Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) - Coggle Diagram
โรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
ความหมาย
ไส้ติ่งอักเสบ( Appendicitis) เป็นสาเหตุของการผ่าตัดช่องท้องได้มากที่สุด และนับเป็นภาวะแทรกซ้อนทางศัลยกรรมที่พบในคนตั้งครรภ์ได้บ่อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงทางกายวิภาคและสรีรวิทยา ของสตรีมีครรภ์ทำให้เกิดความสับสนและวินิจฉัยโรคนี้ได้ยากขึ้น บ่อยครั้งที่วินิจฉัยโรคและผ่าตัดล่าช้า จึงทำให้พยากรณ์โรคแย่กว่าคนที่ไม่ได้ตั้งครรภ์อย่างชัดเจน
พยาธิสรีรวิทยา
พยาธิสรีรวิทยาของไส้ติ่ง (Vermiform appendix) เป็นส่วนขยายของลำไส้ที่ยื่นออกมาจากกระพุ้งไส้ใหญ่ (Cecum) อยู่ตรงบริเวณท้องน้อยข้างขวา โดยมีลักษณะเป็นถุงแคบและยาว มีขนาดกว้างเพียง 5-8 มิลลิเมตร และมีความยาวหรือก้นถุงลึกโดยเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร ไม่ได้ทำหน้าที่ในการย่อยและดูดซึมอาหาร
สาเหตุและปัจจัยส่งเสริม
เกิดจากภาวะอุดตันในรู (ทางเข้า-ออก)ซึ่งเมื่อเกิดการอุดตันขึ้น สิ่งคัดหลั่งที่ไส้ติ่งหลั่งอยู่เป็นปกติก็จะเกิดการคั่งอยู่ในรูไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งบวมเป่งและมีแรงดันภายในไส้ติ่งสูงขึ้น ประกอบกับการบีบขับของไส้ติ่ง จึงทำให้เกิดอาการปวดท้อง
รอบๆ สะดือ และในขณะเดียวกันเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่เป็นปกติวิสัย (ในจำนวนน้อย) ในรูไส้ติ่งก็จะเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วและรุกล้ำเข้าไปในเนื้อเยื่อของไส้ติ่ง ทำให้เกิดการอักเสบรุนแรงตาม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเจ็บตรงท้องน้อยข้างขวา และในที่สุดไส้ติ่งก็จะเกิดการเน่าตายและแตกทะลุได้
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน ที่บริเวณรอบสะดือ ต่อมาย้ายไปปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น มีอาการปวดท้องมากขึ้นขณะที่ไอ เดิน หรือแม้แต่ขยับตัว
คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารมีอาการท้องเสีย ท้องผูก หรือมีอาการท้องอืดรวมด้วย
มีไข้ต่ำๆ ระหว่าง 37.2-38 องศาเซลเซียส และอาจสูงกว่า 38.3 องศาเซลเซียสหากเกิด ภาวะไส้ติ่งแตก
มีอาการปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้นของไส้ติ่งไปกระตุ้นท่อไต
การประเมินและการวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมี rebound tenderness ในระยะที่ท้องยังนิ่มอยู่ หรือมี guarding ร่วมด้วย ในผู้ป่วยไส้ติ่งแตก ทะลุ tenderness และ guarding มักตรวจพบบริเวณกว้างขึ้นหรือพบทั่วบริเวณท้องน้อยส่วนล่างทั้ง 2 ข้าง
สัญญาณชีพ (vital signs) มักไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนักในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ที่ไม่ค่อยซับซ้อน อุณหภูมิร่างกายมักสูงไม่เกิน 38 0C หากสูงมากกว่านั้นมักจะเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เช่น แตกทะลุ (rupture) เน่าตาย (gangrene)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจนับเม็ดเลือด(CBC) พบ leukocytosis (WBC >10,000) เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติและการตรวจปัสสาวะ (UA) ช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคอื่นออกไป เช่น ทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้นแต่ไม่ช่วยในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบ
Graded compression ultrasound (GUS) นิยมใช้เป็นเทคนิคเบื้องต้น เมื่อสงสัยไส้ติ่งอักเสบ ช่วยยืนยันการวินิจฉัยได้เมื่อพบว่าไส้ติ่งเมื่อมีโครงสร้างเป็นท่อปลายตันที่ท้องน้อยด้านขวา สตรีตั้งครรภ์ GUS ทำได้ยากกว่าสตรีที่ไม่ตั้งครรภ์เนื่องจากชีคั่มถูกเบียดและมีมดลูกกีดขวาง ดังนั้น GUS จึงมีขีดจำกัดมากขึ้นใน สตรีตั้งครรภ์
CT scan ช่วยในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบร้อยละ 92 ควรเลือกใช้ในผู้ป่วยที่การวินิจฉัยไม่แน่ชัดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ การถ่ายภาพรังสีของช่องท้อง (plain film abdomen) ส่วนใหญ่ไม่ช่วยในการวินิจฉัย
Laparoscopic endoscopy จะช่วยวินิจฉัยโรคในรายที่อาการและอาการแสดงของโรคไม่เด่นชัด โดยเฉพาะในช่างตั้งครรภ์ไตรมาสแรก แต่เป็นเทคนิครุกล้ำจึงไม่นิยมกัน
การรักษา
ในรายที่ลักษณะทางคลินิกบ่งชี้ว่าน่าจะเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ แนะนำให้การรักษา ด้วยการผ่าตัดโดยด่วน
หลังจากการเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมและเหมาะสมต่อการให้ยาสลบและการผ่าตัด
ในรายที่ลักษณะทางคลินิกไม่ชัดเจนว่าจะเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบ ควรรับตัวไว้สังเกตอาการ ในโรงพยาบาล
เพื่อติดตามประเมินลักษณะทางคลินิกเป็นระยะ โดยงดน้ำและอาหารและไม่ให้ยา ปฏิชีวนะ
ในรายที่ลักษณะทางคลินิกบ่งชัดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันไม่แตกทะลุให้ยาปฏิชีวนะ ก่อนผ่าตัดแต่เมื่อผ่าตัดพบว่าไส้ติ่งอักเสบไม่แตกทะลุกไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะต่อหลังผ่าตัด
ในรายที่การตรวจร่างกายบ่งชี้ว่ามี peritonitis ซึ่งเกิดจากการแตกของไส้ติ่งอักเสบมักมี ลักษณะ generalized peritonitis ส่วนผู้ใหญ่จะเป็น pelvic peritonitis ก่อนผ่าตัดควรใช้วิธีรักษาให้ผู้ป่วย อยู่ในสภาพที่เหมาะสมในการให้ยาสลบและการผ่าตัด
กรณีที่ไส้ติ่งแตกทะลุขณะผ่าตัดหรือไส้ติ่งไม่แตกทะลุ แต่รุนแรงถึงขั้น gangrenous appendicitis แนะนำให้ยาปฏิชีวนะต่อเนื่อง 1-3 วันแล้วแต่พยาธิสภาพ
ในรายที่มีอาการมาหลายวันและการตรวจร่างกายพบว่ามีก้อนที่ท้องน้อยด้านขวา อาจเป็น appendices phlegmon หรือ abscess ควรจะรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะถ้าผู้ป่วยตอบสนองดี เช่น อาการปวดท้องดีขึ้นก้อนเล็กลงให้รักษาต่อโดยประคับประคองและนำผู้ป่วยไปทำ elective appendectomy หลังจากนั้น 6 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน แต่ถ้าการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วไม่ได้รับการ ตอบสนองที่ดี อาจจำเป็นต้องผ่าตัด
ผลกระทบของโรคต่อการตั้งครรภ์
เพิ่มความเสี่ยงต่อ การแท้ง คลอดก่อนกำหนด โดยเฉพาะมีเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ทั้งนี้ขึ้นกับอายุครรภ์ ที่เกิดภาวะไส้ติ่งอักเสบ อัตราการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดตามหลังการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบยังคงสูงกว่าการผ่าตัดด้วยข้อบ่งชี้อื่น ๆ ด้วย
ผลกระทบที่มีต่อทารกในครรภ์
