Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบ - Coggle Diagram
meningitis เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เป็นโรคที่เกิดการติดเชื้อที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราบริเวณเยื่อหุ้มที่หุ้มรอบสมองและไขสันหลังจนทำให้บริเวณดังกล่าวอักเสบบวม
ชนิด
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค (Tuberculous meningitis)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า “มัยโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คุโลสิส” (Mycobacterium tuberculosis) สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่พบได้มากในเด็กอายุ 1-5 ปี
เกิดจากเชื้อดังกล่าวซึ่งแพร่กระจายมาจากปอดหรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายไปที่เยื่อหุ้มสมองโดยผ่านทางกระแสเลือด
อาการค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ซึ่งอาจกินเวลาเป็นสัปดาห์ แต่ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์เมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว จึงทำให้มีอัตราการเสียชีวิตหรือพิการค่อนข้างสูง
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา
(Cryptococcal meningitis) ซึ่งเชื้อชนิดนี้จะพบได้ในอุจจาระของไก่ นกพิราบ และตามดิน
เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจเข้าทางปอด ผ่านกระแสเลือดแล้วไปที่เยื่อหุ้มสมอง
อาการของผู้ป่วยจะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างช้า ๆ มักพบในผู้สูงอายุและผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเนื่องจากเป็นโรคเอดส์ โรคมะเร็ง หรือโรคเรื้อรังต่าง ๆ ส่วนในเด็กหรือผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงจะพบได้น้อย
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลันชนิดมีหนองจากเชื้อแบคทีเรีย (Acute purulent meningitis)
เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus), สแตฟฟิโลคอกคัส (Staphylococcus), นิวโมคอกคัส (Pneumococcus) ที่พบได้ในภาวะปอดอักเสบติดเชื้อ
ชื้อโรคอาจแพร่กระจายจากแหล่งติดเชื้อที่ส่วนอื่นของร่างกาย แล้วผ่านทางกระแสเลือดไปที่เยื่อหุ้มสมอง
มักมีอาการเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีและมีความรุนแรง ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วการติดเชื้อชนิดนี้จะร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตหรือส่งผลกระทบต่อสมองและร่างกายส่วนอื่น ๆ อย่างถารได้
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral meningitis)
เกิดจากเชื้อไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus) ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก และไข้หวัดทั่วไป
เชื้อมักแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือด ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง
อาการ
คอแข็ง
ประเมิน
การทดสอบอาการคอแข็ง (Stiff neck)
คนปกติจะสามารถยกศีรษะขึ้นได้โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้ามีอาการเจ็บคอหรือมี
การเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ แสดงว่า การทดสอบให้ผลบวก
การทดสอบอาการ Kernig (Kernig’s sign)
ทําโดยให้
งอเข่า 90องศา พยาบาลค่อยๆ จับเข่าของผู้รับบริการยืดออก ถ้ายืดไม่ได้และมีอาการปวดต้นขาด้านหลัง แสดงว่าได้ ผลบวก อาจเกิดจากมีการระคายเคืองเยื่อหุ้มสมอง
มีอาการสับสน ไม่มีสมาธิในการจดจ่อ
ไข้ขึ้นสูงเฉียบพลัน
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ชัก
แพ้แสงหรือไวต่อแสง
ไม่มีความกระหายหรืออยากอาหาร
ปวดหัวอย่างรุนแรงผิดปกติ
ง่วงนอน หรือตื่นนอนยาก
ผิวหนังเป็นผื่น พบได้ในผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น
ทารกแรกเกิด
เริ่มมีอาการเป็นไข้ ร้องกวน หงุดหงิด ไม่ค่อยดูดนม อาเจียน ตาเหม่อลอย และชักได้ เสียงร้อง มักจะแหลม และบริเวณ Anterior fontanelle จะโป่งตึง
เด็กโต
อาการปวดศีรษะ ปวดต้นคอ เป็นไข้ อาเจียน กลัวแสง ซึม ระดับความรู้สึกตัวน้อยลง ชัก
ป้องกัน
สามารถแพร่กระจายได้ทางการไอ จาม และการใช้ของใช้ส่วนตัวบางอย่างร่วมกัน เช่น แปรงสีฟันหรือช้อนควรล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการสะสมเชื้อโรค หลีกเลี่ยงการดื่มหรือรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกันกับผู้อื่น และส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการเกิดโรค
วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ (Haemophilus Influenzae Type B) เป็นวัคซีนป้องกันเชื้อที่อาจก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมถึงโรคอื่น ๆ เช่น ปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ ข้ออักเสบ ปอดอักเสบ โดยฉีดให้เมื่อเด็กอายุมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป
พยาธิสภาพ
ระยะแรกจะมีการอักเสบของ subarachnoid space โดยมีพวก polymorph เพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ปกติ subarachnoid space จะใส แต่เมื่อมีการอักเสบเกิดขึ้นจะขุ่นมัว
การอักเสบระยะแรกจะมีมากแถวผิว cortex ถ้าไม่รักษาจะกระจายทั่ว subarachnoid space
ซีรีบรัม จะมีอาการอักเสบ และบวมขึ้น และถ้าไม่ได้รับการรักษาการอักเสบรอบๆ ซีรีบรัมจะเพิ่มมากขึ้น
มีการอักเสบของหลอดเลือดดำของ cortex และ sinus เกิดภาวะ thrombophlebitis ของหลอดเลือดดำที่ cortex
ในระยะท้ายๆ ของโรคจะมีสมองบวมอย่างมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
ตรวจเลือด
เม็ดเลือดขาว(WBC)จำนวนมาก 20,000-30,000 เซลล์ ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร และมี Neutrophils เพิ่มมากขึ้น
บางครั้งอาจพบจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลง ซึ่งแสดงถึงการพยากรณ์โรคไม่ดี
การเจาะหลัง (Lumbar puncture)
ใช้เข็มและไซริงค์เจาะผ่านเข้าไปยังน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังบริเวณ L4-L5 เพื่อนำน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมาวิเคราะห์ พร้อมกับวัดความดัน ปกติ 80-180 mmHg ถ้าสูงกว่าปกติ(200) อาจเกิดเลือดออกในสมอง ติดเชื้อ หรือมีเนื้องอกในสมองได้
สังเกตสี ต้องใส หรือไม่มีสี ในเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะพบน้ำไขสันหลังขุ่นคล้ายน้ำซาวข้าวเป็นหนองหรือใสแต่ข้น ถ้าพบเป็นน้ำใสสีเหลืองแสดงว่ามีโปรตีนสูง อาจต้องนึกถึงเชื้อวัณโรค
การรักษา
ยาระงับอาการชัก ในกรณีที่ผู้ป่วยชักควรให้ Phenobarbital ในขนาด 3-5 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วันในเด็กเล็ก หรือ 5-10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม/วันในเด็กโตจนกว่าจะหยุดชัก ถ้าชักตลอดเวลา (status epilepticus) ให้ Diazepam 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรม/ครั้ง ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำจนกว่า จะหยุดชัก ถ้ามีอาการของสมองบวม เช่น ม่านตาโตขึ้น หัวใจเต้นช้า ซึมลง ให้ใช้ hypertonic solution เช่น Mannitol 0.5-1 กรัม/กิโลกรัม/ครั้ง ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำให้หมดใน 30 นาที จะช่วยลดสมองบวมได้อย่างดี
เกลือแร่และสารน้ำ โดยปกติควรจะให้พอเพียงกับที่ร่างกายต้องการ ไม่ควรให้มากเกินไปเพราะจะทำให้สมองบวมได้ ต้องตรวจเลือดดู electrolyte อยู่เสมอ นอกจากนี้ผู้ป่วยเหล่านี้ยังเกิด inappropiate antidiuretic hormone (IADH) ได้ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่จะให้น้ำเพียง 2 ใน 3 ของความต้องการของร่างกายเท่านั้น
ยาปฏิชีวนะ การให้ยาปฏิชีวนะควรเลือกยาชนิดที่เป็นยาฆ่าจุลชีพ (bactericidal) และผ่าน blood brain barrier เข้าสู่น้ำไขสันหลังได้อย่างดี ทั้งในระยะที่เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และไม่อักเสบ เมื่อได้รับผลการเพาะเชื้อก็ให้ตามผลความไวของเชื้อต่อยา
ให้ยาลดไข้ และเช็ดตัวเวลามีไข้สูง
การพยาบาล
แยกผู้ป่วยให้นอนในห้องที่สงบ มืดสลัว เพื่อป้องกันการกระตุ้นจากเสียงและแสง ทำให้เด็กไม่สงบ เกิดอาการชักได้
วัด vital signs ทุก 4 ชั่วโมง ในเด็กที่มีอาการรุนแรง ควรวัดทุก 2 ชั่วโมง เด็กที่มีไข้ เช็ดตัวลดไข้ สำหรับทารกที่มีภาวะหายใจลำบากให้ออกซิเจน และสังเกตระวังภาวะหยุดหายใจ
สังเกตอาการซึม กระหม่อมโป่งในเด็กทารก อาการซึม ปวดศีรษะ ร้องเสียงแหลมสูง และชักในเด็กโตโดยสังเกตอาการชัก ให้ยาระงับชักตามแผนการรักษา และป้องกันอุบัติเหตุภาวะแทรกซ้อนจากการชัก โดยขณะเด็กชักไม่ควรมัดตรึงแขนขา และควรนำไม้กั้นเตียงขึ้น เพื่อป้องกันอันตรายจากแขนขาหัก และตกเตียง
ดูแลให้เด็กนอนพักผ่อนโดยจัดให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย ประมาณ 20-30 องศาเพื่อลดการบวมของสมอง
ผู้ป่วยที่หมดสติ ต้องดูแลอนามัยส่วนบุคคลของร่างกาย พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง และดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง โดยดูดเสมหะ และจัดให้เด็กนอนตะแคงข้างใดข้างหนึ่ง
การดูแลให้ได้รับอาหารและน้ำเพียงพอตามสภาพและความเหมาะสมของอาการผู้ป่วย
ในเด็กทารก สังเกตการเจริญเติบโตของรอบศีรษะ โดยวัดรอบศีรษะวันละครั้งเพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนคือ ศีรษะโต
ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น การเตรียมเจาะหลัง โดยเตรียมเครื่องใช้ให้พร้อม เก็บ