Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรภาพของภาวะผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด, 2, 5, 6, 7, 8, 9, 10,…
พยาธิสรีรภาพของภาวะผิดปกติของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความสำคัญของระบบไหลเวียน
เซลล์ของร่างกายจะทำงานอยู่ได้ต้องได้รับออกซิเจน สารอาหาร และอยู่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ระบบไหลเวียนจะทำหน้าที่นำออกซิเจน และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตไปเลี้ยงเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย และนำของ เสียกลับบออกมาเพื่อขับออก
ถ้ามีเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจจะหยุดเต้น ปริมาณเลือดลดลง หรือเส้นเลือดไม่สามารถรับเลือดที่ส่งมาได้
เช่น เกิดการฉีกขาดหรืออุดตัน
เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างเลือด หัวใจ หลอดเลือดแดง หลอดเลือดดำ หลอดเลือดฝอย และระบบน้ำเหลือง
คำศัพท์ที่ควรทราบ
Afterload
คือ แรงต้านการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย
Aneurysm
คือ การป่งพองของผนังหลอดเลือด
Atherosclerosis
คือ การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
Congestion
คือ การคั่งของน้ำหรือเลือดในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
Embolus
คือ ลิ่มเลือด ฟองอากาศ ไขมัน ที่ลอยอยู่ในหลอดเลือด
Infarction
คือ การตายของเนื้อเยื่อจากการขาดออกซิเจน
Ischemia
คือ การได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
Orthopnea
คือ เหนื่อยนอนราบไม่ได้
Paroxysmal nocturnal dyspnea
คือ หายใจลำบากขณะนอนหลับเมื่อนอนราบปกติ
Plaque
คือ แผ่นนูนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของอวัยวะต่างๆ
Preload
คือ แรงดันในหัวใจห้องล่างซ้าย เมื่อหัวใจคลายตัวเต็มที่
Septum
คือ ผนังกั้น
Stenosis
คือ การตีบแคบของส่วนที่เป็นท่อหรือรู
Varicose
คือ การพองตัวและคดงอ
การทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต
กระบวนการทำงาน
หัวใจถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง
ฝั่งซ้ายทำหน้าที่รับส่งเลือดแดงที่มีออกซิเจน
ฝั่งขวาทำหน้าที่รับส่งเลือดดำที่ออกซิเจนถูกนำไปใช้แล้ว
หัวใจห้องขวาบนจะรับเลือดที่ไม่ค่อยมีออกซิเจน แล้วส่งให้ห้องขวาล่างเพื่อส่งต่อไปที่ปอด
หลังจากเลือดได้รับการออกซิเจนแล้ว เลือดจะถูกส่งต่อไปที่หัวใจห้องซ้ายบน
หลังจากนั้น หัวใจห้องซ้ายล่างจะปั๊มเลือดที่มีออกซิเจนส่งไปส่วนอื่นของร่างกาย
ระบบไหลเวียนโลหิตประกอบด้วย
หัวใจ (heart)
ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วไหลกลับคืนสู่หัวใจ
หลอดเลือดแดง (artery)
นำเลือดออกจากหัวใจไปยังอวัยวะและส่วนต่างๆของร่างกาย
หลอดเลือดดำ (vein)
นำเลือดเข้าสู่หัวใจส่วนมากเป็นเลือดเสีย ยกเว้นเส้นเลือดที่มาจากปอดซึ่งจะเป็นเลือดบริสุทธิ์
หลอดเลือดฝอย (blood capillary)
ทำหน้าที่รับเลือดต่อจากหลอดเลือดแดงเล็ก จึงมีความดันภายในหลอดเลือดต่ำกว่าหลอดเลือดแดง ขณะที่เลือดไหลผ่านหลอดเลือดฝอย จะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน สารอาหาร น้ำ และของเสียต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์
วิธีการประเมินการทำงานของหัวใจ
การฟังเสียงหัวใจ
การจับชีพจร
การวัดความดันโลหิต
ความผิดปกติของหลอดเลือด
การหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
(Artherosclerosis)
เป็นภาวะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดชั้นในหนาตัวขึ้นเรื่อย ๆ
มีไขมันไปสะสมระหว่างหลอดเลือดเป็นไขมัน จนในที่สุดทำให้เกิดหลอดเลือดตีบตัน เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการของอวัยวะต่าง ๆ ขาดเลือดเกิดขึ้น
อวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ หัวใจ สมอง ไต ลำไส้เล็ก และ lower extremities
เกิดพยาธิสภาพ ดังนี้
Abdominal aorta/Terminal aorta : เลือดไปเลี้ยงส่วนของ lower extremities น้อยลง
Coronary artery : โรคหลอดเลือดหัวใจตีบและกล้ามเนื้อหัวใจตาย
Carotid และ Vertebral artery : CVA หรือ Stroke
Renal artery : ความดันโลหิตสูงและไตขาดเลือด
Mesenteric artery : ลำไส้ขาดเลือดและเยื่อบุช่องท้อง
หลักการพยาบาล
หลักการรักษาภาวะ atherosclerosis
คือ การทำให้ผนังหลอดเลือดบางลง เพื่อเพิ่มงวดของหลอดเลือด โดยการทำผ่าตัดเพื่อดูดเอา plaque ออก
หรือทำการตัดต่อเส้นเลือด (Surgical bypass) การทำ Balloon angioplasty และ การทำ endovascular stent
ผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะ มีโอกาสเกิดภาวะ atherosclerosis
