Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู - Coggle Diagram
กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครู
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
มีทั้งหมด 3 ฉบับ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ . ศ . 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2)
พ . ศ . 2545
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3)
พ . ศ . 2553 มีทั้งหมด 78 มาตรา
หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา 6-9
หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา มาตรา 10 -14
หมวด 3 ระบบการศึกษา มาตรา 15-21
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 -30
หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา มาตรา 31-46
หมวด 6 มาตรฐานและการประกัน
คุณภาพการศึกษา มาตรา 47 -51
หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา มาตรา 52 - 57
หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา มาตรา 58-62
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 63-69
มาตรา 63 รัฐต้องจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อ โครงสร้างพื้นฐานอื่น เพื่อใช้ประโยชน์สาหรับ การศึกษาทุกระบบและบทเฉพาะกาล ประกอบด้วย มาตรา 70 - 78
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ . ศ . 2547
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ . ศ . 2551 และ (ฉบับที่ 3) พ . ศ . 2553
ความหมายและคําจํากัดความ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตาม พระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณแผ่นดิน
ข้าราชการครู หมายความว่า ผู้ที่ประกอบวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาของรัฐ
คณาจารย์ หมายความว่า บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอน
และการวิจัยในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาของรัฐ
บุคลากรทางการศึกษา หมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ
ตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มี 3 ประเภท
ก . ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอน
ในหน่วยงานการศึกษา
1) ครูผู้ช่วย
2) ครู
3) อาจารย์
4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์
5) รองศาสตราจารย์
6) ศาสตราจารย์
ข . ตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
และผู้บริหารการศึกษา
1) รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
2) ผู้อํานวยการสถานศึกษา
3) รองผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
4) ผู้อํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา
5) รองอธิการบดี
6) อธิการบดี
7) ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่
ก . ค . ศ . กําหนด
ค . ตําแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น
1) ศึกษานิเทศก์
2) ตําแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตาม
ที่ ก . ค . ศ . กําหนด หรือตําแหน่งของข้าราชการที่ ก . ค . ศ . นํามาใช้กําหนดให้เป็นตําแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติ
หลักการที่สําคัญตามพระราชบัญญัตินี้
ยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี คือ ระบบคุณธรรม ความเป็นธรรม และการไม่เลือก ปฏิบัติ
กําหนดให้ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องมีใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพ
กําหนดให้มีบัญชีอัตราเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาโดยเฉพาะ
กําหนดให้คณะกรรมการข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษามีอํานาจกําหนดวัน เวลา ทํางาน วันหยุดราชการตามประเพณี, วันหยุดราชการประจําปี และการลาหยุดของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาได้เอง
สาระสําคัญพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากร
ทางการศึกษา 2546
หน้าที่คุรุสภา
กําหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ควบคุมความประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอประกอบวิชาชีพ
พักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
สนับสนุนและพัฒนาวิชาชีพ
ยกย่อง และผดุงเกียรติผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
รับรองปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตรของสถาบันต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพ
รับรองความรู้ประสบการณ์ในการ
ประกอบวิชาชีพ
ส่งเสริมการศึกษาและการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ
เป็นตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย
ออกข้อบังคับคุรุสภา
ให้คําปรึกษาหรือเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาวิชาชีพ
ให้คําแนะนําหรือเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพ หรือ
การออกกฎกระทรวง ระเบียบ
กําหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อกระทําการใด ๆ อันอยู่ในอํานาจหน้าที่ของคุรุสภา
ดําเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
ของคุรุสภา
คณะกรรมการคุรุสภา
ประธานกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ
กรรมการโดยตําแหน่ง 8 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสภาการศึกษา เลขาธิการ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการ อาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา ผู้อํานวยการสํานักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หัวหน้าสํานักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วน ท้องถิ่น
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก ผู้ที่ประสบการณ์สูง ด้านละ 1 คน รวม 7 คน
กรรมการจากผู้ดํารงตําแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งเลือกตั้งกันเอง 4 คน จาก สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3 คน และเอกชน 1 คน
กรรมการจากผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
ซึ่งเลือกตั้งจากผู้ที่ดํารงตําแหน่งครู บริหารทาง การศึกษา
หน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
บริหารตามอํานาจหน้าที่ของคุรุสภา
ให้คําปรึกษาแก่คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ
พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพตามมาตรา 54
เร่งรัดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนราชการ หรือคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพปฏิบัติตามอํานาจและ หน้าที่ที่กฎหมายกําหนด
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อกระทําการใด ๆ อันอยู่ในอํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการ คุรุสภา
ควบคุมดูแลการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบข้อบังคับ หรือข้อกําหนดเกี่ยวกับสํานักงาน เลขาธิการคุรุสภา
กําหนดนโยบายการบริหารงาน และให้ความเห็นชอบแผนการดําเนินงานของสํานักงาน เลขาธิการคุรุสภ
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดไว้ให้เป็นอํานาจและหน้าที่ของคณะกรรมการคุรุสภา
พิจารณาหรือดําเนินการในเรื่องอื่นตาม
ที่รัฐมนตรีมอบหมาย
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
คุณสมบัติ
มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า
ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา เป็นเวลาไม่น้อยกว่า หนึ่งปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอน
ลักษณะต้องห้าม
เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
เป็นคนไร้ความสามารถ
เคยต้องโทษจําคุกในคดีที่คุรุสภาเห็นว่า
อาจนํามาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ การขอรับใบอนุญาต
พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสําหรับ
คนพิการ พ . ศ . 2551
หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
หมวด 2 การส่งเสริมการจัดการศึกษาสําหรับคนพิการ
หมวด 3 กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
สําหรับคนพิการ
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ . ศ . 2548
การพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน
การพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน
พาไปนอกราชอาณาจักร