Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
👩⚕️หลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก และวัยรุ่น, นางสาวดวงฤทัย ใจบุญ …
👩⚕️หลักการพยาบาลผู้ป่วยเด็ก และวัยรุ่น
1)การดูแลเด็กโดยให้ครอบครัว เป็นศูนย์กลาง
(Family Centered Care)
ความหมาย
ความเคารพ (respect) ต่อบทบาทสำคัญของครอบครัว
ความเข้มแข็ง (strengths) ของครอบครัว
การสร้างพลังใจ หรือพลังอำนาจ (empowerment) ให้กับครอบครัว
ข้อมูล (information) ที่ได้จากการซื่อสาร แลกเปลี่ยน อย่างตรงไปตรงมา ครบถ้วนและปราศจากอคติ ระหว่างทีมสุขภาพและครอบครัว
ทางเลือก (choice) ในเรื่องของการรักษาพยาบาลหรือการดูแล เพื่อ
ส่งเสริมให้ครอบครัวมีบทบาทในการตัดสินใจร่วมกับบุคลากรสุขภาพ
การประสานความร่วมมือ (collaboration)
ความยืดหยุ่น (flexibility) ในเรื่องของการให้บริการ
การสนับสนุน (support) ให้ครอบครัวมีบทบาทในการดูแลเด็ก
องค์ประกอบหลัก
1)ครอบครัวสำคัญที่สุด และเป็นสิ่งที่คงที่ (constant) ในชีวิตของเด็ก ครอบครัวอยู่กับเด็กตลอดเวลา แต่บุคลากรทีมสุขภาพผู้ให้การดูแลเด็ก อาจมีการหมุนเวียนหรือ เปลี่ยนคน และระบบสุขภาพเอง
อาจเปลี่ยนแปลงไปมา
2)การเอื้ออำนวยให้เกิดบรรยากาศของความร่วมมือกันระหว่างครอบครัวกับบุคลากรทีมสุขภาพใน
ทุกระดับของการดูแลทั้งในโรงพยาบาล บ้าน และชุมชน
3)การแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนอยู่ตลอดเวลา ในลักษณะที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และ
การให้ข้อมูลนั้นต้องไม่มีอคติระหว่าง ครอบครัวกับบุคลากร ทีมสุขภาพ
4)การกำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่ตระหนักและเคารพถึงความแตกต่างภายในครอบครัวเอง และระหว่างครอบครัวในเรื่องของวัฒนธรรม และความเป็นปัจเจกบุคคล
5)ตระหนักและยอมรับความแตกต่างของแต่ละครอบครัว
6)สนับสนุนและเอื้ออำนวยให้เกิดเครือข่ายของกลุ่มช่วยเหลือ
ซึ่งกันและกันระหว่างครอบครัวกับครอบครัว
7)สร้างความมั่นใจว่าระบบบริการสุขภาพและการสนับสนุน
ช่วยเหลือระหว่างโรงพยาบาล บ้าน และชุมชน มีความยืดหยุ่น
เข้าถึงง่าย และครอบคลุม
8)ให้คุณค่าของครอบครัวในความเป็นครอบครัว และคุณค่าของเด็ก ในความเป็นเด็ก
2)เด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (Hospitalized Child)
:red_flag: สิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด
การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม
เด็กมีความจำกัดในเรื่องกลไกในการปรับตัว (Coping mechanism) ต่อความเครียด
🚑ประเภทของความเจ็บป่วย
👉ความเจ็บป่วยเฉียบพลัน
อาการเจ็บป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง เฉียบพลัน และระยะเวลาของการเจ็บป่วยค่อนข้างสั้น
👉ความเจ็บป่วยเรื้อรัง
ความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ระยะเวลา ของการเจ็บป่วยนานอย่างน้อย 3 เดือนขึ้นไป
