Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด, นางสาวนิธินาฏ เวทนา…
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
2. Right to left shunt ได้แก่ Tetrology of Fallot (TOF)
ความหมาย
มีความผิดปกติ 4 อย่างที่ทำให้เลือดไปปอดน้อยลง ได้แก่ 1. มีการตีบหรืออุดกั้นของทางออกของเวนตริเคิลขวา 2. ผนังระหว่างเวนตริเคิล (VSD) ขนาดใหญ่ 3. ตำแหน่งของลิ้นเอออร์ติคเลื่อนไปทางด้านขวา (overriding aorta) 4. การหนาตัวของเวนตริเคิลขวา (right ventricular hypertrophy)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย ในรายที่มี VSD ขนาดเล็ก จะฟังได้เสียง murmur ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะ anoxic spells บางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น ฝีในสมอง (brain abscess) มีการอุดตันของหลอดเลือดที่สมอง (cerebral thrombosis) หรือมีการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) พบว่าเวนตริเคิลขวาโต บางรายที่มีอาการรุนแรงอาจพบว่ามีเอเตรียมขวาโต
ภาพรังสีทรวงอก ขนาดหัวใจมักมีขนาดปกติเด็กโตที่มีอาการเขียวมากๆ อาจมีหัวใจโต
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง (Echocardiography)
การตรวจสวนหัวใจและการฉีดสารทึบรังสี
พยาธิสภาพ
เนื่องจากมีการตีบหรืออุดกั้นของเวนตริเคิลขวาทำให้ความดันเลือดเวนตริเคิลขวาและซ้ายใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน และถ้ามีการตีบของลิ้นพัลโมนารีมากขึ้น หรือบางครั้งมีการหดเกร็งของเนื้อเยื่อ infundibulum บริเวณใต้ลิ้นพัลโมนารีปริมาณเลือดที่ไปปอดจะลดลง ความดันในเลือดแดงพัลโมนารีจะต่ำลง ความดันในเวนตริเคิลขวาจึงสูงขึ้นท าให้เลือดดำส่วนใหญ่ไหลลัดจากเวนตริเคิลขวาไปผสมกับเลือดแดงในเวนตริเคิลซ้าย
อาการและอาการแสดง
อาการเขียวทั่วร่างกาย (central cyanosis)
ภาวะหัวใจวาย โดยเฉพาะในเด็กเล็กในช่วงอายุ 2-3 เดือนแรก
เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่ออายุ ประมาณ 3 – 6
เดือน ในตอนแรกจะพบว่ามีอาการเขียว เฉพาะเวลาเด็กออกแรง
การรักษา
เด็กที่มีอาการไม่มาก ควรให้มีค่าฮีมาโตคริทอยู่ประมาณร้อยละ 50-60 โดยให้ธาตุเหล็ก วันละ 2-6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน หรือในบางรายผู้ป่วยอาจมีอาการซีดจากการขาดเหล็ก ควรให้เหล็กเสริม
เด็กที่มีประวัติของภาวะ anoxic spells ชัดเจน ควรให้ propranolol ขนาด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วัน ทางปากให้ทุก 6 ชั่วโมง
เด็กที่มีอาการ anoxic spells มีหลักการรักษา ดังนี้ 3.1 จับให้เด็กอยู่ในท่าเข่าชิดอก (knee chest position) และดูแลให้ออกซิเจน 3.2 ให้สารน้ าและกลูโคสทางหลอดเลือดดำ เพื่อให้สารน้ำและยา 3.3 ให้โซเดียมไบคาร์บอเนต ในรายที่มีภาวะออกซิเจนเป็นเวลานาน และมี acidosis 3.4 ให้ sedative ทำให้สงบ เช่น chloral hydrate หรือ morphine ในขนาด 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง 3.5 ให้ beta adrenergic blocker ในกรณีที่ยังไม่ดีขึ้นให้ทางหลอดเลือดดำ
สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม
การติดเชื้อไวรัสในมารดาเช่น เชื้อหัดเยอรมัน
มารดาได้รับแอลกอฮอล์สิ่งเสพติด ยาบางชนิดในขณะตั้งครรภ์
เกิดจากสิ่งแวดล้อมในครรภ์เช่น มารดาเป็นเบาหวาน หรือ โรคลูปัส
การพยาบาล
เนื้อเยื่อต่างๆ มีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจ ทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ
วางแผนปฏิบัติการพยาบาล จัดลำดับก่อน - หลังโดยรบกวนเวลาของผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
คลายเสื้อผ้าให้หลวม และจัดให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ การเต้นของหัวใจ สีผิว
สังเกตและบันทึกอาการนำหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นระยะๆ
