Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เ…
บทที่ 1 แนวคิด หลักการ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
เนื้อหา ความรู้ที่ได้รับ
ความหมายของการวัดผล การทดสอบและการประเมินผล
การวัดผล Measurement หมายถึงกระบวนการกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์ที่กระทรวงต่างๆที่ต้องการวัดโดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง
การทดสอบ Test หมายถึงเป็นเทคนิคที่ใช้ในการวัดผลทางการศึกษา
การประเมินผล Evaluation
พิชิต ฤทธิ์จรูญ
การตัดสินคุณค่าหรือคุณภาพของผลที่ได้จากการวัดผลโดยเปรียบเทียบกับผลการวัดอื่นๆเป็นเกณฑ์ที่ตั้งไว้
สมนึก ภัททิยธนี
การตัดสินหรือนิสัยสิ่งต่างๆที่ได้จากการวัดผลโดยอาศัยหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง
องค์ประกอบของการวัดและประเมินผล
องค์ประกอบของการวัด
องค์ประกอบของการวัดประกอบคือปัญหาหรือสิ่งที่จะวัด เครื่องมือวัดหรือเทคนิคที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และข้อมูลที่ได้จากการวัด
องค์ประกอบของการประเมิน
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ
ข้อมูลที่ได้จากการวัด
เกณฑ์
การตัดสินคุณค่าของการตัดสินใจ
ความสัมพันธ์ระหว่างการวัดและประเมินผลกับกระบวนการเรียนการสอน
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน
จุดประสงค์การเรียนรู้ Learning Objectives
การวัดและประเมินผล Evaluation
กิจกรรมการเรียนการสอน Learning Experience
คำที่มีความต่อเนื่องกับการประเมิน
Assessment หมายถึงการประเมินโดยพิจารณาพัฒนาการของผู้เรียนเป็นการเรียนรู้ตามสภาพจริงไม่รู้เปรียบเทียบกับร่างกายของนักเรียนคนอื่นๆ
Evaluation หมายถึงการตัดสินผู้เรียนจากพฤติกรรมทางการศึกษา วัดได้โดยเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานทางการศึกษาที่กำหนดเอาไว้
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
ค้นหาและพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อพิจารณาว่านักเรียนไม่เข้าใจเรื่องใด นักเรียนมีความรู้มากน้อยแค่ไหน
เป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญที่สุด
วินิจฉัย
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่ายังไม่เกิดการเรียนรู้ในจุดใด
จัดอันดับหรือตำแหน่ง
การวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อจัดลำดับความสามารถของผู้เรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งใครอ่อน
เปรียบเทียบหรือทำให้ทราบพัฒนาการของผู้เรียน
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อการเปรียบเทียบเพื่อให้ทราบความสามารถของตัวนักเรียนเอง
พยากรณ์
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อนำผลไปคาดคะเนหรือทำนายอนาคตของผู้เรียน
ประเมิน
เป็นการวัดและประเมินผลการศึกษาเพื่อตัดสินใจสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษา
ธรรมชาติของวัดผลการศึกษา
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่สมบูรณ์
การวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้ละเอียดครบถ้วนตามที่ต้องการ เพราะเป็นการวัดในสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่สามารถทราบปริมาณหรือขอบเขตที่แน่นอนได้
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดทางอ้อม
การวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้โดยตรงเนื่องจากข้อจำกัดในด้านของเครื่องมือที่ใช้ในการวัด
การวัดผลการศึกษามีความคลาดเคลื่อน
เพื่อการวัดผลการศึกษาไม่สามารถวัดได้โดยตรงดังนั้น โอกาสที่จะเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัดจึงมีเพราะพฤติกรรมมนุษย์มีความซับซ้อน
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดในเชิงสัมพันธ์
ต้องมีการนำเอาผลที่ได้จากการวัดผลการศึกษาไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์
การวัดผลการศึกษาเป็นการวัดที่ไม่มีศูนย์แท้หรือศูนย์สมบูรณ์
คะแนนหรือผลที่ได้จากการวัดเท่ากับศูนย์ไม่ได้แปลว่าผู้เรียนไม่มีความรู้ ผู้เรียนอาจจะมีความรู้แต่ข้อสอบไม่ได้ถามในเรื่องที่ผู้เรียนมีความรู้
มาตราวัด
แบ่งออกเป็น 4 ระดับ
มาตรานามบัญญัติ
เป็นระดับการวัดที่สำคัญที่สุด เป็นระดับที่ใช้จำแนกความแตกต่างของสิ่งที่ต้องการวัดออกเป็นกลุ่มๆโดยใช้ตัวเลข
มาตราเรียงอันดับ
เป็นระดับที่สูงกว่านามบัญญัติ เป็นการกำหนดตัวเลขเพื่อชี้ถึงลำดับตัวเลขในมาตราการวัดระดับนี้ เป็นตัวเลขที่บอกความหมายในลักษณะ มาก- น้อย สูง-ต่ำ
มาตราอันตรภาค
เป็นระดับที่สูงกว่า 2 มาตราที่กล่าวมามีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น 2 ประการ
มีศูนย์สมมุติ(ศูนย์มีความไม่แท้)
มีหน่วยของการวัดที่เท่ากัน
มาตราอัตราส่วน
เป็นระดับที่สูงที่สุด มีความสมบูรณ์มากกว่าอัตราภาค เนื่องจากมีศูนย์แท้
การวัดในเรืองนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการวัดทางวิทยาศาสตร์
ขอบข่ายในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการในการวัดผลการศึกษา
กำหนดจุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผลให้ชัดเจนว่าต้องการวัดอะไร
ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายในการจัดการเรียนการสอน
เลือกใช้วิธีการวัดให้เหมาะสมหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพ ครูจำเป็นต้องเลือกใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพที่ดีในการวัดพฤติกรรมทางการศึกษา
เลือกใช้วิธีการวัดเครื่องมือที่หลากหลาย
เลือกตัวแทนของสิ่งที่จะวัดให้เหมาะสม
ใช้ผลจากการวัดให้คุ้มค่า การวัดผลไม่ได้มุ่งให้ครูตัดสินว่านักเรียนเก่ง หรืออ่อน
มีความยุติธรรม
เกณฑ์การสอบที่มีคุณภาพ
กระบวนการวัดและประเมินผลทางการศึกษา
กำหนดวัตถุประสงค์
กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
จัดกระทำกับข้อมูล
ทำเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้
ตัดสินผลการเรียน
ทดสอบและเก็บรวบรวมข้อมูล
การกำหนดวัตถุประสงค์ในการประเมินและสิ่งที่จะประเมิน
ประเภทของการประเมินผล
จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน
การประเมินผลก่อนเรียน
เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบความรู้พื้นฐานและทักษะของผู้เรียน
การประเมินผลระหว่างเรียน หรือการประเมินความก้าวหน้า
เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่
การประเมินสรุป
เป็นการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้และเพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความรู้ทั้งสิ้นเท่าไหร่
จำแนกตามระบบการวัดผล
การประเมินแบบอิงกลุ่ม
เป็นการตัดสินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน
การประเมินแบบอิงเกณฑ์
เป็นการตัดสินคุณลักษณะหรือพฤติกรรมโดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
การกำหนดสิ่งที่จะประเมิน
คือการกำหนดสิ่งที่จะต้องประเมินหรือพฤติกรรมที่จะต้องประเมิน ในการจัดการศึกษาเพื่อให้บรรลุความสำเร็จนั้นจำเป็นจะต้องมีการกำหนดเป้าหมายของการศึกษาที่ชัดเจน
ประโยชน์ของการประเมินผลการศึกษา
ครูได้ข้อมูลพฤติกรรมของผู้เรียนเบื้องต้นจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ช่วยให้คุณกนกหมู่หรือปรับปรุงจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ประเมินประสิทธิภาพการสอนของครูผู้สอน
ผู้เรียนทราบถึงระดับความสามารถของตนเองมีแรงจูงใจในการเรียนมากขึ้น