เนื่องจากมีระดับไขมันในเลือดสูง
แนะนำให้ปรับพฤติกรรมสุขภาพใหม่เป็นบทบาทของพยาบาล โดยเน้นการออกกำลังกาย การลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
เช่น การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และแนะนำการควบคุมน้ำหนัก
ภาวะความดันโลหิตสูง
คือ ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงความดันในหลอดเลือดที่สูงขึ้น ในภาวะปกติผู้ที่มีความดันเท่ากับหรือมากกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท เป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูง หากปล่อยทิ้งไว้ให้อยู่ในระดับนี้นานๆ อาจทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายเสื่อม
การแบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตตัวบน ( Systolic Pressure ) สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท
ความดันโลหิตตัวล่าง ( diastolic Pressure ) สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
ชนิดของความดันโลหิตสูง
Primary hypertension
หรือ Essential hypertension เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ กรรมพันธุ์หรือสิ่งแวดล้อม
เกิดจากปัจจัยส่งเสริม เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน ทานอาหารเค็ม ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เครียด
2.Secondary hypertension
เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ
สาเหตุจากโรคไต เช่น โรคหลอดเลือดแดงของ ไตตีบ
สาเหตุจากโรคของระบบต่อมไร้ท่อ เช่น Cushing's syndrome
สาเหตุจากระบบประสาทผิดปกติเช่น เนื้องอกในสมองที่สร้าง catecholamine
จากการได้รับยาหรือสารกระตุ้นจากภายนอก เช่น ยาคุมกำเนิด corticosteroid, caffeine
พยาธิสรีรภาพ
ความดันโลหิตสูงชนิดนี้ไม่ทราบกลไกการเกิดแน่นอน แต่มีการศึกษาหลายทฤษฎี
Genetic defect
มีความผิดปกติของไตตั้งแต่กำเนิด ไม่สามารถ excrete sodium และน้ำได้
Sympathetic nervous system
มี overactivity เพิ่มการหลั่งของสาร adrenaline และ Noreadrenaline มากกว่าปกติ
Renin angiotensin system
การศึกษาระดับเรนินในพลาสม่า ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
แบ่งตามระดับเรนินว่าสูง ปกติหรือต่ำ
ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า
คือ ความดันตกขณะเปลี่ยนท่า หรือความดันโลหิตต่ำขณะลุกยืนที่เกิดขึ้นเมื่อคุณเปลี่ยนตำแหน่ง จากการนั่งหรือนอนเป็นยืนขึ้น
อาการที่ชัดเจนมากที่สุดคือ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หรือแม้กระทั่งเป็นลม มักมีอาการไม่รุนแรง โดยมักมีอาการไม่กี่วินาทีไปจนถึงสองสามนาทีหลังจากยืนขึ้น
มีสาเหตุต่างๆ
ภาวะเกี่ยวกับหัวใจ
ความผิดปกติเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
ปัญหาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ
ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท
การรักษา
การสวมใส่ถุงน่องรัด
อาจช่วยลดการสะสมตัวของเลือดที่ขา และลดอาการของความดันโลหิตต่ำเมื่อลุกยืนได้
การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์
การดื่มของเหลวให้เพียงพอ เช่น น้ำ การจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การหลีกเลี่ยงการเดินในอากาศร้อน
การใช้ยาบางชนิด
ใช้เพื่อรักษาความดันโลหิตต่ำในท่ายืน ยาที่ใช้ทั่วไป ได้แก่
ยาฟลูโดคอร์ติโซน (Fludocortisone) ยามิโดดรีน (midodrine)
ความผิดปกติอื่นๆของหลอดเลือด
1.Venous thrombosis ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำอุดตัน
ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มักเกิดขึ้นบริเวณขา ส่งผลให้รู้สึกปวดร่วมกับมีอาการบวมแดง
หากลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันที่ปอดอาจทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก ไอหรือไอมีเลือดปน เวียนศีรษะ หมดสติ หายใจถี่ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก มักเกิดขึ้นบริเวณขา
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด มักเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่อุดกั้นหลุดไปตามกระแสเลือด
2.Thromboangitis obliterans
3.Aortic aneurysm โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
แบ่งตามลักษณะการโป่งพอง เป็น 2 แบบ ได้แก่
Fusiform เป็นการโป่งพองออกเท่า ๆ กันทุกด้านของผนังหลอดเลือดแดง เป็นชนิดที่พบได้บ่อย
Saccular เป็นการโป่งพองออกเป็นกระเปาะของผนังบางด้านของหลอดเลือดแดง
แบ่งตามตำแหน่งการโป่งพองของหลอดเลือดแดง แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
