Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล, ระบบการปรับตัว, 232952648_442246986847597…
แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล
ทฤษฎีการพยาบาลวัตสัน
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
ข้อตกลงเบื้องต้นที่สัมพันธ์กับคุณค่าการดูแลมนุษย์ในการพยาบาลไว้ 11 ประการ
ค่านิยมเกี่ยวกับการดูแลของพยาบาล
ค่านิยม/อุดมคติที่เน้นความเป็นมนุษย์จึงอยู่ในภาวะวิกฤต
การดูแลเชิงมนุษย์นิยม
รายบุคคลหรือกลุ่มได้รับความสนใจจากระบบบริการสุขภาพน้อยลง
การอนุรักษ์และการศึกษาเรื่องการดูแลมนุษย์
การพยาบาลต้องยึดถือการดูแลความเป็นมนุษย์
การดูแลมนุษย์
ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
ก่อนจะดูแลผู้อื่นพยาบาลต้องดูแลตนเองด้วยความสุภาพอ่อนโยน
ประโยชน์ของวิชาชีพพยาบาลต่อสังคม
การยึดมั่นในการดูแลเชิงมนุษย์นิยมทั้งด้านทฤษฎีปฏิบัติและการวิจัย
การดูแลและความรักเป็นพลังสากล
มนุษย์ต้องการความรักและการดูแลซึ่งกันและกัน
รักศักดิ์ศรีของตนเอง
การดูแล
เป็นจุดเน้นในการปฎิบัติการพยาบาล
แกนกลางของการพยาบาล
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
เกิด ค.ศ.1940 ที่อเมริกา
ได้รับแรงจูงใจจากความต้องการที่จะทำความเข้าใจบทบาทในการบำบัดทางการพยาบาล
มีประสบการณ์ในวิชาชีพพยาบาลกว้างขวาง
งานเขียนปรัชญาศาสตร์ของการดูแลถูกตีพิมพ์ค.ศ. 1979 ค.ศ. 1988 ทฤษฎีของวัตสันศาสตรเกี่ยวกับมนุษย์และการดูแลเป็นไปได้ทางทฤษฎีปรัชญาทัศนะกระบวนการพยาบาลได้รับการพิมพ์
ทฤษฎีของวัตสันได้รับการพัฒนาต่อเนื่องงานเขียนประสบการณ์ส่งผลต่อการพัฒนาทฤษฎี
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ
ประคับประคองสนับสนุนและแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพจิตสังคมและจิตวิญญาณ/สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมแห่งการบำบัด
พึงพอใจที่จะช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่นช่วยเหลือโดยมุ่งตอบสนองความต้องการของบุคคล
ใช้วิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบเพื่อการตัดสินใจ/ใช้ตนเองและทุกวิถีแห่งความรู้
สร้างระบบค่านิยมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
ส่งเสริมและยอมรับความรู้สึกทางบวกและทางลบ/ส่งเสริมให้มีการดูแลความรู้สึกออกมาทั้งทางบวกและทางลบ
สร้างความศรัทธาและความหวัง/มีชีวิตอยู่กับความจริง
ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจผู้อื่น/ส่งเสริมการสอนการเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งระหว่างกันของพยาบาลและผู้ป่วย
ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นพลังที่มีอยู่/เปิดรับพลังทางจิตวิญญาณสิ่งลึกลับและยังไม่มีคำอธิบายอันเกี่ยวกับการมีชีวิต ความตาย
สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลืออย่างไว้วางใจ/สร้างสัมพันธภาพ
ปลูกฝังความไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่นปลูกฝังการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
สิ่งแวดล้อม
; สังคมที่เข้ามามีอิทธิพลสิ่งแวดล้อมมีส่วนร่วมสร้างค่านิยมและพฤติกรรมที่คนควรปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่คนต้องการดิ้นรนไปถึง
สุขภาพ
; สุขภาพเป็นภาวะที่เป็นสุขทางร่างกาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ ความมีสุขภาพดีหมายถึงการที่มีภาวะที่ดีร่างกายจิตใจและความผาสุกทางสังคม
การพยาบาล
; วิชาที่กล่าวถึงประสบการณ์การเยียวยารักษาความเจ็บป่วยและสุขภาพของบุคคลโดยปฏิบัติการดูแลบุคคลอย่างวิชาชีพอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศิลปะการคำนึงถึงเป็นบุคคลและความมีจริยธรรม
บุคคล
; บุคคลมีความเป็นองค์ประกอบการหลอมรวมร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณ
แนวทางการประยุกต์
การใช้เพื่อการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
คือ การนำรูปแบบการดูแลที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน (Tranpersonal caring) มาใช้ในการปฎิบัติการพยาบาลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฟื้นหาย (Healing)
การใช้ระดับพื้นฐาน
ปัจจัยการดูแล 10 ประการ (Ten carative factors)
เพิ่งพอใจที่จะช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่น
ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและสร้างเสริมพลังที่มีอยู่
ประคับประคองสนับสนุนและแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพจิตสังคมและจิตวิญญาณ
สร้างความศรัทธาและความหวัง
ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจของผู้อื่น
สร้างระบบค่านิยมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่นและมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
ใช้วิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบเพื่อการตัดสินใจ
ยอมรับความรู้สึกทางบวกและทางลบ
สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือและการไว้วางใจ
สร้างความไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
ทฤษฎีการพยาบาล Transtheretical Model :TTM
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ทฤษฎีการพยาบาลเป็นโมเดลที่อธิบายความตั้งใจหรือความพร้อมของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง ผู้คิดค้น Jame O.
Prochaska,Ph.D.Carlo diclemente,Ph.D.
