Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลอย่างองค์รวม แก่บุคคลที่มีปัญหาสุ…
บทที่ 6 กระบวนการพยาบาลในการให้การพยาบาลอย่างองค์รวม
แก่บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพเป็นลักษณะเฉพาะของบุคคลที่บ่งบอกถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมีสิ่งต่างๆ
ที่มีอิทธิพลในการหล่อหลอม บ่มเพาะอุปนิสัยและบุคลิกภาพ ไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การเลี้ยงดู วัฒนธรรม
ความหมายของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
บุคลิกภาพ (Personality)
แบบแผนหรือลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่แสดงออกเป็นความรู้สึกนึกคิด การรับรู้
และพฤติกรรมของบุคคลนั้น
ลักษณะบุคลิกภาพ (Personality traits)
ลักษณะหรือแบบแผนของบุคคลซึ่งแสดงออกมาเป็นคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล เช่น ความอาย
ความไม่กล้า ความยั่วเย้า
บุคลิกภาพผิดปกติ (Personality disorders)
แบบแผนของพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากความคาดหวังของวัฒนธรรมของบุคคลนั้นๆ
รูปแบบพฤติกรรมมีลักษณะเฉพาะคงที่ไม่ยืดหยุ่น
การวินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
1) ด้านการรู้คิด (Cognition) การรับรู้และการตีความเกี่ยวกับตนเอง ผู้อื่น
และเหตุการณ์เบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง
2) ด้านอารมณ์ (Affectivity) อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย มีการแสดงออกทางอารมณ์ไม่เหมาะสม
3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal functioning)
มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น
4) ด้านการควบคุมตนเอง (Impulse control) ขาดความสามารถในการควบคุมตนเอง
สาเหตุของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
1) ปัจจัยทางพันธุกรรม/ครอบครัว (genetic/familial factors) มีสมมติฐานว่าอุปนิสัยที่ติดตัวเด็ก
(Child’s temperament) อาจได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมขณะอยู่ในครรภ์มารดา
2) สารสื่อประสาทผิดปกติ ผู้ที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย
มักพบระดับ serotonin ต่ำ ผู้ที่มีความผิดปกติด้านการรู้คิด มีระดับ dopamine เพิ่มขึ้น
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environment factors)
1) การดูแลของพ่อแม่ ลักษณะการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม
2) การอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่กดดัน เช่น การถูกกดขี่ หรือทารุณกรรมทางด้านจิตใจ
ปัจจัยด้านจิตใจ (Psychological factors)
1) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic theory)
อธิบายถึงสาเหตุของบุคลิกภาพผิดปกติว่า
เกิดจากความไม่เหมาะสมของพัฒนาการในระยะต่างๆ
2) ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning theory)
อธิบายว่าเด็กจะพัฒนาพฤติกรรมการแสดงออกที่ผิดปกติโดยการเลียนแบบหรือได้รับแรงเสริม
จากบุคคลที่มีความสำคัญในชีวิต
3) ทฤษฎีการรู้คิด (Cognitive theory)
กล่าวถึงความเชื่อและปฏิกิริยาการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมซึ่งมีอิทธิพลต่อประสบการณ์
ของแต่ละบุคคลภายใต้สิ่งแวดล้อมของครอบครัว
อาการและอาการแสดงของความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
1) บุคลิกภาพแบบพึ่งพา (Dependent personality disorder)
บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบพึ่งพา
จะมีลักษณะเฉื่อยชา ชักจูงง่าย ไม่มีความมุมานะ สงสัยในตนเอง
2) บุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder)
บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม ลักษณะทั่วไปหากคบผิวเผินจะไม่เห็นว่าผู้ป่วยผิดปกติ
และแต่จากประวัติในวัยเด็กจะมีตั้งแต่โกหก หนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน ลักขโมย ชกต่อย
3) บุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง (Borderline personality disorder)
บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบก้ำกึ่ง
จะมีลักษณะการแสดงออกที่บ่งบอกถึงความไม่มั่นคงและการเปลี่ยนแปลงง่ายในด้านอารมณ์ พฤติกรรม
ภาพลักษณ์ตนเอง และความชื่นชอบ
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
1) เพื่อสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยความเอาใจใส่และความไว้วางใจในขอบเขตที่เหมาะสม
2) เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย
3) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเผชิญปัญหาที่มีประสิทธิภาพและมีทักษะในการแก้ปัญหาในลักษณะของการเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคคล
4) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงแหล่งบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
5) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางบุคลิกภาพของครอบครัวและผู้ดูแล
การปฏิบัติการพยาบาล (Nursing Intervention)
1) การให้เรียนรู้จากแบบอย่างของพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
2) แนะนำการแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่น ด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับได้ในสังคม
3) ให้เลือกและทดลองใช้เทคนิคการแก้ปัญหา แบบใช้เหตุผลโดยแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา
4) ให้เลือกวิธีการผ่อนคลายความเครียดที่เหมาะสมกับตนเอง
5) ฝึกให้แสดงบทบาทสมมติ (Role play) เกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต
6) ชมเชยและให้แรงเสริมทางบวกในทุกๆ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
7) แนะนำว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควรกำหนดเป้าหมายที่ทำได้ไม่ยาก
8) แนะนำผู้ป่วยและครอบครัว ในการฝึกทักษะทางสังคมอย่างเหมาะสมกับผู้อื่น
9) แนะนำครอบครัวในการฝึกผู้ป่วยให้ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง
10) แนะนำครอบครัวให้เข้าใจและให้กำลังใจผู้ป่วย
11) แนะนำครอบครัวสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วย
12) แนะนำแหล่งช่วยเหลือที่มีอยู่ในชุมชน
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
3) ไม่มีความรู้สึกลงโทษหรือคิดทำร้ายตนเอง
4) ควบคุมพฤติกรรมหุนหันวู่วามได้
2) แสดงความรู้สึกของตนเองอย่างเปิดเผยและจริงใจ
5) เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
1) มีสัมพันธภาพกับบุคลอื่นได้
6) ไม่ทำลายข้าวของและไม่ทำร้ายผู้อื่น
7) ปฏิบัติตามแผนการรักษา