Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สมดุลน้ํา อิเล็คโตรไลท์ กรดด่างในร่างกาย, 9E3437E8-9AFC-494A-8291…
สมดุลน้ํา อิเล็คโตรไลท์ กรดด่างในร่างกาย
หน้าที่ของน้ำภายในร่างกาย
(FUNCTION OF BODY FLUID)
ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ช่วยในการดูดซึมและแพร่กระจายของสารต่างๆ
เป็นตัวกลางในการนำสารต่างๆ ไปยังระบบที่เหมาะสม
ใช้ในปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในร่างกาย เช่น การสลาย ATP (adenosine triphosphate ) เพื่อให้ได้พลังงาน
ควบคุมการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของส่วนนั้นๆ
น้ำ (WATER)
น้ำ ( total body fluid ) เป็นส่วนประกอบ 2 ใน 3 ของร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆ โดยมีเยื่อกั้นบางๆ (membrane) เป็นตัวแยก : 55-60% ของน้ำหนักตัว
น้ำภายในเซลล์ ( intracellular fluid ; ICF ) : 40% ของน้ำหนักตัว
น้ำภายนอกเซลล์ ( extracellular fluid ; ECF ) : 20% ของน้ำหนักตัว
WATER INTAKE
ร่างกายได้รับน้ำ 3 ทาง คือ
น้ำดื่ม อาหารเหลว น้ำที่ปนในอาหาร (500-1500 ml)
อาหาร เช่น ข้าวเนื้อผัก ผลไม้ (800-1000 ml)
เมตาบลิซึมของร่างกาย : วิธี water of oxidation หรือ metabolic water (200-500 ml)
WATER OUTPUT
ทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (insensible perspiration)
ทางที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (insensible perspiration) ประมาณ 500-800 ml. ได้แก่ ทางผิวหนัง 300 ml. ปอด 300-500 ml. ขึ้นอยู่กับ
อัตราเมตาบอลิซึม
อุณหภูมิของร่างกาย
ความชื้น
อุณหภูมิของอากาศ
กิจกรรมที่ทำ
อารมณ์
ทํางท่ีปรับสมดุลได้ (insensible perspiration)
ทางเดินอาหาร ออกไปกับอุจจาระ 100-200 ml.
ผิวหนัง โดยทางเหงื่อ 0-10 m (5000 m ถ้าออกกำลังกายหนัก)
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ 500-3000 ml. ขึ้นอยู่กับการดื่มน้ำ ,ปริมาณ ADH น้อย (ปัสสาวะมาก), ปริมาณตัวละลาย (solute) ที่กรองผ่าน glomerulus (ขับ uria มาก ปัสสาวะมาก), สมรรถภาพของไต , และการเสียน้ำทางอื่น (เหงื่อ อาเจียน ท้องเสีย = ขับปัสสาวะออกน้อย)
การควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย
อาศัยการควบคุม 2 ทาง คือ
การกระหายน้ำ ควบคุมโดย ปริมาตรน้ำ และความเข้มข้นของพลาสมา ศูนย์กระหายน้ำในไฮโปธาลามัส (Hypothalamus)
การขับปัสสาวะ อาศัยไต ควบคุมโดยความเข้มข้น และปริมาตรของพลาสมา
กลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ
การกระหายน้ำ
สมองส่วน ไฮโพทาลามัส hypothalamus) ควบคุมปริมาณน้ำในเลือด ถ้าร่างกายขาด น้ำมากจะทำให้เลือดเข้มข้นกว่าปกติ เกิดอาการกระหายน้ำ การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ส่งผลให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสไปกระตุ้นปลายประสาทในต่อมใต้สมองส่วนหลังให้หลั่งฮอร์ โมน แอนติไดยูเติก
การขับปัสสาวะ
ภาวะขาดน้ำ (Fluid deficit หรือ Dehydration)
ภาวะขาดน้ำ (Fluid deficit หรือ Dehydration) คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับอาจขาดเฉพาะน้ำอย่างเดียว หรือ ขาดน้ำมากกว่าเกลือ (hypertonic dehydration) , ขาดทั้งน้ำและเกลือ (isotonic dehydration) หรือ hypotonic dehydration) สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากกับทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ
สาเหตุ
ได้รับน้ำน้อยลง ดื่มน้ำน้อยเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า
ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียน้ำผ่านทางบาดแผลที่ผิวหนัง
2.1 ปัสสาวะมากผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน เบาจืด โรคไต ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาความดันโลหิต หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
2.2 เสียทางผิวหนังและปอดเหงื่อออกมากผิดปกติ จากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีอากาศร้อนขึ้น หรือในผู้ที่มีไข้สูง หอบเหนื่อย
กลไกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่ระดับเซลล์ เมื่อร่างกายขาดน้ำจะมีผลทำให้ความเข้มข้นของพลาสมาเพิ่มขึ้น จึงดึงน้ำจากภายในเซลล์ออกสู่ภายนอกเซลล์จนกระทั่งความเข้มข้นในและนอกเซลล์เท่ากัน เนื่องจากปริมาตรน้ำในเซลล์มากกว่าน้ำนอกเซลล์ในอัตราส่วน น้ำในเซลล์น้ำนอกเซลล์เท่ากับ 2:1 ดังนั้น จึงมีผลทำให้เซลล์ขาดน้ำ 2 ส่วน และนอกเซลล์ขาดน้ำ 1 ส่วน ระดับ Hematocrit (Hct) และความตึงของผิวหนังไม่เปลี่ยนแปลง
การตอบสนองของร่างกาย ปริมาตรน้ำนอกเซลล์ที่ลดลงและความเข้มข้นของพลาสมาเพิ่มขึ้น มีผลกระตุ้นการหลั่งอัลโดสเตอโรน ADH และกระตุ้นศูนย์กระหายน้ำ ทำให้ปริมาตรปัสสาวะลดลงน้ำและโซเดียมถูกคูดกลับเพิ่มขึ้น และดื่มน้ำมากขึ้นตามลำดับ
อาการขาดน้ำ
อาการขาดน้ำที่รุนแรงน้อยถึงปานกลาง ได้แก่ ผิวแห้ง, ริมฝีปาก, ช่องปากแห้ง,อ่อนเพลีย,เหนื่อยง่าย, ปัสสาวะน้อย, มึนหัว เวียนศีรษะ
อาการจากขาดน้ำรุนแรง ได้แก่กระหายน้ำรุนแรง ,สับสน กระสับกระส่าย,ซึม ,ผิวหนังแห้งมาก , ปากแห้งมาก ,ตาลึกโหล , ไม่มีเหงื่อ ปัสสาวะน้อยมาก สีเหลืองเข็มมาก,กระหม่อมจะบุ๋มลึก , มีไข้ มักเป็นไข้ต่ำ แต่บางคนไข้สูง, ความดันโลหิตต่ำ
ภาวะน้ำเกินและภาวะพิษของน้ำ
(WATER EXCESS AND WATER INTOXICATION)
อาจเกิดจาก
การคั่งของทั้งเกลือและน้ำ (isotonic expansion)
การคั่งของน้ำอย่างเดียว (water volume excess)
การคั่งของน้ำมากกว่าเกลือ (hypo-tonic expansion)
กรณีที่มีการคั่งของน้ำอย่างรุนแรงจะทำให้เกิดภาวะพิษของน้ำ เรียก waterintoxication ซึ่งมักพบได้ในภาวะไตวาย
อาการและอาการแสดง
1 . แบบเฉียบพลัน อาการที่พบคือ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อุปนิสัยและกิริยาท่าทางผิดปกติ กระตุก ชัก ความดันเลือดสูง น้ำหนักตัวเพิ่ม ม่านตาขยายไม่เท่ากัน ซึมไม่รู้สึกตัว รีเฟล็กซ์ไวขึ้น การหายใจหยุด
แบบเรื้อรัง อาการที่พบคือ
อ่อนเพลีย
ไม่มีแรง ซึม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม เลอะเลือนพบอาการบวมได้เมื่อผู้ป่วยมีน้ำเกินในส่วนน้ำนอกเซลล์ 3 ลิตร หรือมีน้ำเกินทั้งหมดในร่างกาย 9 ลิตร อาการบวมอาจเกิดทั่วร่างกายหรือเฉพาะที่ถ้ามีอาการบวมในปอด จะทำให้หายใจลำบาก และ เหนื่อย หอบ ไอมาก
การควบคุมความสมดุลของกรด - ด่าง (regulation of acid base balance)
ในภาวะปกติ pH ในเลือดแดง (arterial blood pH) มีค่าประมาณ 7.4 และ pH ใน เลือดดำ (venous blood pH) มีค่าประมาณ 7.35 pH ในเลือดดำต่ำกว่าในเลือดแดงเนื่องจากในเลือดดำ มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่
ความหมายคำ
