Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดำเนินการวัดผลการปฏิบัติงาน Implementation of Performance Measurement -…
การดำเนินการวัดผลการปฏิบัติงาน Implementation of Performance Measurement
2. คุณภาพของการวัดผลการปฏิบัติงาน
การวัดผลการปฏิบัติงานด้านปริมาณเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากพนักงานอาจจะละเลยหรือไม่ตระหนักถึงคุณภาพของงาน และมุ่งเน้นเพียงให้ได้ตามเป้าหมายหรือปริมาณที่ถูกกำหนดให้ต้องส่งมอบผลงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด การวัดผลการปฏิบัติงานในมิติของคุณภาพของผลงานจึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของผลการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับจำนวนผลลัพธ์ที่พนักงานต้องปฏิบัติงานตามระยะเวลาที่กำหนด ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องพิจารณาเกณฑ์คุณภาพที่มีองค์ประกอบดังนี้
ความอ่อนไหวหรือความไว (Sensitivity) เป็นวิธีการพิจารณาถึงเกณฑ์ที่สามารถเข้าถึงความแตกต่างของผลงานได้ หรือสามารถจำแนกหรือบอกแม้สิ่งที่ต้องวัดจะมีความแตกต่างกันน้อยที่สุดได้
ความตรง (Validity) การพิจารณาหรือเกณฑ์ที่ใช้วัดคุณภาพผลการปฏิบัติงานต้องแสดงถึงคุณลักษณะของคุณภาพที่ต้องการวัดจริง
ความเชื่อถือได้ (Reliability) การพิจาณาหรือเกณฑ์ที่ใช้วัดคุณภาพผลการปฏิบัติงานควรมีความสม่ำเสมอ คงที่ แน่นอน (Stability or Consistency)
อิทธิพล (Power) เป็นวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานที่สามารถวัดคุณภาพที่อยู่ในระดับมาตรวัดของกลุ่ม (Categorical) ลำดับ (Ordinal) และช่วง (Interval)
การเปรียบเทียบผลลัพธ์และวิธีการของการประเมินผลการปฏิบัติงานจะเป็นการยืนยันถึงความเที่ยงตรง หากการวัดผลมีความเที่ยงตรงจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นตามมา ส่วนความอ่อนไหวเป็นการทดสอกับผู้ใช้และสถานที่ที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังคงสามารถบอกถึงสิ่งที่ต้องการวัดได้เป้นอย่างดี
12.ขั้นตอนการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน
เมื่อพิจารณาการดำเนินการในขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติงานสามารถพิจารณาขั้นตอนการดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
การเตรียมตัวก่อนการประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นขั้นตอนแรกของการดำเนินการ ซึ่งผู้เกี่ยวข้องจำเป็นต้องคำเนินการเตรียมความพร้อมก่อนการประเมินผลการปฏิบัติงานจะเริ่มขึ้น การเตรียมตัวก่อนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนใหญ่จะเริ่มขึ้นโดยประกอบไปด้วยการจัดเตรียม 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
การเตรียมตัวผู้เกี่ยวข้อง
จะช่วยให้กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น การเตรียมตัวผู้เกี่ยวข้องสามารถแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่
การเตรียมตัวของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์หรือฝ้ายบุคคล
การเตรียมตัวของผู้บังคับบัญชา
การเตรียมตัวของพนักงาน
การสร้างบรรยากาศก่อนการประเมินผล
โดยทั่วไปการเตรียมบรรยากาศก่อนการประเมินผลการปฏิบัติงานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
บรรยากาศ
การเตรียมสถานที่
สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
การจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ สำหรับการประเมิน
มีความสำคัญอย่างมากต่อการประเมินผล
