Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสรีรภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด, image, image, image, image, image,…
พยาธิสรีรภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด
ความสำคัญของระบบไหลเวียน
เซลล์ของร่างกายจะทำงานอยู่ได้ต้องได้รับออกซิเจน สารอาหาร และอยู่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม
ถ้ามีเหตุที่ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจหยุดเต้น ปริมาณเลือดลดลง หรือเส้นเลือดไม่สามารถรับเลือดที่ส่งมาได้
ทำให้อวัยวะส่วนนั้นเกิดอันตราย
และถ้าไม่แก้ไขก็อาจเจ็บป่วยถึงชีวิตได้
ทำหน้าที่นำออกซิเจน และสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตไปเลี้ยงเซลล์ที่เป็นส่วนประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย และนำของเสียกลับบออกมาเพื่อขับออก
คำศัพท์ที่ควรทราบ
Afterload
แรงต้านการบีบตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย
Aneurysm
การโป่งพองของผนังหลอดเลือด
Atherosclerosis
การแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
Congestion
การคั่งของน้ำหรือเลือดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
Embolus
ลิ่มเลือด ฟองอากาศ ไขมัน ที่ลอยอยู่ในหลอดเลือด
Infarction
การตายของเนื้อเยื่อจากการขาดออกซิเจน
Ischemia
การได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ
Orthopnea
เหนื่อยนอนราบไม่ได้
Paroxysmal nocturnal dyspnea
หายใจลำบากขณะนอนหลับเมื่อนอนราบปกติ
Plaque
แผ่นนูนที่เกิดขึ้นบนพื้นผิวของอวัยวะต่างๆ
Preload
แรงดันในหัวใจห้องล่างซ้าย เมื่อหัวใจคลายตัวเต็มที
Septum
ผนังกั้น
Stenosis
การตีบแคบของส่วนที่เป็นท่อ หรือ รู
Varicose
การพองตัวและคดงอ
ส่วนประกอบของระบบไหลเวียนโลหิต
หัวใจ (heart)
ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตอยู่ในทรวงอกค่อน ไปทางด้านซ้ายและติดกับกระบังลมลักษณะภายในของหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ซีก
ซีกขวา
มีหน้าที่ส่งเลือดที่่ใช้แล้วจากส่วนต่างๆ ของร่างกายไปยังปอด เพื่อฟอกให้เป็นเลือดดี
ซีกซ้าย
หน้าที่ของหัวใจซีกซ้าย คือรับเลือดจากปอดและส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
แต่ละซีกของหัวใจยังแบ่งออกเป็นห้องบน (atrium) และห้องล่าง (ventricle)
ผนังของหัวใจประกอบด้วย
กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium)
เป็นกล้ามเนื้อที่ไม่อยู่ในอำนาจของจิตใจกล้ามเนื้อหัวใจฉีกซ้ายจะหนากว่าซีกขวาเพราะต้องเกร็งตัวเพื่อบีบออกจากหัวใจโดยต้องกั้นแรงดันในระบบไหลเวียนด้านในและด้านนอกของกล้ามเนื้อหัวใจจะมีเยื่อบุ
เยื่อบุชั้นในเรียกว่า endocardium
จะคลุมตลบใน 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า pericardium ระหว่างชั้นจะมีของเหลวใสบรรจุอยู่ประมาณ 10 ถึง 30 ซีซี
เพื่อหล่อลื่นหัวใจ
ป้องกันการเสียดสีขณะบีบัตว
เยื่อบุด้านนอกเรียกว่า epicardium
ในชั้นนี้จะมีหลอดเลือดถึงเส้นประสาทและไขมันแทรกอยู่ด้วยหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเรียกเส้นเลือดแดงโคโรนารีอาร์เทอรีแตกเป็น 2 แขนงคือซ้ายและขวา
ลิ้นหัวใจทําหน้าที่ป้องกันการไหลย้อนของเลือด มี 2 คู่
คู่ที่1 กั้นระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง
Atrioventricular Valve หรือ A-V Valve
ลิ้นที่กั้นหัวใจห้องบนขวาและล่างขวา
(Thicuspid Valve)
ลิ้นที่กั้นหัวใจห้องบนซ้ายและห้องล่างซ้าย
ไบคัสปิดวาวล์หรือไมทรัลวาวล์(bicuspid or mitral valve)