Thoracic Aortic Aneurysm (TAA) การโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เกิดในช่องอก
Abdominal Aortic Aneurysm (AAA) การโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เกิดในช่องท้อง
4.Kawasaki’s disease
เป็นโรคที่เกิดการอักเสบของเยื่อบุผิวหนัง หลอดเลือดและต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่จะพบในเด็ก โดยพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงเล็กน้อย
สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าตามหลังการติดเชื้อ และเชื้อโรคกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ
อาการสำคัญคือไข้สูง ปากแดง ตาแดง มือเท้าบวมลอก ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต และผื่นตามร่างกาย
5.Raynaud’s syndrome
เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติขึ้นกับหลอดเลือดเมื่อเจอความเย็นหรือมีความเครียด ทำให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการมีสีซีดลง รู้สึกเย็น หรือไร้ความรู้สึก มักเกิดขึ้นที่นิ้วมือหรือนิ้วเท้า
อาการ
เมื่อผิวหนังสัมผัสกับความเย็น ร่างกายจะพยายามรักษาความร้อนไว้ ทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กในบริเวณดังกล่าวหดตัวมากขึ้น การไหลเวียนเลือดไปยังจุดที่ไกลที่สุดอย่างมือและเท้าทั้งสองข้างจึงลดลง
อาการดังกล่าวเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติและหลอดเลือดมีการหดตัวมากกว่าปกติ จนทำให้ผิวหนังมีสีซีดลงและรู้สึกเย็นบริเวณนิ้วมือหรือนิ้วเท้า ซึ่งอาการดังกล่าวอาจคงอยู่ประมาณ 15 นาที
เมื่อร่างกายอุ่นขึ้น เส้นเลือดที่เคยหดจะคลายตัวจนอาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่เกิดอาการมีสีแดงและรู้สึกปวด เสียวซ่า หรือเกิดการบวมได้ หลังจากนั้นสีของผิวหนังจะกลับเป็นปกติ
6.Takayasu’s disease
โรคเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเลือดหัวใจขนาดใหญ่และกลาง
หลอดเลือดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ แขนงต่าง ๆ ของหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งเป็นหลอดเลือดหลักในการเวียนเอาเลือดออกจากหัวใจ รวมไปถึงหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังแขนและสมอง
อาการอักเสบดังกล่าวส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ผนังเส้นเลือดโป่งพอง ผู้ป่วยมักมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก มีไข้ ความดันโลหิตสูง และมีภาวะโลหิตจาง
ไม่สามารถระบุสาเหตุของโรคได้แน่ชัด แต่มักเกิดในเด็กผู้หญิงและผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี โดยเฉพาะชาวเอเชีย
ความผิดปกติของหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease: CAD)หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
เกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัวหรือมีไขมันไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย
เป็นผลทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดแดงตีบแคบมาก จนอุดตัน จะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้
มีอาการเจ็บ ร้าวไปที่คอหรือขากรรไกรหรือไหล่ซ้าย มักเป็นมากขณะออกกำลังกายหรือทำงาน เป็นอยู่นานครั้งละ 2-3 นาที อาการจะดีขึ้น ถ้าได้หยุดพัก หรืออมยาขยายหลอดเลือกที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
ป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ดังนี้
หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมัน
ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ผัก ปลา ผลไม้ และอาหารที่มีกากมากๆ
ออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียดกับงานควรทำสมาธิ
ตรวจเช็คสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ลิ้นหัวใจพิการ
อาจเป็นผลให้เกิด
hypertrophy ของ venticle ข้างซ้ายหรือข้างขวา
ทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติและมีอาการ หัวใจล้มเหลว
dilatation of venticle ของช่องหัวใจ
ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
การอุดกั้นของเลือดจากหัวใจห้องบนลงห้องล่าง
ทำให้เกิดการคั่งของเลือดในอวัยวะต่าง ๆ
การลดลงของปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจ
โรคที่เกิดจากลิ้นหัวใจ (Heart valve) คือการทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการไหลเวียนโลหิต เกิดปัญหาต่อการทำงานของหัวใจ ซึ่งในรายที่รุนแรง จะส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว (หัวใจวาย) และเสียชีวิตได้
อาการที่เฉพาะของโรคลิ้นหัวใจ