การปฏิบัติงานของพนักงาน ซึ่งจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการประเมินผลการปฏิบัติงานทราบถึงแนวทางและวิธีการประเมินที่ถูกต้อง โดยการจัดเตรียมเอกสารการประเมินการ ปฏิบัติงานสามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ คู่มือวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน แบบฟอร์มประเมินผลการปฏิบัติงาน หลักฐานการปฏิบัติงานของพนักงาน และหลักฐานการแสดงขีดความสามารถของพนักงาน
หลังเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติงาน
โดยทั่วไปกระบวนการหลังเสร็จสิ้นการประเมินผลการปฏิบัติงานสามารถแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ได้แก่ การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่พนักงาน การสร้างแผนพัฒนา และการติดตามการพัฒนาของพนักงาน
ระหว่างการประเมินผลการปฏิบัติงาน
เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างมาก ส่วนใหญ่ช่วงระยะเวลาการประเมินผลการปฏิบัติงานมักดำเนินการปีละครั้ง แต่บางองค์กรเห็นความสำคัญและต้องการตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินงานอาจดำเนินการปีละ 2 ครั้ง หรือบางองค์กรอาจประเมินทุกไตรมาส
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธ์ (2553) เสนอว่า ในระหว่างการประเมินผลการปฏิบัติงานผู้บริหารต้องใส่ใจและตระหนักถึงความสำคัญของข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
ทำความเข้าใจกับปัจจัยที่นำมาประเมินแต่ละประเด็นอย่างชัดเจน
การประเมินควรยึดหลัก *10 ไม่" เพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดและปัญหาที่จะตามมาจากการ
ประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยยึดหลัก ไม่ประเมินในระดับปานกลาง ไม่ประเมินโดยใช้ความรู้สึกของตน ไม่ประเมินโดยใช้เหตุผลเร็วๆ นี้ ไม่ประเมินโดยเหมารวมปัจจัยประเมิน ไม่ประเมินโดยยืดความเชื่อที่ผิด ไม่ประเมินโดยใช้ตนเองไปแข่งขันด้วย ไม่ประเมินโดยใช้หน่วยงานเป็นเกณฑ์ ไม่ประเมินโดยพิจารณาจากฝาตอบแทนที่จะได้รับ ไม่ประเมินโดยใช้ระบบโควตา และไม่ประเมินโดยตัดสินจากผู้อื่น
ทำบันทึกย่อข้อที่สำคัญ ในระหว่างทำการประเมินโดยทั่วไปขั้นตอนระหว่างการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติงานสามารถแบ่งออกเป็น 3
ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนการตัดสินผลการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ
ขั้นตอนการสรุปผลการปฏิบัติงาน
3. การเลือกเกณฑ์วัดผลการปฏิบัติงาน
โดยทั่วไปการพิจารณาเลือกเกณฑ์การวัดผลการปฏิบัติงานสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้
ข้อมูลส่วนตัว
(Personal Data) เป็นวิธีการหนึ่งที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย โดยการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยวิธีการใช้ข้อมูลส่วนตัว ซึ่งเกณฑ์ต่างๆ ที่ใช้วัดจะต้องพัฒนาดัชนีและมาตรฐานที่พนักงานต้องแสดงออกตามที่ผู้บริหารต้องการ เช่น อัตราการขาดงาน การลาป่วย การลากิจ เป็นต้น
วิธีการใช้ดุลยพินิจตัดสิน
(Judgmental Methods) เป็นวิธีการที่ยึดเอาผลการพิจารณาหรือเกณฑ์ของผู้บริหารที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบนั้นมากำหนดเป็นเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของพนักงาน ทั้งนี้เกณฑ์และมาตรฐานของงานแต่ละองค์กรอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
การนับปริมาณที่ผลิตได้
(Production Counts) เป็นการวัดถึงความสามารถในการผลิตหรือสร้างสรรค์ผลงานอะไรบ้างหรือจำนวนเท่าไรของพนักงานที่สามารถผลิตได้ในรูปแบบของเชิงปริมาณหรือตัวเลข
วิธีการกลุ่มตัวอย่างงาน
(Work Sample Methods) เป็นวิธีการที่ถูกนำไปใช้ในองค์กรอย่างแพร่หลาย วิธีนี้จะวัดหรือประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานโดยเฉพาะหรือเลือกเฉพาะงานที่มีความสำคัญอย่างมากในการแสดงออกถึงความสำเร็จหรือการปฏิบัติงานในตำแหน่งที่พนักงานรับผิดชอบ
