Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการของแนวคิดและทฤษฎีการบริหาร - Coggle Diagram
วิวัฒนาการของแนวคิดและทฤษฎีการบริหาร
ทฤษฎีการบริหารยุคคลาสสิค (Classical organizational theory)
หลักการบริหารตามหลังวิทยาศาสตร์
( Scientific Management)
เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เสนอเเนวคิด Frederick Winlow Taylor เป็นวิศวกรชาวอเมริกันและเป็น “บิดาเเห่งหลักการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์”
Scientific Job Analysis คือการวิเคราะห์งานตามหลักวิทยาศาสตร์โดยผ่านการสังเกตการรวบรวมข้อมูลและการวัดอย่างรอบคอบจนเกิด“ วิธีที่ดีที่สุดหรือ one best way” ในการทำงานแต่ละงานซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า Time-and motion study
2.Selection of Personnel คือการคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมกับงานแต่ละงาน
Management Cooperation คือการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้แน่ใจว่างานที่ทำอยู่นั้นเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
Functional Supervising คือการกำกับดูแลการทำงานโดยผู้บริหารทำหน้าที่วางแผน (planning) จัดองค์การ (organizing) และตัดสินใจ (decision-making) ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติหน้าที่ของตน
หลักการจัดการตามหลักการบริหาร
( Administrative Management)
ผู้เสนอเเนวคิด คือ Henri Fayol และคิดค้นหลักการ 14 หลักการ จนได้ชื่อว่าเป็น
“ ผู้ริเริ่มหลักการจัดการตามหลักการบริหาร (Administrative management principle)”
การเเบ่งกันทำ (division of work)
การให้อำนาจ (authority)
ความมีวินัย (discipline)
เอกภาพในการบังคับบัญชา (unity of command)
หลักการมีทิศทางเดียวกัน (unity of direction)
การถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล (subordination of individual interest to general interest)
การจ่ายค่าตอบเเทน(remuneration)
การรวมอำนาจ (centralization)
สายการบังคับบัญชา (scalar chain)
ความมีระบบ (order)
ความเท่าเทียมกัน (equity)
ความมั่นคงของบุคลาการ (stability of personnel)
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
หลักความสามัคคี (esprit de corps)
หลักการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucracy management)
ผู้เสนอเเนวคิด Max Weber นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน ผู้เขียนตำรา “Theory of Social and Economics Organization”
หลักการจัดการตามระบบราชการ 7 หลัก
1) การแบ่งงานกันทำ (division of work) ตามความรู้ความชำนาญ (specialization)
2) การจัดตำแหน่งตามสายบังคับบัญชา (Scalar chain) จากระดับสูงมายังระดับรอง
3) การกำหนดกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4) บุคคลทำหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยไม่ยึดความเป็นส่วนตัว
5) การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ (professional qualities)
6) มีความก้าวหน้าในอาชีพ (career aspects)
7) มีอำนาจตามกฎหมาย (legal authority)
ทฤษฎีการบริหารตามแนวมนุษยสัมพันธ์
(Human Relations)
การศึกษา Hawthorne (The Hawthorne Studies)
โดย Elton Mayo และ Fritz Roethlisberger ซึ่งการศึกษา Hawthorne ประกอบด้วยการทดลองหลายอย่าง ได้แก่ Relay Assembly Test Room, Relay Assembly Group, the Mica-Splitting Group, the Typewriting Group, and the Bank Wiring Observation Room experiment
การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเกิดจาก
ปัจจัยทางสังคมและมนุษย์ (human-social) เช่นการมีกำลังใจในการทำงานความรู้สึกเป็นเจ้าของเป็นต้น
การบริหารจัดการที่มีประสิทธิผลเช่นทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทักษะการสร้างแรงจูงใจการนำการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเป็นต้นซึ่งผลการศึกษา Hawthorne ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมกลุ่ม
ทฤษฎีการเปลี่ยนเเปลงของลีวิน โดย Kurt Lewin นักจิตวิทยาสังคมชาวเยอรมัน ได้เสนอเเนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ระยะการละลายพฤติกรรม (Unfreezing) เป็นระยะเริ่มแรกที่บุคคลรับรู้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งโดยทั่วไปแล้วมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงดังนั้นในระยะนี้บุคคลจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยที่ยังไม่ศึกษาว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะก่อให้เกิดผลดีหรือผลเสีย
ระยะการการเปลี่ยนแปลง (Changing) เป็นระยะที่บุคคลเข้าใจความจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจึงลดปฏิกิริยาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและมีเจตคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง
ระยะรักษาดุลยภาพการเปลี่ยนแปลง (Refreezing) เป็นระยะที่บุคคลเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ปรับเปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลง
ในสภาวะปกติที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงถือเป็นสภาวะสมดุล (state of equilibrium or status quo) ที่แรงขับเคลื่อน (driving force) เท่ากับแรงต่อต้าน (restraining force) ส่วนระยะที่กำลังดำเนินการเปลี่ยนแปลงแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงซึ่งผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงซึ่งขัดขวางการเปลี่ยนแปลงจะปะทะกันหากแรงขับเคลื่อนมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนเเปลงนั้นจะสำเร็จหากแรงขับเคลื่อนการเปลี่ยนเเปลงน้อยกว่าเเรงต่อต้านการเปลี่ยนเเปลงจะไม่สำเร็จ
ทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์
(Behavioral Theory)
ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ (Maslow's Motivation Theory) โดย Abraham จิตวิทยาชาวอเมริกันผู้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ (Motivation Theory)
