Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก HIV infection - Coggle Diagram
การติดเชื้อเอชไอวีในเด็ก HIV infection
ความหมาย
การติดเชื้อเอชไอวี เป็นภาวะที่ร่างกายได้รับเชื้อเอซไอวี เล้วทำให้ทีเฮลเปอร์ลิมโฟซัยต์ (T-helper lymphocyte) ถูกทำลายและมีจำนวนลดลงเป็นผลให้เกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องและติดเชื้อต่างๆได้ง่าย โดยเฉพาะเชื้อฉวยโอกาสเมื่อผู้ป่วยเด็กมีการติดเชื้อรุนแรงหรือติดเชื้อซ้ำๆ แสดงว่าเริ่มมีอาการเข้าสู่ระยะของโรคเอดส์
โดยอาจมีอาการแสดงช้าหรือเร็วขึ้นกับระดับภูมิคุ้มกันโรคของร่างกาย
พยาธิสภาพ
เชื้อเอชไอวีมีความสามารถในการติดเชื้อที่ T helper cell (CD 4+) ได้ดีกว่าเซลล์ชนิดอื่น โดยอาศัยการจับกันระหว่าง GP 120 ขอบเปลือกนอกของไวรัสกับ CD 4 molecule ที่อยู่บนผิวของ T helper cell แบ่งตัวแล้วแยกตัวเป็นเซลส์เอซไอวี่ใหม่ออกมาจาก T helper cell และ T helper cell ก็จะถูกทำลายไป อีกกลไกหนึ่ง คือ แอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอรี จะจับเชื้อเอซไอวี แล้วantibody coated HIV จะถูกฟาโกชัยท์
จับกินเข้าไปที่เชื้อเอขไอวีไม่ถูกทำลายในพาโกชัยท์แต่จะอาศัยอยู่ในฟาโกชัยท์เลย เมื่อเชื้อเอชไอวี่อยู่ในร่างกาย ระยะแรกอาจไม่มีพยาธิสภาพให้เห็น ต่อมาเมื่อ T helper cell ลดลงจะมีผลทำให้เกิดความบกหร่องของภูมิคุ้มกันชนิดผ่านเซลล์ขึ้น
การวินิจฉัย
1.การตรวจหาเชื้อไวรัส มีส่วนประกอบของเชื้อไวรัส
1.2 วิธี Polymerase chain reaction (PCR) เป็นวิธีเพิ่มจำนวนเชื้อเอซไอวี่ จาก RNA ให้เป็นDNA แล้วเพิ่มจำนวนเป็นล้านเท่า และตรวจวัดด้วย probe hybridization
1.3 วิธี In situ hybridizationเป็นวิธีการตรวจหาสารพันธุกรรม ของเอชไอวีในเชลล์ที่มีการติดเชื้อ
1.1 วิธีทางอิมมูโนวิทยา ตรวจหาแอนติเจนของเอชไอวี ที่นิยม คือการหา P 24 แอนติเจนในซีรั่ม ด้วยวิธี ELISA สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อในระยะ window period
2.การตรวจหา Anti-HIV แอนติบอดีซีรั่มหรือสารคัดหลั่งอื่นๆ
2.1 วิธีการทดสอบอย่างรวดเร็ว (rapid screening test) ตรวจหา 19G เป็นส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่ใช้หลักการของ ELISA วิธีนี้ถ้าให้ผลบวกควรยืนยันผลด้วยวิธีอื่นต่อไป
2.2 วิธี enzyme immunoassay และ immunofluorescense ส่วนใหญ่นิยมใช้ indirect ELISA และ indirect immunoiluorescense ตรวจหา anti HIV ส่วนมากเป็น IgG ปัจจุบันมีการใช้ ELISA ตรวจหา IgA เพื่อช่วยวินิจฉัยการติด เชื้อในทารก พบว่าได้ผลดีเมื่อทารกอายุ 6-8 เดือน ไปแล้ว
2.3 วิธี western blot (WT) เป็นวิซี่ใช้ยืนยันผลการติดเชื้อ โดยตรวจหา ant HIV แอนติบอดี้ในเซร้มของผู้ป่วยที่จำเพาะต่อแอนติเจนของเชื้อเอซไอวีชนิดต่างๆ
สาเหตุ
2.การรับเลือด เช่น การปลูกถ่ายอวัยวะจากผู้ติดเชื้อเอชไอวี การใช้เข็มฉีดยาเสพติด การใช้อุปกรณ์แทงผิวหนังร่วมกัน โดยอุปกรณ์ไม่สะอาดและปนเปื้อนเชื้อเอชไอวี ทำให้ผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อเอชไอวี
3.มารดาสู่ทารก
2.ระหว่างการคลอด ทารกจะสัมผัสกับเลือด นํ้าครํ่า สารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา
3.หลังคลอด ทารกจะติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของมารดาส่วนใหญ่จะเป็น นมมารดา
1.ระหว่างการตั้งครรภ์ เชื้อเอชไอวีจากมารดาสู่ทารกเข้าสู่ระบบไหลเวียนของทารกในครรภ์โดยผ่านทางรกตั้งแต่อยู่ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
1.ทางเพศสัมพันธ์ (sexual contact) เชื้อเอชไอวีที่อยู่ในนํ้าอสุจิของฝ่ายชายหรือนํ้าในช่องคลอดของฝ่ายหญิง จะเข้าสู่สู่ร่างกายของคู่นอนทางเยื่อเมือกหรือรอยถลอกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์อาจจะมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนัก
อาการและการแสดงของเด็ก ที่ติดเชื้อเอดส์จากมารดา มี 2 แบบ
กลุ่มแรกเกิดอาการเจ็บป่วยรวดเร็วและรุนแรง อาจปรากฎอาการเจ็บป่วยได้ตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน ประกอบด้วยอาการเลี้ยงไมโต มีเชื้อราในช่องปาก อุจจาระร่วงเรื้อรัง ปอดอักเสบ เป็นต้น ทารกกลุ่มนี้ได้รับเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา และไวรัสทำลายการพัฒนาของระบบภูมิคุ้มกันเด็กมักเสียชีวิตภายใน 1- 2 ปีแรก จากภาวะแทรกซ้อนทางปอด
กลุ่มสองจะมีการดำเนินโรคค่อนข้างช้า อาการค่อยเป็นค่อยไป ความรุนแรงของโรคน้อยกว่า มักปรากฎอาการเมื่อเด็กอายุหลายปี ประกอบด้วยน้ำหนักตัวน้อย ตับม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต ปอดอักเสบแบบ lymphoid interstitial oneumonitis ตอมน้ำลายอักเสบ ผื่นคันบริเวณผิวหนัง
การรักษา
2.ใช้ยากระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น ได้แก่ interleukin 2 เป็นต้น
3.การรักษาโรคติดเชื้อหรือมะเร็งที่เกิดขึ้น เช่น ใช้เพนนิซิลินรักษา streptococci ถ้าติดเชื้อราใช้ ketokonazole หรือ amphotheracin มีการใช้ intravenous gamma globulin (IVIG)
4.การให้ยาป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส
5.ให้ยารักษาโรคอื่นๆ เช่น ยาแก้คัน ยารักษาโรคปวดข้อ สเตรียรอยด์ ยากันชัก เป็นต้น
1.ใช้ยาต้านไวรัส โดยยาหรือสารไปออกฤทธิ์ที่ระยะต่างๆ ของวงจรชีวิตของเชื้อเอชไอวี ทำให้เชื้อเอชไอวีจำนวนลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่การติดเชื้อฉวยโอกาสและแพร่กระจายเชื้อเอชไอวี
กิจกรรมทางการพยาบาล
5.การแนะนำญาติของผู้ป่วยเด็กให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยเด็กอื่นที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสหรือไข้หวัดการแยกอุปกรณ์หรือของใช้ผู้ป่วยเด็ก
แนะนำการให้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูงครบ 5 หมู่
ให้ได้รับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสมตามอายุของผู้ป่วยเด็ก
วัดและประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ชั่งน้ำหนักวันละครั้งในเด็กทารก หรือ 2 ครั้ง/ สัปดาห์ในเด็กโต
ป้องกันการติดเชื้ออื่นๆ เช่น การจัดผู้ป่วยเด็กให้อยู่ในห้องแยกหรือจัดให้อยู่ไกลจากผู้ติดเชื้ออื่นๆ
ให้ยาต้านไวรัสและยาที่เกี่ยวกับการติดเชื้อแก่ผู้ป่วยเด็กตามแผนการรักษา
แนะนำผู้มาเยี่ยมผู้ป่วยให้ล้างมือทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ป่วยเด็ก
สังเกตอาการ อาการแสดงของการติดเชื้ออื่นๆทางระบบหายใจหรือระบบทางเดินอาหาร เช่น มีไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูกหรืออุจจาระเหลว เป็นต้น
1.ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาลทุกครั้ง
ติดตามผลการเจาะเลือด CD4
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ทำความสะอาดปากฟัน ก่อนและหลังอาหาร
2.ดูแลให้ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ มีแคลอรี่สูง โปรตีนสูง ไขมันตํ่า
3.ให้สารอาหารอื่นทดแทน หรือสารอาหารทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
4.ให้ยาต้านการอักเสบ หรือยาต้านเชื้อราในช่องปากตามแผนการรักษา
5.ให้ lactose-free diet
6.บันทึกการให้สารอาหารอย่างละเอียดและสังเกตอาการท้องอืด อาเจียน
7.บันทึกการถ่ายอุจจาระ ทั้งจำนวนและลักาณะ ในผู้ป่วยที่ท้องร่วง หรือประเมินลักษณะแผลในปากในรายที่มีการติดเชื้อราในช่องปาก
8.ชั่งนั้าหนักวันละครั้งในเด็กทารก หรือ 2 ครั้ว/สัปดาห์ในเด็กโต
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
2.ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เนื่องจากเบื่ออาหาร เหนื่อยอถ่ายเหลว มีการติดเชื้อราในช่องปาก เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีการเจริญเติบดตช้า เนื่องจากมีการติดเชื้อ
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ให้ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา
2.ส่งเสริมการเจริญเติบโต โดยดูแลเรื่องอาหารและนํ้าให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
3.ส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการให้เป็นไปตามวัยหรือเหมาะสมตามศักยภาพของผู้ป่วยเด็กหรือส่งต่อหน่วยกระตุ้นพัฒนาการ
4.แนะนำผู้ดูแลเด็กถึงวิธีการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยหรือส่งต่อหน่วยกระตุ้นพัฒนาการ
การป้องกัน
ป้องกันการตั้งครรภ์ ในหญิงที่ทราบว่าติดเชื้อเอซไอวีแล้ว
หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ควรได้รับคำปรึกษาอย่างละเอียดถึงอันตรายที่
ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ วัยรุ่น เป็นต้น