เกิดขึ้นปีค.ศ.1970 ในงานจิตวิทยาคลินิกของโปรซาสกา
เป็นรูปแบบการพัฒนาจากงานศึกษาวิจัยของโปรซาสกาและไดคลีเมน
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
เป็นการเชื่อมั่นที่บุคคลมีต่อตนเองมีความสามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมายได้สำเร็จ
ความสมดุลและการตัดสินใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การที่บุคคลประเมินสมดุลย์ระหว่างผลดีและผลเสียที่จะได้รับปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมาย
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
Action
คนไข้เริ่มปฏิบัติวางแผน
Preparation
คนไข้เริ่มวางแผนการปรับเปลี่ยนเริ่มตั้งเป้าหมาย
Maintenance
คนไข้สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้อย่างน้อย 6 เดือน
Pre-contemplation
คนไข้ยังไม่พร้อมในการปรับเปลี่ยน
Relapse
เป็นขั้นตอนที่อาจเกิดหรือไม่เกิดก็ได้ คือ คนไข้กลับไปทำพฤติกรรมแบบเดิม
Contemplation
คนไข้รับรุ้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วคิดว่าน่าจะปรับเปลี่ยนได้
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
บุคลากรด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
บุคคลแสวงหาการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
บุคคลตระหนักรู้ในตนเอง
บุคคลให้คุณค่าแก่การเจริญเติบโต
บุคคลแสวงหาภาวะการณ์ของชีวิตที่สร้างสรรค์ด้านสุขภาพของตนเอง
การที่เริ่มด้วยตนเองในการสร้างแบบแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
แนวทางการประยุกต์
ขั้นเตรียมการ
-การรับรู้สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ
ขั้นมีความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
-การประเมินตนเอง การเปรียบเทียบผลดีและผลเสียของพฤติกรรม
ขั้นก่อนมีความตั้งใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-การปลุกจิตสำนึก การประเมินพฤติกรรม
ขั้นปฏิบัติการ
-การหาแรงสนับสนุนทางสังคม
ขั้นพฤติกรรม
-การควบคุมสิ่งเร้า การให้การเสริมแรงการส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของตน
ทฤษฎีการพยาบาลเพนเดอร์
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
ข้อตกลงเบื้องต้นแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Health
เพนเดอร์แบ่งสุขภาพเป็น 3 ลักษณะ คือ
ความหมาย 2 แบบ คือ สุขภาพเป้นความสมดุลของร่างกายและเป็นการพัฒนาสุขภาพจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง
สุขภาพ เป็นความผิดปกติของความสมดุลและความมั่นคงของร่างาย
สุขภาพ เป็นความสำเร็จของการพัฒนาสุขภาพจากระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้น
ข้อตกลงเบื้องต้นแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
person
1.การมองเห็นความสำคัญของสุขภาพ (Importance of health)
การรับรู้ส่าว่าสุขภาพสามารถควบคุมได้ (Perceived control of health)
3.รับรู้ความสามารถของตน (Perceive self-efficacy)
การรับรู้สภาวะสุขภาพ (Perceived health status)
6.การรับรู้ถึงอุปสรรคของพฤติกรรม (Perceived barriers to health promoting behaviors)
5.การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรม (Perceive benefits of behaviors)
ข้อตกลงเบื้องต้นแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Environment
1.บุคคลประกอบไปด้วยกายจิตสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง
2.การริเริ่มด้วยตนเองในการสร้างแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ข้อตกลงเบื้องต้นแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์
Nursing
บุคลากรด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมระหว่างบุคคลที่มีธิพลต่อบุคคลตลอดช่วงชีวิต
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ปี ค.ศ. 1975 เพนเดอร์ (Pender) ได้พัฒนาแบบจำลองการป้องกันสุขภาพที่กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจและการปฏิบัติของปัจเจกบุคคลในการป้องกันโรคจุดเน้นของบทบาทการพยาบาลตามแนวคิดของเพนเดอร์ในสมัยนั้นเน้นที่การป้องกันและคงไว้ซึ่งสุขภาพของสาธารณชน ต่อมา เพนเดอร์ ได้เห็นความจำกัดของมโนทัศน์การป้องกันสุขภาพ คือ เป็นมโนทัศน์ทางสุขภาพเชิงลบเพราะพฤติกรรมส่วนใหญ่จะเป็นการหลีกเลี่ยง แต่การยกระดับสุขภาพ หรือมีความเป็นอยู่ที่ดีและมีความ
สมบูรณ์ที่สุดในชีวิต (Self actualization) นั้นบุคคลต้องได้รับการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นมโนทัศน์เชิงบวก เพนเดอร์จึงพัฒนาแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพในปี ค.ศ. 1982
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
ทฤษฎีการพยาบาล (Nursing Theory)
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างอภิกระบวนทัศน์ของการพยาบาล (Metaparadigm of Nursing)
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล (Individual Characteristics and Experiences)
1.1 พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง (Prior related behavior)
พฤติกรรมที่เคยปฏิบัติในอดีตมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฎิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเนื่องจากพฤติกรรมที่เคยปฏิบัติมานั้นได้กลายเป็นนิสัย (habit formation) และบุคคลปฏิบัติพฤติกรรมนั้นได้โดยอัตโนมัติโดยอาศัยความตั้งใจเพียงเล็กน้อยก็ปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพได้
