Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia; IDA) - Coggle Diagram
ภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia; IDA)
สาเหตุ
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ กลุ่มที่ได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่เพียงพอ
รับประทานอาหารที่มีธาตุเหลกไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
ได้รับสารที่มีคุณสมบัติต่อต้านการดูดซึมธาตุเหล็ก
มีพยาธิสภาพของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทำให้มีการดูดซึมธาตุเหล็กลดลง
การเสียเลือดชนิดเฉียบพลันหรือเรื้อรัง
อาการ
ภาวะ ซีด เช่น มีอาการซีด เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ หน้ามืด หากรุนแรงจะมีอาการมึนงง สับสน หัวใจ ล้มเหลว
มุมปากอักเสบ (Angular stomatitis) อาจมีการอักเสบของหลอดคอและหลอดอาหารทำให้กลืนอาหาร ลำบาก ติดเชื้อง่าย
ลิ้นเลี่ยนแดงหรืออักเสบ (Glossitis)
เล็บเปราะแบนคล้ายช้อนหรือเว้าลงเป็นรูปช้อน (Koilonychia)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
มีการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือดแดง เช่น ขนาดเล็กลง ระดับฮีโมโกลบินลดลง เม็ดเลือดแดงติดสีจางลง ตรวจพบ Mean corpuscular volume (MCV), Mean corpuscular hemoglobin (MCH) และ Mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHC) ลดลง สเมียร์เลือดจะพบเม็ดเลือดแดงมีลักษณะเม็ดเลือดแดงขนาดเล็กและติดสีจาง (Hypochromic-microcytic)
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย การดูอาจเห็นว่าลิ้นแดง บวม เรียบ และเจ็บ (Glossitis) มุมปากอาจจะบวมแดง และเจ็บ
ระดับฮีโมโกลบินต่ำ ฮีมาโตคริตต่ำ ระดับธาตุเหล็กให้ซีรั่ม (Serum iron) ต่ำ ระดับเฟอริตินในซีรั่ม (Serum ferriti) ต่ำ
การตรวจไขกระดูก โดยการย้อมธาตุเหล็กจากไขกระดูก (Gold standard) จะไม่พบธาตุเหล็ก
การตรวจระบบทางเดินอาหาร เช่น Guaiac stool tests, Barium swallow, Barium enema, Endoscopy และ Sigmoidoscopy เป็นต้น เพื่อดูสาเหตุการเสียเลือดในทางเดินอาหาร
การตรวจหาเลือดในอุจจาระ (Occult blood)
การรักษา
กำจัดและรักษาสาเหตุร่วมกับการใช้ธาตุเหล็กทดแทน ในกรณีซีดมากจนเกิดภาวะหัวใจวาย พิจารณาให้เลือดในรูปของ Packed red cell (PRC) ด้วยความระมัดระวังร่วมกับให้ยาขับปัสสาวะ
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงสาเหตุของการเสียเลือด
ให้เหล็กโดยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น เช่น Ferrous sulfate, Ferrous gluconate, Ferrous fumarate < 30 ไมโครกรัม/ลิตร ยืนยันการขาดธาตุเหล็ก
ระมัดระวังผลข้างเคียงของยา เช่น สีอุจจาระเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือดำ ท้องผูก ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาเพิ่มเหล็กพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที จะช่วยลดการรบกวนกระเพาะอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานพร้อมยา Tetracyclines, Methyldopa, Guinolone, Levodopa
แนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่ ชา กาแฟ ยาลดกรดในกระเพาะ นม แคลเซียมเสริมในปริมาณที่มากเกินไป
ให้รับประทานร่วมกับวิตามินซีสูงในมื้อเดียวกันเพราะวิตามินซีจะช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดี
กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีเหล็กสูง เช่น ไข่แดง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ผักใบเขียว ผลไม้แห้ง ลูกเกด เป็นต้น