Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว :recycle:, image-resized, image-resized…
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว :recycle:
Transposition of Great Vessels (TGV) :star:
ความหมาย
ภาวะที่ aorta และ pulmonary artery อยู่สลับที่กันโดย aorta จะออกจาก ventricle ขวา แต่ pulmonary artery ออกจาก ventricle ซ้ายแทน
สาเหตุ
เกิดจากการที่เลือดแดงและเลือดดําไหลปนกัน
(mixed blood flow)
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเขียวตั้งแต่ 2 –3 วันแรกหลังคลอด หายใจเร็ว ดูดนมได้ช้า มีหัวใจวาย ตับโต เด็กจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
พยาธิสภาพ
จากการที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกาย (aorta) ออกจาก ventricle ข้างขวาและหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปรับออกซิเจนที่ปอด(pulmonary artery) ออกจาก ventricle ข้างซ้าย ซึ่งรับเลือดแดงจาก atrium ข้างซ้าย ผู้ป่วยไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่มีช่องทางติดต่อให้เลือดทั้ง 2 วงจรมีการผสมกัน ซึ่งถ้าผสมกันไม่เพียงพอทําให้เกิดอาการเขียว (cyanosis) ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ จะมีอาการเขียว ดูดนมแล้วเหนื่อยง่าย
การตรวจร่างกาย พบว่ามีอาการเขียว มี clubbing finger พบ systolic ejection murmur หัวใจเต้นเร็ว โตขึ้น ตับโต
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เด็กโต Hb/Hct สูงกว่าปกติเนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจน
4.ถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X - ray ) เงาหลอดเลือดในปอดเพิ่มขึ้น ห้องหัวใจโต
5.คลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG พบ atrium และ ventricle ข้างขวาโต ความดันในเส้นเลือดของปอดสูง
6.คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ ( Echocardiogram)
การรักษาและการพยาบาล
1.การรักษาทั่วไป
1.3 ให้ยา digitalis และยาขับปัสสาวะ
1.4 ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่หัวใจและภาวะขาดน้ำ
1.2 ดูแลสุขภาพฟัน
1.5 ให้ออกซิเจนและรักษาภาวะหัวใจวาย
1.1 แนะนำอาหารที่ถูกต้อง ดี มีสารอาหารครบ รักษาภาวะเลือดจางได้
1.6 ให้ Prostaglandin ในระยะหลังคลอดใหม่ ๆ จะทำให้ Ductus arteriosus เปิดอยู่ต่อไปทำให้ผู้ป่วยเขียวน้อยลงและให้แพทย์ทำ atrial septal defect โดยใช้ balloon catheter หรือการผ่าตัด
2.การรักษาทางศัลยกรรม โดยการทะลุระหว่างผนังกั้น atrium ด้วย balloon เพื่อให้เกิด mixed blood มากขึ้น หรือทำการผ่าตัดเพื่อให้เกิดทางติดต่อระหว่าง atrium ทั้งสอง เป็นต้น
Tetralogy of Fallot (TOF) :unlock:
ความหมาย
เป็นโรคหัวใจที่มีความผิดปกติแต่กําเนิดหลายอย่างที่พบได้ตั้งแต่แรกคลอดทันทีซึ่งความพิการ 4 ประการของฟาโลท์ มีความผิดปกติ 4 อย่าง ได้แก่
Pulmonary
Stenosis (PS)
หลอดเลือด aorta ค่อนไปทางขวา (Overriding
aorta)
Ventricular Septal
Defect: VSD
Right Ventricular Hypertrophy (RVH)
มีการหนาตัวของ ventricle
สาเหตุ
เกิดจากการที่เลือดไหลลัดวงจรจากขวาไปซ้าย (Right to
left shunt)
พยาธิสภาพ
เนื่องจากมีการอุดกั้น ventricle ขวาจาก PS และมี VSD ดังนั้น จึงมีเลือดลัดวงจรจากขวาไปซ้าย ในระดับ ventricle ทําให้หัวใจห้องล่างขวามีการทํางานมากขึ้น เด็กมีอาการเขียวจากการผสมกันของเลือดที่มีระดับออกซิเจนน้อย การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนนี้ทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ ร่างกายจึงมีการทดแทนโดยการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้(polycythemia) ทําให้เลือดมีความหนืดมากขึ้นเกิด thrombophlebitis emboli ได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่ออายุประมาณ 3 – 6 เดือน ในตอนแรกจะพบว่ามีอาการเขียวเฉพาะเวลาเด็กออกกําลังกาย เช่น ดูดนม ร้องไห้ การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ในเด็กที่เดินได้แล้วมักจะเหนื่อยง่าย เวลาเหนื่อยจะนั่งยอง ๆ (squatting) เนื่องจากเลือดไหลไป VSD ลดลง และไปปอดมากขึ้น ทําให้อาการเหนื่อยหอบลดลง บางรายเป็นมากจะเกิดภาวะ anoxicspells ร่วมด้วย คือ กระสับกระส่าย ร้องกวน หยุดหายใจเป็นพัก ๆ หายใจแรงลึก ตัวเขียวมากขึ้น อ่อนเพลียเชื่องช้า เล็บมือเล็บเท้าเขียว ตัวและปากเขียว ตัวแข็ง ตาเหลือกไม่รู้สึกตัว ชักและอาจเสียชีวิตได้ มักพบในชว่งอายุ 2 ปีแรก มักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังตื่นนอน ในช่วงเช้าหลังกินอาหาร หรือเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระ หลังดูดนม การไอติดกันหลายครั้ง หรือภายหลังการร้องไห้
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย โดยน้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่าปกติ ตัวเล็ก ผอมกว่าปกติ ปากและเล็บเขียว นิ้วมือและนิ้วเท้าปุ้ม (Clubbing finger) ฟังพบ systolic ejection murmur
ผล Lab พบ Hct / Hb สูงขึ้น
การซักประวัติ ดูตามอาการ/เด็กโตช้า พัฒนาการไม่สมวัย น้ำหนักน้อย
.ถ่ายภาพรังสีทรวงอก (Chest X - ray ) พบหัวใจห้องล่างขวาโต pulmonary artery ที่ไปปอดขนาดเล็กกว่าปกติและหลอดเลือดไปปอดลดลง
คลื่นไฟฟาหัวใจ (EKG) : มี ventricle ขวาโต แกน
QRS เบี่ยงเบนไปขวา
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนา aorta คร่อม VSD pulmonary valve เล็ก
การรักษาและการพยาบาล
1.การรักษาทั่วไป
1.2 ให้ยาป้องกัน infective endocarditis ถ้าผู้ป่วยผ่าตัดหรือถอนฟันหรือได้รับการตรวจพิเศษต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดภาวะติดเชื้อเข้าไปในระบบไหลเวียนโลหิต
1.3 ป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก (cerebrovascular accident : CVA) ไม่ปล่อยให้เด็กเกิดภาวะเลือดจางโดยการให้ยาเสริมธาตุเหล็กหรือให้เลือดและไม่ให้เด็กเกิดภาวะเม็ดเลือดเลือดแดงมากเกินไป
1.1 ดูแลสุขวิทยาทั่วไป
1.4 รักษาภาวะ anoxic spells โดยการให้นอนท่า knee - chest position (นอนคว่ำ ยกก้นสูงมากกว่าเหยียดแขนขา) เพื่อลด systemic venous return ให้ออกซิเจน ให้ยา Propranolol ซึ่งเป็น Beta adrenergic blocking agent และให้ NaHCO3 1-2 mEq/kg. เข้าทางหลอดเลือดดำช้า ๆ