และต้องการการรักษาใกล้ชิดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ
😷ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเด็กต่อ
การเจ็บป่วยและการอยู่โรงพยาบาลของเด็ก
1)ระดับอายุและพัฒนาการของเด็กแต่ละด้าน
2)ชนิดและความรุนแรงของความเจ็บป่วย
3)ลักษณะการเลี้ยงดูก่อนเจ็บป่วย
4)ประสบการณ์การเจ็บป่วย และการรักษาพยาบาลที่ได้รับในอดีต
5)สัมพันธภาพระหว่างบิดามารดา/ผู้ดูแล และบุคคลในครอบครัว
6)ความเชื่อเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาลของเด็ก
และบิดามารดา/ผู้ดูแล
🤕การรับรู้ความเจ็บป่วยของเด็ก
👶🏽อายุ 2 – 7 ปี
สิ่งภายนอก→การเจ็บป่วย มนต์วิเศษ
Ex․ เป็นหวัดเพราะอยู่ใกล้คนเป็นหวัด
👩🏽อายุ 7 - 12 ปี
รับรู้ว่าคน วัตถุ หรือกิริยาภายนอกตัวเด็กที่ “ไม่ดี” หรือ
“เป็นอันตราย” ต่อร่างกาย
Ex․ เป็นหวัดเนื่องจากหายใจเอาอากาศเย็นเข้าไปในร่างกาย
👨🏽อายุมากกว่า 13 ปี
รับรู้ว่าการเจ็บป่วยเกิดจากการทำหน้าที่ของอวัยวะผิดปกติ
ผลกระทบของความเจ็บป่วยและการอยู่โรงพยาบาล
1)ผลกระทบต่อตัวเด็ก 🧑🏼👧🏼
ด้านร่างกาย มีการใช้พลังงานมากเมื่อเกิดความเจ็บป่วย
ด้านพัฒนาการ ความเจ็บป่วยส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้าทั้งทางตรงและทางอ้อม
ด้านจิตใจ และอารมณ์ เด็กมักเกิดความกลัว เครียด จากกฎระเบียบของโรงพยาบาล
ทำให้ขาดความเป็นอิสระ
ด้านสังคม เด็กไม่มีสัมพันธภาพกับครอบครัว เพื่อน และชุมชนจากการเข้านอนใน
โรงพยาบาล
ผลกระทบต่อครอบครัว 🏕
ด้านร่างกาย สมาชิกที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กมักเกิดความเจ็บป่วยภายหลัง
เนื่องจากขาดการพักผ่อน รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
ด้านจิตใจและอารมณ์ เกิดความกังวล เครียด ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเด็ก
ด้านความสัมพันธ์และการดำเนินชีวิตในครอบครัว การร่วมปรึกษาหารือในการดูแลเด็กและช่วยประคับประคองซึ่งกันและกัน
ด้านพี่น้องคนอื่นๆ ความโกรธ หรืออิจฉา บิดามารดาให้ความสนใจเด็กป่วยมากกว่าตนเอง
ด้านเศรษฐกิจของครอบครัว ค่าใช้จ่ายในครอบครัวเพิ่มขึ้น
3)ผลกระทบต่อสังคม ครอบครัวและเด็ก 🏨
ขาดการติดต่อหรือการมีส่วนร่วม กับชุมชนหากเด็กต้องเข้าโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน หรือบ่อยครั้ง
2)เด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล (Hospitalized Child) ต่อ
ความวิตกกังวลจากการแยกจาก (Separation anxiety)
❓✌การรับรู้ ต่อการเจ็บป่วยและการปรับตัว ต่อการอยู่โรงพยาบาล
👶🏼วัยทารก พัฒนาความไว้วางใจ (trust)
⚠พัฒนาความไม่ได้ จะเกิดความไม่ไว้วางใจ (Mistrust)
🧑🏼วัยเตาะแตะ/วัยหัดเดิน ความเป็นตัวของตัวเอง (Autonomy)
❇การควบคุมตนเอง (Self-control) ไม่ได้รับการตอบสนอง
เด็กจะเกิดความละอายและความสงสัย (Shame & Doubt)
👱🏼♀️👱🏼♂️วัยเรียนและวัยรุ่น กลไกการปรับตัวดีกว่าเด็กวัยทารก