การมีเสียงเต้นของหัวใจผิดปกติ ที่เรียกว่า เสียงฟู่ (Murmur)
เกิดจากการที่เลือดไหลผ่านลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ จึงทำให้เกิดเสียงขึ้น
แนวทางการรักษาโรคลิ้นหัวใจ
การรักษาด้านการผ่าตัด และการรักษาประคับ ประคองตามอาการ
ระบบไฟฟ้าหัวใจ
หัวใจมีระบบไฟฟ้าของตัวเองที่ไม่ได้ถูกสั่งงานโดยสมอง ระบบไฟฟ้าของหัวใจทำหน้าที่กำกับจังหวะการเต้นของหัวใจ
แรงกระตุ้นไฟฟ้าจะเริ่มในหัวใจห้องบน และ เดินทางผ่านทางเฉพาะที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องล่างทั้งสองห้อง แล้วไปกระตุ้นให้หัวใจห้องล่างบีบตัว
ระบบนี้ทำให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะ และ ทำให้เลือดไหลได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการสะดุด
โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
เป็นความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ ที่อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไปไม่สัมพันธ์กับสภาวะของร่างกายหรือเต้นผิดจังหวะ
ภาวะนี้เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าของหัวใจ
อาการ
หัวใจเต้นพลิ้ว
หัวใจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป
เจ็บหน้าอก
หายใจไม่ทัน
มึนศีรษะ เป็นลม
สาเหตุที่เกิดจากหัวใจโดยตรง
การมีอาการของโรคหัวใจที่เกิดจากภาวะหัวใจอื่นๆ ช่น การเคยเป็นหัวใจวายมาก่อนอาจทำให้มีแผลเป็นในหัวใจ ที่ทำให้ระบบไฟฟ้าของหัวใจมีปัญหา จนทำให้มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สาเหตุที่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ
การมีอาการโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เกิดจากวิธีให้ชีวิต หรือ โรคอื่นที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะสูง เช่น ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ ทำงานมากหรือน้อยเกินไป โรคเบาหวาน โรคนอนกรน สูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์
หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ซึ่งการเข้าถึงจุดกำเนิดไฟฟ้าที่ผิดปกติ เป็นการรักษาโดยไม่เกิดอันตราย ช่วยเพิ่มโอกาสการหายเป็นปกติ และไม่ต้องกินยาควบคุมตลอดชีวิต
ภาวะหัวใจล้มเหลว
ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถแบ่งได้หลายชนิด แบ่งตามระยะเวลาที่มีอาการสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute heart failure)
เป็นภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการเกิดขึ้นใหม่อย่างรวดเร็วหรือมีภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีอาการคงที่แต่กลับแย่ลงในเวลาไม่นาน
ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ( chronic heart failure)
พบได้ในผู้ป่วยที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันมาก่อนหรือไม่ก็ได้ แต่ในขณะที่ทำการวินิจฉัยผู้ป่วยมีอาการของภาวะหัวใจล้มเหลวและ/หรือมีการทำงานที่ผิดปกติไปของหัวใจคงอยู่เป็นเวลานาน
ทำให้เกิดอาการหรืออาการแสดงที่เกิดจากการที่เลือดออกจากหัวใจไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และอาการที่เกิดจากภาวะคั่งของน้ำและเกลือ
อาการหายใจเหนื่อย
อ่อนเพลีย
มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ
ปัจจัยที่ทำให้เกิด
สาเหตุจากหัวใจ เช่น หัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้าเกินไป กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคลิ้นหัวใจ
สาเหตุอื่นๆ เช่น ขาดการควบคุมและดูแลในเรื่องเกลือ น้ำ และได้รับยาที่มีฤทธิ์เป็นพิษต่อหัวใจ การบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินควร การทำงานของไตผิดปกติ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด ความดันโลหิตสูง
รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ
รับประทานยาที่ทำให้น้ำและเกลือคั่ง หรือยาที่กดการทำงานของหัวใจ
รับประทานอาหารเค็มเกินไป
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
การรักษาด้วยยา เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาลดความดันโลหิต ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยากลุ่มลดการกระตุ้นระบบนิวโรฮอร์โมน ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
การใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติชนิดฝังในร่างกาย การใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจถาวรชนิดที่ทำให้หัวใจห้องล่างซ้ายและขวาบีบตัวพร้อมกัน
การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ การผ่าตัดลิ้นหัวใจรั่ว
ส่วนประกอบของหัวใจ