Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สมดุลของน้ำ อิเล็กโตรไลท์และภาวะกรดด่างในร่างกาย, หน้าที่ของน้ำภายในร่างกา…
สมดุลของน้ำ อิเล็กโตรไลท์และภาวะกรดด่างในร่างกาย
การควบคุมภาวะสมดุลกรดด่าง
การควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย
อาศัยการควบคุม 2 ทางคือ
การกระหายน้ำ
การขับปัสสาวะ
กลไกควบคุมสมดุลของสารน้ำ
สมองส่วนไฮโปทาลามัสทำหน้าที่ควบคุมปริมาณสารน้ำในร่างกาย
เมื่อร่างกายมีการสูญเสียน้ำ สมองส่วนไฮโปทาลามัส ซึ่งมีศูนย์ควบคุมการกระหายน้ำ จะสั่งการให้เกิดการดื่มน้ำทดแทน โดยจะรู้สึกกระหายน้ำ และเมื่อมีการกลืนน้ำเข้าไปก็จะช่วยบรรเทาความกระหายได้อย่างรวดเร็ว
ถ้าร่างกายขาดน้ำประมาณ 3 วัน ก็จะทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับภาวะขาดน้ำเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ
ภาวะขาดน้ำ
คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าที่ได้รับ ทำให้กระหายน้ำและปัสสาวะมีสีเข้ม มักมีสาเหตุมาจากการอาเจียน ท้องเสีย การออกกำลังกาย หรือการใช้ยาบางชนิด สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่มักเกิดขึ้นได้มากกับทารก เด็กเล็ก และผู้สูงอายุ หากร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจะทำให้เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต
สาเหตุของภาวะขาดน้ำ
ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป ในผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและแร่ธาตุเป็นจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียน้ำผ่านทางบาดแผลที่ผิวหนัง เช่น แผลไฟไหม้ แผลในปาก แผลติดเชื้อที่ผิวหนัง หรือโรคผิวหนังอย่างรุนแรง เป็นต้น
ปัสสาวะมากผิดปกติ ในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่ใช้ยาขับปัสสาวะ ยาความดันโลหิต หรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
เหงื่อออกมากผิดปกติ จากการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่มีอากาศร้อนชื้น หรือในผู้ที่มีไข้สูง
ดื่มน้ำน้อยเกินไป โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการโคม่า ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงผู้ที่มีอาการป่วย เป็นหวัด หรือเจ็บคอ ทำให้รู้สึกเบื่ออาหารและดื่มน้ำน้อยลง
อาการของภาวะขาดน้ำ
กระหายน้ำ เป็นสัญญาณหรืออาการแรก ๆ ที่ร่างกายแสดงออกเพื่อพยายามเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย ทารกและเด็กเล็ก เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำได้มากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถบอกได้ว่าหิวน้ำเมื่อไหร่ อาจพบอาการปากและลิ้นแห้ง ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ผ้าอ้อมเปียกปัสสาวะน้อยลง ปัสสาวะมีสีเข้ม ตาโหล แก้มตอบ กระหม่อมบุ๋ม ง่วงซึม หงุดหงิดง่าย หายใจเร็ว มือและเท้าเย็น เป็นต้น
กลไก
การเปลี่ยนแปลงที่ระดับเซลล์
การตอบสนอง
ภาวะน้ำเกินและภาวะพิษของน้ำ
ดื่มน้ำมาก ย่อมดีต่อสุขภาพ แต่หากดื่มเกินพิกัด หมอเตือนเสียชีวิตได้ เพราะทำให้ร่างกายไม่สมดุล อย่าดื่มครั้งเดียว 1 ลิตร เพราะเสี่ยงภาวะน้ำเป็นพิษ ดื่มเกินพิกัด 6-7 ลิตรต่อวัน สธ.เตือนส่งผลระดับเกลือโซเดียมต่ำ สมดุลน้ำในร่างกายเสียระบุน้ำจะเข้าไปคั่งในเซลล์ทั่วร่างกายมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน อาจกระตุกหรือชัก จากสมองบวม ปอดบวม และเสียชีวิตได้ ชี้ปริมาณพอเหมาะ 1.2ลิตร หรือ 6-8 แก้วต่อวัน นักกีฬาที่เสียเหงือมากอย่าดื่มน้ำมากเกิน 1 ลิตรในคราวเดียว อาจเกิดภาวะเสี่ยงได้
การรักษาและวิธีการป้องกัน
รักษา
รักษาได้โดยการให้สารอิเล็กโทรไลต์ทางหลอดเลือด
ติดตามตรวจวัดระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
ป้องกัน
ควรดื่มน้ำเมื่อรู้สึกกระหายเท่านั้น เพราะร่างกายมีกลไกทางสรีรวิทยาที่รู้ว่าเมื่อไรร่างกายต้องการน้ำ สำหรับผู้ที่เล่นกีฬาหนัก ๆ ควรดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ในปริมาณพอสมควร และไม่ควรดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมาก[6]
น้ำและอิเล็คโตรไลท์ในร่างกาย
ขอบเขตเนื้อหา
การควบคุมความสมดุลของกรด - ด่าง
ในภาวะปกติ pH ในเลือดแดง (arterial blood pH) มีค่าประมาณ 7.4 และ pH ใน เลือดดำ (venous blood pH) มีค่าประมาณ 7.35 pH ในเลือด ดำต่ำกว่าในเลือดแดงเนื่องจากในเลือดดำ มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่
มากกว่าในเลือดแดง pH ส่วนภายในเซลล์มีค่าเป็น 7.0 - 7.2 เนื่องจาก ภายในเซลล์เป็นแหล่งให้คาร์บอนไดออกไซด์และกรดอินทรีย์ต่างๆ อยู่
เกือบตลอดเวลา จึงทำให้ค่า pH ในเซลล์สูงกว่าในเลือดดำ
Acidosis
มีระดับค่าของ PH เลือดแดง < 7.35
Alkaiosis
มีระดับค่าของ PH ในเลือดแดง > 7.45
สิ่งที่ช่วยควบคุมภาวะกรดด่างในร่างกาย
Buffer
bicarbonate-catbonic acid buffer system
2.Phosphate buffer system
3.Protein buffer system
Haemoglobin buffer system
ระบบหายใจและปอด
การควบคุม pH โดยระบบหายใจให้ผลระหว่าง 50-75 %
สามารถปรับ pH ภายใน 1-15 นาที ให้ผลสูงสุดที่ 12-24 ชมใ
ไต
ขับกรดที่เกิดจาก metabolism ของร่างกายโดยเฉพาะ non-volatile acid
Body Electrolytes
Distribution Of Body Electrolytes In ECF and ICF
Number Cations =Number Anions
Functions Of Body
Electrolytes
Na ๋
k๋
cl
ca2๋
Mg2๋
sodium lmbalance
Hyponatremia
Hyponatremia ภาวะที่มีซีรั่มโซเดียมน้อยกว่า 135 mEq/L เป็นความผิดปกติของอิเล็กโทรไลต์ที่พบบ่อยในเด็ก สาเหตุหลักคือมี free water เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ป่วยอาจมี hypovolemia ปริมาตรของ ECลดลง หรือมี normovolemia จากการหลั่ง ADH เพิ่มขึ้นอย่าง inappropriate หรือมี hypervolemia เนื่องจาก effective circulatory volume ลดลงและมีการหลั่ง ADH เพิ่มขึ้นอย่าง appropriate
อาการและอาการแสดง ขึ้นอยู่กับความรุนแรง ระยะเวลาและอัตราเร็วของการลดลงของซีรั่มโซเดียม อาการและอาการแสดงเกิดจากการที่น้ำเข้าเซลล์และทำให้สมองบวม ที่พบบ่อยได้แก่ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ระดับความรู้สึกตัวลดลงและชัก ในเด็กเกิดอาการได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กมีอัตราส่วนของสมองต่อกะโหลกศีรษะมากกว่า ทำให้สมองขยายได้น้อยกว่า
Hypernatremia
ภาวะที่ plasma Na สูงกว่า 145 mmol/L โดยทั่วไปมักพบร่วมกับภาวะ hyperosmolarity ด้วย ส่วนใหญ่ของภาวะ hypernatremia เกิดจากการลดลงของปริมาณน้ำในร่างกาย ซึ่งมักมีสาเหตุจากความผิดปกติในระบบกระหายน้ำ (thirst) หรือไม่สามารถดื่มน้ำได้ หรือไม่มีน้ำให้ดื่ม การสูญเสียน้ำในสัดส่วนที่มากกว่าโซเดียมทางไต จะเป็นสาเหตุพื้นฐานที่ทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลง แต่หากร่างกายได้รับน้ำในปริมาณเพียงพอแล้ว จะไม่เกิดภาวะ hypernatremia
สาเหตุของภาวะโซเดียมในเลือดสูง
ภาวะ Hypernatremia เป็นผลจากร่างกายเสียน้ำเป็นปริมาณมากหรือได้รับโซเดียมมากเกินไป จึงทำให้ระดับน้ำและโซเดียมในร่างกายไม่สมดุล ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ
การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง
การดื่มน้ำในปริมาณน้อยจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
การเสียน้ำออกจากร่างกายเป็นปริมาณมาก
Potassium lmbalance
Hypokalemia
ภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยท้องผูก อ่อนล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุก ภาวะนี้อาจเกิดจากการอาเจียนอย่างหนัก ท้องเสียหลายครั้ง ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายมากเกินไป ทำให้ไตขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายมากเกินไป
อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
ลักษณะและความรุนแรงของอาการ Hypokalemia ขึ้นอยู่กับระดับของโพแทสเซียมในเลือด หากโพแทสเซียมลดลงเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจยังไม่ปรากฏอาการใด ๆ หรืออาจมีอาการไม่รุนแรงนัก
Hyperkalemia
โพแทสเซียมในเลือดสูง คือภาวะที่มีปริมาณโพแทสเซียมในเลือดสูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุมักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น ไตวายเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีความสามารถในการกำจัดโพแทสเซียมที่ร่างกายไม่ต้องการลดลง ซึ่งหากมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงมากอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของโพแทสเซียมในเลือดสูง
ภาวะ Hyperkalemia มักเกิดจากความผิดปกติของไต เช่น โรคไตเรื้อรัง หรือไตวายเฉียบพลัน ทว่าอาจมีปัจจัยอื่นนอกเหนือจากสาเหตุข้างต้นได้เช่นกัน
Calcium lmbalance
Hypocalcemia
คือ ภาวะที่ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อาจเกิดขึ้นได้หากร่างกายสูญเสียแคลเซียมปริมาณมาก หรือร่างกายไม่สามารถดูดซึมแคลเซียมจากอาหารได้อย่างเพียงพอ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ตามมา โดยเฉพาะโรคกระดูกพรุนหรือภาวะกระดูกบาง เนื่องจากแคลเซียมจำเป็นต่อระบบประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก ฟัน
สาเหตุของภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
Hypocalcemia นั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อย คือ ภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ต่ำ เพราะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid Hormone) จะทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากพันธุกรรม เป็นผลมาจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือการป่วยเป็นมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ
Hypercalcemia
ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เป็นภาวะที่อาจทำให้กระดูกของผู้ป่วยอ่อนแอลง ทำให้เกิดนิ่วในไต และส่งผลต่อการทำงานของสมองและหัวใจได้ เนื่องจากมีระดับแคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ โดยภาวะนี้มักเกิดจากต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาบางชนิด การบริโภคแคลเซียมหรือวิตามินดีเสริมมากเกินไป โรคมะเร็งหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ เป็นต้น
สาเหตุของภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากเกินไป
ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง
การเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
Phosphate lmbalance
Hypophosphatemia
ผู้ที่ประสบภาวะฟอสเฟตในเลือดต่ำ (Hypophosphatemia) จะมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง โดยอาการแสดงขึ้นอยู่กับสาเหตุ ระยะเวลา และระดับความุรนแรงของภาวะขาดฟอสเฟต หากมีระดับฟอสฟอรัสไม่ต่ำมากทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง จะไม่มีอาการแสดงที่ชัดเจน แต่หากมีระดับฟอสฟอรัสในเลือดต่ำอย่างรุนแรง มักมีอาการ เช่น อ่อนเพลีย ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อจากภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis) และไม่รู้สึกตัว
Hyperphosphatemia
ฟอสเฟตในเลือดสูง (Hyperphosphatemia) อาจเป็นผลมาจากโรคของกระดูก การติดของกระดูกหัก ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย Hypoparathyroidism)สภาพโตเกินไม่สมส่วน (Acromegaly) ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโตนจากเบาหวาน ลำไส้เล็กอุดตัน ภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติกจากตับเสียหน้าที่ และไตวาย อาการเมื่อมีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง ประกอยด้วย อาการหัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องเสีย เป็นตะคริว รีเฟล็กซ์ของข้อไวกว่าปกติ
Magnesium lmbalance
Hypomagnesemia
Hypomagnesemia (ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ) เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีระดับของแมกนีเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เกร็ง สั่น หรือกระตุก มีอารมณ์หงุดหงิด และนอนไม่หลับ เนื่องจากแมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อ หัวใจ และระบบประสาท โดยภาวะนี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น บริโภคอาหารที่มีแมกนีเซียมน้อยเกินไป อาเจียน ท้องเสีย ติดสุรา หรือใช้ยาบางชนิด
hypermagnesemia
ปริมาณแมกนีเซียมส่วนเกินในกระแสเลือด พบได้น้อยและมักเกิดจากภาวะไตวายหรือไตทำงานไม่ดี
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายใช้เป็นอิเล็กโทรไลต์ซึ่งหมายความว่ามีประจุไฟฟ้าอยู่รอบ ๆ ร่างกายเมื่อละลายในเลือด
แมกนีเซียมมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพของกระดูกการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดและการส่งผ่านระบบประสาทรวมถึงหน้าที่อื่น ๆ แมกนีเซียมส่วนใหญ่จะถูกเก็บไว้ในกระดูก
สาเหตุ
กรณีส่วนใหญ่ของภาวะไขมันในเลือดสูงเกิดขึ้นในผู้ที่เป็นโรคไตวาย Hypermagnesemia เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการที่รักษาระดับของแมกนีเซียมในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติไม่ทำงานอย่างถูกต้องในผู้ที่มีความผิดปกติของไตและโรคตับระยะสุดท้าย
หน้าที่ของน้ำภายในร่างกาย
ช่วยในการย่อย การดูดซึม และการนำพาสารอาหารต่างๆ ไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย
ช่วยในการไหลเวียนของสารต่างๆ ภายในร่างกาย
ช่วยในการขับถ่ายและกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางไต โดยละลายอยู่ในปัสสาวะ
ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่
น้ำและอิเล็กโตรไลน์ในร่างกาย
น้ำ (WATER)
ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 70 ในเลือดมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 92 ในสมองมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 85 ถ้าพิจารณาในแต่ละเซลล์จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบร้อยละ 60 จริงๆแล้วน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญและจำเป็นของเซลล์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเซลพืช เซลล์สัตว์ และเซลล์มนุษย์ ทุกเซลล์ล้วนประกอบด้วยน้ำทั้งนั้น ในเซลล์มนุษย์และเซลล์สัตว์มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของน้ำหนักร่างกาย ในพืชบกมีน้ำประมาณร้อยละ 50–75 ถ้าเป็นพืชน้ำอาจมีน้ำมากกว่าร้อยละ 95 โดยน้ำหนัก
WATER INTAKE (1500 - 3000 ML)
ร่างกายได้รับน้ำ 3 ทางคือ
น้ำดื่ม อาหารเหลว น้ำปนในอาหาร (500 - 1500 ml)
อาหาร เช่น ข้าว เนื้อ ผัก ผลไม้ (800 - 1000 ml)
เมตาบอลิซึมของร่างกาย (200 - 500 ml)
ร่างกายสูญเสียน้ำ
ผิวหนัง มีทั้งที่เรามองเห็นออกมาในรูปของเหงื่อ และน้ำที่ระเหยไปโดยที่เรามองไม่เห็น
ปอด โดยการหายใจออก
ทางอุจจาระ
ทางปัสสาวะ