Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) “ชนิดมีอาการเขียว…
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)
“ชนิดมีอาการเขียว (Cyanotic heart disease)”
Tetralogy of Fallot (TOF)
ความหมาย
เป็นโรคหัวใจที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดหลายอย่างที่พบได้ตั้งแต่แรกคลอดทันที
ความพิการ 4 ประการของฟาโลท์
Ventricular Septal Defect:VSD
Pulmonary Stenosis(PS)
หลอดเลือด aorta ค่อนไปทางขวา (Overriding aorta)
Right Ventricular Hypertrophy (RVH) มีการหนาตัวของ ventric
สาเหตุ
เกิดจากการที่เลือดไหลลัดวงจรจากขวาไปซ้าย (right to left shunt)
พยาธิสรีรวิทยา
การอุดกั้น ventricle ขวาจาก PS และมี VSD ทำให้มีเลือดลัดวงจรจากขวาไปซ้าย หัวใจห้องล่างขวาทำงานหนักขึ้น เด็กมีอาการเขียวจากการผสมกันของเลือดท่ีมีระดับออกซิเจนน้อย ทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ ร่างกายจึงมีการทดแทนโดยการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น(polycythemia) ทำให้เลือดมีความหนืดมากขึ้น เกิด thrombophlebitis emboli ได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
เด็กส่วนใหญ่จะมีอาการเมื่ออายุ ประมาณ 3 – 6 เดือน ในตอนแรกจะพบว่ามีอาการเขียว โดยเฉพาะเวลาเด็กออกแรง
ในเด็กที่เดินได้แล้ว มักจะเหนื่อยง่าย เวลาเหนื่อยจะนั่งยองๆ (squatting)
บางรายเป็นมากจะเกิดภาวะ anoxic spells ร่วมด้วย เช่น คือ กระสับกระส่าย ร้องกวน หยุดหายใจเป็นพักๆ หายใจแรงลึก ตัวเขียวมากข้ึน อ่อนเพลีย เชื่องช้า ตาเหลือก ไม่รู้สึกตัว มักพบในช่วงอายุ 2 ปีแรก
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ : ตามอาการ/เด็กโตช้า พัฒนาการไม่สมวัย น้ำหนักน้อย
การตรวจร่างกาย:
น้ำหนักและส่วนสูงน้อยกว่าปกติ : ตัวเล็ก ผอมกว่าปกติ
ปากและเล็บเขียว นิ้วมือและนิ้วเท้าปุ้ม (clubbing finger)
ฟังพบ systolic ejection murmur
Lab : พบ Hct/ Hb สูงขึ้น
การถ่ายภาพรังสีทรวงอก(chest x-ray) : พบหัวใจห้องล่างขวาโต pulmonary artery ที่ไปปอดขนาดเล็กกว่าปกติและหลอดเลือดไปปอดลดลง
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG): มี ventricle ขวาโต แกน QRS เบี่ยงเบนไปขวา
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (echocardiogram) : พบ atrium ขวาโต ventricle ขวาหนา aorta คร่อม VSD pulmonary valve เล็ก
การรักษา
การรักษาทั่วไป
ดูแลสุขวิทยาทั่วไป : รักษาสุขภาพฟัน อาหารที่เหมาะสม ให้ได้รับภูมิคุ้มกันตามปกติ
ให้ยาป้องกัน infective endocarditis ถ้าผู้ป่วยผ่าตัดหรือถอนฟัน หรือได้รับการ ตรวจพิเศษต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดภาวะติดเชื้อเข้าไปในระบบไหลเวียนโลหิต
ป้องกันการเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองแตก (cerebrovascular accident : CVA) ไม่ปล่อยให้เด็กเกิดภาวะเลือดจางโดยการให้ยาเสริมธาตุเหล็ก หรือให้เลือด และไม่ให้เด็กเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป
รักษาภาวะ anoxic spells โดยการให้นอนท่า knee-chest position (นอนคว่ำ ยกก้นสูงมากกว่าเหยียดแขนขา) ให้ออกซิเจน ให้ยา Propanolol และให้ NaHCO3 1-2 mEq/kg. เข้าหลอดเลือดดำช้าๆ
การรักษาทางศัลยกรรม
ทำการต่อระบบไหลเวียน เพื่อเพิ่มปริมาณเลือดไปปอดให้มากขึ้น
Transposition of the Great Vessels (TGV)
ความหมาย
ภาวะที่ aorta และ pulmonary artery อยู่สลับที่กัน โดย aorta จะออกจาก ventricle ขวา แต่ pulmonary artery ออกจาก ventricle ซ้ายแทน
