Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 7 บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการตนเองและงานในหน้าที่, ชื่อ…
หน่วยที่ 7
บทบาทพยาบาลวิชาชีพในการบริหารจัดการตนเองและงานในหน้าที่
7.1 ภาวะผู้นำทางการพยาบาลและจริยธรรมของผู้นำ
ภาวะผู้นำ หมายถึง การกระทำที่มีอิทธิพลจูงใจให้ผู้อื่นร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อให้งานสำเร็จตาม เป้าหมาย หรือภาวะผู้นำเป็นความสามารถของบุคคลที่จะใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลอื่นยอมรับฟังเห็นคล้อยตาม และยอมปฏิบัติตนตามคำแนะนำชี้แจง รวมทั้งการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
กระบวนการภาวะผู้นำทางการพยาบาล
มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการปฏิบัติการพยาบาล
การร่วมมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ
การเปลี่ยนแปลงบทบาทตามสถานการณ์
ผู้นำควรส่งเสริมการทำงานของสมาชิก
ควบคุมการกระทบกระทั่งระหว่างสมาชิก
ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
รู้จักการใช้อำนาจบังคับและออกคำสั่งในกรณีจำเป็น
ความมีประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ
ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome)
ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers)
คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม (Quality of Group Process)
องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางการพยาบาล
การตระหนักในตนเอง
พิทักษ์สิทธิ์ ผู้นำต้องช่วยเหลือผู้อื่นให้เจริญก้าวหน้า
มีคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง คุณงามความดีของพฤติกรรมผู้นำ
กล้าหาญชาญชัย
7.2 เทคนิคการบริหารตนเองและงาน
1 การบริหารเวลา
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเวลา
การจัดระบบงาน
การให้ความสำคัญแก่เวลา
การจัดลำดับความสำคัญของงาน
การวิเคราะห์งานที่สำคัญกับงานที่เร่งด่วน
การมอบหมายงาน
การพิจารณาคุณภาพของงานและเวลาที่ใช้ในการบริหารงาน
การบริหารเวลา นับว่ามีความสำคัญมากสำหรับผู้บริหารทุกระดับ การขาดทักษะการบริหารเวลาที่ ดีมักจะเป็นสาเหตุของปัญหาการทำงาน เพราะภารกิจของผู้บริหารมีมากเกินกว่าที่จะสามารถทำทุกสิ่งทุก อย่างภายในเวลาที่มีอยู่ได้ และเวลาเป็นทรัพยากรที่เมื่อใช้ไปแล้ว ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ รวมทั้งไม่ สามารถขยายเวลาที่มีอยู่ ให้ยืดยาวออกไปได้เช่นเดียวกัน
2 การสร้างทีม
ทีม หมายถึง การทำงานในลักษณะกลุ่มที่มีสมาชิกคงที่ มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน มีการ ทำงานแบบประสานกลมกลืนและต่อเนื่องกัน
การทำงานเป็นทีม หมายถึง การประสานงานที่ดี สามารถผสมกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ ในการทำงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานร่วมกัน
คุณลักษณะของ การทำงานเป็นทีม
สมาชิกทีมมีความเชื่อใจ และไว้วางใจซึ่งกันและกัน
สมาชิกทีมทุกคนจะต้องมีความยึดมั่นผูกพันกับงาน
บทบาทและความรับผิดชอบของสมาชิกทีมแต่ละคนจะต้องชัดเจนไม่คุมเครือ
ทีมจะต้องได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและประคับประคองให้มีบรรยากาศของการทำงานเป็นทีม
มีเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน
องค์ประกอบที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
ผู้นำ ผู้บริหารหรือหัวหน้า
การสื่อสาร
โอกาส
การกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
การมีส่วนร่วม
