Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง
การดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง
โดยส่วนใหญ่แล้วชาวม้งก็จะมีความความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารและอื่นๆที่แตกต่างจากคนทั่วไป โดยชาวม้งมีความเชื่อว่าไม่กินผักและไม่อาบน้ำหลังจากคลอดบุตรดังนั้นเราจึงต้องมีการแนะนำและให้คำปรึกษาพูดคุยถึงผลดีผลเสียหลังจากหลังคลอดบุตรให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมความเชื่อมากที่สุด โดยอาจจะเปลี่ยนจากการไม่อาบน้ำในระยะเวลา 1 เดือน เปลี่ยนเป็นการเช็ดตัวแทน เพราะในระหว่างรอคลอดและการคลอด นอกจากคุณแม่จะต้องใช้พลังงานในการเบ่งคลอดไปมาก จึงทำให้ร่างกายมีเหงื่อไคลซึ่งอาจเกิดการหมักหมมของเหงื่อได้ ดังนั้นจึงต้องเปลี่ยนจากการอาบน้ำมาเป็นการเช็ดตัวแทนเพื่อที่จะไม่เกิดการหมักหมมบนร่างกายรวมถึงการทำความสะอาดผีเย็บเพื่อที่ไม่ให้เกิดการเกิดติดเชื้อได้ง่ายและทำให้แผลแห้งเร็ว ส่วนความเชื่อการไม่กินผักหลังการคลอดบุตรนั้น พยาบาลควรจะหาวิธีการเช่นบอกถึงผลดีของผักต่างๆที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงมารดาหลังคลอดหรือกินอาหารที่สามารถทดแทนกลุ่มแร่ธาตุได้
ทฤษฎีสมรรถนะของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมชาวม้ง
1.สมรรถนะด้านการรับรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรมพยาบาลรู้จักสังเกต ค้นหาค่านิยมความเชื่อและมีความเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมความเชื่อหลังคลอดของชาวม้ง ทำให้พยาบาลให้บริการผู้ป่วยที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมหลังคลอดของผู้ป่วยได้
2.สมรรถนะด้านการติดต่อสื่อสาร พยาบาลมีบุคลิกภาพท่าทางที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วย พูดจากับผู้ป่วยด้วยความสุภาพและ สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยที่ไม่ใช้ภาษาไทยได้โดยญาติผู้ป่วยจะเป็นเป็นสื่อกลางในการสื่อสารผู้ป่วยกับพยาบาล ทำให้พยาบาลประเมินความความเข้าใจความต้องการและประเมินอาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยของผู้ป่วยหลังคลอดได้
3.สมรรถนะด้านความคิดริเริ่มนวัตกรรมการให้บริการ
ผู้ป่วยมีความกังกลเพราะมีความเชื่อในเรื่องการอาบน้ำหลังคลอด กลัวการอาบน้ำเป็นอย่างมาก พยาบาลค้นหา แนวทางในการแก้ไขปัญหาหาร่วมกับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องตามความเชื่อและวัฒนธรรมของผู้ป่วยโดยเช็ดตัวให้ผู้ป่วยแทนการอาบน้ำพยาบาลสามารถบูรณาการความรู้ทางการพยาบาลมาใช้กับผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อวัฒนธรรมได้
4.สมรรถนะด้านการบริหารความเสี่ยงในวัฒนธรรมของผู้ป่วยชาวม้งหลังคลอดห้ามทานผักทุกชนิดทานได้แค่เนื้อหมูเนื้อไก่ และหลังคลอดห้ามไม่ให้อาบน้ำเพราะเชื่อว่าผู้ป่วยหลังคลอดจะมีอุณหภูมิร่างกายที่เปลี่ยนและทำให้เกิดภาวะช็อกน้ำได้ ซึ่งพยาบาลสามารถวิเคราะห์ปัญหาเจรจาต่อรองกับผู้ป่วยโดยแนะนำให้คนไข้หลังคลอดรับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่แทน และพยาบาลยังแก้ไขปัญหาการอาบน้ำโดยเปลี่ยนจากการอาบน้ำเป็นเช็ดตัวแทนให้กับผู้ป่วยเพื่อที่คนไข้หลังคลอดจะมีร่างกายและแผลที่สะอาด
5.สมรรถนะด้านกระบวนการพยาบาลในการฟื้นฟูส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยหลังคลอดพยาบาลตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติตามความเชื่อทางวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับแผนการรักษาของทางการแพทย์
6.สมรรถนะด้านจริยธรรมพยาบาลเคารพความเชื่อวัฒนธรรมของผู้ป่วยชนเผ่าม้ง ให้บริการโดยคำนึงถึงผลดีและผลเสียของผู้ป่วยอีกทั้งพยาบาลปฏิบัติการพยาบาลโดยตระหนักถึงความเชื่อของวัฒนธรรมชนเผ่าม้ง
ความเชื่อของชาวม้งที่มีต่อการดูแลมารดาหลังคลอด
ภายหลังการคลอดเพื่อให้หญิงหลังคลอดและบุตรมีร่างกายแข็งแรงและปลอดภัย ได้มี การปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตนตลอดช่วงการอยู่เดือน รวมทั้งมีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองบุตร ดังนี้
พิธีสู่ขวัญและตั้งชื่อ (ฮูปลี่) เป็นพิธีที่ทําเมื่อบุตรเกิดได้ 3 วัน เพื่อตั้งชื่อและสู่ขวัญบุตร มีการฆ่าไก่เพศผู้ 3 ตัวและเพศเมีย 1 ตัว โดยไก่เพศผู้และไก่เพศเมียคู่แรกพร้อมด้วยไข่ไก่ 1 ฟอง ธูป 3 ดอกและเทียน 1 เล่ม ใช่สําหรับสู่ขวัญและตั้งชื่อให้บุตร ส่วนไก่เพศผู้ตัวที่ 2 ใช้เพื่อ เซ้นไหว้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับและแจ้งให้ทราบว่ามีสมาชิกเกิดใหม่ในครอบครัวขอให้ช่วย ปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง ไก่เพศผู้ตัวที่เหลือใช้สําหรับเซ้นไหว้ขอบคุณ พ่อเกิดแม่เกิดที่ส่งบุตรมาเกิด พิธีสู่ขวัญและตั้งชื่อนี้กระทําโดยผู้อาวุโสซึ่งมีความรู้และ ความเชี่ยวชาญด้านพิธีกรรมประจําตระกูลแซ่
พิธีโกนผม (ฉ่ายปรือเฮา) เป็นการโกนผมของบุตรโดยพ่อหรือแม่ และโกนผมภายใน 1 เดือน ถ้าบุตรอายุมากอาจดิ้นเก่งทําให้โกนลําบาก ชาวม้งเชื่อว่าการโกนผมทําเพื่อป้องกันไม่ให้บุตร ตกใจง่ายหรือกลัวเสียงดัง เช่น เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น และยังเชื่อว่าจะทําให้ผมที่ขึ้นใหม่ดกดํา และสวยงาม
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติกับผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรมชาวม้ง
ไม่ควรเอารกของเด็กชาวม้งไปทิ้ง
ไม่ควรปฏิเสธในการทำพิธีที่พ่อของเด็กจะทำทำการตั้งชื่อให้เด็กที่คลอดออกมาหลังภายใน3วัน
ไม่ควรห้ามในด้านของการรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์ชาวม้งที่พึ่งคลอดลูกออกมา
ไม่ควรนำอาหารที่มีส่วนผสมของเนื้อวัวหรือเนื้อควาย
การส่งเสริมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยหลังคลอดชาวม้ง และเราควรคำนึงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ข้อห้าม และวิถีการดำเนินชีวิตของชาวม้งเพื่อให้การพยาบาลหลังคลอดแก่ชาวม้งถูกต้องตามหลักของการพยาบาลรวมไปถึงความเชื่อประเพณีวัฒนธรรมของชาวม้ง
6.ห้ามเอาข้าวเหนียวให้ชาวม้งหลังคลอดรับประทาน
ไม่ควรนำไก่พันธุ์เนื้อหรือพันธุ์ไข่มาให้ชาวม้งหลัง คลอดรับประทาน
ไม่ควรนำผักทุกชนิดให้ชาวม้งหลังคลอดรับประทาน
การดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรมชาวม้งสามารถนำไปใช้ได้จริง
สามารถนำความเรื่องการพยาบาลผู้ป่วยชาวม้งมาดูแล ด้านอาหารการกินแก่ผู้ป่วยหลังคลอด เมื่อเจอผู้ป่วยชาวม้งอีกครั้ง นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้านความเชื่อประเพณีวัฒนธรรมของชาวม้งไปใช้ในการดูแลประยุกต์ให้เข้ากับการพยาบาลเพื่อให้เกิดความสมดุลกันระหว่างการพยาบาลกับวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อของชาวม้ง อีกทั้งยังสามารถทำให้พยาบาลเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการพยาบาลแก่ผู้รับบริการที่ต่างวัฒนธรรม ที่สามารถพัฒนาการบริการให้เกิดความรวดเร็วและเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน