Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กลุ่ม8 การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภาคอีสาน…
กลุ่ม8 การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมในภาคอีสาน อำเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี
การดูแลสุขภาพในสภาวะสุขภาพดี
กลักษณะครอบครัวไทยที่มีผู้สูงอายุมากขึ้น มีลักษณะของครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่กับลูกหลานเลี้ยงดูลูกหลาน เนื่องจากพ่อแม่ไปทำงานต่างถิ่นและปัญหาที่พบประการหนึ่งคือ การมีความไม่เข้าใจจากความต่างของช่วงอายุและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดความต่างของผู้สูงอายุกับลูกหลานมากขึ้นหากการยึดเหนี่ยวในวัฒนธรรมประเพณีการอยู่ร่วมในครอบครัวไม่เข้มแข็งเพียงพอ
การดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย
การดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ
การให้ความเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิด
การดูแลด้านอารมณ์
การดูแลด้านสังคมจะมีวัฒนธรรม
“ลูกสิเต็ม” เป็นการสะท้อนถึงวัฒนธรรมที่ลูกหลานญาติพี่น้องจะมารวมตัวกันเมื่อมีญาติผู้ใหญ่เจ็บป่วย จึงมีลูกหลานเต็มแน่นบ้านเมื่อมีการเจ็บป่วย ทำให้ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยมีความสุขใจ ภาคภูมิใจ อุ่นใจว่าตนได้รับความเอาใจใส่ดูแล จึงมีกําลังใจที่จะปฏิบัติตนให้หายจากการเจ็บป่วย ในช่วงเจ็บป่วยสิ่งที่ผู้สูงอายุมีความกังวลคือกลัวว่าตนเองจะเป็นภาระให้ลูกหลาน การแสดงออกด้วยความเต็มใจเอาใจใส่จึงช่วยให้ผู้ป่วยรับรู้และสบายใจ
“ผู้สูงอายุป่วยดูแลตามอาการและให้กําลังใจ” หมายถึง การดูแลตามสภาวะการเจ็บป่วยคอยดูแลตามอาการพาไปพบแพทย์รับการรักษา นอกจากนี้ยังคำนึงถึงด้านจิตใจมีการให้กําลังใจควบคู่กันไปด้วยการให้กําลังใจสม่ำเสมอร่วมกับการดูแลอาการเจ็บป่วยเป็นการดูแลที่เป็นองค์รวม ลดความทุกข์ของผู้ป่วยได้ในวัฒนธรรมประเพณีอีสานผู้สูงอายุได้รับการยกย่องและลูกหลานแสดงความกตัญญูกตเวทีโดยการให้การดูแล
การดูแลสุขภาพในระยะสุดท้าย
การดูแลตามความประสงค์ของผู้สูงอายุ “ระยะสุดท้ายไม่มีคะลำ” หมายถึง ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหากประสงค์ต้องการรับประทานอาหารชนิดใด สามารถเลือกรับประทานได้ โดยไม่มีข้อห้ามใดๆ เพราะโดยทั่วไปผู้ที่ป่วยระยะสุดท้ายจะเบื่ออาหาร การให้ได้เลือกรับประทานอาหารที่ชอบจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุข
แสดงความรู้สึกที่ดีต่อผู้สูงอายุด้วยความเคารพรัก “กิจกรรมขอขมา” หมายถึง กิจกรรมที่เป็นโอกาสให้ลูกหลาน ญาติ พี่น้องได้แสดงความรักต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย สร้างความรักความอบอุ่นใจให้ผู้ป่วย และสร้างกําลังใจ เป็นโอกาสแสดงความรู้สึกดีดีต่อกัน
การดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด “อาการมาก ซอมใจลูกหลานต้องมาตุ้มมาโฮม” หมายถึง การมาเยี่ยมและอยู่เฝ้าผู้ป่วยร่วมกันของญาติพี่น้อง ลูกหลานที่ใกล้ชิด เรียกว่ามาตุ้ม มาโฮม โดยในวัฒนธรรมอีสาน การตุ้มโฮม เป็นการมาร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง หากมีช่วงเวลายืดยาวออกไป ลูกหลานจะผลัดเปลี่ยนกันมาเฝ้าและเป็นการปลูกฝังให้ลูกหลานแสดงกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงวัยในครอบครัว
อาหารอีสานเพื่อการดูแลเมื่อเวลาเจ็บป่วย
อาหารสำหรับผู้สูงอายุเวลาเจ็บป่วย พบว่ายังไม่มีข้อมูลที่เป็นอาหารเฉพาะสำหรับการดูแล แต่จะเน้นการหาและนำอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้รับประทาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพื้นบ้านที่คุ้นเคยหรือเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย รสไม่จัด สำหรับข้าวแม้ยามเจ็บป่วยข้าวเหนียวยังเป็นคําตอบสำหรับผู้สูงอายุไทยอีสาน ข้าวสวยหรือข้าวต้มจะไม่นิยมเลือกรับประทาน
คติความเชื่อเรื่องผี
ผี ในทัศนคติของชาวบ้านเป็นผีที่มีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน ผีเป็นผู้ให้ความหมายหรืออาจกล่าวได้ว่า ผีเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน ผีเป็นสิ่งที่รู้สึกสัมผัสได้ อาจจะไม่ใช่ด้วยระบบประสาททั้งห้า หากมันเกิดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นและศรัทธา ที่ทำให้เกิดดุลยภาพในสังคมระดับชาวบ้าน แม้แต่ในราชสำนักไทยแต่เดิมพิธีกรรมต่างๆ ก็มีความเชื่อเรื่องผีเข้าไปปะปนอยู่มาก ความเชื่อเรื่องภูติผีนั้นฝังแน่นอยู่กับคตินิยมของคนไทยตั้งแต่สมัยอดีต
คติความเชื่อโบราณ
อย่าเคาะจานข้าว เวลารับประทานอาหาร โบราณท่านถือว่าห้ามเคาะจานข้าว เพราะจะเป็นการเรียนวิญญาณที่พเนจร เมื่อได้ยินเสียงเราเคาะจานก็จะพากันมาแย่งกินข้าว กินอาหารคาวหวาน ดั่งเช่นเวลางานศพจะมีการจัดชุดสำหรับพวกผีไม่มีญาติและทำพิธีเรียกมากิน โดยใช้การเคาะถ้วยชาม ดังนั้นผู้ใหญ่จึงถือมากห้ามลูกหลานเคาะจานชามเวลากินข้าว
กลางคืนห้ามกวาดบ้าน การกวาดบ้านเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากของคนไทย แทบทุกบ้านจะต้องกวาดบ้าน แต่ในอเมริกาใช้การดูดฝุ่นแทน เพราะพื้นบ้านเขานั้นปูพรม จึงไม่มีคำโบราณห้ามไว้ว่า "ห้ามดูดฝุ่นตอนกลางคืน" แต่สำหรับคนไทยนั้นโบราณถือกันมาก "การกวาดบ้านกลางคืน" เพราะการกวาดบ้านตอนกลางคืนนั้นจะ "กวาดเงินกวาดทองออกจากบ้าน" แต่จริงๆ คิดว่าคนโบราณสอนให้ลูกหลาน ระวังของมีค่าจะถูกกวาดทิ้งไป เพราะกลางคืนสมัยก่อนมืดมาก ไม่มีไฟฟ้าใช้สว่างไสวเหมือนทุกวันนี้ เพราะการกวาดบ้านกลางคืนมันไม่เหมาะสมทุกๆ ด้านโดยเฉพาะกลางคืนเป็นเวลาพักผ่อน