Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านชาวมอญบ้านบางกระดี่ - Coggle Diagram
การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านชาวมอญบ้านบางกระดี่
การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้านของหมอพื้นบ้านบางกระดี่
ขั้นตอนการรักษาโรคโดยใช้พิธีกรรมการเสียกบาลหรือการเทาะฮะแนม
1.1 การวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยเมื่อผู้ป่วยมาขอให้หมอผู้ทำพิธี "เทาะฮะแนม" หมอจะซักประวัติและเหตุการณ์ในอดีตช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาผู้ป่วยไปทำอะไร ที่ไหน อย่างไร แล้วเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาเมื่อใด อาการเป็นอย่างไร กินยาอะไร อาการดีขึ้นหรือไม่ จากนั้นผู้เป็นหมอก็จะสังเกตอาการต่าง ๆ สังเกตใบหน้า แววตา คำพูด เป็นต้น
1.2 ขั้นตอนการรักษาโดยใช้พิธีกรรมเสียกบาลหรือเทาะฮะแน การประกอบพิธีกรรม
การเสียกบาลหรือเทาะยะแนมของชาวมอญบางกระดี่จะประกอบพิธี ในช่วงก่อนตะวันตกดินเท่านั้นและงดทำพิธีในวันพระ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็จะมีพิธีเสียกบาลหรือเทาะฮะแนมแบบผัดผ่อนอีกพิธีกรรมหนึ่งผู้เป็นหมอประกอบพิธีรวมทั้งผู้ป่วยมีความเชื่อว่า ทำพิธีเสียกบาลหรือ เทาะชะแนมเพื่อขอขมาลาโทษผีต่าง ๆ อาการเจ็บป่วยต่าง ที่เกิดขึ้นก็จะหายไป
การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยการทรงเจ้าผีบรรพบุรุษและผีประจำหมู่บ้าน
2.1 ขั้นตอนการรักษาด้วยการทรงเจ้าการหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยของชาวมอญบ้านบางกระดี่ ในกรณีเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้น แล้วทำการบำบัดรักษาทั้งแนวการรักษาแบบพื้นบ้านในเบื้องต้น การรักษาพยาบาลตามแบบแผนปัจจุบัน คือ การรับการรักษาจากแพทย์แผนปัจจุบัน แล้วอาการเจ็บป่วยไม่ดีขึ้นหรือไม่หายขาดและไม่ทราบสาเหตุ โดยการใช้ความเชื่อเรื่องผีเป็นหลัก และยังคงได้รับความนิยมมาถึงปัจจุบัน การรักษาพยาบาลแบบพื้นบ้าน โดยใช้ความเชื่อเรื่องผีชาวมอญนั้น อาศัยความเชื่อ 2 ประเภท คือ ผีบรรพบุรุษ หรือ "ปะโหนก" และ ผีประจำหมู่บ้าน หรือ "ปะจุ" มาเป็นผู้ซี้แนะหาแนวทางการแก้ไขอาการเจ็บป่วย
2.2 การวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยเมื่อปะโหนกเข้ามาอยู่ในร่างทรงแล้วจะเริ่มต้นวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยโดยถามว่าอาการป่วยเป็นอย่างไร ผู้ป่วยอายุเท่าไร หากผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณใด ร่างทรงปะโหนกจะเข้าไปจับบีบนวดบริเวณดังกล่าว เช่น หากปวดขาก็จะไปบีบนวดที่ขาแล้วจะถามผู้ป่วยว่า "เจ็บไหม" "ปวดหรือเปล่า" เป็นต้น
2.3 การชี้แนะวิธีการรักษาผู้ป่วยหลังจากร่างทรงปะโหนกวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแล้ว ก็ชี้แนะวิธีการรักษาแก่ผู้ป่วยว่าควรทำอย่างไร ซึ่งปะโหนกมีแนวทางในการรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรคและอาการเจ็บป่วย
