Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10การพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต (Terminal stage), นางสาวนิภาพร…
บทที่ 10การพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต (Terminal stage)
แนวคิดการพยาบาลผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต
การแจ้งข่าวร้าย (Breaking bad news)หมายถึง กระบวนการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแจ้งข่าวสารหรือข้อมูลที่เลวร้าย
แนวปฏิบัติในการแจ้งข่าวร้าย บัคแมนได้เสนอแนวทางการแจ้งข่าวร้ายไว้ 6 ขั้นตอน “SPIKES” ได้แก่
1) เตรียมความพร้อม
2) ประเมินว่าผู้ป่วยทราบการเจ็บป่วยของตนมากน้อยเพียงใด
3) ประเมินว่าผู้ป่วยต้องการทราบข้อมูลอะไรบ้าง มากน้อยเพียงใด
4) ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย
5) ตอบสนองต่อความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างเห็นอกเห็นใจ
6) สรุปและวางแผน
วิธีการประเมินความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองของผู้ป่วยโดยใช้ Palliative Performance Scale (PPS)
ประโยชน์ของ PPSคือ ใช้ติดตามผลการรักษาประเมินภาระงานของผู้ดูแลผู้ป่วย เช่น ผู้ป่วยที่มีคะแนน 0-40% หมายถึงว่าผู้ป่วยจะต้องการการดูแลทางด้านการพยาบาลมากขึ้นและญาติผู้ป่วยมักจะต้องการการดูแลทางจิตใจมากขึ้น
การพยาบาลเพื่อสนองความต้องการของผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต
ด้านจิตใจและการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยสิ่งที่คนใกล้ตายกลัวที่สุด คือ การถูกทอดทิ้ง การอยู่โดดเดี่ยว สิ่งที่คนใกล้ตายต้องการมากที่สุด
พยาบาลจึงต้องดูแลให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองอย่างมีคุณค่า และรู้สึกปลอดภัยโดยให้การพยาบาลด้วยความเข้าใจ ยอมรับนับถือผู้ป่วย เต็มใจในการดูแลช่วยเหลือ ประคับประคอง เพื่อป้องกันความรู้สึกโดดเดี่ยว
ด้านจิตวิญญาณมีความเชื่อว่าขณะที่ตายเป็นจุดสําคัญผู้ตาย ต้องมีจิตใจที่ดี คือ มีสติ หมายถึงจิตใจไม่ฟันเฟือน เศร้าหมอง ขุ่นมัว มีจิตที่ดีงาม ผ่องใส เบิกบาน นึกถึงแต่สิ่งที่ดี จึงมักให้ผู้ป่วยสวดมนต์ทําให้จิตคิดเกี่ยวกับเรื่องบุญกุศล พระรัตนตรัย หรือเรื่องที่ทําความดี ความรู้นี้จะช่วยให้พยาบาลให้การดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยทางด้านจิตวิญญาณอย่างถูกวิธีและเหมาะสม
ด้านร่างกาย พยาบาลควรดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการพยาบาลที่ไม่จําเป็น ไม่ทําให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเผชิญต่อความตายตามลําพัง แต่มีพยาบาลและเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพคอยดูแลช่วยเหลือจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
อาการแสดงของผู้ป่วยระยะสุดท้ายใกล้ตาย
สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิสูงกว่าปกติเล็กน้อย ชีพจรเต้นช้าลงและเบา หายใจตื้นไม่สม่ําเสมอหายใจหยุดเป็นช่วงๆ
การไหลเวียนเลือดลดลง ผิวหนังจะเย็นชื้น เขียวคล้ํา มือเท้าเย็น หน้าซีด ปัสสาวะออกน้อย สีเข้ม
การตึงตัวของกล้ามเนื้อเสียไป กล้ามเนื้อใบหน้าจะหย่อน ขากรรไกรหย่อน พูดลําบาก กลืนลําบาก มีเสียงสําลัก รีเฟล็กซ์ต่างๆ ลดลง หรือไม่มีเลย ม่านตาขยาย
ความรู้สึกช้าลง กระสับกระส่าย กระวนกระวาย ประสาทหลอน
บางรายอาจมีอาการสับสน คิดถึงคนตายและอยากกลับบ้าน
ผู้ป่วยระยะท้าย (End of Life or Terminal illness)
หมายถึง ผู้ป่วยที่แพทย์ให้การวินิจฉัยว่า เป็นโรคที่ไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ และไม่มีโอกาสที่จะใช้เวลาที่เหลือในชีวิตของตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นได้อีก
การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในระยะท้ายของชีวิต (palliative care)
หมายถึงการบริบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง หรือการบริบาลเพื่อบรรเทาอาการ หรือวิธีการดูแลผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด มีแนวโน้มที่ทรุดลง หรือเสียชีวิตจากตัวโรคในอนาคต หรือป่วยอยู่ในระยะท้ายของชีวิตเน้นการดูแลแบบองค์รวม ครอบคลุมมิติกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณของทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล
นางสาวนิภาพร จรบุรมย์
รหัส 116212201017-3