❤❤❤🌹โดยทั่วไปผู้บริหารมักพัฒนาการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยวิธีการกลุ่มตัวอย่างบนพื้นฐานในการวัดใน 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ผลการปฏิบัติงานของพนักงานซึ่งตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานจะปรากฏในใบพรรณนาลักษณะงานที่พนักงานดำรงตำแหน่ง และ พฤติกรรมที่สนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นขีดสมรรถนะที่องค์กรสมัยใหม่มักกำหนดให้พนักงานแต่ละตำแหน่งต้องมีทั้งขีดสมรรถนะหลักและขีดสมรรถนะตามหน้าที่
6.แผนภูมิการควบคุมสำหรับข้อมูลแบบหน่วยนับ
เป็นวิธีการตรวจผลการปฏิบัติงานด้วยการนับผลการปฏิบัติงานเชิงคุณภาพ องค์กรต่างๆนิยมใช้วิธีการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยวิธีนี้อย่างมาก เนื่องจากองค์กรเก็บรวบรวมข้อมูลในลักษณะนี้อยู่แล้ว ทำให้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบเพื่อสามารถสร้างแผนภูมิควบคุม
แผนภูมิควบคุมสำหรับข้อมูลแบบหน่วยนับมีลักษณะดังนี้
แผนภูมิที่ใช้วิเคราะห์ของเสีย ประกอบด้วย แผนภูมิควบคุมสัดส่วนของเสีย (p Chart) และแผนภูมิควบคุมจำนวนของเสีย (np Chart)
แผนภูมิที่ใช้วิเคราะห์ข้อบกพร่อง ประกอบด้วยแผนภูมิควบคุมจำนวนข้อบกพร่องต่อหน่วยการทดสอบ(C Chart) และแผนภูมิควบคุมจำนวนข้อบกพร่องเฉลี่ยต่อหน่วย (u Chart)
ขั้นตอนการสร้างแผนภูมิควบคุม
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นการจดบันทึก คำนวณค่าของตัวสถิติที่ต้องการศึกษาและพล็อตค่าของตัวสถิติ
การคำนวณขีดจำกัดควบคุม และเส้นกลาง ขีดจำกัดควบคุมเป็นเส้นที่ใช้ในการตัดสินว่าข้อมูลอยู่ภายใต้สภาวะการควบคุมหรือไม่
ขั้นเตรียมการ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนภูมิที่จะประยุกต์ใช้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งต้องทราบถึงขนาดตัวอย่าง และความถี่ของการสุ่มตัวอย่าง
การวิเคราะห์และแปลความหมาย เป็นการตัดสินว่าข้อมูลหรือผลิตภัณฑ์อยู่สภาวะการควบคุมหรือไม่ การที่จุดอยู่นอกสภาวะการควบคุมเป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ เนื่องจากกระบวนการผลิตเกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะมีการผันแปรที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อจุดอยู่นอกสภาวะการควบคุม
8. การวัดผลโดยใช้การจัดอันดับและการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานเกิดขึ้นบนพื้นฐานความเชื่อที่ว่า หากพนักงานแสดงพฤติกรรมหรือขีดสมรรถนะที่กำหนดขึ้น น่าจะส่งผลต่อความสำเร็จในผลลัพธ์ที่องค์กรคาดหวัง การวัดผลการปฏิบัติงานเชิงพฤติกรรมจำนำเสนอรูปแบบต่างๆดังนี้
การวัดโดยกราฟ
เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุดเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยมาตรวัดที่ใช้ประเมินอาจอยู่ในรูปแบบดังต่อไปนี้
มาตรวัดที่มุ่งเน้นการอธิบาย เป็นการอธิบายถึงพฤติกรรมที่ต้องแสดงออกอย่างเฉพาะเจาะจงที่พนักงานต้องแสดงออก
มาตรวัดเป็นตัวเลข เป็นการกำหนดตัวเลขกับระดับพฤติกรรมที่พนักงานต้องแสดงออกในการปฏิบัติงาน
มาตรวัดที่มีความต่อเนื่อง เป็นการกำหนดช่วงระดับคะแนนที่มีระยะห่างเท่าๆกัน ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงค่าสุดท้ายของมาตรวัด
มาตรวัดแบบเน้นพฤติกรรม
เป็นแบบวัดผลการปฏิบัติงานที่กำหนดรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการอธิบายระดับผลการปฏิบัติงานในแต่ละระดับอย่างชัดเจน เพื่อลดความผิดพลาดจากการประเมินแบบเดิม โดยมาตรวัดนี้จะวัดในมิติด้านต่างๆ ของผลการปฏิบัติงาน
มาตรวัดการสังเกตพฤติกรรม