Acidosis: ภาวะที่ร่างกายมีความเป็นกรดเกิดขึ้น มีระดับของ PH ในเลือดแดง < 7.35
Alkalosis: ภาวะที่ร่างกายมีความเป็นต่างเกิดขึ้น มีระดับของ PH ในเลือดแดง > 7.45
Arterial Blood Gases: วิธีประเมินค่าความเป็นกรด-ด่างของร่างกายโดยการเจาะเลือดจากหลอดเลือดแดง แล้วนำไปหาค่า
Buffer: สารซึ่งเมื่อละลายน้ำจะคง PH ของสารนั้นไว้ได้แม้ว่าเติมกรดแก่ หรือด่างแก่ลงไป หรือแม้ PH จะเปลี่ยนแปลงก็เป็นเพียงเล็กน้อย
ในสภาวะปกติของร่างกาย metabolism ของร่างกายจะเกิดกรดตลอดเวลา เนื่องจาก oxidation ของอาหาร
ในเลือดแดง pH ปกติมีค่า 7.35-7.45
ในเลือดดำและในช่องว่างระหว่างเซลล์ pH มีค่าประมาณ 7.35
ภายในเซลล์ PH ปกติอยู่ระหว่าง 6.0-7.4 แตกต่างกันในเซลล์ต่างๆ - pH ในเลือดแดงมีค่า > 7.45 เรียกว่า alkalosis
pH ในเลือดแดงมีค่า < 7.35 เรียกว่า acidosis
สิ่งที่ช่วยควบคุมภาวะกรด-ด่างในร่างกาย
Buffer:มีอยู่ทั้งในและนอกเซลล์ จะปรับภาวะกรด-ด่างให้เข้าสู่สมดุลภายในไม่กี่วินาที มีปริมาณจำกัด เมื่อใช้หมด ร่างกายจะอาศัยการทำงานของอวัยวะระบบอื่นในการแก้ภาวะเสียสมดุล
ระบบหายใจ ปอด: ควบคุมอัตราการกำจัด C02 ออกจากร่างกายมีผลต่อการเปลี่ยนแปลง carbonic acid (H2CO3)
ไต: ควบคุมปริมาณการขับทิ้ง H' ในปัสสาวะ มีประสิทธิภาพในการควบคุมกรด-ด่างมากที่สุด แต่ต้องใช้เวลาหลายวัน
Buffer
เป็นสารซึ่งเมื่อละลายน้ำจะคง pH ของสารนั้นไว้
ทำปฏิกิริยากับกรดและด่างเกิดเป็น เกลือของกรดหรือด่างนั้น ซึ่งมีสภาพเป็นกลางหรือกรดอ่อน ตามสมการ
Phosphate buffer system
เป็น buffer ที่สำคัญในเซลล์มากกว่าในเลือด เนื่องจากมีอยู่ในเซลล์จำนวนมาก โดยเฉพาะใน Red blood cell และ renal tubule cell
Protein buffer system
พบทั้งในเซลล์และนอกเซลล์ แต่โดยส่วนใหญ่พบในเซลล์ มีประจุลบ จึงเป็น buffer ที่มีความสำคัญในเซลล์
Haemoglobin buffer system
Haemoglobin เป็น buffer ที่สำคัญมากในเซลล์ เนื่องจากจะรวมกับ H+ กลายเป็น HHb และรวมตัวกับ CO2 เป็น HHbCO2
การควบคุมภาวะกรด-ด่างโดยไต
ขับกรดที่เกิดจาก metabolism ของร่างกาย โดยเฉพาะ non-volatile acid 1.non-volatile acid จาก protein: amino acid ที่มี sulfuric และ phosphoric acid 2. non-volatile acid จาก lipid: keto acid 3. non-volatile acid จาก carbohydrate: lactic acid และ pyruvic acid
ความผิดปกติของสมดุลกรด-ด่าง
Primary metabolic acidosis: เสีย bicarbonate เกิดกรดขึ้นมากในร่างกาย
Primary metabolic alkalosis: มีการสะสม bicarbonate ในร่างกาย เกิดจาการเสียกรดออกจากร่างกายมากกว่าปกติ
Primary respiratory acidosis: ลดการหายใจ C02 สูงขึ้น pH ลดลง
Primary respiratory alkalosis: เพิ่มการหายใจ C02 ต่ำลง pH เพิ่มขึ้น
Electrolyte
อิเล็กโทรไลต์เป็นสารประกอบ
ซึ่งพัฒนาเป็นประจุไฟฟ้าเมื่อละลายในน้ำ
Body Electrolytes
เกลือ เช่น NaCl และ KCI ในสารละลายที่เป็นน้ำจะแยกออกจากกัน
ประจุไอออน Na+ และ CI- เรียกว่าอิเล็กโทรไลต์
ความเข้มข้นของอิเล็กโทรไลต์มีหน่วยเป็น mEq/L
ELECTROLYTES IN BODY FLUID COMPARTMENTS
INTRACELLULAR Electrolytes
POTASSIUM
MAGNESIUM
PHOSPHOROUS
EXTRACELLULAR Electrolytes
SODIUM
CHLORIDE
BICARBONATE
Number Cations =Number Anions
Predominant Cations and Anions of ECF:
Functions Of Body Electrolytes
Electrolytes are well distributed in the body compartments.
