Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ศาสนาพุทธ
เริ่มเข้ามาประเทศญี่ปุ่นเมื่อศตวรรษที่ 6 โดยพระจากประเทศจีน ซึ่งมุมมองของศาสนาพุทธต่อการเจ็บป่วยจะต่างจากทางชินโต กล่าวคือศาสนาพุทธจะมองว่าผู้เจ็บป่วยนั้นเป็นบุคคลน่าสงสาร ทุกข์ทรมาน สมควรได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้นพระในศาสนาพุทธจะมีบทบาทในการช่วยรักษาผู้ป่วยด้วย โดยเป็นผู้นำวิธีการรักษาแบบจีนแผนโบราณเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นการใช้สมุนไพรจีน การนวดกดจุดและการสัมผัสตามร่างกาย การฝังเข็ม
ศาสนาดั้งเดิมของคนญี่ปุ่นคือ ชินโต ( The ways of the gods ) บุคคลต้องใช้ชีวิตอย่างสมดุล ต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี การเจ็บป่วยเกิดจากการที่วิญญาณของบุคคลนั้นได้รับการแปดเปื้อนจากพลังชั่วร้าย ทำให้ร่างกายไม่สมดุล ซึ่งทางชินโตเห็นว่าการเจ็บป่วยเป็นสิ่งน่ารังเกียจ คนเจ็บป่วยควรได้รับการแยกออกจากสังคม พระทางชินโตเป็นผู้มีวิญญาณอันบริสุทธิ์ จะไม่แตะต้องผู้ป่วย เพราะเกรงว่าจะทำให้เสียพลังศักดิ์สิทธิ์นี้ไป ทำให้ติดต่อกับพระเจ้าไม่ได้
ระบบประกันสุขภาพในประเทศญี่ปุ่นแบ่งเป็น 2 ระบบหลัก คือ
1.Medical Insurance ผู้ป่วยสามารถเลือกได้ว่าจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลแห่งใดของรัฐหรือของเอกชน รวมทั้งสามารถระบุว่าต้องการพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาใดก็ได้
2.Care Insurance
National Health Insurance ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า Kokumin kenkou hoken (Kokuho) คือ ประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล
Employee’s Insurance ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Shakai kenkou hoken (shakai hoken) สำหรับบุคคลดังต่อไปนี้
-People who is working for medium to large companies
-People who is working for national or local government
-People who is working for private school
การดูแลผู้ป่วยชาวญี่ปุ่นในไทย
ลักษณะการเข้ามาโรงพยาบาล
-เด็กมากับแม่ แม่จะอยู่ด้วยตลอด
-ผู้สูงอายุ ลูกหลานจะบินมารับ
-วัยทำงาน จะมาเองลำพัง
ปัญหาและอุปสรรค ในการดูแลชาวญี่ปุ่น
-การสื่อสาร
-อุปนิสัย ความเชื่อ วัฒนธรรมที่แตกต่าง
-ลักษณะทางสังคม
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม (transcultural nursing)
การพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่าและการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการทางการพยาบาล ค่านิยมเกี่ยวกับความเจ็บป่วย และแบบแผนของพฤติกรรมต่างๆ
กรอบความคิดทฤษฎีนอกเหนือจากมุมมองในด้านประชากรศาสตร์ที่มุ่งอธิบายในเชิงโครงสร้าง การขยายตัว การเปลี่ยนแปลง สัดส่วนประชากร ตลอดจนอัตราการพึ่งพิงฯลฯ
1.แนวคิดในเชิงการจัดสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ (The Social Welfare for Elderly)
ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีมีจุดเน้นในการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อชีวิตที่ดีซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนฐานทรัพยากร (resource-based)
ตัวแบบ เอ (Model A)เป็นนโยบายสังคมในเชิงการจัดสวัสดิการแบบส่วนเหลือ (The Residual Welfare Model of Social Policy)
ตัวแบบ บี (Model B)เป็นนโยบายสังคมในการจัดสวัสดิการที่อิงความสำเร็จใน การทางานเชิงอุตสาหกรรม
ตัวแบบ ซี (Model C)เป็นนโยบายสังคมในการจัด สวัสดิการในเชิงสถาบัน (The Institutional Re-distributive Model of Social Policy)
2.แนวคิดในการดูแลรักษาสุขภาพผู้สูงอายุ (The Geriatrics and Health Care of Elderly)ซึ่งแน่นอนว่าเป็นแนวทางที่อาศัยผลการศึกษาวิจัย พบว่าจะมีปัจจัยคุณลักษณะที่สาคัญ เป็นต้นว่ายีนส์ บางตัวที่สามารถป้องกัน หรือลดการเจ็บป่วยหรือเชื้อโรคที่มีอยู่ในร่างกายตลอดจนบุคลิกภาพของบุคคล ซึ่งมีอายุร้อยปี อันเป็นยีนส์ที่มาช่วยเสริมสร้างการมีอายุอย่างยืนยาวได้ (Suzuki 2010; Hirose 2015) และจากตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุขแรงงาน และสวัสดิการของญี่ปุ่นในปีค.ศ. 2010 รายงานว่าเด็กผู้หญิงที่เกิด ในจังหวัดโอกินาวาในปี 2010 จะมีอายุคาดเฉลี่ยเมื่อคลอด (life expectancy at birth) ไป ถึง 87.02 ปี ซึ่งจะเป็นลาดับที่สามรองจากตัวเลขของจังหวัดนากาโนและ ชิซูโอ กะ ตามลาดับซึ่งเป็นครั้งแรกที่ตัวเลขของจังหวัดโอกินาวาได้ตกชั้นลงไปจาก ลำดับที่ 1
3.แนวคิดในเชิงพฤฒาวิทยา (Gerontology) วิชาการแขนงหนึ่งใน การศึกษาถึงความชราภาพหรือมีจุดเน้นต่อผู้สูงอายุซึ่งเป็นกรอบความคิดเชิงสหสาขาวิชา (interdisciplinary) ตลอดจนแนวการปฏิบัติในเชิงองค์รวม (holistic approach) ที่เน้นการป้องกันหรือการเตรียมการ (proactive) มากกว่าการแก้ไข (reactive) ซึ่งเป็นมุมมองในเชิงวิชาการต่อการจัดการสังคมผู้สูงอายุที่ เห็นว่าควรที่จะมองภาพรวมของการจัดการต่อผู้สูงอายุโดยอาศัยสหสาขาวิชา เพื่อรองรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่มุ่งเน้นเฉพาะ Clinical Gerontology และ Geriatrics แต่ Gerontology สนใจศึกษาปรากฏการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสังคมผู้สูงอายุและมุ่งเน้นการจัดสภาวะแวดล้อมทางสังคมและบริบทของสังคมผู้สูงอายุ
การดูแลผู้ป่วยข้ามวัฒนธรรม เนื่องจากคนญี่ปุ่นมีชาตินิยมมาก คนญี่ปุ่นจึงพูดภาษาของประเทศตนเองเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเราสื่อสารกับคนไข้ชาวญี่ปุ่นไม่ได้เราควรรู้วิธีที่จะสื่อสารกับคนไข้โดยใช้อวัจนภาษา เช่น แอพพิเคชั่น ติดต่อล่ามของโรงพยาบาล