากำจัดเชื้อโรค Beta hemolytic streptococcus
ให้ยาสาหรับลดการอักเสบ ได้แก่ Salicylate และ Steroid
กรณีมี Carditis และหัวใจโตมาก ไม่มี heart failure คือให้ Aspirin 75-120 มก./กก./วัน และ Prednisolone 2 มก./กก./วัน
กรณีมี Carditis โดยที่หัวใจไม่โต ให้ Aspirin ขนาดเดิม นาน 4-6 สัปดาห์
ข้ออักเสบอย่างเดียว ให้ Aspirin นาน 1-3 สัปดาห์
ให้นอนพัก 2-6 สัปดาห์/เคลื่อนไหวไปมาในห้อง เดินบริเวณใกล้ ช่วยเหลือในการทำกิจกรรมทุกอย่าง ทั้งน้ีข้ึนอยู่กับอาการของผู้ป่วย
ถ้ามี Chorea ให้ Phenobarbital, Diazepam
ผู้ป่วยท่ีมีภาวะหัวใจวายให้ digitalis ร่วมกับยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยในการขยายหลอดเลือด
การป้องกัน
ป้องกันผู้ที่เป็นแล้วไม่ให้เป็นซ้ำอีกโดยควรได้รับยาป้องกันตลอดชีวิต แต่อาจจะพิจารณาหยุดยา
เมื่ออายุ 21 ปี และไม่เป็นโรคน้ีซ้ำอีกเป็นเวลา 5 ปี ได้แก่ ยา Penicillin,Erythromycin
กิจกรรมการพยาบาล
ปรับกิจกรรม/การพักผ่อนให้เหมาะสม
หลีกเลี่ยงการออกแรงมากๆ เช่น เบ่งถ่ายอุจจาระ การเล่นกีฬา แข่งขันหรือทำให้ตื่นเต้นเร้าใจ
ดูแลความสะอาดร่างกายโดยเฉพาะปากฟัน แปรงฟัน บ้วนปากบ่อยๆ
ประเมินการติดเชื้อที่คอ โดยวัดอุณหภูมิทุก 4 ชม. สอบถามอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอก ตรวจคอ
ทอนซิล ติดตามผลการตรวจเพาะเชื้อจากคอ ติดตาม WBC, ASO titer
ดูแลให้ได้รับยา Penicillin v.
ระมัดระวังไม่ให้ผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มเติม ถ้ามีอาการเจ็บคอ หวัด ไอควรปิดปากเวลาไอจาม
ความหมาย
ความผิดปกติของหัวใจซึ่งไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิด อาจเกิดข้ึนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคในระบบต่างๆในร่างกาย มีผลทำให้เกิดความผิดปกติในด้านโครงสร้างของหัวใจหรือในด้านการทำงานของหัวใจ หรือทั้งสองอย่างร่วมกัน จนทำให้เด็กมีอาการหรือตรวจพบความผิดปกตินั้นได้
พยาธิสรีรวิทยา
กลไกของการเกิดโรค เข้าใจวทาเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immunopathology) ทําให้มีการทําลายของกล้ามเนื้อหัวใจ โดยเฉพาะที่ผนังของ left ventricle, mitral valve, aortic valve และเยื่อหุ้มหัวใจ การอักเสบจะเป็นแบบ exudative inflammation เกิด granulomatus tissue และ fibrosis การอักเสบซ้ำๆจะทําให้ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วได้
อาการและอาการแสดง
อาการทาง major criteria
Carditis
พบเสียง murmur ที่ apex จากภาวะ mitral valve ตีบหรือรั่ว
หัวใจโต
หัวใจวาย เช่น ไอ เจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย ตับโต บวม
Polyarthritis
การอักเสบของข้อ มักจะมีอาการมากกว่า1ข้อ มักเป็นข้อใหญ่ๆ เช่น เข่า ศอก ข้อเท้า ตรวจพบลักษณะการอักเสบ คือ ปวด บวม แดง ร้อน
อาการแสดงทางผิวหนัง
Erythema marginatum: เป็นผื่นแดงไม่คัน ขอบผื่นจะหยักและสีแดงชัดเจน มักพบบริเวณแขนขา ลำตัว เป็นๆหายๆ(อาการเกิดชั่วคราวคล้ายลมพิษ)
Subcutaneous nodule: เป็นก้อนรีๆใต้ผิวหนัง จับให้เคลื่อนไหวได้มักจะเป็นใกล้ๆข้อ เป็นปุ่มๆติดกับเอ็นและกระดูก
Chorea
เป็นความผิดปกติในการเคลื่อนไหวร่วมกับมีอารมณ์แปรปรวน โดยเจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจร่วมกับมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ทำให้พูดไม่ชัด เขียนหนังสือไม่ค่อยเป็นตัว
อาการทาง minor criteria
Fever(ไข้) : มักจะเป็นแบบไข้ต่ำๆ
Arthalgia : มีการปวดตามข้อ โดยตรวจไม่พบอาการอักเสบ
มักจะเป็นตามข้อใหญ่ๆและปวดมากกว่า 2 ข้อข้ึนไป
Previous Rheumatic fever or RHD (Rheumatic heart disease)
increase ESR, C-Reactive protein และ leukocytosis
Prolonged P-R interval
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ตรวจร่างกาย : พบอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพาะเชื้อจากคอ ตรวจหา Beta hemolytic streptococcus group A
Antistreptolysin O (ASO) ในเลือดมากกว่า 320 Todd unit
ESR (Erythrocyte Sedimentation rate) เพิ่มข้ึน
C-reactive protein ให้ผลบวก
ภาพรังสีทรวงอก(chestx-ray) : พบเงาหัวใจโต ปอดบวมน้ำ มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเยื่อหุ้มปอด
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) : P-Rinterval ยาวกว่าปกติ T-wave ผิดปกติ
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ(echocardiogram) : ช่วยวินิจฉัยการมีน้ำในเยื่อหุ้มหัวใจ การรั่ว/ตีบของลิ้นหัวใจ
การวินิจฉัยว่าเป็นไข้รูมาติคต้องพบว่ามี 2 major criteria ข้ึนไปหรือพบ 1 major ร่วมกับ 2 minor criteria
จัดทำโดย: นางสาวบุษบา จันทร์เกลี้ยง รหัสนักศึกษา 62105301048