การทำพิธีเทาะฮะแนมใหญ่
การทำพิธีเทาะฮะแนมใหญ่นั้น เป็นการช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยให้หาย โดยร่างทรงปะโหนกเป็นผู้แนะนำให้กระทำพิธี ทั้งนี้ เพราะผู้ป่วยมีอาการเจ็บป่วยเนื่องจากถูกผีกระทำหรือถูกผีสิง ร่างทรง ปะโหนกทราบว่าผีที่กระทำเป็นผีประเภทใดแล้วจะแจ้งให้ผู้ป่วยและญาติพี่น้องทราบว่าควรต้องทำพิธีเทาะฮะแนมใหญ่ หรือการทำพิธีเสียกบาลใหญ่
4.การรักษาโดยประกอบพิธีรำผี
การจัดพิธีรำผีเป็นการแสดงว่ามีบุคคลในครอบครัวประพฤติผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ชาวมอญบางกระดี่จึงเคร่งครัดต่อข้อห้ามต่างๆ ตามประเพณีมอญเพราะไม่ประสงค์จัดพิธีรำผี อีกประการหนึ่งการจัดพิธีรำผีในปัจจุบันต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในหมู่บ้านขาดผู้รู้ที่สามารถประกอบพิธีได้ ต้องไปว่าจ้างผู้ทำพิธีจากตำบลบ้านเกาะ จังหวัดสมุทรสาคร หรือจากจังหวัดปทุมธานีมาประกอบพิธี
การรักษาการเจ็บป่วยจากหมอเป่า
อาการเจ็บป่วยหรือโรคที่ชาวมอญรักษาจากหมอเป่าเท่านั้น ได้แก่ โรคงูสวัด ไฟลามทุ่ง ลมพิษ คางทูม โดยมีความเชื่อว่า หากไปรักษาด้วยระบบแพทย์แผนปัจจุบันหรือรับการรักษาด้วยการทายาหรือฉีดยาแผนปัจจุบันแล้วจะทำให้โรคดังกล่าวลุกลามจนรักษาไม่หายและอาจจะถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็ได้
ความเชื่อเกี่ยวกับสาเหตุการเกิดโรคตามทัศนะของหมอพื้นบ้าน
ระบบความคิดในการจำแนกสาเหตุของการเกิดโรค
เกิดจากอำนาจเหนือธรรมชาติ
1.ผีบรรพบุรุษหรือชาวมอญเรียกว่า "ปะโหนก" หรือพ่อปู่ เป็นผู้คอยดูแลปกป้องคุ้มครองลูกหลานที่อยู่ในเรือน โดยชาวมอญทุกบ้านคอยดูแลและปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามธรรมเนียม กฎข้อบังกับต่างๆ ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นได้
2 ผีประจำตระกูล ชาวมอญมีความเชื่อว่า ผีประจำตระกูลก็คือบรรพบุรุษนับถือสืบทอดกันมา หากผู้ใดนับถือผีประจำตระกูลเหมือนกันก็แสดงว่าเป็นพี่น้องร่วมตระกูลเดียวกัน
3 ผีประจำหมู่บ้านหรือ "ปะจุ" เป็นผีที่คอยคุ้มครองชาวบ้านและคอยลงโทษผู้ที่กระทำผิดต่อข้อปฏิบัติ จารีตประเพณีของชาวมอญในหมู่บ้าน ผีประจำหมู่บ้านของชาวมอญบางกระดี่ มีอยู่ 2 แห่ง คือ เจ้าพ่อบางกระดี่และเจ้าแม่หัวละหาน
4.ผีร้ายทั่วไป ชาวมอญบางกระดี่ที่มีความเชื่อว่าผีร้ายเป็นผีที่คอยมารบกวนชาวบ้านให้เกิดโรคภัยเจ็บไข้ต่าง ๆ ผีร้ายหรือผีทั่ว ๆ ไปคือผีที่เกิดจากการตายโหงผีที่ตายด้วยอุบัติเหตุ ผีตายทั้งกลม ผีเด็ก และผีทั่ว ๆ ไปที่สิงสถิตอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ต่างๆ
เกิดจากการผิดจารีตประเพณี
