Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6.2 กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลอย่างแก่บุคคลทีjมีปัญหาสุขภาพจิต…
บทที่6.2
กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลอย่างแก่บุคคลทีjมีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
ลักษณะพฤติกรรมของผู้ป่วยที่บ่งบอกว่าอาจแสดงอาการก้าวร้าวรุนแรง
1) แสดงอารมณ์หงุดหงิด รำคาญ ขาดความอดทน อยู่นิ่งไม่ได้
2) ใช้คำพูดรุนแรง ส่งเสียงดัง เอะอะ อาละวาด
3) มีการเคลื่อนไหว เดินไปเดินมาตลอด เหมือนวิตกกังวลมาก
4) มีท่าทางหวาดกลัว พร้อมทีจะกระทำรุนแรงเพื่อป้องกันตัวเอง
5) ซึมเศร้า ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตาย
6) พูดเร็ว ไม่ปะติดปะต่อ
7) สูญเสียการตัดสินใจ การรู้จักตัวเอง
8) ไม่สนใจในเรื่องของตนเอง เช่น การรับประทาน การนอน การขับถ่าย
9) แสดงท่าทางหยาบโลน กระทำความรุนแรง
10) ทุบ ทำลายสิ่งของ เครื่องใช้ หาเรื่องวิวาท
11) ชกต่อย ทุบตี ใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่น
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางพฤติกรรม
ความก้าวร้าว (Aggression)
การกระทำหรือพฤติกรรมที่มีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บทางด้านร่างกายหรือจิตใจโดยการใช้กำลังทางร่างกายหรือคำพูด
ความไม่เป็นมิตร (Hostility)
มีลักษณะคล้ายกับความโกรธ คือมีลักษณะในแง่ของการทำลาย
เป็นปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงซับซ้อนโดยมีแต่ความเกลียด
และความต้องการที่จะทำลาย ความไม่เป็นมิตรมักพุ่งตรงสู่บุคคลหรือกลุ่มคน
ความผิดปกติทางพฤติกรรม (Behavior disorder)
เป็นความผิดปกติทางจิตเวชที่เห็นได้ชัดจากการแสดงออกทางพฤติกรร
มที่ไม่เหมาะสม
ความรุนแรง (Violence)
เป็นปฏิกิริยาของพฤติกรรมก้าวร้าว
ที่แสดงออกถึงความตั้งใจของการใช้กำลังทางร่างกายในการทำร้าย หรือใช้อำนาจคุกคาม
ที่มีผลให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ หรือทรัพย์สินได้รับความเสียหาย
พฤติกรรม (Behavior)
เป็นปฏิกิริยาของสิ่ง มีชีวิตที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าทั้งภายในและภายนอกร่างกายซึ่งอาจแสดงออกมาโดยตั้ง ใจหรือไม่ตั้งใจ
สาเหตุของความก้าวร้าว (Aggression)
ความไม่เป็นมิตร(Hostility)
และความรุนแรง(Violence)
กลุ่มอาการทางสมอง (Organic cause)
2) โรคลมชัก มักจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวหลังการชัก ซึ่งผู้ป่วยยังสับสนอาการอาจเป็นอยู่นานเป็นชั่ว โมงหรือหลายวัน อาจถึง 7 วัน
3) ผู้ที่ได้รับอันตรายต่อศีรษะ
1) อาการ intoxication หรือ withdrawal จากยาหรือสารเสพติดต่างๆ
4) กลุ่มอาการทางสมองเรื้อรัง เช่น ผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม
(Senile dementia)
5) สมองมีแผลจากโรคที่เป็น เช่น herpes simplex encephalitis หรือ
brain tumor
6) อาจมีภาวะทางกายบางอย่างทำให้ผู้ป่วยกระวนกระวาย โมโหง่ายขึ้น
เช่น hypoglycemia
กลุ่มอาการทางจิต (Functional cause)
3) ผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพแปรปรวน (Personality disorders)
2) ผู้ปป่วยโรคจิตอารมณ์แปรปรวน (Affective disorders)
1) ผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต โรคจิตชนิดต่างๆ
ซึ่งผู้ป่วยมีอาการกลัวหวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน
การฆ่าตัวตาย (Suicide) หรือการทาลายตนเอง (Selfdestructive
การกระทำที่เป็นการทำลายชีวิตของตนเองเนื่องจากความรู้สึกว่าหมดหวังในชีวิตคิดว่าชีวิตไม่มีความหมาย
พฤติกรรมการฆ่าตัวตายหรือการทำลายตนเอง
1) การฆ่าตัวตายสำเร็จ
2) การพยายามฆ่าตัวตาย
3) ความคิดฆ่าตัวตาย
4) การแสร้งกระทำการฆ่าตัวตาย
5) การขู่จะฆ่าตัวตาย
การรักษาผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายหรือทำลายตนเอง
1) รักษาผลของพฤติกรรมฆ่าตัวตายก่อน เช่น ถ้ากินยาตายก็ให้การล้างท้องให้ยาแก้พิษ
2) ป้องกันการฆ่าตัวตายซ้ำ ต้องให้มีผู้ดูแลผู้ป่วยใกล้ชิดตลอดเวลา
3) การรักษาทางจิตเวช ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายทุกรายควรได้พบจิตแพทย์ก่อนกลับบ้านเพือประเมินความเสี่ยง
4) รับฟังผู้ป่วย ให้โอกาสผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึก
6) หากพบว่าผู้ปวยมีโรคทางจิตเวชอยู่ ต้องให้การรักษาโดยเร็ว
5)ร่วมกับผู้ป่วยในการพิจารณาถึงพฤติกรรมการฆ่าตัวตายที่ผ่านมาความคิดจะทำซ้ำการพูดถึงการฆ่าตัวตายกับผู้ป่วยอย่างตรงไปตรงมา
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
การประเมินผลการพยาบาลจะพิจารณาดูว่าผู้ป่วยลดความก้าวร้าวรุนแรงและหลีกเลี่ยงความรู้สึกไม่เป็นมิตรได้หรือไม่
การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing intervention)
1)ประเมินสภาพอารมณ์และสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอรวมทั้ง สังเกตสัญญาณเตือนของการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
2) สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด
3) นำสิ่งต่างๆที่อาจเป็นอันตรายหรือผู้ป่วยอาจใช้เป็นอาวุธได้ไปไว้ไกลจากผู้ป่วย
4) ลดระดับสิ่ง เร้าไม่ให้อึกทึกคึกโครม ไม่กระตุ้นผู้ป่วย
5) ผู้ป่วยที่มีแรงผลักดันของความก้าวร้าวสูงวรจัดกิจกรรมให้ผู้ป่วยได้ระบายความก้าวร้าวไปในทางที่เหมาะสม
6) ขณะผู้ป่วยมีพฤติกรรมก้าวร้าว พยาบาลควรสงบ ควบคุมตัวเองให้ได้
7)บุคลากรภายในหอผู้ป่วยควรมีการเตรียมความพร้อมในการยับยั้ง ความรุนแรงของผู้ป่วย
8) การควบคุมความรุนแรงส่วนมากทำเป็นขั้นตอน
9) ให้แรงเสริมทางบวก ให้กำลังใจ ชมเชย
กระบวนการพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยที่มีความก้าวร้าว(Aggression) ความไม่เป็นมิตร (Hostility)
การประเมิน (Assessment)
1)ประวัติการมีพฤติกรรมรุนแรงเป็นปัจจัยทำนายที่ดีที่สุดของการเกิดความรุนแรงในอนาคต
2) ผู้ป่วยที่มีความคิดหวาดระแวงจากอาการของโรคจิตอาการประสาทหลอน
3) ผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น
4) การประเมินความเสียงของผู้ป่วยที่อาจเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
มีความปรารถนาและความตั้ง ใจที่จะทำร้ายหรือไม่
มีการวางแผนและความต้องการที่จะดำเนินการตามแผนหรือไม่
ลักษณะทางประชากร เช่น เพศชาย อายุ 14-24 ปีเศรษฐานะต่ำ
5) ผู้ป่วยแสดงความก้าวร้าวบ่อย
6) ผู้ป่วยที่มีประวัติไม่สามารถควบคุมความโกรธได้
7) ความสามารถเมื่ออยู่ในสานการณ์ที่ขัดแย้ง