Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Diabetic Ketoacidosis (DKA) - Coggle Diagram
Diabetic Ketoacidosis (DKA)
พยาธิสรีรวิทยา
การขาดฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานหรือสร้างเนื้อเยื่อได้ ร่างกายจึงเปลี่ยนไขมันในร่างกายไปเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ที่ตับเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานแทน ซึ่งในที่สุดตับจะเปลี่ยนกรดไขมันอิสระเป็นสารคีโตน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ดังนั้น จึงเกิดภาวะเป็นกรดขึ้นในร่างกาย (metabolic acidosis) การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อภาวะเครียด ได้แก่ กลูคากอน โกร๊ทฮอร์โมน คอร์ติซอล และแคติโคลามีน ทำให้มีการสร้างกลูโคสขึ้นใหม่ การใช้กลูโคสที่เนื้อเยื่อส่วนปลายลดลง ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น และกลูคากอนจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างสารคีโตน
อาการและอาการแสดง
ปวดท้อง คลื่นไส้
อาเจียน
หายใจหอบลึก
ความดันโลหิตต่ำ
ชีจรเต้นเบาและเร็ว
ช็อก หมดสติ
หายใจมีกลิ่น acetone
การตรวจเพื่อวินิจฉัย
ตรวจค่า blood gas
ตรวจปัสสาวะพบ ketone และน้ำตาล
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
ให้ยา Metaforminn 2*3 oral bid pc
ให้ยา Mixtard 70/30 10 U SC เช้า-เย็น
On ET tube with bird's respirator
การให้อินซูลินทางหลอดเลือดดำ
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การติดตามและประเมินอาการ
การพยาบาล
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อบริเวณผิวหนังที่ให้สารน้ำ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและทางเดินหายใจ โดยให้การพยาบาลอย่างถูกเทคนิคและปราศจากเชื้อ
สังเกตและประเมินอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ตรวจวัดสัญญาณชีพและประเมิน
ระดับความรู้สึกตัว บันทึกจำนวนสารน้ำเข้าและออกจากร่างกาย ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ห้การบำบัดตามแผนการรักษา ได้แก่ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ การให้อินซูลิน
การให้ยาต่าง ๆ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งในกรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และช่วยให้สมองและเนื้อเยื่อได้รับ
ออกซิเจนอย่างเพียงพอโดยให้ออกซิเจน 3 – 5 ลิตรต่อนาที
ดูแลความสะอาดของร่างกาย ปาก ฟัน สิ่งแวดล้อม และความสุขสบายอื่น ๆ เนื่องจากผู้ป่วย
อ่อนเพลีย
ประเมินความรู้ในการดูแลตนเอง และให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการดูแลตนเองและให้ญาติมี
ส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
ตรวจและบันทึกระดับน้ำตาลในเลือดตามแผนการรักษา เพื่อนำมาประเมินภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ดูแลให้ได้รับอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน และแนะนำการควบคุมอาหารแก่ผู้ป่วยและญาติ
เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมอาหาร
ข้อวินิจฉัย
มีภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากร่างกายมีภาวะ ketoacidosis
มีภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ เนื่องจากมีระดับสารน้ำตาลและสาร ketone ในเลือดสูง
มีโอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติเนื่องจากขาด อินซูลิน หรือได้รับ อินซูลินมากเกิน