1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล (Personal Factors)
ในแบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยบุคคลประกอบด้วย 3 ส่วน
1.ปัจจัยด้านชีววิทยา ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย สภาวะวัยรุ่น ความเเข็งเเรงของร่างกาย
2.ปัจจัยด้านจิตวิทยา ได้แก่ ความมีคุณค่าในตนเอง แรงจูงใจในตนเอง การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง
3.ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม ได้แก่ สัญชาติ ชาติพันธุ์วรรณนา วัฒนธรรม การศึกษา ฯลฯ
โดยปัจจัยบุคคลดังกล่าวมีอิทธิพลโดยตรงต่อปัจจัยด้านอารมณ์และการคิดรู้ที่เฉพาะกับพฤติกรรมและมีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคลมีผลต่อการปฎิบัติพฤติกรรมในมโนทัศน์หลักนี้เพนเดอร์ได้เสนอมโนทัศน์ย่อยคือพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องและปัจจัยส่วนบุคคลโดยมโนทัศน์ทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพบางพฤติกรรมหรือในบางกลุ่มประชากรเท่านั้น
ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม (Behavior-Specific Cognition and Affect)
2.1 การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ (Perceived Benefits of Action)
2.2 การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Barriers to Action)
2.3 การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Perceived Self-Efficacy)
2.4 ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม (Activity-Related Affect)
2.5 อิทธิพลระหว่างบุคคล (Interpersonal Influences)
2.6 อิทธิพลจากสถานการณ์ (Situational Infiuences)
เป็นมโนทัศน์หลักในการสร้างกลยุทธ์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้บุคคลมีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองประกอบไปด้วยมโนทัศน์ย่อยทั้งหมด 5 มโนทัศน์
3.พฤติกรรมผลลัพธ์ (Behavioral Outcome)
การเกิดพฤติกรรมผลลัพธ์ประกอบด้วย 3 อย่าง ได้แก่
3.1 ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรม (Commitment to a Plan of Actions)
เป็นกระบวนการคิดรู้ที่ประกอบด้วยความตั้งใจที่จริงจังที่จะกระทำพฤติกรรมซึ่งสอดคล้องกับเวลา บุคคล สถานที่โดยอาจทำร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการปฏิบัติพฤติกรรมและการให้แรงเสริมทางบวกในการปฎิบัติพฤติกรรม
3.2 ความจำเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่จะเกิดขึ้น (Immediate Competing Demands and Preferences)
พฤติกรรมอื่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใดก่อนที่จะเกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพตามที่วางแผนไว้และอาจทำให้บุคคลไม่สามารถปฏิบัติพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพตามที่ได้วางแผนไว้พฤติกรรมอื่นเกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลไม่สามารถควบคุมตนเอง (Self-regulation) จากความชอบ ความพอใจของตนเองและความต้องการของบุคคลอื่น
3.3 พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (Health-Promoting Behavior)
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นตัวบ่งชี้โดยตรงต่อการ ผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ประสบผลสำเร็จในผู้รับบริการพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพนั้นบางส่วนก็ได้บูรณาการเข้ากับการใช้ชีวิตประจำวันผลที่ได้ก็คือการปรับภาวะสุขภาพการเพิ่มความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
แนวทางการประยุกต์
1.การนำมาใช้ในการศึกษาพยาบาล
2.การนำมาใช้ในการวิจัยทางการพยาบาล
การนำมาใช้ในการบริหารการพยาบาล
การนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล
ทฤษฎีการพยาบาลคิง
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
พยาบาลปฏิบัติตามบทบาทและความรับผิดชอบช่วยเหลือบุคคลแต่ละคนและกลุ่มในสังคมจะได้รับการคงไว้การรักษาการมีสุขภาพที่ดี
ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและกระบวนการของชีวิตตั้งแต่เกิดจนชราภาพวัฒนธรรมของสังคมที่พยาบาลอาศัยและทำงาน
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ปี ค.ศ.1917 เสนอ "มโนทัศน์ระบบประปฏิสัมพันธ์" สร้างโดย IMogene M.King เป็นพยาบาลชาวอเมริกา
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
ระบบบุคคล (personal system)
อัตตาตัวตน ภาพลักษณ์ การเติบโตและพัฒนา เวลา อาณาบริเวณ การรับรู้
มนุษย์เป็นองค์ประกอบของชีวจิต สังคมซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
การพยาบาลเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือกลุ่มให้ถึงซึ่งการมีสุขภาพดีด้วยใช้การสังเกตความต้องการพฤติกรรมของบุคคลทั้งด้านชีวจิตสังคมการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลโดยติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพและพัฒนาระบบสังคมโดยเน้นที่สถานะบทบาทและหน้าที่ในสังคม
ระบบระหว่างบุคคล
การบรรลุเป้าหมายของการปฏิสัมพันธ์ บทบาท การมีปฏิสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ความเครียด
