Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ - Coggle Diagram
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ป่วยด้วยโรคหัวใจ
ปัญหาที่1: เนื้อเยื่อต่างๆ มีโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจ ทำให้ร่างกายได้รับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำหรือหัวใจทางานหนักเกินไปทำให้ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ไม่มีเสียงรบกวนกระตุ้นเด็ก ให้ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
วางแผนปฏิบัติการพยาบาล จัดลำดับก่อน - หลังโดยรบกวนเวลาของผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
คลายเสื้อผ้าให้หลวม และจัดให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม
ในเด็กที่เกิดภาวะขาดออกซิเจน จัดให้นอนคว่าให้นอนคว่ำ ยกก้นสูง (knee - chest position) เพื่อลดปริมาณเลือดที่กลับสู่หัวใจ
ในเด็กที่มีอาการหายใจลำบากจัดให้นอนศีรษะสูงเพื่อลดความดันในช่องอกและช่วยให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
ในเด็กที่เป็นลมหมดสติ (anoxic spell) จัดให้นอนราบยกปลายเท้าสูงหรือนอนคว่ำ ยกก้นสูงเพื่อให้เลือดไหลกลับสู่หัวใจมากขึ้น ตะแคงหน้าด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักหรือลิ้นตกไปปิดทางเดินหายใจ
วัดและบันทึกสัญญาณชีพ การเต้นของหัวใจ สีผิว เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของเด็ก
สังเกตและบันทึกอาการนำหรือกิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือเป็นลม หมดสติ ซึ่งพบมากขณะออกกำลังกาย ขณะดูดนมหรือร้องไห้มากๆ
ใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอาการเย็นหรือร้อนเกินไปซึ่งอาจมีการเพิ่มการใช้พลังงานและออกซิเจน
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาและวัดความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นระยะๆ
ดูแลให้ได้รับยา Digitalis (Digoxin) ตามแผนการรักษาและสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ดูแลให้ได้รับยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ตรงตามแผนการรักษา และสังเกตอาการข้างเคียงของยา ยาขับปัสสาวะที่ใช้คือ Furosemind (Lasix) เพื่อลดจำนวนโซเดียมและน้าที่คั่งอยู่ในร่างกาย
ปัญหาที่2: ความทนในการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากความไม่สมดุลระหว่างความต้องการออกซิเจนของร่างกายกับปริมาณออกซิเจนที่มีอยู่
กิจกรรมการพยาบาล
การจัดท่านอน
ทารก จัดให้นอนในเก้าอี้สาหรับโรคหัวใจ (cardiac chair ) เมื่อเด็กเหนื่อย
เด็กโตให้นอนศีรษะสูงประมาณ 20 – 30 องศา (semi-fowler’ s position) หรือท่านั่งเพื่อลดการทางานของหัวใจ และลดความดันที่กระบังลมให้ปอดขยายเต็มที่ มือวางด้านข้างของอก ม้วนผ้ารองใต้ไหล่ พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชม. เพื่อป้องกันแผลกดทับ
การให้อาหาร
ทารกและเด็กเล็กดูดนมขวด ควรให้หัวนมที่นิ่มและควรให้ทีละเล็กน้อย เพราะอาจมีการเหนื่อยจากการดูดป้องกันท้องอืด ถ้ามีอาการหนัก อาจต้องให้ทางสายยาง และอาจเกิดการอาเจียน การดูดซึมของลำไส้ไม่ดี ขณะอาเจียนต้องป้องกันการสำลัก และจับให้เรอหลังให้นมทุกครั้ง ถ้าเด็กหลับไม่ต้องปลุกให้รับประทาน
เด็กโต ให้อาหารที่มีคุณค่าย่อยง่ายจำพวกอาหารปั่น (Blenderized diet)
การปรับอุณหภูมิร่างกาย