1.มนุษย์มีความต้องการไม่สิ้นสุด
มนุษย์พยายามหาวิธีการต่างๆที่จะทำให้ตนเองได้รับในสิ่งที่ตนเองต้องการซึ่งความต้องการที่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการแสดงพฤติกรรมและทำให้เกิดแรงแรงจูงใจของมนุษย์ส่วนความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นแรงจูงใจอีกต่อไป
ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์มี 5 ลำดับขั้นและมนุษย์จะมีความต้องการจากระดับต่ำไปสู่ความต้องการที่ระดับสูงกว่า
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกายภาพ (physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอดเช่นอาหารเครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัยยารักษาโรคอากาศน้ำดื่มการพักผ่อนเป็นต้น
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงและปลอดภัย (security needs) คือความต้องการที่จะให้ชีวิตมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินความต้องการความมั่นคงในชีวิตและการงาน
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (social needs / love and belonging needs) เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคมต้องการให้และได้รับซึ่งความรักและต้องการได้รับการยอมรับ
ขั้นที่ 4 ความต้องการการยอมรับนับถือ (self-esteem needs) เป็นความต้องการที่จะนับถือตนเองและได้รับการยกย่องในสังคม
ขั้นที่ 5 ความต้องการเติมความสมบูรณ์ให้ชีวิต (self actualization needs) เป็นความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้บรรลุศักยภาพสูงสุดที่ตนเองจะเป็นได้
ทฤษฎีสองปัจจัย
(Two-Factor Theory)
พัฒนาโดย Frederick Herzberg ในปี ค.ศ. 1950-1959
ปัจจัยจูงใจ (motivation factors) เป็นปัจจัยภายในหรือความต้องการภายในของผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานทำงานด้วยความพึงพอใจและเป็นปัจจัยที่ไปสู่ทัศนคติทางบวกและการจูงใจที่แท้จริงประกอบด้วยปัจจัย 10 ด้าน
นโยบายและการบริหารขององค์การ (Company policy and administration)
การบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล (supervision)
ความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน (interpersonal relations with supervision)
ความสัมพันธ์กับเพื่อนงาน (interpersonal relations with peers)
ความสัมพันธ์ใต้บังคับบัญชา (interpersonal relations with subordinators)
ตำแหน่ง (status)
ความมั่นคงในการทำงาน (job security)
ชีวิตส่วนตัว (personal life)
สภาพการทำงาน (working conditions)
ค่าตอบแทนและสวัสดิการ (Compensations and welfares)
ปัจจัยอนามัย (hygiene factors) เป็นปัจจัยที่ไม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นได้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นที่ต้องได้รับการสนองตอบเพราะถ้าไม่มีให้หรือให้ไม่เพียงพอแล้วจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความไม่พึงพอใจในการทำงานปัจจัยอนามัยประกอบด้วยปัจจัย 5 ด้าน
ความสำเร็จในการทำงาน (achievement)
การได้รับการยอมรับ (recognition)
ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน (advancement)
ลักษณะงานที่ทำ (work itself)
ความรับผิดชอบ (responsibility
เมื่อใดปัจจัยจูงใจลดลงต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นอย่างมากประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานก็จะลดต่ำไปด้วย แต่ในทางกลับกันถ้าปัจจัยอนามัยลดต่ำลงกว่าระดับที่ควรจะเป็นหรือขาดไปก็จะทำให้บุคลากรเกิดความไม่พอใจในการปฏิบัติงานรู้สึกเบื่อหน่ายท้อถอยและหมดกำลังใจในการทำงาน
ทฤษฎีการบริหารยุคการจัดการร่วมสมัย
(Contemporary Management Era)
ทฤษฎีระบบ
(System Theory)
พัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1920
บุคคลที่พัฒนาคือ Ludwig von Bertalanffy
สิ่งนำเข้า (input) หมายถึงทรัพยากรที่นำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการจัดการเช่นเงินคนวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรวิธีการทำงานเป็นต้น
กระบวนการจัดการ (process) หมายถึงกระบวนการนำสิ่งนำเข้ามาใช้ในการจัดการเช่นการวางแผนการจัดการองค์การการอำนวยการการควบคุมเป็นต้น
ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output) หมายถึงผลลัพธ์โดยตรงที่เป็นผลจากกระบวนการจัดการโดยวัดหรือประเมินจากสิ่งต่างๆเช่นประสิทธิผลประสิทธิภาพคุณภาพความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นต้น
ข้อมูลย้อนกลับหรือการป้อนกลับของข้อมูล (feedback) เป็นการนำข้อมูลจากผลผลิตหรือผลลัพธ์ย้อนกลับไปยังสิ่งนำเข้าเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงกระบวนการบริหารอย่างต่อเนื่อง
ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์
(Contingency Theory)
เป็นทฤษฎีที่ใช้หลักการจัดการที่ว่าองค์การเป็นระบบเปิดและสภาพภายในและภายนอกองค์การมีการเปลี่ยนแปลงตามบริบทของโลกดังนั้นผู้จัดการหรือผู้บริหารต้องใช้ดุลยพินิจในการนำวิธีการจัดการมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
สาระสำคัญของการบริหารเชิงสถานการณ์
การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ผู้บริหารจะต้องสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด
สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจและรูปแบบการบริหารที่เหมาะสม
เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดและระบบเปิดและยอมรับหลักการของทฤษฎีระหว่างทุกส่วนของระบบจะต้องสัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน
คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลในหน่วยงานเป็นหลักมากกว่าที่จะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมาใช้ในการทำงานโดยใช้ปัจจัยด้านจิตวิทยาในการพิจารณาด้วย
การออกแบบองค์การต้องสอดคล้องกับสถานการณ์
ผู้บริหารต้องรู้จักการพิจารณาความแตกต่างที่มีอยู่ในหน่วยงาน