คู่ที่ 2 กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายขวากับเส้นเลือดใหญ่ที่ออกจากหัวใจ
semilunar valve
ลิ้นที่กั้นหัวใจห้องล่างขวากับpulmonary artery
pulmonary valve
ลิ้นที่กั้นหัวใจห้องล่างซ้ายกับ aorta
aortic valve
หลอดเลือดแดง (artery)
รับเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก arteriole
ชั้นในสุดเรียก Tunica intima
ผนังชั้นกลาง เรียก Tunica media
ผนังชั้นนอก เรียก Tunica adventitia
ผนังหลอดเลือดแดงจะมี 3 ชั้นยกเว้นหลอดขนาดเล็กอาจมีไม่ครบผนังทั้ง 3 ชั้น
หลอดเลือดดํา(vein)
หลอดเลือดดำขนาดเล็กเรียก Venule จะรับเลือดจากหลอดเลือดฝอยเข้ากลับเข้าหัวใจ
ผนังหลอดเลือดดำมี 3 ชั้นเหมือนหลอดเลือดแดงแต่บางกว่าและมองเห็นเป็นชั้นไม่ชัดเจนหลอดเลือดดำบริเวณแขนขาที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 2 มิลลิเมตรขึ้นไปจะมีลิ้นเพื่อไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
หลอดเลือดฝอย (blood capillary)
หลอดเลือดฝอยของหลอดเลือดแดงเรียก arterial capillary
ลอดเลือดฝอยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-9 ไมครอนแตกแขนงต่อเชื่อมกันเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆผนังหลอดเลือดฝอยประกอบด้วยคิวบางๆชั้นเดียวเพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยน
หลอดเลือดดำเรียก venous capillary
การไหลเวียนของโลหิต
เมื่อหัวใจบีบตัวส่งเลือดเราเรียก ชีสโตลี (Systole) และความดันสูงสุดที่เกิดจากการบีบตัวของหัวใจเรียกว่า Systolic pressure และความดันต่ำสุดเรียก diastolic pressure
การไหลเวียนของเลือดในร่างกายเริ่มจากเลือดดําจากส่วนบนของร่างกายมารวมกันในเส้นเลือดดําใหญ่เรียก Superior vena Cava เข้าสู่หัวใจห้องบนขวา (right atrium) ส่วนเลือด ดําจากส่วนล่างรวมตัวกันใน Inferior vena Cava ไหลเข้าสู่ right atrium เช่นกัน แล้วรวมกัน ผ่านลิ้นไตรคัสปิด ลงหัวใจล่างขวา (right ventricle) เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดดําจาก right ventricle จะ ผ่าน Pulmonary Valve เข้าไปใน pulmonary artery เข้าสู่ปอดขวา และซ้ายรับออกซิเจนกลายเป็นเลือดแดงไหลกลับเข้าหัวใจทางหลอดเลือด pulmonary vein ข้างละ 2 เส้น เทรวมกันเข้าใน left atrium ผ่าน ไมทรัลวาวล์ ลงใน left ventricle ในจังหวะหัวใจคลายตัว เมื่อหัวใจบีบตัว เลือดแดงจะผ่าน aortic valve เข้า สู่เส้นเลือดแดงใหญ่ aorta ไปตาม ระบบไหลเวียนเลือดแดง ไปเลี้ยง ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
การทํางานของหัวใจ
กล้ามเนื้อหัวใจจะมีการหดตัวได้เองโดยอัตโนมัติจากการกระกันของกระแสไฟฟ้าจาก sinoatrial node (SA node) ซึ่งอยู่ใต้เยื่อหุ้มหัวใจ Epicardium ตรงหัวใจห้องบนขวา (right atrium) แล้วกระแสไฟจะกระจายออกไปรอบ ๆ เหมือนวงที่เกิดจากการโยนหินลงน้ํา ส่วนหนึ่งของกระแสไฟจะกระตุ้น atioventricular ( AV) node เพิ่มแรงกระตุ้นส่งต่อไปยัง bundle of His และ purkinje fiber กระแสไฟฟ้าผ่านส่วนไหนจะทําให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้น
วิธีการประเมินการทํางานของหัวใจที่ควรทราบ
การฟังเสียงของหัวใจ (heart Sound)
การคลําชีพจร (pulse)
ในผู้ใหญ่จะเต้นประมาณ 80 ครั้ง/นาที
พบได้ที่ผนังของเส้นเลือดแดงทุกแห่ง แต่นิยมจับที่เส้นเลือดแดง radial ที่ข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ
การวัดความดันโลหิต (Blood pressure)
เป็นการวัดแรงดันของเลือดในหลอดเลือด โดยใช้เครื่องวัดความดัน
ปกติในผู้ใหญ่จะประมาณ 120/80 มม. ปรอท
ความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต
หน้าที่ของระบบไหลเวียนโลหิต
การนําออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยง อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยมีหัวใจเป็นตัวปั้มส่งเลือดไปตามหลอดเลือด การทํางานของทั้ง 2 ส่วนจะต้องประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจึงแบ่งเป็น 2 ส่วนเช่น กัน คือ ความผิดปกติของหลอดเลือดและความผิดปกติของหัวใจ ในบางครั้งความผิดปกติ ของอย่างหนึ่ง อาจทําให้ส่วนที่เหลือเกิดพยาธิสภาพตามไปด้วย
ความผิดปกติของหลอดเลือด
เมื่อหลอดเลือดเกิดพยาธิสภาพก็จะเกิดผลกระทบต่อระบบไหลเวียน พยาธิสภาพและโรคที่เกิดกับระบบไหลเวียนจะกล่าวโดยละเอียดเฉพาะที่พบบ่อยและมีความสําคัญ
การหนาตัวของผนังหลอดเลือด
ภาวะความดันโลหิตสูง
ส่วนความผิดปกติอื่น ๆ
การหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง(Artherosclerosis)
ความหมายของ Artherosclerosis
เป็นภาวะหลอดเลือดตีบแข็ง ที่เกิดจากการมี fibrofatty plague Tunica intima ซึ่งเป็นชั้นในสุดของผนังหลอดเลือด artery ทําให้ผนังหลอดเลือดมีความหนาและแข็งมากขึ้น รูหลอดเลือดแคบและตีบซึ่งขัดขวางการไหลของเลือด ทําให้ไม่มีเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ
สาเหตุของการเกิด
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
อัมพาต
พยาธิสรีรภาพของ Artherosclerosis
พื้นผิวผนัง endothelial ลองชั้น Tunica intima ของหลอดเลือดถูกทําลาย หลังจากนั้นจะมีเกล็ดเลือด (platelet) และไขมันเกาะบริเวณดังกล่าว ต่อมา platelet จะเปลี่ยนรูปร่าง รวมกลุ่ม และปล่อยสาร Platelet derived growth factor (PDGF) ทําให้มีการเกาะของไขมันที่ผนังหลอดเลือดมากขึ้น ในขณะเดียวกัน PDGF ยังกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลล์ของกล้ามเนื้อเรียบ ในชั้น Tunica intina มากขึ้น พร้อมทั้งสร้าง Connective tissue ใหม่ ผนังหลอดเลือดบริเวณดังกล่าวจึงหนาตัวขึ้น หลังจากนั้นมีตัวน้ําคือ fatty steak ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นสีเหลือง ผิวเรียบ ส่วนใหญ่เป็น cholesterol จะไปเกาะตาม Smooth muscle cell ในชั้น tunica intima ที่หนาตัวขึ้นจึงมีลักษณะคล้าย foam jell เมื่อมีไขมันมาเกาะสะสมทําให้ยิ่งหนาตัวมากขึ้นเบียด อยู่ในชั้นของ Intima เรียกว่า Atheroma ซึ่งมีลักษณะเป็นสีเหลืองเทา Atheroma จะหนา ตัวมากขึ้น จนกระทั่ง Atheroma โปนยื่นเข้าไปในรูหลอดเลือดมากขึ้น มีผลให้หลอดเลือดเป็นพังผืดมากขึ้นและหลอดเลือดตีบ ในที่สุดจะขัดขวางการไหลของเลือด ซึ่งหลอดเลือดแดงที่พบบ่อยคือ
aorta artery
coronary artery
carotid artery
Iliac artery
ลักษณะทางคลินิก
รูหลอดเลือดแคบมากขึ้น ทําให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก เกิดภาวะ Ischemic คือ เลือดไปเลี้ยงตามอวัยวะนั้น ๆ น้อยลง
รูหลอดเลือดอุดตัน ทําให้เกิดภาวะ Infarction ของอวัยวะนั้น
มี Embolism จากการแตกของ plague เข้าไปในกระแสเลือด
ผนังของหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง เกิดการโป่งพองของหลอดเลือด (Aneurysm) ซึ่งถ้าแตก จะทําให้เกิดการตกเลือด ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
อวัยวะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
หัวใจ สมอง ไต ลําไส้เล็ก และ lower extremities
Abdominal aorta/Terminal aorta
เลือดไปเลี้ยงส่วนของ lower extremities น้อยลง อาจจะพบ gangrene ที่นิ้วหัวแม่เท้า
Coronary artery
Angina pectoris , Myocardial infarction
Carotid และ Vertebral artery
CVA หรือ Stroke
Renal artery
