Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมมารดาและทารกหลังคลอดของชาวญี่ปุ่น - Coggle Diagram
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมมารดาและทารกหลังคลอดของชาวญี่ปุ่น
ความเชื่อของคนญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น ที่ยังคงมีอยู่และสืบทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นรากเหง้าที่หยั่งลึก จนอาจ เป็นบรรทัดฐาน และเป็นที่มาของขนบธรรมเนียม แม้ว่าจะมีความเชื่อบางอย่างที่แตกต่างจากคนเอเชียอื่นๆ แต่ พื้นฐานโดยรวมแล้วคล้ายคลึงกันคือ เพื่อความปลอดภัย ความมั่งคั่ง การบ่มเพาะนิสัยให้เป็นคนมีเมตตา กล้าหาญ อดทน ขยัน และไม่ประมาท ในที่นี่จะกล่าวถึง การพยาบาลข้ามวัฒนธรรมมารดาและทารกหลังคลอดของชาว ญี่ปุ่น
ตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรมหลังคลอดชาวญี่ปุ่น
พยาบาลควรศึกษาในเรื่องของวัฒนธรรม ความเชื่อ ของชาวญี่ปุ่น ซึ่งผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อบางอย่างที่แตกต่างจากคนเอเชียอื่นๆ แต่พื้นฐานโดยรวมแล้วยงัคงมี ความคล้ายคลึงกัน
ผู้หญิงชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อเกี่ยวกับตัวเลข 19,33,37 เพราะที่เชื่อว่า ผู้หญิงที่มีอายุ 33 หากก าเนิดบุตร ธิดา ในช่วงอายุดังกล่าวเชื่อว่า เด็กที่เกิดมาจะประสบเคราะห์กรรม หากหลีกเลี่ยงไม่พ้นก็ต้องท าพิธีแก้เคล็ด โดนนำ เด็กไปทิ้งกลางสี่แพร่ง แล้วให้คนรู้จักไปตามไปเก็บมาคืนให
-เลข 19และเลข37 เมื่ออ่านออกเสียงเป็นภาษาญี่ปุ่น จะคล้ายคลึงกับค าว่า ตาย และค าว่า สยดสยอง ผู้ป่วยชาว ญี่ปุ่นจึงมีความเชื่อเกี่ยวกับการเลือกห้องพักเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นจะหลีกเลี่ยงการพักในห้องที่มีตัวเลข 19,33,37 โดยเฉพาะผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นมารดาหลังคลอดจะหลีกเลี่ยงการพักในห้องพัก 33 เป็นอย่างมาก
ในฐานะพยาบาลควรให้ความใส่ใจในเรื่องของความเชื่อชาวญี่ปุ่น เลี่ยงการให้ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น หรือ ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นมารดาหลังคลอด ไม่บังคับและละเลยความเชื่อของผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น
ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นมีความ เชื่อในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นมีการหลีกเลี่ยงห้องพักในโรงพยาบาลที่หันศีรษะไปทางทิศทาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะมีความเชื่อว่าเป็นทิศทางที่ไม่ดี เป็นที่อาศัยของสิ่งชั่วร้าย การสร้างบ้านแปลงเมืองจึงมี ข้อห้ามส าหรับทิศนี้ หรือไม่ท าประตู หน้าต่าง เพื่อไม่ให้เป็นทางผ่านส าหรับสิ่งชั่วร้าย เมื่อชาวญี่ปุ่นต้องมารักษา ตัวในโรงพยาบาลจึงมีความเชื่อ เรื่องการเลือกห้องพักที่มีทิศทางการหันศีรษะไม่หันไปทาง ทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ พยาบาลจึงต้องเอาใจใส่ในเรื่องการเลือกห้องพัก
ความเชื่อชาวญี่ปุ่นที่มีต่อมารดาและเด็กทารก
การรักษาสายสะดือ ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับสายสะดือของเด็กทารก ผู้เป็นมารดาจะน ากล่องสาย สะดือของเด็กทารกไปเก็บรักษาไว้อย่างดี เพราะเชื่อว่าเป็นสิ่งที่แสดงความผูกพันอันแนบแน่นของ ครอบครัว
ชาวญี่ปุ่นมีความเชื่อในเรื่องการรับขวัญบุตรหลาน ทารกจะได้รับของขวัญจากญาติ และเพื่อนบ้าน
การให้กำเนิดบุตรคนแรกของหญิงญี่ปุ่น เมื่อใกล้คลอดหญิงชาวญี่ปุ่นจะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของตน เพื่อให้กำเนิดบุตร
ความเชื่อในเรื่องคุณตาของเด็กทารก พิธีนี้เรียกว่า oshichiyas มีขึ้นภายหลังจากที่เด็กทารกลืมตาดูโลก ได้หนึ่งสัปดาห์ ทารกจะอยู่ในเครื่องนุ่งห่มสีขาว ที่แสดงถึงความบริสุทธิ์ตามหลักศาสนาชินโต คุณตาจะใช้ พูกันเขียน ชื่อ นามสกุล วัน เดือน ปีที่เกิดบนกระดาษมงคล
