Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลอดลมอักเสบ (Bronchitis), นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน เลขที่ 23 - Coggle…
หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) ในเด็กเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อบริเวณหลอดลมซึ่งอยู่ลึกลงไปจากกล่องเสียงไปยังปอดส่วนล่างดังนั้นจึงเปรียบเสมือนอยู่ตรงกลางระหว่างทางเดินหายใจส่วนบนและทางเดินหายใจส่วนล่างโรคหลอดลมอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยลูกหนึ่งของเด็กและพบได้ในช่วง 2 ปีแรกโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงอายุ 6 เดือนและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
อาการของหลอดลมอักเสบ
1.หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เด็กจะมีอาการไอและจะมีเสมหะร่วมด้วย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียก็ได้ ถ้าลักษณะเสมหะมีสีขุ่น เหลืองหรือเขียว แสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย อาการไข้ อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการก็จะดีขึ้นและหายภายในไม่เกินใน 1-2 สัปดาห์
2.หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เด็กจะมีอาการไอเรื้อรัง เป็นอยู่นานเป็นอาทิตย์ หรือเป็นเดือนๆ และมักจะมีเสมหะร่วมด้วย
สาเหตุของหลอดลมอักเสบ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยส่วนใหญ่ได้แก่เชื้อ อดิโนไวรัส (Adenovirus), ไรโนไวรัส (Rhinovirus), อินฟลูเอนซา (ไข้หวัดใหญ่ : Influenza), พาราอินฟลูเอนซา (Parainfluenza) และ อาร์เอสวี (Respiratory syncytial virus : RSV) ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย คือ ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) และ คลาไมเดีย (Chlamydia)
การติดต่อผ่านทางน้ำมูก น้ำลายและเสมหะ โดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองฝอยกระจายอยู่ในอากาศ จากการไอหรือหายใจรดกัน ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและหลังเกิดอาการ
การระคายเคืองจากสารเคมี
โรคภูมิเเพ้
การวินัจฉัยหลอดลมอักเสบ
ตรวจการทำงานของปอด
ตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ
เอกซเรย์หน้าอก
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย/ผู้ทีความเสี่ยง
4.สังเกตและหลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการหอบ
5.หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมัน ๆ หรือทอด และขนมกรอบๆเนื่องจากจะกระตุ้นให้ไอมากขึ้น
3.การอาบน้ำให้หลีกเลี่ยงที่ที่ลมโกรกแรง หรือแช่น้ำนานๆ
6.กระตุ้นให้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่
2.หลีกเลี่ยงที่ที่มีลมโกรกแรง หรืองดใช้พัดลมชั่วคราวหรือเปิดแอร์ที่อุณหภูมิมากกว่า 25 องศาเซลเซียส
7.แนะนำให้รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
1.กระตุ้นให้จิบน้ำอุ่นบ่อยๆ เพื่อละลายเสมหะ และให้งดดื่มน้ำเย็นหรือกินไอศกรีม
8.หากมีอาการ ไข้สูง ไอมาก หายใจลำบาก หอบเหนื่อยมากขึ้น ซึมลง รับประทานอาหารไม่ได้หรือมีอาการผิดปกติไม่แน่ใจ / อาการแย่ลง / ไม่ดีขึ้น รีบมาพบแพทย์โดยด่วน
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อจากหลอดลมอาจลามไปที่ปอด ทำให้เกิดปอดอักเสบ (pneumonia)ได้ หรือจากหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือโรคถุงลมโป่งพองได้
การป้องกันไม่ให้เกิดโรค
เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเมื่อสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือ เสมหะ
งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ฝุ่น เขม่าควันต่างๆ หรือสารที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ
ฉีดวัคซีนโรคหัด โรคไอกรน โรคไข้หวัดใหญ่
หลีกเลี่ยงชุมชนคนเยอะ เช่น ห้างสรรพสินค้า ตลาดนัดในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสต่างๆ
พยาธิสภาพ
การติดเชื้อที่เยื่อบุหลอดลมแยก ทำให้เกิดการอักเสบซึ่งต่อมาอาจลุกลามไปยังส่วนทางเดินหายใจขนาดเล็ กต่อมสร้างมูกมีขนาดโตและเพิ่มจำนวนมีการทำลายเซลล์ขนกวัด มีการแทรกซึมของเซลล์เม็ดเลือดขาว ส่งผลให้เกิดเสมหะเป็นหนอง
การรักษา
2.ยาแก้ไอในเด็กที่ควรใช้และมีประโยชน์ คือ ยาที่จะทำให้เด็กสามารถไอ และขับเสมหะออกได้ดี ได้แก่ ยาจำพวกขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ และยาละลายเสมหะ
3.ควรให้เด็กดื่มน้ำมากๆ
1.การใช้ยาปฏิชีวนะในรายที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย
ชนิดของหลอดลมอักเสบ
1 หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis) ได้แก่การอักเสบเฉียบพลันของหลอดลมเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis)
การพยาบาล
ให้ออกซิเจนที่มีความชื้น
ท้ากายภาพบ้าบัดทรวงอก
ให้ยาขยายหลอดลม ยาละลายเมหะ
ให้ดื่มน้้าบ่อยๆ
หลีกเหลี่ยงสิ่งกระตุ้น
ปิดปาก เวลา ไอ จาม
นางสาวณัฏฐ์พัชร์ หนูจัน เลขที่ 23