Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก ( โรคข้อเข่าเสื่อม ), 793575A6-9895-4DB6…
พยาธิสภาพของกล้ามเนื้อและกระดูก
( โรคข้อเข่าเสื่อม )
ภาวะที่กระดูกอ่อนผิวข้อเข่า มีการสึกหรอและเสื่อมอย่างช้าๆ และจะเป็นมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ทำให้เกิดอาการปวดเข่า เข่าบวม ข้อยึดติด มีเสียงดังในเข่า เข่าผิดรูปไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
เป็นโรคเกิดจากมวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลงทำให้กระดูกเกิดการเปราะบางและแตกหักได้ง่ายโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น
โรคกระดูกพรุนปฐมภูมิที่เกิดจากการสูญเสียมวลกระดูกเกิดจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ทราบสาเหตุ
โรคแบบทุติยภูมิที่เกิดจากการสูญเสียมวลกระดูกจากพฤติกรรมโรคหรือการใช้ยา
สาเหตุ
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
การหมดประจำเดือน (menopause)
การรับประทานยาที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่ Heparin, ยาต้านการชัก,ยาสเตียรอยด์, ยาลดกรด,ยาระบาย
นิโคติน
การออกกำลังกายน้อยหรือขาดการออกกำลังกาย
การรับประทานอาหารประเภทโปรตีนจากสัตว์ในปริมาณมาก
พาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (hyperparathyroidism)
อาการเริ่มแรกที่เตือน
เจ็บปวด
เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด อาจเป็นปวดแบบเมื่อยๆ พอทน ปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือในรายที่เข่าได้รับบาดเจ็บ จะปวดแบบเฉียบพลันและปวดรุนแรง
เข่าบวม
เข่าที่บวมทันทีภายหลังจากได้รับบาดเจ็บ มักเกิดจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า บวมที่เกิดขึ้นช้าๆ มักเกิดจากมีความผิดปกติขององค์ประกอบภายในข้อเอง
เข่าอ่อนหรือเข่าสะดุดติด
อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ แต่ที่พบบ่อยคือ เกิดจากมีบางสิ่งบางอย่างภายในข้อ ทำให้งอ หรือเหยียดเข่าในทันทีทันใดไม่ได้ เช่น เส้นเอ็นหรือกระดูกอ่อนที่ฉีกขาด หรือเศษกระดูกที่หยุดอยู่ในข้อ
เข่าฝืดหรือยึดติด
อาจเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน เช่น ตอนเช้าหลังตื่นนอน นั่งนานๆ แล้วลุกขึ้น หรือเกิดขึ้นภายหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า
วิธีป้องกันและการปฏิบัติ
ควบคุมไม่ให้อ้วนเกินไป โดยการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย
บริหารกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นให้แข็งแรง
ลดการใช้งานข้อนั้นในท่าที่ผิดจากธรรมชาติ เช่น การนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ คุกเข่าและการนั่งขัดสมาธินานเกินไป เป็นต้น
ขณะที่มีอาการปวด ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้การรักษาภาวะอักเสบของข้อ แล้วเริ่มทำกายภาพบำบัดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
อาการปวดเริ่มแรกสามารถบรรเทาด้วยยาแก้ปวดพาราเซตามอล, การใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบจะช่วยลดการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ขณะที่มีอาการปวดอยู่ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินมาก ถ้าเดินควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดินและใส่สนับเข่าเพื่อช่วยให้ข้อเข่ากระชับ
ควรหลีกเลี่ยงการนั่งกับพื้น เช่น การนั่งพับเพียบ คุกเข่า ขัดสมาธิและนั่งยองๆ ควรนั่งเก้าอี้ห้อยขา หรือนั่งเหยียดขาตรง อย่านั่งนานๆ ควรเปลี่ยนอริยาบถบ่อยๆ และควรใช้โถส้วมแบบนั่งแทนแบบนั่งยองๆ