ชาวมอญบางกระดี่ยึดมั่นในหลักปฏิบัติตามจารีตประเพณีของชาวมอญมาแต่ครั้งโบราณและสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎข้อห้ามและหลักปฏิบัติตนต่าง ๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดสิ่งร้าย ๆ แก่ชีวิตและครอบครัวความเชื่อเรื่องข้อปฏิบัติเหล่านี้มีระบุอยู่ในคัมภีร์โลกสมมติซึ่งเป็นคัมภีร์ใบลานภาษามอญ
เกิดจากผลทางธรรมชาติ
1.เกิดจากเชื้อโรค หมอพื้นบ้านรวมทั้งชาวบ้านส่วนใหญ่จะมีความเข้าใจว่าเชื้อโรคที่อยู่รอบตัวเราหรืออยู่ในร่างกายเป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้น
2.เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและความเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ เป็นสาเหตุหนึ่งก่อให้เกิดความเจ็บป่วย ตามความเชื่อของชาวมอญบ้านบางกระดี่เชื่อว่าหากปีใดแล้งจัดจะก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ ระบบขับถ่ายและระบบผิวหนัง หากปีใดเกิดน้ำท่วมซ้ำหรือฝนตกหนัก ทำให้เกิดโรคไข้หวัด โรคน้ำกัดเท้า เป็นต้น
3 เกิดจากอุบัติเหตุ อุบัติเหตุนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและเป็นผลทำให้ร่างกายเกิด ความเจ็บป่วย ชาวมอญบางกระดี่มีความเชื่อว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ในระหว่างการดำรงชีวิตและเป็นไปตามวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ซึ่งหากเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงหรือทำให้ร่างกายสูญเสียอวัยวะหรือเสียชีวิต ชาวมอญจะมองว่า เป็นผลมาจากเวรกรรมครั้งอดีตส่วนอุบัติเหตุเล็กน้อย
เกิดจากผลแห่งกรรม
ชาวมอญบ้านบางกระดี่ยึดมั่นในหลักพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัดและมีความเข้าใจในหลักธรรมค่อนข้างชัดเจน หมอพื้นบ้านชาวมอญบ้านบางกระดี่เชื่อว่า เมื่อเกิดการเจ็บป่วยแล้วรักษาไม่หาย มีผลทำให้เกิดการเสียชีวิตหรือเป็นโรคที่รุนแรงและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จะมองว่า เป็นผลมาจากกรรมเก่าที่กระทำเอาไว้
การเรียนรู้ของหมอพื้นบ้าน
หมอพื้นบ้าน คนทรง หมอผี ในชุมชนบ้านบางกระดี่ มีหลายประเภทที่เป็นที่ยอมรับของชาวบางกระดี่ โดยเริ่มต้นที่ หมอเป่า คือ นายเปลี่ยน ประเสริฐ เป็นหมอพื้นบ้านที่รักษาโรคผิวหนัง โรคงูสวัด โรคเริม ด้วยการเป่าและใช้เวทมนตร์คาถา คนทรง คือ นางเนย สาแหรกทอง เป็นร่างทรงประจำหมู่บ้าน รับประทับทรงผีบ้านหรือปะโหนกและเป็นร่างทรงเจ้าพ่อบางกระดี่ เจ้าแม่หัวละหาน เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการติดต่อระหว่างผีกับชาวบ้านในการหาแนวทางการรักษาอาการเจ็บป่วย หมอผีที่รับรักษาโรคด้วยพิธีกรรมเสียกบาล หรือ "เทาะฮะแนม" ได้แก่ นางลูกจัน สมบุญ ทั้งสามคนนี้นับว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยหาแนวทางในการแก้ไขอาการเจ็บไข้ได้ป่วยของชาวมอญบางกระดี่ รายละเอียดของกระบวนการเรียนรู้และการเข้ามาเป็นหมอพื้นบ้านของทั้ง 3 คน มีดังนี้