Hypertension Renal ischemia
Mesenteric artery
Intestinal Ischemia ,Peritonitis
ระดับของ enzyme ต่าง ๆ จะสูงขึ้น enzyme เหล่านี้เป็น enzyme ในกระบวนการ catabolism ในร่างกาย ดังนั้นเมื่อมีการทําลาย cell มากขึ้น เนื่องจากขาดเลือดมาเลี้ยงก็จะมี enzyme เหล่านี้เพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด ปริมาณของ enzyme จะเป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า ของร่างกายถูกทําลายไปมากน้อยเพียงไร enzyme เหล่านี้ได้แก่
AST (Aspatate Aminotransferase)
ALT (Alanine Aminotransferase)
LDH (Lactate dehydrogenase)
Creatine kinase
หลักการรักษาพยาบาล
การทําให้ผนังหลอดเลือดบางลง เพื่อเพิ่มช่องว่างของหลอดเลือด โดยการทําผ่าตัดเพื่อดูดเอา plaque ออก (endarterectomy)
ทําการตัดต่อเส้นเลือด (Surgical bypass) การทํา Balloon angioplasty
การทํา endovascular stent
การแนะนําให้ปรับพฤติกรรมสุขภาพใหม่เป็นบทบาทของพยาบาล โดยเน้นการออกกําลังกาย การลดปัจจัยเสี่ยง ต่างๆ
การสูบบุหรี่
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
ควบคุมน้ำหนัก
ภาวะความดันโลหิตสูง
(Hypertension)
ความหมาย
ความดันโลหิต systolic สูงกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และหรือ ความดัน diastolic สูงกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท การแบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง มีการแบ่งระดับความรุนแรงของความดันโลหิตสูง
ชนิดของความดันโลหิตสูง
Primary hypertension หรือ Essential hypertension
เป็นความความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ
อายุที่เพิ่มขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น
ประวัติครอบครัว กรรมพันธุ์
เชื้อชาติ
ความอ้วน
การรับประทานโซเดียมมาก
ความเครียด (Stress)
การดื่มสุรามาก
การใช้ยาคุมกําเนิด
พยาธิสรีรภาพ
(1) Genetic defect มีความผิดปกติของไตเองตั้งแต่กําเนิด ไม่สามารถ excrete sodium และน้้ำได้
(2) Sympathetic nervous system มี overactivity เพิ่มการหลั่งของสาร adrenaline และ Noreadrenaline มากกว่าปกติ
(3) Renin angiotensin system ปัจจัยนี้ได้มีผู้พยายามศึกษาระดับเรนินในพลาสม่า
2.Secondary hypertension
เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ
สาเหตุจากโรคไต
โรคหลอดเลือดแดงของไตตีบ (renal artery stenosis
สาเหตุจากโรคของระบบต่อมไร้ท่อ
Cushing's syndrome
Pheochromocytoma
สาเหตุจากระบบประสาทผิดปกติ
เนื้องอกในสมองที่สร้าง catecholamine
สาเหตุจากเลือดออกในสมอง
สาเหตุจากการได้รับยาหรือสารกระตุ้นจากภายนอกทําให้ความดันโลหิตสูง
ยาคุมกําเนิด corticosteroid
caffeine
narcotic cocaine และ amphetamine
พยาธิสรีรภาพ
หลายระบบของร่างกายทํางานสัมพันธ์กันในการควบคุมความดันโลหิต ดังนั้นตัวกำหนดที่สําคัญคือ ปริมาณเลือดที่หัวใจสูบฉีดใน 1 นาที (cardiac output) และแรงต้านทานของหลอดเลือด (peripheral resistance)
BP = CO x PR
BP = Blood Pressure
CO = Cardiac Output
PR = Peripheral Resistance
การที่ไตถูกทําลายหรือหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงที่ไตตีบลง จะกระตุ้น renin angiotensin aldosterone System กล่าวคือ renin enzyme ถูกหลั่งออกมาจาก Juxtaglomerular cell ของ renal afferent arteriole มากขึ้น ทำปฏิกิริยาต่อ Renin substrate จากตับ เป็น Angiotensin I แล้ว Angiotensin converting enzyme จากปอดจะเปลี่ยน Angiotensin I เป็น Angiotensin II ซึ่งเป็นตัวทําให้หลอดเลือดหดตัว และ Angiotensin ยังกระตุ้นให้ Adrenal gland หลั่ง Aldosterone ซึ่งเป็น hormone ที่เพิ่มความสามารถในการดูดซึมโซเดียมและน้ําที่ distal tubule เพื่อแลกเปลี่ยนโปแตสเซี่ยม ทําให้มีการเพิ่มปริมาณในระบบ ไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้นมีผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