ความเชื่อในเรื่องคุณย่าของเด็กทารกจะเป็นเพียงคนเดียวเท่านั้น ที่จะมีสิทธิอุ้ม และพาหลานตนของไป เยี่ยมวัดในหมู่บ้าน เพื่อทำพิธีอันเป็นมงคลที่เรียกว่า omiyamairi ให้กับเด็กทารก กำหนดให้พาทารกชาย ที่มีอายุครบ 31 วัน และทารกหญิงที่มีอายุครบ 33 วัน ทำพิธีที่วัดในหมู่บ้านที่เด็กเกิด
พิธีครบ 17 วัน คนญี่ปุ่นเชื่อว่าเด็กแรกเกิดนั้น มีความบริสุทธิ์ เด็กเกิดใหม่ถูกห่อหุ้มด้วยชุดสีขาวเท่านั้น จนเมื่ออายุครบ 17 วัน ซึ่งนานพอที่จะทำให้เชื่อได้ว่า ทารกน้อยนั้นเป็นมนุษย์จริงๆ ไม่ใช่พระผู้เป็นเจ้า จึงจะเปลี่ยนชุดเป็นสีสัน
หลังคลอด 1 วัน คุณแม่ต้องให้นมลูกทันที เพื่อให้แม่ฟื้นตัวเร็ว ไม่อาบน้ำสระผมเลยเป็นเวลา 1 เดือน มี การบดขิงขัดผิวเพื่อบำบัดรักษา
ชาวญี่ปุ่นจะพาเด็กทารกอายุ 1 เดือนขึ้นไหว้ศาลเจ้าประจำเมือง เพื่อสวดภาวนาขอให้เด็กแข็งแรง เติบโต ภายใต้การดูแลของเทพเจ้า เด็กผู้ชายจะไปในวันที่ 31 หรือ 32 หลังคลอดส่วนเด็กผู้หญิงจะพาไปวันที่ 32 หรือ 33 หลังคลอด
สมรรถนะที่สำคัญของพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น
สมรรถนะด้านการรับรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม คือ การที่พยาบาลมีความเข้าใจในเรื่องความเท่า เทียมกันในสังคมและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในทุกวัฒนธรรมมีความเข้าใจขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมความเชื่อของผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น ที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม พยาบาลมีทัศนคติ ด้านบวก พยาบาลมีความเข้าใจในความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ เพศ
สมรรถนะด้านการติดต่อสื่อสารคือการมีบุคลิกภาพ พยาบาลมีท่าทางเป็นมิตร มีความเข้าใจใน วัฒนธรรมการสื่อสาร ผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นสามารถสื่อสารด้านภาษาได้อย่างจำกัด พยาบาลควรมีวิธีที่จะ สามารถสื่อสาร
สมรรถนะด้านการบริหารความเสี่ยง พยาบาลสามารถคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นได้อย่างเหมาะสม ตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรม เจรจาต่อรองกับผู้ป่วยได้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไขอุปสรรคใน การปฏิบัติงานตามความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น
สมรรถนะด้านกระบวนการพยาบาล พยาบาลสามารถให้การพยาบาลได้ครอบคลุม ด้านการส่งเสริมสุขภาพ ด้านการรักษาพยาบาล ด้านการป้องกัน ด้านการฟื้นฟู ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้ป่วยชาว ญี่ปุ่น ด้านปฏิบัติงาน ตามหลักของการเอื้ออาทร โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์ นำความรู้ทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการให้การบริการพยาบาล ตามความเหมาะสมทางวัฒนธรรมได้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและญาติ สามารถท าให้ความเชื่อทางวัฒนธรรมสอดคล้องกับ แผนการรักษาของแพทย์
สมรรถนะด้านจริยธรรม พยาบาลให้เกียรติและเคารพในความเชื่อด้านวัฒนธรรมของผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น สามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้ โดยคำนึงกฎระเบียบ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ปฏิบัติการพยาบาลโดย ตระหนักถึงความเชื่อ และวัฒนธรรมของผู้ป่วยชาวญี่ปุ่น สามารถปกปิดข้อมูลความเชื่อ ของผู้ป่วยที่ เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมได้ สามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลความเชื่อของผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมได้ ให้บริการด้วยความยุติธรรมเท่าเทียมกันในทุกเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม