Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การขับถ่ายปัสสาวะและการรักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ - Coggle Diagram
การขับถ่ายปัสสาวะและการรักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่
ความผิดปกติในการขับถ่ายปัสสาวะ
2 เกี่ยวกับความผิดปกติของการปัสสาวะ
การถ่ายปัสสาวะลำบาก
ปัสสาวะขัด
การถ่ายปัสสาวะบ่อย
1 เกี่ยวกับการสร้างน้ำปัสสาวะ
ภาวะที่มีปัสสาวะปริมาณน้อยเกินไป น้อยกว่า 30 ซีซี/วัน
ภาวะไม่มีปัสสาวะ ปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 100 มิลลิลิตรใน 24 ชั่วโมง
ภาวะที่มีปัสสาวะปริมาณมากกว่าปกติ เกิน 3 ลิตรต่อวัน
ภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute kidney injury: AKI)
สาเหตุ
ภาวะไตบาดเจ็บโดยตรง เช่น การได้ยาที่มีพิษต่อไต
ภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ
ภาวะที่ทำให้เลือดไปเลี้ยงไตไม่เพียงพอ
การรักษา
ปรับขนาดยาตามการทำงานของไตที่ลดลง
หลีกเลี่ยงการฉีดสารทึบรังสีหรือยาที่มีผลเสียต่อไตที่ไม่มีความจำเป็น
รักษาสมดุลน้ำและเกลือแร่ให้เป็นปกติ
การรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต กรณีที่มีอาการสารน้ำเกิน หรือเกลือแร่ผิดปกติร้ายแรงที่อาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
อาการ
• สับสน ซึมลง
• หัวใจเต้นผิดปกติ
• บวม เหนื่อยง่าย
• ปัสสาวะออกลดลง
การที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่นภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากยา การรับประทานยาเกินขนาด รวมถึงผู้ป่วยอาการหนักจากโรคต่างๆ ซึ่งหากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ไตจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้
กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)
อาการของกรวยไตอักเสบ
เจ็บปวดบริเวณหลังหรือสีข้าง ปวดท้อง
คลื่นไส้ อาเจียน
รู้สึกหนาวสั่น
ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา เจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะ
มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น มีสีขุ่น มีหนองหรือเลือดปนมากับปัสสาวะ
สาเหตุ
การอักเสบต่อเนื่องของกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
การอุดตันของทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะตอนบน
กรวยไตอักเสบส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นอาการที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ป่วยที่เป็นเด็กและผู้ที่มีระบบทางเดินปัสสาวะอุดตัน อาจเสี่ยงเป็นกรวยไตอักเสบแบบเรื้อรังได้มากกว่าคนทั่วไป
การป้องกัน
ไม่กลั้นปัสสาวะ และปัสสาวะทันทีเมื่อรู้สึกปวด
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เพื่อให้มีปริมาณปัสสาวะมากพอจะขับของเสียออก
ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อต่าง ๆ
โรคไตวายเรื้อรัง
สาเหตุ
พบนิ่วในไต
ผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
ความดันโลหิตสูง
โรคอ้วน
เบาหวาน
อาการ
• ปัสสาวะผิดปกติ เช่น ปัสสาวะเป็นฟอง, ปัสสาวะเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ, ปัสสาวะบ่อย เช่น ตื่นขึ้นมาปัสสาวะกลางคืนมากกว่า 1 ครั้ง ปัสสาวะออกน้อยลง
• ซีด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย คันตามตัว เบื่ออาหาร
• ขาและเท้าบวม กดบุ๋ม หนังตาและหน้าบวม
• ความดันโลหิตสูง
การรักษา
การฟอกเลือดเป็นการนำเลือดเสียผ่านเข้าไปในเครื่องกรองเลือด และนำเลือดที่ถูกกรองสะอาดแล้วกลับสู่ร่างกายอีกครั้ง
การปลูกถ่ายไต
ล้างช่องท้องด้วยน้ำยา (CAPD) เป็นการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องประมาณ 2 ลิตร โดยทำวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 6 ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
ภาวะที่ไตถูกทำลายมีผลให้ความสามารถการทำงานของไตลดลง
ไตวายเรื้อรังมี 5 ระยะ
ระยะที่ 1 ไตเสื่อมมีค่าGFRผิดปกติ
ระยะที่ 2 ไตเริ่มถูกทำลายอัตราการกรองของไตลดลง
ระยะที่ 3 ไตเสื่อมอัตราการกรองของไตลดลงปานกลาง
ระยะที่ 4 ไตเริ่มวายอัตราการกรองของไตลดลงมาก
ระยะที่ 5 ไตวายระยะสุดท้าย
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (UTI)
ปัจจัยเสี่ยง
ปัสสาวะไหลย้อนกลับ
ปัสสาวะค้าง
นิ่วหรือการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ
เบาหวาน
อาการ
ปัสสาวะขุ่น บางครั้งมีกลิ่นผิดปกติ ในรายที่เป็นมากอาจปัสสาวะมีเลือดปน
รู้สึกปวดบริเวณท้องน้อย ปวดแสบ ขัด ขณะปัสสาวะโดยเฉพาะตอนปัสสาวะสุด
ปัสสาวะบ่อย แต่ครั้งละน้อยๆ มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด
คำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การอาบน้ำไม่ควรแช่ในอ่างอาบน้ำ
เมื่อมีความผิดปกติในการขับถ่าย เช่น ปวดปัสสาวะบ่อยลักษณะปัสสาวะเปลี่ยนไป จากปกติควรรีบพบแพทย์
ปัสสาวะทุก 2-4 ชั่วโมงเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
ดูแลรักษาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ให้สะอาด
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้วเพื่อช่วยขับเชื้อโรคออกจากทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในท่อไต
อาการ
คลื่นไส้ อาเจียน
มีไข้ หนาวสั่น
ปัสสาวะปนเลือด
ปัสสาวะบ่อยหรือเกิดความรู้สึกว่าต้องปัสสาวะอย่างปัจจุบันทันด่วน
ปวดบริเวณหลังหรือข้างลำตัว
รู้สึกปวดเมื่อปัสสาวะ
การรักษา
การรักษาด้วยวิธีการใช้ยา
การผ่าตัดหรือการทำหัตถการต่างๆ เพื่อสลายหรือกำจัดนิ่ว
การใช้ยาแก้ปวดหรือการให้สารน้ำด้วยการรับประทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือด
สาเหตุของการเกิดนิ่ว
ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การตีบแคบของท่อปัสสาวะ
การดื่มน้ำน้อย หรือการสูญเสียน้ำจากร่างกายมาก
ความผิดปกติของต่อมพาราไทรอยด์
การรับประทานอาหารที่มีกรดยูริกหรือสารออกซาเลตมากเกินไป
กรรมพันธุ์
การอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
อาการ
ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา
ปวดท้องน้อย
รู้สึกกปวดแสบขณะปัสสาวะ
จะมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย
สาเหตุ
สาเหตุหลักที่พบมากที่สุด คือ การติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล
การป้องกัน
ดื่มน้ำวันละมากๆ เพื่อให้ร่างกายได้ขับของเสียออกทางปัสสาวะ
รักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศ ด้วยการทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
ไม่กลั้นปัสสาวะ หากรู้สึกปวดควรรีบเข้าห้องน้ำทันที
หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด หรือใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
ต่อมลูกหมากโต
อาการ
ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ
รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที
การป้องกัน
ยังไม่มีทางป้องกันภาวะการเกิดต่อมลูกหมากโต
สาเหตุ
อาจสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเพศชาย
ยังไม่มีหลักฐานยืนยันถึงสาเหตุที่แน่ชัด