ระบบบุคคลเป็นคุณลักษณะที่เกิดจากการรับรู้สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทั้งภายในบุคคลและสังคม
สุขภาพเป็นภาวะที่ไม่หยุดนิ่งจะต้องมีการปรับตัวต่อภาวะเครียดทั้งภายในและภายนอก
พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ในระบบของบุคคลสัมพันธภาพส่วนบุคคลและสังคม
ระบบสังคม
ระบบสังคมทั่วไป ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ใช้บริการ ระบบบริการสุขภาพ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
; มีความสามารถที่จะตัดสินใจและควบคุมตนเองได้บุคคลมักเป็นผู้มีการรับรู้ทุกคนมีความนึกคิดมักมีความรู้สึกของตนเองมีความสามารถในการวางเป้าหมายที่จะทำสิ่งต่างๆ
สิ่งแวดล้อม
; บุคคลมีทั้งสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก บุคคลมีความสามารถในการนำพลังงานมาช่วยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อย่างต่อเนื่อง
สุขภาพ
; ความเจ็บป่วย ภาวะที่โครงสร้างร่างกายและจิตใจมีความเบี่ยงเบนและมีความขัดแย้งกันในความสัมพันธภาพของบุคคลในสังคมภาวะสุขภาพความสามารถในการปฎิบัติหน้าที่ในสังคม
พยาบาล
; เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ของพยาบาลและผู้ใช้บริการโดยทั้ง 2 ฝ่าย มีการสื่อสารรับรู้สภาพการณ์มีการตั้งเป้าหมายได้กำหนดจุดมุ่งหมายของความสำเร็จร่วมกัน
แนวทางการประยุกต์
การวางแผน
ขั้นตอนร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
แสวงหาวิธีปฏิบัติ
ยอมรับวิธีปฏิบัติร่วมกัน
การประเมินผลพยาบาล
ประเมินผลการปฏิบัติว่าสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกันหรือไม่
ช่วยกันหาวิธีขจัดปัญหา
การปฏิบัติการพยาบาล
ผู้รับบริการปฏิบัติกิจกรรมตามวิธีที่ตกลงร่วมกัน
พยาบาลมีหน้าที่ปฏิบัติบทบาทของพยาบาล
ประเมินสภาพ
ขั้นตอนการสร้างสัมพันธภาพ
มีการแลกเปลี่ยนการรับรู้ ระหว่างพยาบาลและผู้ใช้บริการ
การติดต่อสื่อสาร
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
เป็นการศึกษาทางวิจัยเชิงเปรียบเทียบเพื่อสะท้อนความเหมือนหรือความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วยทั้งในระดับบุคคลและกลุ่มและเน้นการศึกษาเพื่อค้นหาความหมายวิธีคิดปัจจัยทางสังคมและรูปแบบความสัมพันธ์กลุ่มที่มีบริบทและวัฒนธรรมที่ต่างกันรวมทั้งศึกษาถึงวิธีการที่นำไปสู่ความลงตัวและความสมบูรณ์แบบของการดูแลหรืออยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจเข้าถึงและพัฒนาร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและพยาบาล
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
เริ่มพัฒนาทฤษฎีในปี ค.ศ.1965 ผู้คิดคน Madeleine lininger เป็นปฏิบัติการการดูแลสุขภาพที่คำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความแตกต่างทางวัฒนธรรม
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
การพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่าและการปฏิบัติโดยเปรียบเทียงความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่มรวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการทางการพยาบาลแบบแผนและพฤติกรรมต่างๆของคนในเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกันเพื่อให้ความตอบสนองที่สดของกับความต้องการการดูแลเฉพาะเชื้อชาติหรือวัฒนธรรม
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
; แต่ละบุคคลย่อมมีแบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
สุขภาพ
; เป็นการผสมผสานตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาลควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
สิ่งแวดล้อม
;ได้แก่สิ่งแวดล้อมการกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคมสิ่งแวดล้อมที่เป็นเสียหลักทางวัฒนธรรมเช่นค่านิยมบรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
พยาบาล
; มุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
แนวทางการประยุกต์
สร้างความสามารถให้เผชิญและจัดการ
เสริมสร้างความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยใช้วิธีสร้างแรงจูงใจ
ฝึกให้พยาบาลมีทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรมโดยฝึกให้เกิดความรับรู้และเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง
ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้พยาบาล
ทฤษฎีการพยาบาลโอเรม
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นที่บุคคล คือ ความสามารถของบุคคลที่จะตอบสนองต่อความต้องการในการดูแล
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
Dr.Dorathea E. Orem เกิดที่ baltimore ใน Maryland เริ่มอาชีพพยาบาล ต้นปี 1930 ได้ทำงานพยาบาลทั้งในบทบาทปฏิบัติ ผู้บริหาร นักการศึกษาและที่ปรึกษา Orem ได้เสนอกรอบมโนมติการดูแลตนเอง ในปี 1959 หลังจากได้ทดลองใช้และวางหลักสูตรการศึกษาพยาบาลและปรับปรุงให้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ปี1962 ได้เขียนหนังสือ The Hope of Nursing ลงในวารสาร The Journal of Nursing Education ในปี 1955 ได้เพิ่มมิติของการดูเเลตนเองเป็นความรับผิดชอบของบุคคล กลุ่มบุคคลครอบครัวและชุมชนในภาวะปกติตามพัฒนาการของและเมื่อสุขภาพเบี่ยงเบน
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
ประกอบด้วยทฤษฎีย่อยที่เกี่ยวข้อง 3 ทฤษฎี
