Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การพยาบาลผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก, image, image, image, image,…
บทที่ 3 การพยาบาลผู้ป่วยไฟไหม้น้ำร้อนลวก
สาเหตุ
สารเคมี เช่น กรด ด่าง
รังสี เช่น แสงแดด รังสีนิวเคลียร์ ระเบิดปรมาณ
กระแสไฟฟ้า เช่นไฟฟ้าช็อต
ความร้อน
แบบแห้ง เช่น ไฟ เตาไฟ ตะเกียง พลุ ประทัด บุหรี่
แบบเปียก เช่น น้ำร้อน ไอน้ำ น้ำมันเดือด
การเสียดสีอย่างรุนแรง
ชนิดความรุนแรงของการบาดเจ็บ
ระดับที่ 1 (First degree burn)
บาดแผลที่มีการทำลายของเซลล์หนังกำพร้าชั้นผิวนอก (Dermis) เท่านั้น
ระดับที่ 2 ชนิดตื้น (Superficial partial-thickness burns)
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าทั้งชั้นผิวนอก (Dermis) และชั้นในสุด (Epidermis) และหนังแท้ส่วนที่อยู่ตื้น ๆ (Superficial dermis) ใต้หนังกำพร้า
ระดับที่ 2 ชนิดลึก (Deep partial-thickness burns)
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังแท้ส่วนลึก
ระดับที่ 3 (Third degree burn)
บาดแผลที่มีการทำลายของหนังกำพร้าและหนังแท้ทั้งหมด รวมทั้งต่อมเหงื่อ รูขุมขน และเซลล์ประสาท และอาจกินลึกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือ กระดูก
ลักษณะผิวหนังที่ถูกทำลาย
(First degree burn)
แดงบวมเล็กน้อย และมีความรู้สึกปวดแสบปวดร้อน แต่ไม่มีตุ่มพองหรือหนังหลุดออก
(Second degree burn)
ลักษณะแดง และพุพองเป็นตุ่มน้ำใสขนาดเล็กและใหญ่ ผิวหนังอาจหลุดลอกออกเห็นเป็นเนื้อสีชมพูหรือสีแดง ๆ มีน้ำเหลืองซึม แผลเป็นสีเหลืองขาว
(Third degree burn)
ผิวหนังทั้งชั้นจะหลุดลอกออกเห็นเป็นเนื้อแดง ๆ หรือแดงสลับขาว หรือเป็นเนื้อที่ไหม้เกรียม
การรักษา
บาดแผลจากการถูกไฟฟ้าช็อต
ให้สารละลายทางหลอดเลือดดำเป็นหลัก ริงเกอร์แลกเตท(Ringer's lactate)
บาดแผลที่เกิดจากความร้อนหรือไฟ
ยาลดการอักเสบ (NSAIDs)
การให้ยาแก้ปวด มอร์ฟีน
ยาปฏิชีวนะที่มีทั้งชนิดกินและทา
ทาด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น โพวิโดน-ไอโอดีน (Povidone-iodine) ทิงเจอร์เมอไทโอเลต (Merthiolate)
ฉีดยาป้องกันบาททะยัก
ยาปฏิชีวนะทาเฉพาะที่ (Topical antibiotic)
การผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนัง Skin graft
ห้ามใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นจัดประคบ
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น หรือสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ทุกชนิด เพราะหากโดนบริเวณบาดแผล อาจทำให้เกิดอาการคันหรือมีการติดเชื้อได้ง่าย
ทายาหรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
ควรเน้นการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงให้มาก ๆ เช่น เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ เพื่อช่วยเสริมการสร้างเนื้อเยื่อใหม่บริเวณบาดแผลให้แผลหายเร็วขึ้น
การดูแลตนเองหลังรับการรักษายังคงต้องรักษาความสะอาดของแผลให้ดี
ระวังไม่ให้แผลถูกแสงแดดหรือให้ใช้ครีมกันแดดเป็นเวลา 3-6 เดือน และควรใช้น้ำมันหรือครีมโลชั่นทาที่ผิวหนังอยู่เสมอเพื่อลดอาการแห้งและคัน
ให้การรักษาแบบคนไข้นอกได้ โดยล้างแผลด้วยน้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อ และถ้ามีคราบเขม่าติดแน่น อาจใช้สบู่ช่วยล้างออกได้
แผลที่หายหลังจากการทำผ่าตัดปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin graft) แนะน าให้ใส่ผ้ายืด (Pressure garment) เพื่อป้องกันการเกิดแผลเป็นนูนหนา (Hypertrophic scar)
ให้ยาปฏิชีวนะชนิดทาและให้ยากันบาดทะยัก
ประเมินบาดแผลของผู้ป่วยเพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง
สิ่งที่ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
บาดแผลระดับที่ 2 และ 3 เกิดบาดแผลที่ตา หู ใบหน้า มือ เท้า อวัยวะสืบพันธุ์ หรือตามข้อพับต่าง
บาดแผลในผู้ใหญ่ที่มีขนาดมากกว่า 15% (15 ฝ่ามือ)
บาดแผลระดับที่ 3 ที่มีขนาดมากกว่า 2% (2 ฝ่ามือ) ในทารก เด็กเล็ก (อายุน้อยกว่า 5 ปี)
สูดควันไฟเข้าไปในระหว่างที่เกิดเหตุ
มีภาวะช็อก