Electrolytes in the medium/compartments produce osmotic pressure.
This osmotic pressure helps in maintaining water balance.
Electrolyte Imbalance
Sodium Imbalance
Hyponatremia
อาการ
สมองบวมน้ำ (hyponatremic encephalopathy) เช่น ปวดศีรษะ,คลื่นไส้อาเจียน, ซึมลง, หมดสติ,ตรวจพบความไวของ deep tendon reflexes ลดลง, ชัก
คือระดับซีรัม โชเดียมน้อยกว่า 135 มิลลิโมล/ลิตร นับว่าเป็นความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาลหลายๆการศึกษาพบว่าความผิดปกติของโซเดียมในเลือดสัมพันธ์กับผลการรักษาที่ไม่ดี ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวจะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นและยังเพิ่มอัตราการเสียชีวิตในภาวะอื่นๆ เช่น ปอดอักเสบ
Hypernatremia
คือระดับซีรัม โซเดียมสูงกว่า 150 มิลลิโมล/ลิตร โดยทั่วไปในคนปกติจะพบภาวะนี้ได้น้อยมากเนื่องจากกลไกในสมองที่ทำให้กระหายน้ำทำงานได้เป็นปกติผู้ป่วยวิกฤติมี โอกาสสูงที่จะเกิดภาวะโซเดียมสูงในเลือด เนื่องจากมีปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น การให้ sodium bicarbonate เพื่อแก้ไขภาวะเลือดเป็นกรด, การสูญเสีย free water ทางปัสสาวะมากขึ้นจากการใช้ยาขับปัสสาวะหรือมีพยาธิสภาพของไต แล้วทำให้ความสามารถในกาทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นเสียไป หรือมี solute diuresis จากกูลโคสหรือยูเรีย, มีการสูญเสีย hypotonic fluid ไปทางระบบทางเดินอาหารไม่ว่าทาง nasogastric tube หรือการใช้ยาระบาย lactulose มีการสูญสีย free water จากภาวะไข้รวมถึงการเกิด diabetes insipidus ตามหลังการบาดเจ็บของสมองที่มักพบได้ในวันที่ 5-10 หลังเกิดการบาดเจ็บ เป็นต้น
อาการ
เป็นผลจากค่าออสโมลาลิตีในเลือดที่สูงขึ้น ทำให้น้ำในส่วน intracellular compartment เคลื่อนเข้าสู่ extracellular compartment ส่งผลให้ปริมาตรของเซลล์ลดลงโดยเฉพาะในระบบประสาทส่วนกลางผู้ป่วยจะมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน ซึม ชักตรวจร่างกายจะพบผิวหนังตึงๆหยุ่นๆคล้ายก้อนแป้ง (doughy skin)
Potassium Imbalance
HYPOKALEMIA
สาเหตุ
การได้รับโพแทสเชียมไม่พอเพียง, การสูญเสียไปทางปัสสาวะหรือทางระบบ ทางเดินอาหาร และ การที่โพแทสเซียมย้ายเข้าสู่เซลล์
อาการ
มักเกี่ยวข้องกับระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องผูกและอาจทำให้เกิดภาวะ rhabdomyolysis ได้
HYPERKALEMIA
คือภาวะที่โพแทสเซียมในเลือดมากกว่า 5 มิลลิโมล/ลิตร การบาดเจ็บต่อไตโดยเฉพาะในกรณีที่ GFR น้อยกว่า 15 ซีซี/นาที/1.73 ตารางเมตรของพื้นที่ผิวกาย, การทำงานของต่อมหมวกไตบกพร่อง, การพร่องฮอร์โมนอินซูลิน, rhabdomyoysis, burns และการบาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุอย่างรุนแรงมักเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยวิกฤติ
Calcium Imbalance
Hypocalcemia