ทฤษฎีการดูแล (The Theory of Self-Care)
การดูเล (Self care)
ผู้ที่จะดูแล (Self care agency)
ความต้องการการดูแล (Self care requisites)
กิจกรรมทั่วไป (Universal)
กิจกรรมตามพัฒนาการ (Developmental)
กิจกรรมตามการเบี่ยงเบนสุขภาพ (Health deviation)
ความสามารถในการดุแล (Therapeutic self care demand)
ทฤษฎีระบบการพยาบาล (Theory of Nursing System
เป็นกิจกรรมหรือชุดกิจกรรมที่พยาบาลจัดหาให้เพื่อนตอบสนองความต้องการดูเเลตนเองซึ่งกำหนดผู้ป่วยเอง (Self-care agency) มี 3 ลักษณะ
การดูแลทั้งหมด (wholly compensatory)
การดูเเลบางส่วน (partial compensatory)
การให้การศึกษาและประคับประคอง (supportive-education)
2.ทฤษฎีความพร่องในการดูเเลตนเอง (The Theory of self-Care Deficit)
-เป็นแกนกลางของทฤษฎ๊ที่อธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องการให้พยาบาลและวิธีการที่บุคคลจะรับการพยาบาลดพื่อการดูแลตนเอง
-ความพร่องในการดูแลตนเองเกิดจากบุคคลไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการดูเเลตนเอง จึงจำเป้นต้องขอความช่วยเหลือจากการพยาบาลในด้านใดด้านหนึ่ง
-ความช่วยเหลือของพยาบาล มี 5 ลักษณะ คือ กระทำให้ แนะแนว สอน สนับสนุนและจัดสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมความสามารถตอบสนองความต้องการขณะนั้น หรือในอนาคต
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
สิ่งแวดล้อม
; บุคคลกับสิ่งเเเวดล้อมไม่สามารถแยกออกจากกันได้ มีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ประกอบด้วย
-ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
-องค์ประกอบและสถานการณ์ของสิ่งเเวดล้อม
-สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา
บุคคล
; 1.มีศักยภาพในการเรียนและพัฒนา สามารถศึกษาหาความรู้ร่วมกับกิจกรรมที่มีเป้าหมาย แปลประสบการณ์และปฏิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดกิจกรรม
บางครั้งคนอาจขาดความสามารถเรียนรุ้เเละปฏิบัติเพื่อการดูเเลก็ต้องได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
การพยาบาล
; เป็นบริการที่จัดให้บุคคลซึ่งต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดความจำกัดในการดูเเลตนเอง โดยการใช้ศิลปะการพยาบาล ด้วยความรอบคอบโดยนำความรู้และทักษะด้านเทคนิคปฏิบัติมาใช้ให้สอดคล้องกับบทบาท
สุขภาพ
; เป็นสภาพการทำงานร่วมกันในโครงสร้างและหน้าที่ของร่างกาย เป็นสภาพที่กลมกลืนในส่วนกายภาพ จิตใจ สังคม และระหว่างบุคคล
แนวทางการประยุกต์
การดูแลตามพัฒนาการ
-การส่งเสริมสนับสนุน กระบวนการชีวิตและการพัฒนาวุฒิภาวะในแต่ละช่วงวัยพัฒนาการ
-การป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากปัญหาทางสังคม
การดูแลตนเองตามการเบี่ยงเบนของสุขภาพ
-การแสวงหาความรู้และแนวทางการรักษาโรคหรือปัญหาสุขภาพ
-การรับรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย
-การยอมรับในความเจ็บป่วยในโรคนั้นๆความสามารถดำรงชีวิตตามสภาพของข้อจำกัดของโรคและการรักษานั้นๆ
การดูแลตนเองทั่วไป
-อากาศ อาหาร น้ำ
-การขับถ่าย
-การส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้บุคคลสามารถทำหน้าที่ หรือดำรงฃีวิตได้อย่างผาสุก
ทฤษฎีการพยาบาลรอย
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
กระบวนการพยาบาลตามแบบจำลองการปรับตัวของรอย
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
sister Collista Roy จบการศึกษาปริญญาตรีทางการพยาบาล ปี 1963 เริ่มชีวิตพยาบาลหลังจบการศึกษาที่ วิทยาลัยเมานท์ เซนต์แมรี่ เมืองลอสเเองเจลิส ในแผนกเด็ก จบการศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกทางสังคมศาสตร์ในปี 1966 และ 1977 รอยได้พัฒนาแบบจำลองการปรับตัวขณะเรียนปริญญาโท ปี 1964 โดยรอยมีความเชือ่ว่า เมื่อบุคคลเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต จะมีการปรบตัวได้ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนเเรงของสิ่งที่มากระทบและความสามารถของบุคคลในการปรับตัว
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
การพยาบาล
;เป็นการส่งเสริมการปรับตัว 4 ด้านของบุคคลเพื่อให้มีสุขภาพดีสูงสุดคือความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขประกอบด้วย 6 ขั้นตอน
สิ่งแวดล้อม
; เป็นทุกสภาวะการณ์ เหตุการณ์และปัจจัยต่างๆที่อยู่ล้อมรอบบุคคลและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล
บุคคล
; เป็นระบบการปรับตัวแบบองค์รวม เป็นระบบเปิด ประกอบด้วย Input,Output,Control process ซึ่งส่วนต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบบุคคลมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย
สุขภาพ
; สะท้อนการปรับตัวความสำเร็จในการปรับตัวจะส่งเสริมให้บุคคลมีความมั่นคงในชีวิตที่บ่งบอกถึงการมีชีวิตอยู่รอดการเจริญเติบโตการสืบทอดพันธุ์และการเอาชนะอุปสรรคต่างๆของบุคคล
แนวทางการประยุกต์
ด้านอัตมโนทัศน์
ความรู้สึกต่อตนเองทั้งรูปร่าง หน้าตา ความรู้สึกต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย บุคคลรอบข้างมีปฏิกิริยาต่อผู้ป่วยความเชื่อมั่นในตนเอง จุดเด่นของตนเอ งสิ่งที่ภูมิใจในตนเองมากที่สุด มีปมด้อย การเจ็บป่วยครั้งนี้มีผลกระทบต่อความวิตกกังวลการเห็นคุณค่าของตนเอง
ด้านความสัมพันธ์และพึ่งพาซึ่งกันและกัน
การแสวงหาความช่วยเหลือความรักและความอบอุ่น
บุคคลสำคัญ/ผู้ที่มีความหมายต่อชีวิตมากที่สุด
ระบบเกื้อหนุน/สิ่งที่มีความผูกพันกับชีวิตเครือญาต เพื่อนฝูงชมรม สมาคม ศาสนาความรู้สึกต่อการเข้ารับการรักษาพยาบาล
ด้านร่างกาย
การออกกำลังกาย และการพักผ่อน ภาวะโภชนาการ การขับถ่ายสารน้ำและอีเล็กโทรไลต์ ออกซิเจน และการไหลเวียนโลหิตอุณหภูมิร่างกาย ความรู้สึก และประสาทสัมผัส ต่อมไร้ท่อ ผิวหนัง
ด้านบทบาทหน้าที่
บทบาทในครอบครัว
-บทบาท ความรับผิดชอบต่อครอบครัวการเจ็บป่วยครั้งนี้กระทบต่อหน้าที่การงานเศรษฐกิจสัมพันธภาพของสมาชิกครอบครัวบทบาทการเป็นผู้ชาย
-ความรู้สึกต่อกฎระเบียน การรักษาพยาบาลคำแนะนำในการดูแลจากแพทย์พยาบาล และความรู้เกี่ยวกับโรค
ทฤษฎีการพยาบาลไนติงเกล
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นสิ่งเเวดล้อมของผู้ป่วยเป็นสำคัญการพยาบาลจะเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วยเพื่อให้ธรรมชาติมีส่วนให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ฟลอเรนซ์ไนติงเกล เกิด 12 พ.ค. 1820 ที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เริ่มชีวิตการเป็นพยาบาลในสงครามโครเมียร์ ที่เมืองไคช์เวิร์ธ ประเทศเยอรมัน ปี1850-1856 เมื่อสงครามยุติจึงกลับประเทศอังกฤษ ทำงานโรงพยาบาลเซนต์โทมัส (St.Thomus) ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และเปิดเป็นโรงเรียนพยาบาลไนติงเกลมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ใฃ้ฃีวิตในการฃ่วยกิจการของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องและยาวนานนับตั้งแต่ค.ศ.1860 จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 90 ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1910
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
เน้นสิ่งเเวดล้อมที่เป็นสถานการณ์และแรงผลักภายนอก ซึ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตและพัฒนาการของบุคคล และการจัดหาสิ่งเเวดล้อมเชิงคุณภาพให้บุคคลเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐา่นและส่งเสริมให้เกิดการฟื้นหาย โดยมี
องค์ประกอบ 5 ประการ ที่ช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ คือ
1.มีการระบายอากาศที่ดี
2.แสงสว่างเพียงพอ
3.ความอบอุ่นเพียงพอ
4.การควบคุมเสียง
5.การควบคุมสิ่งขับถ่ายออกจากร่างกาย
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล ; ผู้ป่วยที่มารับการปฏิบัติรักษาพยาบาลด้วยสิ่งแวดล้มที่เหมาะสมกับบุคคล ทำให้มีศักยภาพในการซ่อแซมสุขภาพและสามารถฟื้นคืนสภาพได้
สิ่งเเวดล้อม ; เป็นสถานการร์และแรงผลักภายนอกที่มีผลโดยตรงต่อชีวิตและพัฒนาการของบุคคล
สุขภาพ ; เป็นความสามารถดำรงภาวะสุขภาพดีด้วย พลังอำนาจของบุคคล
การพยาบาล ; เป็นการจัดสิ่งเเวดล้อมที่ดีที่สุดเอื้ออำนวยต่อกระบวนการหายจากความเจ็บป่วย
แนวทางการประยุกต์
การวางแผนการพยาบาลจัดการกับสิ่งแวดล้อมทั้งทางกาย จิตใจและสังคม
การประเมินสุขภาพอนามัยของบุคคลสังเกตสิ่งเเวดล้อมของผู้ป่วยและสืบค้นหาความสัมพันธ์หรือผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพของผู้ป่วย
การวินิจฉัยการพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูลสังเกตสิ่งแวดล้อมและบุคคลจะทำให้สามารถเห็นกิจกรรมการพยาบาลได้
การปฎิบัติการพยาบาลจัดการกับสิ่งแวดล้อมและร่วมมือกันกับแพทย์เพื่อส่งเสริมสุขภาพ
ประเมินการพยาบาลประเมินสภาพการณ์ที่เป็นจริงปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพการณ์
แนวคิดการพยาบาลแบบต่อเนื่อง
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
การวางแผนจำหน่าย (Discharge plan)
โดยใช้ หลัก D METHOD
D : Diagnosis ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ถึงสาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
E : Environment /Equipment /Economic /
Environment การจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
Equipment การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจสิทธิประโยชน์ต่างๆ
Economic อุปกรณ์ที่ติดตัวผู้ป่วย เช่น สายให้อาหารทางจมูกสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
T : Treatment ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษา เช่น การดูดเสมหะ รวมถึงการเฝ้าสังเกตอาการตนเองและแจ้งให้พยาบาลทราบ
H : Health การส่งเสริมฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
O : Out patient การมาตรวจตามนัดการติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้านในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉินตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อ'
D : Diet การเลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรคหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
M : Medicine แนะนำการใช้ยาที่ตนเองได้รับอย่างละเอียด สรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยาตลอดจนการสังเกตภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งข้อห้ามการใช้ยา
1.การรับส่ง (Referral)
ส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล
รักษาเฉพาะทาง
ความไม่พร้อมของสถานพยาบาล
ผู้ป่วยร้องขอ
การส่งต่อภายนอก