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้ความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก
ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า
วิธีการรักษา
วิธีการรักษาด้วยตนเอง
ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อม
การลดน้ำหนักซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่จะลดอาการปวดและช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้
การออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อ
เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะมีพื้นกันกระแทก
เวลาขึ้นบันไดให้ก้าวข้างดีขึ้นก่อน เวลาลงให้ก้าวข้างปวดลงก่อน มือจับราวบันได
ประคบอุ่นเวลาปวดเข่า
การรักษาโดยการใช้ยา
ยาแก้ปวด เช่นยา paracetamol
ยาแก้อักเสบ steroid
ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน
ยาบำรุงกระดุกอ่อน
การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ
การผ่าตัด
การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก
การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวแรงที่ลงข้อเข่าให้ดีขึ้น
การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ ชีวิตได้ดีขึ้น
โครงสร้างของข้อเข่า
กระดูกต้นขาหรือ femur เป็นกระดูกส่วนบนของเข่า
กระดูกหน้าแข็ง เรียก tibia เป็นกระดูกส่วนล่างของข้อเข่า
กระดูกลูกสะบ้า เรียก patella อยู่ด้านหน้าของเข่า
กลไก
เซลล์ที่เป็นส่วนประกอบของกระดูก
Osteocytes มีบทบาทในการควบคุมระดับของแคลเซียมและฟอสฟอรัสใน serum, osteocytes จะติดต่อกับเซลล์อื่นๆ ผ่านทาง canaliculi ทำให้สารต่าง ๆ และ surface membrane potentials สามารถส่งผ่านถึงกันได้
Osteoclast หน้าที่ดูดซึมและทำลายกระดูก (resorption) ซึ่ง osteoblast และ osteoclast จะทำงานประสานขบวนการสร้างกระดูกการทำลายและดูดซึมกระดูก (อายุน้อยกว่า 30 ปีจะมีการส้รางมากกว่าทำลายและเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี จะเริ่มมีการทำลายมากกว่าการสร้าง)
Osteoprogenator cells เป็นเซลล์ต้นกำเนิดของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน พบอยู่บริเวณผิวของกระดูกทั่วร่างกาย เมื่อถูกกระตุ้นจะเปลี่ยนแปลงแบ่งเซลล์และเจริญไปเป็น Osteoblast
Osteoblast พบอยู่บริเวณผิวของกระดูก หน้าที่สร้าง ขนส่งและจัดรูปสารพวกโปรตีนที่เป็น Metrix ของมี receptors ของฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการสร้างกระดูกและทำลายกระดูก ได้แก่ parathyroid hormone, Vit D, estrogen, cytokines and growth factors เมื่อสร้าง Metrix ล้อมกรอบไว้แล้ว จะเรียกว่า osteocytes
กลไกการเกิดข้อเข่าเสื่อม
การที่กระดูกอ่อนของข้อมีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนัก และมีการสูญเสียคุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหวของเข่าก็จะเกิดการเสียดสีและเกิดการสึกหรอของกระดูกอ่อน ผิวของกระดูกอ่อนจะแข็งผิวไม่เรียบ เมื่อเคลื่อนไหวข้อเข่าก็จะเกิดเสียงดังในข้อเกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่าที่เสื่อมมีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำข้อเข่าเพิ่ม ทำให้เกิดอาการ บวม ตึงและปวดของข้อเข่า เมื่อมีการเสื่อมของข้อเข่ามากขึ้นข้อเข่าก็จะมีอาการโก่งงอ ทำให้เกิดอาการปวดเข่าทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหว และขนาดของข้อเข่าก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น
ฮอร์โมนที่มีส่วนในการกระตุ้นการรทำลายกระดูก
PTH parathyroid H.
Interluekin 1
Interluekin 6
Tumor necrosis factor-beta (มี osteoblast เป็นตัวรับแล้วส่งให้ osteoclast)