Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Abdominal injury (การบาดเจ็บช่องท้อง), นางสาวภูริชญา นักสอน เลขที่47…
Abdominal injury
(การบาดเจ็บช่องท้อง)
การบาดเจ็บช่องท้อง (Abdominal injury) หมายถึง การบาดเจ็บช่องท้อง ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือถูกทําร้ายร่างกาย การบาดเจ็บแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
Penetrating injury เกิดจากการบบาดเจ็บที่มีแผลทะลุเข้าช่องท้องเช่น ถูกยิง ถูกแทง
อวัยวะที่มักเกิดการบาดเจ็บในช่องท้องได้แก่ Tear of spleen/ liver/ intestine
Blunt abdominal injury เกิดจากแรงกระแทกถูกช่องท้องการประเมินบางครั้งค่อนข้างยาก เพราะไม่เห็นบาดแผลจากข้างนอก โดยเฉพาะผู้ป่วยที่หมดสติบาดเจ็บที่ศีรษะ และเมาสุรา
Mechanism of injury แบ่งออกเป็น 4 mechanism ได้แก่
Blunt injury:อุบัติเหตุทางรถยนต์, ตกจากที่สูง (Fall), การทําร้ายร่างกาย (Body assault)
Penetrating injury: อุบัติเหตุจากอาวุธเช่น มีด (Stab), ปืนลูกโดด (Gunshot), ปืนลูกซอง (Shortgun),อาวุธสงคราม (Military) เช่นปืนไรเฟิล เป็นต้น
Thermal injury: การบาดเจ็บจากอุณหภูมิ เช่น ความร้อน (Burn), กระแสไฟฟ้า ฟ้าผ่า (Electricalinjury), การสําลักควันไฟ (Inhalation injury), สารเคมี (Chemical), ความเย็น (Cold)
Blast injury คือ อุบัติเหตุระเบิด
อวัยวะที่มักเกิดการบาดเจ็บในช่องท้องได้แก่ Tear of spleen/ liver/ intestine
การบาดเจ็บของม้าม (Splenic injury)
AAST
ระดับที่1 พบรอยฉีกขาดของม้ามน้อยกว่า 1 ซม.หรือ พบก้อนเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มม้ามน้อยกว่าร้อยละ
10 ของพื้นที่ผิวม้าม
ระดับที่2 พบรอยฉีกขาดของม้ามระหว่าง 1-3 ซม. หรือพบก้อนเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มม้ามหรือม้าม
ระหว่างร้อยละ10-50 ของพื้นที่ผิวม้าม
ระดับที่ 3 พบรอยฉีกขาดของม้ามมากกว่า 3 ซม. หรือ พบก้อนเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มม้ามมากกว่าร้อยละ
50 ของพื้นที่ผิวม้าม บริเวณม้ามมากกว่าหรือเท่ากับ 5 ซม.
ระดับที่ 4 พบรอยฉีกขาดของม้ามปริมาณมากหรือพบมีการขาดเลือดไปเลี้ยงม้ามมากกว่าร้อยละ 25
ระดับที่ 5 พบรอยฉีกขาดของม้ามแบบเปื่อยยุ่ยหรือขาด เส้นเลือดไปเลี้ยงม้าม
การบาดเจ็บของตับ (Liver Injury)
AAST liver injury scale
ระดับที่ 1 พบรอยฉีกขาดของตับน้อยกว่า 1 ซม. หรือ พบก้อนเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มตับน้อยกว่าร้อยละ
10 ของพื้นที่ผิวตับ
ระดับที่ 2 พบรอยฉีกขาดของตับระหว่าง 1-3 ซม. หรือ พบก้อนเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มตับระหว่างร้อยละ
10-50 ของพื้นที่ผิวตับหรือพบก้อนเลือดในตับเส้น ผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า10 ซม.
ระดับที่ 3 พบรอยฉีกขาดของตับมากกว่า 3 ซม. หรือ พบก้อนเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มตับมากกว่าร้อยละ 50
ของพื้นที่ผิวตับหรือก้อนเลือดบริเวณตับ มากกว่า10 ซม.
ระดับที่ 4 พบรอยฉีกขาดของตับระหว่างร้อยละ 25-75 หรือ 1-3 กลีบของภายในตับข้างเดียวกันหรือพบ
ก้อน เลือดในตับและแสดงลักษณะของเลือดที่กําลัง ออก (active bleeding)
ระดับที่ 5 พบรอยฉีกขาดของตับมากกว่าร้อยละ 75 หรือ มากกว่า 3 กลีบภายในตับข้างเดียวกันหรือพบ
การบาดเจ็บของเส้นเลือดดําบริเวณรอบตับ retrohepatic venacava หรือ central major hepatic vein
ระดับที่ 6 พบการฉีกขาดรุ่งริ่งของเส้นเลือดและเนื้อตับ
การหักของกระดูกเชิงกราน (Fracture pelvis)
มักเกิดบาดเจ็บร่วมกับ GI, KUB, vascular
อาจมาด้วย shock คลําชีพจรที่ขาเบาลงหรือคลําไม่ได้ ปวดสะโพก ขาสั้นลงและหมุนออก
การประเมินสภาพผู้ป่วย (Physical examination)
บาดเจ็บในช่องท้อง
ดู, ฟัง, คลํา และเคาะ
การดู: distension, มีบาดแผลหรือ รอยช้ํา โดยเฉพาะลักษณะ รอยเข็มขัดนิรภัยรัด (seatbelt mark) ซึ่ง
มักจะสัมพันธ์กับการบาดเจ็บของลําไส้ และ mesentery เป็นต้น
การฟัง: อาจมีประโยชน์เฉพาะในกรณี repeat exam แล้วมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม
การคลํา: เมื่อทราบตําแหน่งเจ็บก่อน และคลํา light touch ก่อนเสมอ อาจมี localized tenderness
หรือเพื่อตรวจ sign of peritonitis เช่น guarding, rigidity
การเคาะ: อาจมีประโยชน์น้อยในผู้ป่วย trauma
นางสาวภูริชญา นักสอน เลขที่47 รหัส 62129301540