ส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยงานสุขภาพอื่นเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง
การส่งต่อภายใน
ขอย้ายภายในโรงพยาบาลระหว่างแผนก
การขอคำปรึกษา
จากสถานพยาบาลสู่ชุมชน
ผู้ป่วยต้องใช้อุปกรณ์การแพทย์ต่อที่บ้าน
ปัญหาสุขภาพซับซ้อน
การรับบริการสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care)
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
เป็นกระบวนการที่เตรียมความพร้อมของผู้ป่วย จากระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่งของการดูแลเป็นกระบวนการที่ช่วยผู้ป่วยและคนให้ได้รับการเตรียมตัวออกจากการดูแลของแพทย์และทีมสุขภาพไปสู่การดูแลตนเองที่บ้าน
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
ผู้ป่วยและทีมงานต้องทำงานร่วมกันโดยเฉพาะการตัดสินใจในแนวทางการรักษาและดูแลตนเองที่บ้าน
การวางแผนการดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องควรทำอย่างเป็นทางการ ทุกครั้งที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
เน้นการทำงานแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
การวางแผนดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องเน้นการดูแลแบบองค์รวมและมีการสื่อสารระหว่างทีมงานที่ชัดเจนเพื่อคุณภาพบริการ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
สิ่งแวดล้อม
; การจัดสิ่งเเวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย เตรียมความพร้อมในการดูแลอุปกรร์ที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วย
สุขภาพ
; บอกถึงปัญหาและความต้องการการดูแล พัฒนาศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วย ทราบแหล่งประโยชน์และแหล่งช่วยเหลือผู้ป่วย
บุคคล
; วาง plan discharge ล่วงหน้า ให้สิทธิผู้ป่วย ญาติในการตัดสินใจ ร่วมวางแผนการดูแลร่วมกับสหสาขาวิฃาฃีพ
การพยาบาล
; ประเมินปัญหาและความต้องกา่รของผู้ป่วยและครอบครัว ประเมินความสามารถของญาติ ในการดูแลผู้ป่วย ประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรทุกฝ่ายทั้งในและนอกโรงพยาบาล
แนวทางการประยุกต์
ประเมินความสามารถของญาติในการดูแลผู้ป่วย
ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัว
ประสานความร่วมมือระหว่างบุคคลากรที่ฝ่ายทั้งในและนอกโรงพยาบาล
เตรียมแผนการสอนระดับบุคคลและครอบครัว
รวมการประชุม Discharge planning และ Team meeting
แนวคิดการพยาบาลแบบเอื้ออาทร
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
การพยาบาลเป็นวิชาชีพที่ให้การดูแลการรักษาไว้ซึ่งค่านิยมนี้มีผลต่อพัฒนาความมีอารยธรรมของมวลมนุษย์ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของวิชาชีพต่อสังคม
ค่านิยมเกี่ยวกับการดูแลของพยาบาลถูกบดบังไว้เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์เพิ่มขึ้น ค่านิยม/อุดมคติการดูแลที่เน้นความเป็นมนุษย์จึงอยู่ในภาวะวิกฤต
มนุษย์ต้องการความรักและการดูแลซึ่งกันและกันซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตแต่ก็มักละเลยที่จะประพฤติปฏิบัติต่อกันจึงจำเป็นต้องส่งเสริมให้มีมากขึ้นเพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างมีอารยธรรม
การดูแลมนุษย์ทำได้โดยการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันเท่านั้นจึงเป็นการสอนให้ค้นพบความเป็นมนุษย์
การดูแลและความรักเป็นพลังสากล
การดูแลเชิงมนุษย์นิยมไม่ว่ารายบุคคลหรือกลุ่มบุคคลได้รับความสนใจจากระบบบริการสุขภาพน้อยลง
ประโยชน์ของวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมโดยรวมอยู่ที่การยึดมั่นในอุดมการณ์การดูแลเชิงมนุษย์สนิยมทางด้านทฤษฎีการปฏิบัติ และการวิจัย
การดูแลเป็นแกนกลางของการพยาบาลและเป็นจุดเน้นในการปฎิบัติการพยาบาล
การพยาบาลต้องยึดถือการดูแลความเป็นมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพดีและการเจ็บป่วย
ก่อนให้การดูแลบุคคลอื่นเราต้องตั้งเจตนาดูแลตนเองด้วยความสุภาพอ่อนโยนและรักษาศักดิ์ศรีของตนเองเราจึงจะสามารถเคารพและให้การดูแลผู้อื่นด้วยความสุภาพอ่อนโยนและเคารพในศักดิ์ศรีของผู้อื่น
การอนุรักษ์ไว้และการศึกษาเรื่องการดูแลมนุษย์ให้มีความก้าวหน้าเป็นประเด็นสำคัญของวิชาชีพการพยาบาลทั้งในปัจจุบันและอนาคต
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ดร.จีน วัทสัน (Jean Watson) พัฒนาทฤษฎีขึ้นในช่วงค.ศ.1975-1979
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
เป้าหมายของการพยาบาลตามทฤษฎีการดูแลมนุษย์คือให้บุคคลมีภาวะดุลยภาพของกาย จิต และจิตวิญญาณซึ่งก่อให้เกิดการเรียนรู้การเห็นคุณค่าและการดูแลเยียวยาตนเอง การดูแลตามแนวคิดของวัทสันเป็นอุดมคติหรือเป็นข้อกำหนดทางศีลธรรมเพื่อดำรงไว้ซึ่งคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ กระบวนการดูแลเกิดขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้รับบริการ ซึ่งต่างก็เป็นบุคคลองค์รวมของกาย จิตใจ จิตวิญญาณที่มีประสบการณ์ชีวิตประกอบกันเป็นสนามปรากฏการณ์เฉพาะที่บุคคลทั้งสองเข้าถึงจิตใจกันมีการรับรู้ตรงกันในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุดในสถานการณ์นั้นเพื่อตอบสนองความต้องการทางสุขภาพของผู้รับบริการจึงเป็นการทำงานร่วมกันอย่างเสมอภาค
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
สุขภาพ