วัยหัดเดิน และวัยก่อนเรียน
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อการแยกจาก (Separation anxiety)
1)ระยะต่อต้าน (Protest) จะร้องไห้มองหาบิดามารดา ไม่ยอมให้คนแปลกหน้า
แตะต้องเด็กแสดงปฏิกิริยาก้าวร้าวต่อการแยกจาก
2)ระยะหมดหวัง (Despair) ไม่แสดงอาการร้องไห้ แต่มีอาการซึมเศร้า ความตื่นตัว ต่อสิ่งต่างๆลดลงไม่สนใจสิ่งแวดล้อม การรับประทานอาหาร แยกตัวจากผู้อื่น
😳Ex․ ดูดนิ้ว ปัสสาวะรดที่นอน ดูดหัวนมปลอม
3)ระยะปฏิเสธ (Denial or Detachment) แสดงทีท่าคล้ายกับปรับตัวเข้ากับสิ่ง แวดล้อมได้ ให้ความสนใจกับตนเองและแสดงอาการติดวัตถุสิ่งของ
การสูญเสียความสามารถใน การควบคุม (loss of control)
👶🏼วัยทารก การสูญเสียการควบคุม การดูแลจากบุคคลที่ไม่คุ้นเคย
👨🏼 วัยหัดเดิน เรียนรู้การควบคุมตนเองจากการเล่น มีปฏิสัมพันธ์กับ
ผู้อื่น การติดต่อสื่อสาร การถูกขัดขวาง
👩🏽วัยก่อนเรียน การจำกัดทางร่างกาย → คิดว่าตนเองไม่ดีจึงต้องถูกลงโทษ
👸🏼วัยเรียน กฎระเบียบของโรงพยาบาล การเจ็บป่วย → ความมั่นคง
ของตนเองถูกคุกคาม เกิดความเบื่อหน่าย
🤴🏼👩🏼🦰 วัยรุ่น สูญเสียการสร้างเอกลักษณ์ของตนเอง เด็กตอบสนองด้วย
⚠ การปฏิเสธ ไม่ให้ความร่วมมือ แยกตัว
การเจ็บป่วยและภาพลักษณ์ (Illness and Body image)
👨🏼วัยหัดเดิน ฝึกการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
🤴🏼วัยก่อนเรียน ความสนใจและรับรู้เกี่ยวกับความแตกต่าง ระหว่างเพศอย่าง ชัดเจน
👩🏽วัยเรียน การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมอย่างมาก
และเพื่อนมีส่วนเกี่ยวข้องในภาพลักษณ์
👩🏼🦰 วัยรุ่น การพัฒนาการทางเพศมีผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองอย่างมาก
Ex․ อ้วนมากเกินไป ผอมเกินไป ไม่สวย
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กในระยะ สุดท้าย (Death & Dying)
▶ภาวะใกล้ตาย (Dying) ภาวะที่บุคคลต้องเผชิญความตายของตนเอง และบุคคลมีความเชื่อว่าตนเองกำลังจะตาย การเจ็บป่วยทรุดลงเป็นลำดับ
▶ความตาย (Death) หมายถึงการสิ้นสุดชีวิตอย่างถาวรเป็นการยุติสภาพ การทำงานโดยสิ้นเชิงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
▶การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Palliative care) เป็นการดูแลผู้ป่วยระยะ ใกล้ตายไปจนกระทั่งตายและหลังการตาย โดยเน้นการดูแลเพื่อลดและ บรรเทาความทุกข์ทรมานและอาการอื่นๆ
แนวคิดเกี่ยวกับความตายในเด็ก
👶🏼วัยทารก ยังไม่สามารถรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการตาย เนื่องจากยัง
ไม่สามารถแยกตนเองออกจากผู้อื่นได้
👨🏼วัยหัดเดิน ความเข้าใจเรื่องการแยกจากยังไม่ชัดเจนและยังมีความฝันเฟื่อง
ยังไม่เข้าใจเรื่องการตาย
👱🏼♂️วัยก่อนเรียน ยังไม่เข้าใจอย่างสมบูรณ์เนื่องจากยังไม่เข้าใจเรื่องเวลา และเข้าใจ
ว่าความตายเป็นสิ่งที่กลับไปกลับมาได้ เด็กมักกลัวคนจะตายมากกว่าคิดว่าตนเองตาย