ถูกพัฒนาขึ้นโดย Latham and Wexley (1977) พวกเขาเชื่อว่ามาตรวัดโดยกราฟและการวัดแบบมุ่งเน้นพฤติกรรมมีข้อผิดพลาดด้านการตัดสินของผู้ประเมินที่คลุมเครือ หากสามารถแก้ไขประเด็นดังกล่าวจะทำให้เกิดความชัดเจน เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ของการวัดมากยิ่งขึ้น
ระบบการจัดอันดับ
เป็นวิธีที่แตกต่างออกไปจากวิธีการวัดอื่น เป็นการเปรียบเทียบผลงานของพนักงาน แล้วนำผลงานมาจัดอันดับว่าใครมีผลการปฏิบัติงานดีที่สุดตามลำดับ ซึ่งพนักงานปฏิบัติงานตามเกณฑ์ที่กำหนด แต่ผลการปฏิบัติงานดีที่สุดสามารถพิจารณาจากพนักงานที่ส่งมอบผลงานและสร้างสรรค์ผลงานได้ทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีสุดกว่าบุคคลอื่น
การจัดตามวัตถุประสงค์
การประยุกต์ใช้ในแนวทางการจัดการตามวัตถุประสงค์ในระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานจำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วม ระหว่างผู้บังคับบัญชากับพนักงานเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย วิธีการวัดที่เห็นพ้องต้องการ จะต้องให้ผู้จัดการกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยที่พนักงานและเจ้านายจะต้องเห็นพ้องต้องกัน บางองค์กรนำผลลัพธ์ที่พนักงานแต่ละคนสามารถปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้น ไปเชื่อมโยงกับค่าตอบแทน ในรูปแบบต่างๆ
บังคับให้มีการกระจาย
จะแบ่งผลการปฏิบัติงานออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานสูง พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานกลาง และพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานต่ำ วิธีการนี้จะบังคับให้ผู้ประเมินกระจายผลการปฏิบัติงานพนักงานอย่างอัตโนมัติ และสอดคล้องกับธรรมชาติที่ทุกสังคมจะประกอบด้วยคนที่ดีที่สุดถึงคนที่แย่สุด
การจัดลำดับทุกคน
เป็นการจัดเรียงลำดับพนักงานทุกคนโดยจะไม่แบ่งไม่พนักงานออกเป็นกลุ่มๆ ซึ่งจะทำให้เห็นผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ดีที่สุดในองค์กรและแย่ที่สุดในองค์กรอย่างชัดเจน ซึ่งวิธีการนี้มีความยากลำบากในการประเมินอาจทำให้พนักงานบางคนรู้สึกว่าไม่ยุติธรรมในการประเมินด้วยวิธีนี้
วิธีการจับคู่เปรียบ
เป็นการจัดอันดับพนักงาน โดยเปรียบเทียบพนักงานแต่ละคนกับพนักงานคนอื่นๆที่เหลือ จึงเป็นการบังคับให้ผู้ประเมินต้องใช้ดุลยพินิจอย่างดีเยี่ยมและอย่างระมัดระวัง อาจพบอุปสรรคในการปฏิบัติในกรณีที่มีจำนวนพนักงานมาก ผู้ประเมินจะเสียเวลาในการประเมินเป็นเวลานานและอาจเกิดความผิดพลาดตามมา
การวัดโดยกราฟจะคำนวณคะแนนจากหัวข้อทั้งหมด แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานทั้งหมด
5. การใช้แผนภูมิควบคุมเพื่อการวัดความผันแปรผลการปฏิบัติงาน
สามารถใช้เป็นเครื่องมือวัดความแปรปรวนผลกระบวนการทำงานและผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแผนภูมิ การควบคุมเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการดำเนินงานระหว่างการผลิตและถูกใช้เพื่อตรวจสอบสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงผลการปฏิบัติงาน การแสดงผลของแผนการควบคุมจะแสดงการเปลี่ยนแปลงที่บ่งชี้ว่าเกิดความผันแปรจากสาเหตุธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเกิดจากความผันแปรที่ไม่เป็นธรรมชาติที่สามารถควบคุมได้ โดยมีหลักการทางคณิตศาสตร์ที่นำมาคำนวณชุดข้อมูลในการบันทึกและการวัด ซึ่งจะแสดงผลในรูปของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์วัดกับจำนวนกลุ่มตัวอย่าง เวลา ปริมาณ หรือสิ่งที่ต้องการวัด เป็นต้น
การวิเคราะห์ผลแผนภูมิการควบคุมสามารถวิเคราะห์ดังนี้
เกิดการรัน การแสดงในจุดนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ
2.1 มีจุดพิกัดอย่างน้อย 7 จุด ปรากฏติดกันอยู่ด้านใดด้านหนึ่งของแผนภูมิ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการ
2.2 มีจุดพิกัดอย่างน้อย 14 จุด ขึ้นและลงเป็นแบบแผนอย่างต่อเนื่องซ้ำกัน เป็นผลมาจากช่วงเวลาหรือช่วงฤดูกาลที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป
2.3 จุดพิกัดอย่างน้อย 4 ใน 5 จุด ที่อยู่ต่อเนื่องกันใกล้ Center Line เป็นผลมาจากการปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น ทำให้ความแปรปรวนในระบบน้อยลง ถึงแม้ค่าจะยังเท่าเดิมหรือในทางตรงข้ามอาจมากขึ้นหรือลดลง
เกิดแนวโน้ม เมื่อมีจุดพิกัดอย่างน้อย 7 จุด แสดงแนวโน้มไปทางด้านใดด้านหนึ่งของแผนภูมิ เช่น พนักงานปฏิบัติงานติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน ทำให้เหนื่อยล้า เป็นต้น
มีจุดพิกัดอยู่นอกจุดควบคุม เป็นการแสดงผลการปฏิบัติงานที่ตกอยู่นอกขีดจำกัดการควบคุมบนหรือล่าง
1. ลักษณะการวัดผลการปฏิบัติงาน
การวัดผลการปฏิบัติงานอาจดำเนินการได้หลากหลายวิธี โดยส่วนใหญ่พิจาณาจากจำแนกเกณฑ์วัดผลการปฏิบัติงานใน 4 ประเด็นหลัก
การวัดผลการปฏิบัติงานด้านกระบวนการ เช่น การบริหารจัดการกลยุทธ์การดำเนินงาน เครื่องจักร เทคโนโลยีที่ใช้ในแปรรูปผลผลิต
การวัดผลการปฏิบัติงานด้านปัจจัยนำออก เช่น สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว และการบริการที่ส่งมอบแล้ว
การวัดผลการปฏิบัติงานด้านปัจจัยนำเข้า เช่น ทรัพยากรต่างๆที่นำมาเข้าสู่กระบวนการผลิต
การวัดผลการปฏิบัติงานผลลัพธ์ เช่น ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสินค้าและบริการเพื่อให้การวัดผลการปฏิบัติงานมีความเที่ยงตรงและแม่นยำในระดับสูง
วิธีการวัดผลการปฏิบัติงานสามารถดำเนินการได้หลลากหลายรูปแบบดังนี้
การวัดผลเชิงคุณภาพหรือเชิงปริมาณ
การสังเกตหรือคำตอบส่วนตน
วิธีการเก็บข้อมูล
แบบสอบถาม
การสัมภาษณ์
การจำลองสถานการณ์
การทดสอบสมรรถภาพ
การทดสอบความพร้อม
การติดตามสังเกตพฤติกรรม ที่อยู่ในรูปแบบของ
เกณฑ์ประเมินผล (Evaluative Criteria)
ความถี่ของปัญหา (Frequency of Problems)
การปฏิบัติงานจนเสร็จ (Completion of Tasks)
ประสิทธิภาพในการผลิต (Productivity)
อัตราผลการปฏิบัติงาน (Rate of Performance)
อัตราการเกิดอุบัติเหตุ (Accident Rate)
ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
คำบ่น / ร้องทุกข์ (Complaints)
ความถี่ของคำบ่น / ร้องทุกข์ (Frequency of Complaints)
การเป็นอิสระ (Independence)
7. แผนภูมิพาเรโต
เป็นกราฟแท่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของปัญหาโดยจำแนกออกจากกันและนำมาเรียงกันตามลำดับความสำคัญ วิธีการวัดผลการปฏิบัติงานนี้ถูกพัฒนาโดย โจเซฟ จูราน นักเศรษฐศาสตร์ ชาวอิตาเลียน เขาเสนอให้ใช้ตัวเลขคร่าวๆ คือ 80/20 ซึ่งใช้เป็นหลักการในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินงาน บนสมมุติฐานที่ว่า ปัญหาหรือความสูญเสียที่มีความสำคัญ 80 เปอร์เซ็นต์ มักจะมีสาเหตุมาจากประมาณ 20เปอร์เซ็นต์ ของสาเหตุทั้งหมด ในขณะที่อีกประมาณ 80 ของสาเหตุ จะมีผลต่อปัญหาที่มีความสำคัญเพียงเล็กน้องอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ของปัญหาเท่านั้น
ขั้นตอนการพัฒนาแผนภาพพาเรโต
ตัดสินใจว่าจะศึกษาปัญหาอะไร และแยกสาเหตุของการเกิดปัญหา
ออกแบบใบบันทึกข้อมูล ข้อมูลประกอบด้วยการกำหนดช่วงเวลา ระยะเวลา และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ทำการจดบันทึก ในช่วงเวลาที่กำหนด จากสถานที่ที่ต้องการวิเคราะห์ปัญหาและคำนวณหายอดรวมและเปอร์เซ็นต์สะสมของแต่ละสาเหตุที่ได้จากการจำแนกข้อมูล
เขียนแกนนอนและแกนตั้ง แกนนอนเขียนจากสาเหตุที่มีความถี่สูงไปยังความถี่ต่ำ ส่วนแกนตั้งเขียนแกนความถี่และแกนเปอร์เซ็นต์