ที่พบได้บ่อยได้แก่ผู้ป่วยอุบัติเหตุ, ภาวะไตล้มเหลวทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง, การติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งเชื่อว่าอาจจะเป็นกลไกของร่างกายที่จะปกป้องการบาดเจ็บของเซลล์ในภาวะที่มีการอักเสบ, hypoparathyroidism, แมกนีเซียมในเลือดต่ำทำให้ต่อมพาราชัยรอยด์ หลั่งพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน ลดลงรวมทั้งมีภาวะดื้อต่อพาราธัยรอยด์ฮอร์โมน, การขาดวิตามินดี calcitrol ในกรณีที่ไตบาดเจ็บ
อาการ
กรณีที่มีแคลเซียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรง ได้แก่ tetany และ ชัก ในส่วนของภาวะแคลเชียมในเลือดต่ำเรื้อรังนั้นอาจมีอาการผิดปกติทางด้านอารมณ์และจิตใจได้ ผู้ป่วยอาจมี basal ganglia calcification ที่แสดงอาการทางด้าน extrapyramidal อาการแสดงทางผิวหนังได้แก่ ผื่นผิวหนังอักเสบ eczema
Hypercalcemia
Phosphate Imbalance
Hypophosphatemia
ระดับซีรัมฟอสเฟตที่น้อยกว่า 2.5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ป่วยวิกฤติ สาเหตุหลักๆมาจากการได้รับ ฟอสเฟตหรือลำไส้ดูดซึมฟอสเฟสได้น้อยกว่าปกติ การที่ฟอสเฟต มีการเคลื่อนย้ายเข้าสู่เซลล์ และมีการสูญเสียออกไปในทางเดินปัสสาวะ
อาการ
มีอาการที่หลากหลายออกไป เนื่องจากฟอสเฟตเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างพลังงานในเซลล์ ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เดินเซ สับสนชัก ซึม การหายใจล้มเหลว กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ
Hyperphosphatemia
ภาวะนี้กิดเมื่อวัดระดับฟอสเฟตในซีรัมได้มากกว่า 5 มก./ดล สาเหตุจากการได้รับอาหารที่มีฟอสเฟตมาก การปล่อยฟอสเฟตจากเซลล์ และการขับถ่ายทางไตน้อยลง สาเหตุที่ไตลดการขับฟอสเฟต
ภาวะไตวายเฉียบพลัน - ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุมี rhabdom yolysis หรือในผู้ติดเฮโรอีน
2.ภาวะไตวายเรื้อรัง - ระดับฟอสฟอรัสสูงในเลือด เมื่ออัตราการกรองผ่าน โกลเมอรูลัสลดลงเหลือน้อยกว่า 25 มก/นาที
3.Hypoparathyroidism Pseudohypoparathyroidism
Magnesium Imbalance
ซีรัมแมกนีเซียมที่น้อยกว่า 1.7 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในกรณีที่แมกนีเชียมในเลือดต่ำอย่างรุนแรงจะทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ torsades de pointes, ซัก, หมดสติ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังพบร่วมกับโพแทสเซียมและแคลเซียมในเลือดต่ำ
HYPOMAGNESEMIA
Hypermagnesemia
ภาวะที่อาจพบว่าร่างกายมี Mg2+.มากเกินไป ได้แก่
ไตล้มเหลวทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ( acute and chronic renal failure)ทำให้ความสามารถ ของไตในการขับ K+ลดลง
สมรรถภาพของต่อมหมวกไตเสื่อม( adrenal insufficiency) สร้าง hormone aldosterone ได้ไม่พอกับความต้องการ
การให้ Mg2+.ในหญิงตั้งครรภ์
ขณะให้ Mg2+.รักษาภาวะร่างกายมี Mg2+.น้อยไปในผู้ป่วยโรคไต ผู้สูงอายุก็พบว่ามีปัญหานี้มาก