👱🏼♀️วัยเรียน กเข้าใจเรื่องเวลามากขึ้น มีประสบการณ์มากขึ้น ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับ
ความตายได้มากขึ้นแต่ยังไม่สมบูรณ์
❇อายุ 9-12 ปี จะมีความเข้าใจที่เป็นนามธรรมเกี่ยวกับความตายมากขึ้น เด็กจะมี
ความกลัวการสูญเสียตนเองและบุคคลอันเป็นที่รัก
👩🏼🦰👩🏼🎓วัยรุ่น เข้าใจเกี่ยวกับความตายได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ว่าความตายเป็นการสิ้นสุด
ของชีวิตเป็น สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ
ปฏิกิริยาต่อการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก
👶🏼วัยทารก ไม่มีความรู้สึกที่ชัดเจนตาอาจร้องไห้หาบุคคลใกล้ชิด
👦🏼วัยหัดเดิน แสดงออกต่อการสูญเสียในรูปของ ปฏิกิริยาต่อการแยกจาก
👨🏼👩🏼วัยก่อนเรียน แสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมถดถอย
Ex․คิดว่าตนเองทำให้บุคคลใกล้ชิดตาย
👩🏽วัยเรียน ต้องการคำปลอบโยน อาจใช้เวลากลับเข้ามาสู่
อารมณ์ปกติใน 1 ปี
👩🏼🦰👩🏼🎓วัยรุ่น จะแสดงอารมณ์โกรธต่อการสูญเสียและเสียใจ
และอาจคิดถึงอนาคตว่าตนเองจะอยู่อย่างไร
การพยาบาลเด็กระยะสุดท้าย
1)ด้านร่างกาย
บรรเทาความทุกข์ทรมาน จากอาการต่างๆที่เกิดขึ้นในวาระสุดท้ายของชีวิต
การดูแลทั่วไป การดูแลความสะอาดของร่างกาย ให้ได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอกับความต้องการ
2)ด้านจิตใจ
ลดความเครียด ความวิตกกังวลทั้งของเด็กและครอบครัว
ยอมรับพฤติกรรมต่างๆของเด็ก
3)ด้านสังคม
เด็กได้อยู่ในบรรยากาศที่อบอุ่นแวดล้อมด้วยคนใกล้ชิด
ด้านจิตวิญญาณ
พยาบาลควรทำการประเมินและบันทึกสภาพจิตใจของเด็กเกี่ยวกับความตาย และควรเปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถามเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่
การปฏิบัติในวันสุดท้ายของชีวิต
เปิดโอกาสให้บิดามารดาเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด
24 ชั่วโมง
ประเมินสัญญาณอาการของผู้ป่วยที่แสดงว่ากำลังจะตาย
Ex․นการหายใจ ชีพจร ความดันโลหิต ระดับความรู้สึกตัว
ดูแลด้านร่างกายอย่างใกล้ชิด ลดการปวดและ
ความไม่สุขสบายอื่นๆ
4)สังเกตอาการการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
5)ประคับประคองด้านจิตใจ
รับฟังความคิดเห็น ให้ข้อมูลกับผู้ปกครองตาม
ความเป็นจริง ไม่ให้ความหวังเรื่องการมีชีวิตรอด
การดูแลหลังตาย
ประเมินการปรับตัวและสภาพจิตใจของผู้ปกครองอย่างต่อเนื่อง
อยู่เป็นเพื่อน แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจแก่ผู้ปกครอง
คอยให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในเรื่องต่างๆ
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองแสดงบทบาทของตนเป็นครั้งสุดท้าย
เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองระบายความรู้สึก
แนะนำแหล่งประคับประคองจิตใจแก่ครอบครัว เช่น กลุ่มญาติ เพื่อน
นางสาวดวงฤทัย ใจบุญ
รหัสนักศึกษา 6203400086