เขียนกราฟแท่งที่มีความกว้างเท่ากันกราฟแท่งควรมีประมาณ 6- 10 แท่งเท่านั้นและลากเส้นความถี่สะสมจากซ้ายไปขวา
นอกจากนี้ยังมีเทคนิคและวิธีการวัดผลการปฏิบัติงานรูปแแบบอื่นๆ ที่มีประสิทธิภาพและแสดงผลการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง เช่น ใบตรวจสอบ ฮิสโตแกรม แผนผังก้างปลา แผนภาพการกระจาย หรือกราฟ เป็นต้น
4.วิธีการวัดผลงานทางสถิติ
Shewhart (1931) อธิบายถึงวิธีการทางสถิติที่ช่วยให้สามารถวัดผลการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยทั่วไปสามารถแบ่งสถิติที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานออกเป็น 2 วิธีการ ได้แก่
การแจกแจงเชิงสถิติ
(Statistical Distributions) ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลการปฏิบัติงานทราบถึงการกระจายของข้อมูลที่ต้องการวัดผลการปฏิบัติงานว่ามีลักษณะอย่างไร มีการแจกแจงเป็นแบบเส้นโค้งที่สมมาตร หรือความเบ้ หรือไม่ หากผลการวัดผลมีการแจกแจงที่สมมาตรจะทำให้เส้นโค้งความถี่อยู่ในรูปแบบระฆังคว่ำหรือลักษณะของการโค้งแบบปกติ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของข้อมูล ในขณะเดียวกัน หากข้อมูลไม่อยู่ในเส้นโค้งปกติ จะส่งผลต่อความเบ้ไปด้านใดด้านหนึ่ง ทำให้ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และฐานนิยม จะมีค่าไม่เท่ากัน เป็นต้น
การควบคุมเชิงสถิติ
(Statistical Control) เป็นการนำพื้นฐานของตัวเลขหรือข้อมูลมาใช้ในการควบคุมและวัดผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และการควบคุมกระบวนการให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือระดับที่องค์กรต้องการ การนำวิธีนี้มาใช้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบข้อความแปรปรวนของคุณภาพผลการปฏิบัติงานว่า เกิดจากสาเหตุที่เกิดเป็นปกติวิสัย หรือเกิดจากสาเหตุที่ระบุได้หรือสาเหตุพิเศษ สถิติที่นำมาใช้สำหรับการควบคุมอาจอยู่ในรูปแบบของใบตรวจสอบ แผนสภาพสาเหตุและผล กราฟ ฮิสโตแกรม แผนผังพาเรโต แผนผังการกระจาย และแผนผังควบคุม
❤❤❤🌹จะเห็นได้ว่า สถิติทั้ง 2 ประเภทนี้มีลักษณะและจุดประสงค์แตกต่างกัน ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงแนวคิดทางสถิติให้ชัดเจนเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับรูปแบบผลการปฏิบัติงานและบริบทขององค์กร
11.เกณฑ์วัดผลการปฏิบัติงานโดยทั่วไป
นอกเหนือจากการวัดผลการปฏิบัติงานที่มีลักษณะเฉพาะงานหรือเฉพาะหน้าที่เพื่อเพิ่มสิทธิภาพการตำเนินงานของระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานและขององค์กร หากผู้เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วองค์กรไม่จำเป็นต้องยึดแนวทางดังกล่าว เนื่องจากบริบทหรือลักษณะการดำเนินงานมีความแตกต่างจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้มาก หรือเป็นเพียงองค์กรขนาดเล็กไม่มีทรัพยากรต่างๆ ที่เพียงพอในการดำเนินการอย่างไรก็ตามยังมีเกณฑ์การวัดผลการปฏิบัติงานทั่วไป ที่นิยมนำมาใช้เป็นแนวทางการพิจารณาผลการปฏิบัติงานขององค์กรต่างๆ โดยการเน้นการวัดคุณภาพ (Quality) ปริมาณ (Quantity) ระยะเวลาและตันทุนที่มีประสิทธิภาพ (Cost-Effectiveness) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
คุณภาพ
เป็นเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าพนักงานหรือหน่วยงานใดมีผลการปฏิบัติงานที่ดี ถูกต้อง
แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ปริมาณ
เป็นเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อพิจารณาว่าพนักงานหรือหน่วยงานส่งมอบผลงานได้จำนวน เท่าไรหรือมากน้อยแค่ไหน ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปธรรมและสามารถจับต้องได้ ทำให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลา
เป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดการปฏิบัติงานของพนักงานหรือหน่วยงานว่าสร้างสรรค์ผลงานได้รวดเร็วมากน้อยแค่ไหน สร้างผลงานได้เมื่อไหร่ วันที่อะไร ซึ่งนับว่าเป็นเกณฑ์ที่ช่วยให้องค์กรมั่นใจว่าผลการปฏิบัติงานของพนักงานจะได้รับการส่งมอบตามระยะเวลาที่องค์กรกำหนด
ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
เป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดผลการปฏิบัติงานของพนักงานหรือหน่วยงานว่าสามารถประหยัดต้นทุนให้แก่องค์กรหรือไม่ โดยการพัฒนาเกณฑ์ต้นทุนที่มีประสิทธิภาพจะคำนึงถึงความประหยัดของระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร
10. แมทริกซ์และแบบจำลองผลการปฏิบัติงาน
ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรมนุษย์มีแนวทางสำหรับการประยุกต์ใช้ในแนวทางการประเมินที่มีประสิทธิภาพขององค์กรที่ได้รับความสำเร็จระดับโลกมาใช้ในองค์กรสำหรับการพัฒนาและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานและกระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นไป จากการวิจัยของ Gilbert (2003) อธิบายว่า แมทริกซ์ผลการปฏิบัติงาน คือ องค์ประกอบของระบบผลการปฏิบัติงานที่แสดงถึงการตัดสินใจเพื่อปรับปรุงระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานในองค์กร รูปแบบของแมทริกซ์ผลการปฏิบัติงานอย่างง่ายจะเกี่ยวข้องกับ 3 ระดับ ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ และยุทธวิธี บางคนเรียกว่า รูปแบบผลการปฏิบัติงานวิศวกรรม (PEM)
การดำเนินการตามแนวทางของแมททริกซ์ผลการปฏิบัติงานประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่
การพิจารณาถึงโอกาส การระบุ และการสร้างแผนการเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนในระยะแรกที่กำหนดขึ้น พร้อมทั้งกำหนดและพิจารณาแนวทางการวัดและวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานเพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงของการปฏิบัติงานและพิจารณาถึงช่องว่างผลการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้น
การวิเคราะห์วิธีการบรรลุผลโดยใช้วิธีการต่างๆ ด้วยบุคลากรและการดำเนินการทางการบริหารจัดการที่องค์กรดำเนินการอยู่
การระบุและการตัดสินใจเกี่ยวกับผลสำเร็จของการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร
ตัวอย่างของแมทริกซ์ผลการปฏิบัติงานที่ใช้ในองค์กรที่องค์กรระดับโลกนำมาประยุกต์ใช้ ได้แก่
Shingo Prize Model
เป็นการกำหนดรายคุณภาพของผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย เกณฑ์ แนวทางปฏิบัติงาน เทคนิค และกระบวนการ ที่องค์กรใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านคุณภาพ ต้นทุน การส่งมอบ และผลลัพธ์ทางธุรกิจสู่ระดับสากล แนวทางปฏิบัติและเทคนิคดังกล่าวอาจไม่สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทุกแห่ง เนื่องจากต้องมีการบูรณาการเชิงกลยุทธ์เข้ากับความต้องการที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงของแต่ละองค์กรการนำมาใช้ต้องพิจารณา 2 ปัจจัยหลักตัวที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานหลักขององค์กร ได้แก่ ปัจจัยภาวะผู้นำ และการกระจายอำนาจ จะส่งอิทธิพลต่อการผลิตโดยตรงและไม่ใช่การผลิต สาระสำคัญของเกณฑ์ที่แบบจำลองมุ่งเน้นปฏิบัติงานที่ผู้เกี่ยวข้องต้องพิจารณาเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติดังนี้
การเป็นหุ้นส่วนกับหัวหน้างาน ลูกค้า และแนวทางปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อม
กระบวนการและการดำเนินงานการผลิตในระดับโลก
นวัตกรรมในการบริการผลิต