; เป็นภาวะที่มีดุลยภาพและมีความกลมกลืนระหว่างจิตใจร่างกายและจิตวิญญาณหรือมีความสดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างตัวตนตามที่รับรู้และตัวตนตามที่ประสบจริง (Illness)ส่วนการเจ็บป่วย เป็นภาวะที่ไม่มีดุลยภาพของจิตใจร่างกายและจิตวิญญาณที่ไม่มีความสอดคล้องระหว่างตัวตนตามที่รับรู้และตัวตนตามที่ประสบจริงซึ่งความไม่กลม กลืนนี้ทำให้เกิดโรค (Disease)
การพยาบาล
; เป็นกระบวนการดูแลที่เข้าถึงจิตใจและความรู้สึกของบุคคล (Transpersonal caring)ในการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การเยียวยาการเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บุคคลเพิ่มดุลยภาพในตนเองเกิดความรู้ในตนเอง เคารพนับถือตนเองดูแลเยียวยาตนเองเกิดความประจักษ์ใน ความหมายของสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต
บุคคล
; เป็นกระบวนการดูแลที่เข้าถึงจิตใจและความรู้สึกของบุคคล (Transpersonal caring)ในการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค การเยียวยาการเจ็บป่วยและการฟื้นฟูสุขภาพ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บุคคลเพิ่มดุลยภาพในตนเองเกิดความรู้ในตนเอง เคารพนับถือตนเองดูแลเยียวยาตนเองเกิดความประจักษ์ใน ความหมายของสภาวะต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต
สิ่งแวดล้อม
; เป็นสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพสังคมวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องสิ่งแวดล้อมเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการรับรู้และพัฒนาของบุคคลที่อาศัยอยู่ในการดูแลซึ่งกันและกันระหว่างบุคคล ค่านิยมของสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมให้การดูแลเกิดขึ้น
แนวทางการประยุกต์
ชั้นวางแผนการพยาบาล(Nursing plan)
ชั้นปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing Diagnosis)
ชั้นประเมินผล (Evaluation)
ชั้นประเมินสภาพ (Assessment)
ความต้องการด้านกายภาพและชีวภาพ (Biophysical needs)
ความต้องการด้านกายและจิตใจ (Psycho-social needs)
ความต้องการการพัฒนาภายในตน (Intrapersonal needs)
แนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม
ข้อตกลงเบื้องต้น/จุดเน้นของทฤษฎี
จุดเน้นประเด็นพื้นฐาน 6 ประการในการดุแลผู้ป่วยแบบองค์รวม
ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก
ทางเลือกอื่นในการดูแลสุขภาพ
สหวิชาชีพทำงานร่วมกัน
การดูแลคนไม่ใช่โรค
การดูแลอย่างต่อเนื่อง
6.สนับสนุนการดูแลตนเอง
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
แนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวมเป็นปรัชญาพื้นฐานด้าน
สังคมศาสตร์แลนุษย์ศาสตร์ที่มีความสำคัญในการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์
องค์รวมได้ถูกกล่าวถึงทางด้านสุขภาะตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
ประกอบด้วย 2 แนวคิดหลัก คือ
แนวคิดศักยภาพของมนุษย์
แนวคิดสุขภาพแบบองค์รวม
1.ความสมดุล : การดูแลสุขภาพบุคคลให้มีความสมดุลย์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมทั้งความสามารถในการปฎิบัติหน้าที่ตามความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคมและสิ่งแวดล้อมมองการเจ็บป่วยเป็นโอกาส ที่ช่วยให้คนคนนั้นมีการพัฒนาเจริญงอกงาม
ความกลมกลืน : เป็นความกลมกลืนของตนเองในแต่ละมิติ กับบริบทภายนอก
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน :
-เน้นที่ตัวบุคคลไม่ใช่ลูก โดยคนเป็นภาพรวมไม่ใช่การนำเอาส่วนต่างๆมาประกอบ
-ผลกระทบต่อคนนั้นจะกระทบต่อคนโดยส่วนรวมไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
สุขภาพ
; ฝึกทักษะการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัดกับผุ้ป่วยเพื่อสร้างศรัทธาของผุ้ป่วย จะได้มีส่วนช่วยให้กระบวนการฟื้นหายจากการเจ็บป่วย
สิ่งแวดล้อม
; สร้างสภาพสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยหรือผู้มาใช้บริการ
การพยาบาล
; ประคับประคอง สนับสนุนและแก้ไขสภาพเเวดล้อมทางด้านกายภาพ จิตสังคมและจิตวิญญาณ
บุคคล
; ผู้ป่วยหรือผู้มาใช้บริการมีส่วนร่วมในการดูเเลสุขภาพตัวเอง
แนวทางการประยุกต์
ตระหนักถึงคนในลักษณะองรวม ที่ไม่สามารถแยกกายจิต และจิตวิญญาณออกจากกันได้
สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง
ฝึกทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัดกับผู้ป่วยเพื่อสร้างศรัทธาของผู้ป่วย จะมีส่วนช่วยให้กระบวนการหรือฟื้นหายจากความเจ็บป่วยหรือเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
พยาบาลจะต้องสามารถให้ข้อมูลและความรู้ต่างๆกับผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการและประชาชนได้
เสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการและครอบครัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง
สนับสนุนกระบวนการฟื้นหายและการเจริญพัฒนาของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ โดยการดูแลเอาใจใส่อย่างเอื้ออาทร 8. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้วิธีพื้นบ้านหรือวิธีการทางอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลบำบัดและการฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสม
ระบบการปรับตัว
จุดมุ่งหมายการปรับตัว
สุขภาพ
สิ่งแวดล้อม
นศพต.ศศิธร สุขศรีงาม เลขที่ 59