Aldosterone กับความดันโลหิตสูง
การที่มีความผิดปกติของ Adrenal gland ในส่วน Adrenal modula หรือมีการกระตุ้น sympathetic nervous system ทำให้มีการหลั่ง Epinephune, Norepinephrine มีผลให้ arteriole หดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น
ความผิดปกติของ Adrenal gland ในส่วนของ Adrenal portex มีผลให้ ACTH (Adrenocorticotrophic hormone) สูงขึ้น ทําให้มีการหลั่งของ Cortisol มากขึ้นเกิดการดูดซึมกลับ Sodium เพิ่ม Blood Volume และ Vasoconstriction ความดันโลหิตจึงสูงขึ้น
ความผิดปกติของระบบประสาท เมื่อมี Ischemia ของ brain จะมีการกระตุ้น ส่วนกลางของ Pons และ medulla ซึ่งจะส่ง impulse ไปที่ sympathetic nervous system ของ Spinal cord และ Sympathetic nerve ที่ไปยังหลอดเลือดท่าให้หลอดเลือด หดตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น
ภาวะความดันโลหิตสูงอื่น ๆ ที่ควรทราบ
ความดันโลหิตสูงที่พบในขณะตั้งครรภ์ (Prognancy indual hypor lonsion)
พบได้ในระยะที่ 1
ระยะที่ 2 ของ trimester
ระยะที่ 3 หรือเมื่อหลังคลอด (ภายใน 10 วัน)
ความดันโลหิตสูงเฉพาะ Systolic (Isolated systolic hyportconsion)
พบ เฉพาะค่า Systolic สูงกว่าปกติ
เกิน 140 มม.ปรอท
ค่า diastolic ปกติ (น้อยกว่า 90 มม.ปรอท)
พบได้ในผู้สูงอายุที่อายุเกิน 65 ปีขึ้นไป
Accelerated (Malignant) hypertonsion
ความดันโลหิดที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
มีความดันโลหิต diastolic สูงมากกว่า 120 มม.ปรอท
หลอดเลือดและอวัยวะเป้าหมายถูกทําลาย
ไตเสียการทําหน้าที่
สมองบวม optic nerve
บวม (papilledena)
หัวใจล้มเหลว
ลักษณะทางคลินิกของความดันโลหิตสูง
ปวดศีรษะ
เลือดกําเดาออก
อาการอื่น ๆ
เวียนศีรษะ
ใจสั่น
อ่อนเพลียง่าย
ปัสสาวะเป็นเลือด
หลักการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดําเนินชีวิตประจําวัน (life-style modification)
การใช้ยา
ภาวะความดันโลหิตต่ําจากการเปลี่ยนท่า
(Orthostatic hypotension / Postural hypotension)
ความหมาย
ความดันโลหิตทั้ง systolic และ diastolic ลดลงต่ําผิดปกติ คือ ความดัน Systolic ลดลงต่ํากว่าปกติ 20 มม.ปรอท และ diastolic ลดลงต่ํากว่าปกติ 10 มม.ปรอท ขณะเปลี่ยนท่าจากท่านอนเป็นท่านั่งและท่ายืน
สาเหตุ
ขาด fluid volume
ผลข้างเคียงของยา
ผู้สูงอายุ ประมาณว่าผู้ที่อายเกิน 65 ปี
มีความผิดปกติของ Autonomic nervous system function
การวินิจฉัย Orthostatic hypotension
ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ําขณะเปลี่ยนท่าจะบอกว่ามีอาการมึนงง (dizziness) รู้สึกเป็น ลม หน้ามืด และต้องนั่งลงหรือนอนจะดีขึ้น การตรวจให้วัดความดันโลหิตผู้ป่วยขณะอยู่ในท่า นอน (นอนอย่างน้อย 10 นาที ก่อนให้นั่ง) และวัดทันทีเมื่อผู้ป่วยลุกนั่ง (พันเครื่องวัดความดันไว้ให้พร้อม) และวัดความดันอีกทุก 2-3 นาที เป็นเวลา 10-15 นาที ถ้าวัดในท่ายืนให้มีคนอีกคนหนึ่งคอยระวังผู้ป่วยล้ม ขณะที่วัดความดันโลหิตให้จับชีพจรพร้อมกันทั้งในท่านอน นั่ง และยืน และบันทึกอาการที่เกิดขึ้น ถ้าความดันลดต่ํากว่าปกติตามเกณฑ์ที่กําหนด
หลักการรักษาพยาบาล
แก้ไขสาเหตุ
แก้ไขภาวะขาดน้ํา เสียเกลือ เปลี่ยนยาที่มีผลข้างเคียงที่ทําให้ เกิดภาวะความเป็นยาตัวอื่น
