Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Pituitary gland ต่อมไร้ท่อ - Coggle Diagram
Pituitary gland ต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
Growth hormone (GH)
ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายทั่วๆไป
เด็ก : ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายสูงผิดปกติเรียกว่า ไจแกนทิซึม( gigantism) พบในวัยรุ่น ไม่ค่อยพบในวัยเด็ก อาจเกิดจากการที่มีเนื้องอกของเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน หรือของไฮโพทาลามัสทำให้มีการสร้าง ฮอร์โมนมากกว่าปกติ ผู้ใหญ่ : ร่างกายจะไม่สูงใหญ่กว่าปกติมากนักแต่ส่วนที่เป็นกระดูกตาม แขน ขา คาง กระดูกขากรรไกรและกระดูกแก้ม ยังตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้อยู่ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า เรียกอาการดังกล่าวนี้ว่า อะโครเมกาลี ( acromegaly )
ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน ( follicle stimulating hormone = FSH )
กระตุ้นการเจริญของ อัณฑะและ หลอดสร้างอสุจิให้สร้างอสุจิ, กระตุ้นการเจริญของฟอลลิเคิลและเพื่อให้ฟอลลิเคิลสร้างฮอร์โมนอีสโทรเจนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการแสดงออกลักษณะของเพศหญิง
เกิดภาวะเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ
โพรแลกทิน (Prolactin = PRL )
เซลล์ต่อมน้ำนม กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงทารกและพบว่าขณะที่ทารกดูดนมแม่จะมีการกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนนี้เพิ่มมากขึ้นทำให้มีน้ำนมเลี้ยงทารกตลอดเวลาแต่ถ้ามารดาที่ไม่ให้นมทารกการหลั่งฮอร์โมนนี้จะน้อยลงมีผลทำให้ต่อมน้ำนมหยุดสร้างน้ำนม
ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน ( thyroid stimulating hormone = TSH )
กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนตามปกติ
เอนดอร์ฟิน ( Endorphin
เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนพบว่ามีแหล่งสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และอาจสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆอีกด้วย เป็นสารที่ทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวดและเชื่อกันว่าเอนดอร์ฟีนยังเป็นสารที่ทำให้เรามีความคิดในทางสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มความ
ตื่นตัวมีชีวิตชีวาและความสุข ซึ่งสารนี้จะหลั่งเมื่อเราออกกำลังกายหรือเมื่อเรามีอารมณ์แจ่มใส จึงเรียกสารที่หลั่งมานี้ว่า สารแห่งความสุข
อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิก ฮอร์โมน ( adrenocortico trophic hormone = ACTH )
กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนตามปกติ
ลูทิไนซิง ฮอร์โมน ( luteinizing hormone = LH )
กระตุ้นให้ กลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล หรือ เซลล์เลย์ดิกสร้างฮอร์โมนเพศชาย คือเทสโทสเทอโรน , กระตุ้นการตกไข่จากฟอลลิเคิลและกระตุ้นให้เกิดคอปัสลูเทียมและสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนทำหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมนอีสโทรเจนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และมดลูกเพื่อรอรับการฝังตัวของ
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง
เมลาโนไซท์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (melanocyte stimulating hormone เรียกย่อว่าMSH)
สร้างจากเซลล์เมลาโนไซท์ (melanotropic cell)
ในพาร์สอินเตอร์มีเดียของต่อมใต้สมอง เป็นพอลิเปปไทด์ฮอร์โมนประกอบด้วยกรดอะมิโน 35 - 41 หน่วย ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้มีการสร้างเม็ดสีเมลานิน (melanin pigment ) ที่ผิวหนัง โดยกระตุ้นการกระจาย ของเมลานิน (melanin) ในเมลาโนไซท์ (melanocyte )
ขาด MSH ผิวหนังจะซีดขาว ถ้า MSH มากเกินไปผิวหนังจะเข้มดำ
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง
วาโซเพรสซินหรือแอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน( antidiuretic hormone = ADH )
กระตุ้นการดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อหน่วยไตเมื่อปริมาณน้ำในเลือดลดลงจึงควบคุมการเกิดน้ำปัสสาวะ
ถ้าขาดจะเป็นโรคเบาจืด จะปัสสาวะบ่อยเนื่องจาก ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อได้น้อย
ออกซิโทซิน ( oxytocin )
กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้บีบหรือหดตัวเป็นระยะๆเพื่อให้ทารกคลอด กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมทำให้มีการหลั่งน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก การดูดนมของทารกช่วย กระตุ้นให้มีการหลั่งออกซิโทซิน มากขึ้นทำใหกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมมีการบีบตัวขับน้ำนมออกมามากขึ้น