สาเหตุ
เกิดจากการที่เลือดแดงและดำไหลปนกัน (Mixed Blood flow)
พยาธิสรีรวิทยา
หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกาย (aorta) ออกจาก ventricle ข้างขวา และหลอดเลือดที่ส่งเลือด ไปรับออกซิเจนที่ปอด (pulmonary artery) ออกจาก ventricle ข้างซ้าย ซึ่งรับเลือดแดงจาก atrium ข้างซ้าย ผู้ป่วยจึงไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าไม่มีช่องทางติดต่อให้เลือดทั้ง 2 วงจรมีการผสมกัน
ปัญหาในผู้ป่วย TGV คือ เขียวเรื้อรัง และมีเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตจากการขาดออกซิเจน ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อน 1 ปี
สาเหตุการตายที่สำคัญ คือ Hypoxemia ดังนั้นในรายที่มี left to right shunt และมี pulmonary stenosis พอเหมาะจะไม่เกิดภาวะหัวใจวาย สามารถมีชีวิตอยู่ได้จนเป็นผู้ใหญ่
อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการเขียวตั้งแต่ 2–3 วันแรกหลังคลอดหายใจเร็ว ดูดนมได้ช้า มีหัวใจวาย ตับโต เด็กจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ : มีอาการเขียว ดูดนมแล้วเหนื่อยง่าย
การตรวจร่างกาย
พบอาการเขียว มี clubbing finger
พบ systolic ejection murmur
หัวใจเต้นเร็วโตขึ้น
ตับโต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เด็กโต : Hb/Hct สูงกว่าปกติ เนื่องจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองต่อภาวะขาดออกซิเจน
ถ่ายภาพรังสีทรวงอก(chestx–ray) : เงาหลอดเลือดในปอดเพิ่มขึ้นห้องหัวใจโต
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG): atrium และ ventricle ข้างขวาโต ความดันในเส้นเลือดของปอดสูง
คลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ(echocardiogram)
การรักษา
การรักษาทั่วไป
แนะนำอาหารที่ถูกต้อง ป้องกันและรักษาภาวะเลือดจาง
ดูแลสุขภาพฟัน
ป้องกันการติดเชื้อเข้าสู่หัวใจและภาวะขาดน้ำ
ให้ออกซิเจน และรักษาภาวะหัวใจวาย
ให้ Prostaglandin ในระยะหลัง คลอดใหม่ๆ จะทำให้ ductus arteriosus เปิดอยู่ต่อไป ทำให้ผู้ป่วยเขียวน้อยลง และให้แพทย์ทำ atrial septal defect โดยใช้ balloon catheter หรือการผ่าตัด
ให้ยา digitalis และ ยาขับปัสสาวะ
การรักษาทางศัลยกรรม
ทำการทะลุระหว่างผนังกั้น atrium ด้วย balloon เพื่อให้เกิด mixedblood มากขึ้นหรือทำผ่าตัดเพื่อให้เกิดทางติดต่อระหว่าง atrium ทั้งสอง
กิจกรรมการพยาบาล
1 . จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนะกระตุ้นเด็กให้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
วางแผนปฏิบัติการพยาบาลจัดลำดับก่อน-หลัง โดยรบกวนเวลาของผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
คลายเสื้อผ้าให้หลวม และจัดให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ การเต้นของหัวใจสีผิว เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของเด็ก
สังเกตและบันทึกอาการนำหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน
ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอาการเย็นหรือร้อนเกินไป
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นระยะๆ
ดูแลให้ได้รับบยา Digitalis (Digoxin) ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ตรงตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา
จัดทำโดย: นางสาวบุษบา จันทร์เกลี้ยง รหัสนักศึกษา 62105301048