ช่วยให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะจัดการกับปัญหา orthostatic hypotension และเกิดอุบัติเหตุ
คําแนะนําที่ช่วยให้ผู้ป่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ของ orthostatic hypotension
1) เปลี่ยนท่าอย่างช้า ๆ เช่น ค่อย ๆ ลุกขึ้นจากท่านอน
2) หลีกเลี่ยงการทําให้มีหลอดเลือดขยายตัว
3) ระมัดระวังการใช้ยาขับปัสสาวะจํานวนมาก
4) ใช้ผ้ายืดรัดต้นขา หรือท้องเมื่อต้องนั่งหรือยืนนาน ๆ
ความผิดปกติอื่น ๆ ของหลอดเลือดที่ควรทราบ
Venous thrombosis (VT)
VT เป็นโรคของหลอดเลือดดํา พบบ่อยที่ขา
การรักษา DVT รักษาโดยการใช้ยาสลายลิ่มเลือด (thrombolytic therapy )
Thromboangitis obliterans (TAO)
TAO หรือ Buerger's disease เป็นการอักเสบของหลอดเลือดดำ หรือแดง ตามด้วยการตีบแคบ เกิดกับหลอดเลือดขนาดกลาง บริเวณแขนและขา
การรักษาให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ ลดการปวดโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือด การฉีด prostaglandin E เข้าหลอดเลือดแดงเพื่อให้หลอดเลือดขยาย การให้ยาระงับความรู้สึกทางไขสันหลัง (epidural anesthesia) หรือการเพิ่มออกซิเจนโดยให้เข้า hyperbaric chamber และการผ่าตัด
Aortic aneurysm
การโป่งพองขยายขนาดของหลอดเลือดแดง aorta
เป็นได้ 3 แบบ คือ
Fusiform aneurysm การโป่งพองจะออกเท่ากันทุกด้าน
Saccular aneurysm โป่งออกข้างเดียวคล้ายเป็นถุง
Dissecting aneurysm โป่งออกตามรอยฉีกขาดของผนังหลอดเลือดชั้น intima
Kawasaki's disease
เป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือด (Vasculitis) โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน
การรักษาเสริมภูมิต้านทานโดยการให้ travenous gamma globulin และให้ aspirin เพื่อลดไข้ ลดการอักเสบและป้องกัน thrombosis
Raynaud's syndrome
Raynaud's Syndrome หรือ Raynaud's phenomenon เป็นอาการที่เกิดจากการ ขาดเลือดเฉียบพลันบริเวณปลายนิ้ว
รักษาโดยการผ่าตัด
Takayasu's disease
โรค Takayasu เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไม่ทราบสาเหตุ
การรักษา การให้ยาจะเป็นยา NSAIDS และ Steroid
ความผิดปกติของหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ
ความหมาย
โรคหัวใจที่เกิดจากมีการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary arteries) ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงลดลง จึงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งนําไปสู่การเต้นของหัวใจผิดปกติ (cardiac dysrhythmia) ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) หรือการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
1.มีการสะสมของไขมัน intracellular และ extracellular
2.มีการงอกขยายตัว (proliferation) ของเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด
3.มีการสร้างเนื้อเยื่อที่เป็นแผลเป็น และโปรตีนของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (conective tissue protein)
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมเปลี่ยนแปลงได้
อายุ
เพศ
เชื้อชาติ
พันธุกรรม
ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุม หรือเปลี่ยนแปลงได้
โรคเบาหวาน
ความดันโลหิตสูง
การสูบบุหรี่
ความอ้วน
การขาดการออกกำลังกาย
ความเครียด
พยาธิสรีรวิทยาของโรคหลอดเลือดหัวใจ (Pathophysiology)
เมื่อมีการบาดเจ็บของ endothelium ของหลอดเลือดแดงโคโรนารี ซึ่งปัจจัยที่ อาจเป็นสาเหตุทําให้ endothelium บาดเจ็บ
สารที่เกิดจากการสูบบุหรี่