ในทารกคลอดก่อนกำหนด จะมีไขมันใต้ผิวหนังน้อย จะทำให้ไม่สามารถปรับร่างกายให้คงที่ได้ ดังนั้น จึงควรดูแลควบคุมอุณหภูมิร่างกาย โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
รักษาอาการไข้ ซีด ติดเชื้อทันทีเพื่อลดการทำงานของหัวใจ
การจำกัดกิจกรรม
ปัญหาที่3: อาจได้รับอาหาร น้ำและแคลอรี่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายเนื่องจากภาวะหอบเหนื่อยง่าย/มีอาการเบื่ออาหาร จากการที่เลือดไปเลี้ยงระบบทางเดินอาหารน้อยลง
กิจกรรมการพยาบาล
อุ้มทารกขณะให้น้ำ นมและให้นมหรืออาหารช้าๆครั้งละน้อย แต่ให้บ่อย ๆ และควรจับให้เรอทุกครั้งหลังกินนมเสร็จ
เด็กที่มีอาการเหนื่อยมาจากการดูดนม ให้ดูดเป็นระยะๆ ข้างแรกให้ดูดนานประมาณ 8- 10 นาที อีกข้างให้ดูด 10-15 นาที หรือให้ทางสายยางแทน หรือในบางรายหลังจากให้ดูดนมเองแล้วอาจต้องให้ต่อเนื่องทางสายยางด้วย
ใช้หัวนมที่อ่อนนิ่มและมีรูใหญ่พอ จะทำให้เด็กดูดนมง่ายขึ้นและควรระวังเรื่องการสำลัก
ให้ได้รับอาหารที่มีคุณค่าสูง ย่อยง่าย โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปตัสเซียมบางครั้งเด็กต้องรับประทานอาหารจำกัดเกลือ จึงควรจัดให้อาหารมีสีสันสวยงาม ทาอาหารแต่ละมื้อ ไม่มากเกินไป หลีกเลี่ยงของมันๆหรือทอด ปรุงรสด้วย หวาน เปรี้ยว และสังเกตพฤติกรรมขณะรับประทานอาหาร
ดูแลให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และบันทึกจานวนน้ำเข้า – ออก ร่างกาย
ปัญหาที่ 4: การเจริญเติบโตและพัฒนาการไม่เหมาะสมเนื่องจากเนื้อเยื่อต่างๆได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ/จากสภาพของโรคทาให้ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับบุคคลอื่นได้ตามปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
ให้ได้รับอาหาร น้ำ และแคลอรี่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่จำเป็น และให้พักผ่อนมากๆ
จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการตามวัยโดยพิจารณาจากข้อจำกัดของผู้ป่วย เมื่อรักษาด้วยยาหรือการผ่าตัดและมีอาการคงที่ ควรนำไปเล่นกับเพื่อนได้
กระตุ้นการรับรู้ด้วยการพูดคุย ร้องเพลงให้ฟัง กอด แขวนโมบายหรือเปิดวิทยุให้ฟัง
อธิบายให้บิดามารดาและสมาชิกในครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับอาการ แนวทางในการดูแลรักษา เพื่อความร่วมมือในการดูแลผู้ป่วยและให้เด็กเกิดความไว้วางใจในตัวผู้ดูแล
ปัญหาที่ 5: เสี่ยงต่อภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจได้ง่ายเนื่องจากมีการคั่งของน้ำในปอด/ความสามารถในการต้านทานโรคลง/ปอดขาดประสิทธิภาพในการทางาน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของปากและฟันสม่ำเสมอ
แยกเด็กออกจากเด็กป่วยด้วยโรคติดเชื้อต่างๆ รวมทั้งจำกัดการเยี่ยมหรือการเข้าใกล้เด็กของผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
สังเกตอาการและอาการแสดงของภาวะการติดเชื้อ เช่น มีไข้ ถ่ายเหลว อาเจียน ไอ เจ็บหน้าอก น้ำมูกไหล
ให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ
ให้ได้รับอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเหมาะสมกับโรค
หลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังการติดเชื้ออื่นๆ ที่ได้รับทางจมูกและปาก
ให้คาแนะนำแก่ครอบครัวเกี่ยวกับการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค การดูแลสุขอนามัยในเด็กและเครื่องกำจัดแหล่งเชื้อโรค เทคนิคการล้างมือ