ดูแลให้ได้รับยา Digitalis ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะตรงตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนกระตุ้นเด็ก ให้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
1. Mixed blood flow ได้แก่ TGA หรือ TGV
ความหมาย
ภาวะที่ aorta และ pulmonary artery อยู่สลับที่กัน โดย aorta จะออกจาก ventricle ขวา แต่ pulmonary artery ออกจาก ventricleซ้ายแทน
พยาธิสภาพ
เกิดจากการที่หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายออกจาก ventricle ข้างขวา และหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปรับออกซิเจนที่ปอด ออกจาก ventricle ข้างซ้าย ซึ่งรับเลือดแดงจาก atrium ข้างซ้าย ผู้ป่วยจึงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ถ้าไม่มีช่องทางติดต่อให้เลือดทั้ง 2 วงจรมีการผสมกัน ซึ่งถ้าผสมกันไม่เพียงพอ อาการเขียว เป็นอาการปรากฏที่สำคัญของการมีเลือดผสมไม่เพียงพอ ปัญหาในผู้ป่วย TGV คือ เขียวเรื้อรัง และมีเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยที่เป็น TGA และมี infact ventricular septum ทารกจะมีอาการเขียวมากตั้งแต่แรกเกิดหรือภายใน 2-3 วันแรกหลังเกิด ต่อมาจะมีอาการหอบเหนื่อย มีอาการของหัวใจวาย
การรักษา
ในทารกแรกเกิดที่เป็น TGA และ intact ventricular septum ควรให้ยา prostaglandin E
การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติ ในปัจจุบันนิยมทำ arterial switch operation โดยการผ่าตัดสลับหลอดเลือดเอออร์ต้ากับหลอดเลือดแดงพัลโมนารี
การวินิจฉัย
การซักประวัติ มีอาการเขียวจัดตั้งแต่แรกเกิด บางรายจะมีอาการหอบลึก และมีประวัติของภาวะหัวใจวาย
การตรวจร่างกาย ในรายที่มี VSD จะได้ยินเสียง systolic murmur บริเวณขอบซ้ายของกระดูกอก
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography) มีเวนตริเคิลขวาโต แต่ในสัปดาห์แรกหลังเกิดอาจพบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ภาพรังสีทรวงอก พบว่าหัวใจโต โดยขั้วหัวใจ จะมีลักษณะแคบยาวคล้ายไข่ตะแคง
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจความถี่สูง (Echocardiography)
การตรวจสวนหัวใจและการฉีดสารทึบรังสี
สาเหตุ
ความผิดปกติทางพันธุกรรม
ความเจ็บป่วยของมารดา เช่น มารดาเป็นเบาหวาน
มารดาเป็นโรคหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์
มารดาได้รับยาขณะตั้งครรภ์ เช่น ยาระงับชัก ยาสงบประสาท กลุ่มยาฮอร์โมน
เกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มารดาดื่มสุรา สูบบุหรี่
การพยาบาล
เนื้อเยื่อต่างๆ มีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจ ทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนกระตุ้นเด็ก ให้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ การเต้นของหัวใจ สีผิว
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นระยะๆ
ดูแลให้ได้รับยา Digitalis ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะตรงตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
การเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เหมาะสมเนื่องจากเนื้อเยื่อต่างๆได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ
ให้ได้รับอาหาร น้ำ และแคลอรี่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่จำเป็น และให้พักผ่อนมากๆ
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัยโดยพิจารณาจากข้อจำกัดของผู้ป่วย
กระตุ้นการรับรู้ด้วยการพูดคุย ร้องเพลงให้ฟัง กอด แขวนโมบายหรือเปิดวิทยุให้ฟัง
อธิบายให้บิดามารดาและสมาชิกในครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับอาการ แนวทางในการดูแลรักษา เพื่อความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วย
นางสาวนิธินาฏ เวทนา รหัสนักศึกษา 621001046