ระบบอิมมูน
แรงกระแทก (mechanical stress)
จากการมีความดันโลหิตสูง
ร่างกายตอบสนองต่อการ บาดเจ็บโดยมีการหลั่งสารเคมี (chemical mediators)
Stable angina
การเจ็บหน้าอก ที่เป็นผลมาจากภาวะหลอดเลือดแดง โคโรนารีไม่สามารถไหลเวียนเลือดให้ออกซิเจนแก่กล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ
Unstable angina หรือ Preinfarction angina
อาการเจ็บหน้าอกมากแม้ในขณะพัก จะเจ็บหน้าอกอยู่นานและเจ็บบ่อย เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดรุนแรงขึ้น
Myocardial Infarction
เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจตาย เ
ภาวะหัวใจล้มเหลว
(Heart failure)
คือ
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้เท่ากับความต้องการของร่างกาย
สาเหตุที่สําคัญที่
ทําให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
สาเหตุที่ทําให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวลดลง
สาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักขึ้น
กลไกหารปรับชดเชยภาวะหัวใจล้มเหลว (compensatory mechanism)
1.กลไกการสนับสนุนจากระบบประสาทซิมพาเทติก ( sympathetic nervous system )
2.การคั่งของโซเดียมและน้ำ (sodium and water retention)
Frank-Starling Mechanism กลไกนี้ช่วยเพิ่ม stroke volume
กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น (Myocardial hypertrophy) เป็นกลไกการปรับตัวในระยะยาวต่อภาวะหัวใจล้มเหลว
หลักการวินิจฉัยและการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว
ผู้ป่วยที่บ่งชี้ว่ามีภาวะการคั่งของน้ำในปอด และมีอาการบวม หายใจผิดปกติ หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก (dyspnea) ถ้ามีภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรงจะมีการหายใจแบบ Cheyne-Stokes respiration คือ ผู้ป่วยจะหายใจแรงลึกเร็ว สลับกับการหายจเริงลิกเร็ว สลับกับการหายใจช้าลง และหยุดหายใจ ก่อนเริ่มหายใจใหม่ อาการ cardiac output ไม่เพียงพอกับความต้องการของเนื้อเยื่อของสมองทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ผู้ป่วย
การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวทำได้โดย
การลด preload โดยการให้ยาขับปัสสาวะ
การลด affter load คือ การลดแรงต้านต่อ ventricle ที่บีบตัวไล่เลือดออกทำให้ cardiac output เพิ่มขึ้น
การเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial contractility)
การเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial contractility)
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmias)
1.2. การเต้นของหัวใจเร็วแต่มีความสม่ําเสมอ 160 ครั้งต่อนาที
1.3 การเต้นของหัวใจเร็วแต่ไม่สม่ําเสมอ
1.1 การเต้นที่มีการหยุดเป็นช่วงๆ เรียกว่า มี premature contraction
2.ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ (Valvular heart disease) ความผิดปกติของลิ้นหัวใจ อาจเป็นโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง
โรคหัวใจที่เป็นโดยกําเนิด (Congenital heart disease) พยาธิสภาพส่วนใหญ่จะพบว่า ผนังที่กั้นระหว่างห้องหัวใจมีรูทะลุถึงกัน
ความผิดปกติที่เรียกว่า Tetralogy of Fallot (TOF)
Pulmonic Stenosis
Ventricular septal defect (VSD)
Aorta อยู่ผิดไปจากตําแหน่งปกติ
หัวใจห้องล่างขวาโต
(right Ventricular hypertrophy)
โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
พยาธิสภาพที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ
4.1 Primary Cardiomyopathy
4.2 secondary cardiomyopathy