การตายปริกำเนิดเพิ่มขึ้น โดยอัตราการเสียชีวิตของเด็กในรายที่ไส้ติ่งอักเสบจนแตกพบได้ 20% มากกว่าในรายที่ไส้ติ่งยังไม่แตกที่พบเพียง 1.5%
ผลของการตั้งครรภ์ต่อโรค
การตั้งครรภ์ปกติมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ที่ทำให้สังเกตอาการของไส้ติ่งอักเสบได้
-ในบางรายตำแหน่งของไส้ติ่งเปลี่ยนแปลงไปเมื่อมดลูกโตขึ้น
-การตั้งครรภ์มีผลเพิ่มเม็ดเลือดขาวมากขึ้นในระดับหนึ่ง
-โรคอื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ทำให้สับสนได้บ่อย เช่น กรวยไตอักเสบ นิ้ว รกลอกตัวก่อนกำหนด การ
เสื่อมสภาพของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
เพิ่มอัตราการตายของมารดาจากโรคมากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการวินิจฉัยได้ล่าช้า
ปัญหาในการวินิจฉัยโรคพบบ่อยในไตรมาสที่สาม ซึ่งมีการแตกทะลุของไส้ติ่ง สูงกว่าร้อยละ 50 เนื่องจากการวินิจฉัยโรคล่าช้า นอกจากนั้นขนาดของมดลูกที่โตขึ้น จะขวางไม่ให้โอเมนตัมเคลื่อนตัวมา คลุมไส้ติ่งที่อักเสบ ดังนั้นการแตกทะลุและการกระจายของหนองไปทั่วช่องท้องจะเกิดได้ง่ายขึ้น
การพาบาล
การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
ด้านร่างกาย การเตรียมความสะอาดร่างกายทั่วไป การงดอาหารและน้ำทางปากทุกชนิดอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดเพื่อ ช่วยให้กระเพาะอาหารว่างป้องกันการอาเจียนหลังระงับความรู้สึก
ด้านจิตใจ การสร้างสัมพันธภาพ พยาบาลควรแนะนำตนเองกับผู้ป่วยและครอบครัวของ ผู้ป่วยด้วยคำพูดและน้ำสียงที่เป็นมิตร การรับฟังและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย อธิบายและแนะนำ ข้อมูล
การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด การฝึกการหายใจลึก
การพลิกตะแคงตัวทำทุก 2 ชั่วโมง ให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อยใช้มือประคองแผลผ่าตัด การลุกจาก เตียง ควรลุกจากเตียงเร็วที่สุด อย่างน้อย 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของภาวะ ลำไส้ติดกันทำได้โดยค่อยๆ เปลี่ยนอิริยาบถโดยพยาบาลควรช่วยไขหัวเตียงให้สูงขึ้น
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกจากเตียงหลังผ่าตัดใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว
การงดอาหารและน้ำหลังผ่าตัดวันแรก จนกว่าจะมีการเคลื่อนไหวของลำไส้ โดยเริ่มจิบน้ำ ถ้าไม่มีอาการท้องอืด จะเริ่มให้อาหารเหลว อาหารอ่อน และอาหารธรรมดาตามลำดับ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก ลึกๆและไอถูกวิธี
การดูแลแผลผ่าตัด ระวังมิให้ผ้าปิดแผลเปียกน้ำ และห้ามเกาแผล เพราะอาจทำให้เกิด การอักเสบ บวม แดง ได้เวลาไอ
ใช้มือประคองแผล ป้องกันแผลแยก การรักษาความสะอาด ของร่างกาย ถ้าแผลยังไม่แห้ง ให้เช็ดตัวจนกว่าแผลจะแห้ง
การรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โปรตีนสูง เช่น ไข่ ปลา เพื่อให้แผลติดเร็วขึ้น
การรักษาสุขนิสัยในการขับถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอ ป้องกันอาการท้องผูก ทำให้ต้อง ออกแรงเบ่งถ่ายอุจจาระมาก ทำให้เพิ่มความดันในช่องท้อง มีผลให้แผลที่เย็บซ่อมแซมไว้แยกได้
ควรพักผ่อนให้เพียงพอ โดยเฉพาะ 1-2 สัปดาห์หลังการผ่าตัด และห้ามยกของหนักเกิน 2 กิโลกรัมอย่างน้อย 2 เดือนหลังผ่าตัด
มาพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติ เช่น แผลมีหนอง บวม แดง และการมาตรวจ ตามนัดของแพทย์