ฝ่ายสนับสนุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่การผลิต เป็นต้น
วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของฝ่ายผลิต
แบบจำลอง EFQM
ได้พัฒนารูปแบบและตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานสำหรับการตรวจสอบประสิทธิภาพในการจัดการองค์กรตามแนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโดยรวม โดยกำหนดเกณฑ์ที่ใช้หลักการประเมินผลการจัดการผลการปฏิบัติงานที่ครอบคลุมด้านการประเมินความสัมพันธ์เชิงเหตุเชิงผลและความสัมพันธ์ระหว่างกันที่แสดงผลในเชิงเปรียบเทียบได้ เป็นการกำหนดเกณฑ์ เพื่อวิเคราะห์องค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านการจัดการผลการปฏิบัติงานขององค์กร ถูกพัฒนาขึ้นบนพื้นฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานภายใต้หลักการ RADAR ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือการประเมินผลงาน การประเมินวิธีการวางแผนการปฏิบัติงาน การประเมินวิธีการที่องค์กรดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และการประเมินวิธีที่องค์กรใช้ในการประเมินตนเอง สามารถจัดกลุ่มตัวบ่งชี้เพื่อใช้วัดผลการปฏิบัติงานออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปัจจัยต้น และกลุ่มปัจจัยผลลัพธ์ รายละเอียดดังต่อไปนี้
กลุ่มปัจจัยตาม ประกอบด้วย
ผลที่เกิดขึ้นกับสมาชิกขององค์กร
ผลที่เกิดขึ้นกับสังคม
ผลที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้รับบริการ
ผลการปฏิบัติงานหลัก
กลุ่มปัจจัยต้น ประกอบด้วย
สมาชิกขององค์กร
พันธมิตรและทรัพยากร
นโยบายและกลยุทธ์
กระบวนการการทำงาน
ภาวะผู้นำ
Malcolm Baldrige Criteria
แบบจำลองนี้ช่วยให้องค์กรสามารถบูรณาการระบบการจัดการคุณภาพเข้ากับระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเกณฑ์การพิจารณาได้กำหนดไว้ให้องค์กรต้องมีกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์มีระบบปฏิบัติงานที่มุ่งเน้น ลูกค้าเป็นหลัก มีระบบปฏิบัติงาน มีโครงสร้างการทำงานเป็นทีมและการชี้นำมีการจัดการระบบผลตอบแทนและการเห็นคุณค่าและมีกระบวนการวางแผนคุณภาพแบบล้ำหน้าในการนำสินค้าใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด
ซึ่งถือเป็นเกณฑ์พื้นฐานของ Malcolm Baldrige Criteria ที่จะช่วยให้องค์กรก้าวสู่การมีผลการปฏิบัติงานในระดับโลกซึ่งกำหนดเกณฑ์พิจารณาเพิ่มจากมาตรฐานหรือเกณฑ์ของ IS09000 ดังมีรายละเอียดตัวบ่งชี้ดังนี้
กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์
ระบบปฏิบัติงานที่มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก
ระบบปฏิบัติงาน
โครงสร้างการทำงานเป็นทีมและการชี้นำ
การบริหารระบบผลตอบแทนและการเห็นคุณค่า
กระบวนการวางแผนคุณภาพแบบล้ำหน้าในการนำสินค้าใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด
ระบบการกระทำเชิงแก้ไขและป้องกัน (IS09000) ได้มีวิวัฒนาการไปสู่ระบบพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
9. วิธีการประเมินแบบ 360 องศา
เป็นการประเมินที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของวิธีการประเมินในอดีต เนื่องจากวิธีนี้เป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากตนเอง ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานของพนักงาน ผู้ใต้บังคับบัญชารวมถึงเก็บข้อมูลจากรายงานโดยตรงจากซัพพลายเออร์และลูกค้าโดยมาตรวัดจะพัฒนาขึ้นตามความเหมาะสมและบริบทการรับรู้ของพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการวัดผลการประเมินมักถูกดำเนินการเป็นความลับเพื่อปกปิดไม่ให้ผู้ถูกประเมินทราบว่าใครเป็นผู้ประเมิน นอกจากนั้นน้ำหนักคะแนนผลการปฏิบัติงานของพนักงานจะถูกกำหนดในสัดส่วนที่แตกต่างกันของแหล่งประเมินด้วย