การประชุมปรึกษาหารือ
3 การตัดสินใจ
ขั้นตอนของการตัดสินใจ(Steps in Decision Making)
กำหนดปัญหา
ค้นหาทางเลือก
การประเมินทางเลือก
ทำการตัดสินใจ
การปฏิบัติตามการตัดสินใจ
การประเมินผลลัพธ์และการจัดหาการป้อนกลับ
ประเภทการตัดสินใจ
การตัดสินใจโดยคนเพียงคนเดียว
เป็นการตัดสินใจตามการรับรู้ของตนเอง เพื่อแก้ปัญหาหรือดำเนินงานตามปกติ ในการปฏิบัติงานประจำวันบุคลากรพยาบาลต้องใช้การตัดสินใจประเภทนี้อยู่เสมอ ผลดีของการตัดสินใจโดยคนเพียงคนเดียว
คือ มีความรวดเร็ว และจะมีประสิทธิภาพสูง
การตัดสินใจโดยกลุ่มบุคคล
มีผลดี คือ ได้ข้อมูลที่หลากหลาย ประกอบการตัดสินใจ ผลการตัดสินใจเป็นที่ยอมรับและได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในองค์กรมากกว่าการตัดสินใจเพียงคนเดียว
ผลเสีย คือ เสียเวลามากเพราะต้องอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและต้องประนีประนอม หาทางเลือกในการตัดสินใจให้ได้ บางครั้งการ อภิปรายมาก บางคนผูกขาดการพูด
4.การจัดการความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง หมายถึง ความไม่เห็นด้วยในเรื่องต่าง ๆ ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กร อาจ เป็นเรื่องเล็กน้อยจนถึงเรื่องที่มีความสำคัญมาก อาจเกิดขึ้นเป็นเวลาสั้น ๆ หรือคงอยู่เป็นเดือนเป็นปีหาก เกี่ยวข้องกับงาน หรือบุคคล แสดงให้เห็นได้หลายลักษณะ เช่น การแข่งขันกัน การจ้องจับผิดกัน กล่าวโทษกัน หรือการแยกตัวไม่ร่วมมือกัน
กลยุทธ์ในการบริหารความขัดแย้ง
การหลีกเลี่ยง (Avoiding)
การปรองดอง (Accommodating)
การต่อสู้(Competing)
การรู้ร่วมมือร่วมใจ (Collaborating)
การเจรจาต่อรองหรือการประนีประนอม (Negotiating or Compromising)
5 การเจรจาต่อรอง
การใช้วิธีนี้มีความเหมาะสมเมื่อ
ทั้ง 2 ฝ่าย สัญญาร่วมกันในการบรรลุเป้าหมาย
ใช้ชั่วคราวกับปัญหาที่ซับซ้อน
เมื่อความร่วมมือ / การต่อสู้ล้มเหลว
มีเวลาจำกัด
เป้าหมายมีความสำคัญปานกลาง
7.3 การมอบหมายงานและตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล
1 การมอบหมายงาน
หลักการมอบหมายงาน
หัวหน้าทีมมอบหมายงานล่วงหน้า 1 วัน
วิเคราะห์ลักษณะงาน ให้เหมาะสมกับสมาชิกแต่ละระดับ 3.วิเคราะห์และประเมินความสามารถของสมาชิกทีม เกี่ยวกับความรู้ ทักษะ ความสามารถ
ทบทวนแนวทางการแก้ปัญหา การตัดสินใจ
ควบคุมติดตามงานที่รับผิดชอบทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน
มีความสามารถและสนับสนุนในการให้ข้อมูลย้อนกลับได้ในขณะปฏิบัติงาน
การมอบหมายงานแบบรายผู้ป่วย(Case Assignment)
ข้อดี คือ ผู้ให้การพยาบาลจะมีโอกาสดูแลผู้ป่วยที่ตนรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด และได้ศึกษาปัญหา ความต้องการของผู้ป่วยเพื่อเป็นข้อมูลในการให้การพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันท่วงที ผู้ป่วยและ ครอบครัวเกิดความรู้สึกไว้วางใจ
ข้อเสีย คือ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลจะรู้จักแต่ผู้ป่วยที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น ขาดการช่วยเหลือผู้ป่วยอื่นๆ ในหน่วยเดียวกันเมื่อจำเป็น และมีข้อจำกัดในการมอบหมายงานเพราะต้องใช้เจ้าหน้าที่พยาบาลมากจึงจะ เพียงพอกับการให้บริการแก่ผู้ป่วย
การมอบหมายงานตามหน้าที่
(Functional Assignment หรือFunctional Method)
ข้อเสีย คือ เป็นการพยาบาลที่ปฏิบัติต่อผู้ป่วยแบบแยกส่วนได้รับการดูแลจากพยาบาลแต่ละ คนโดยไม่เป็นองค์รวม มุ่งงานมากกว่ามุ่งผู้ป่วย การปฏิบัติการพยาบาลไม่ได้คำนึงถึงความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็น องค์รวมของผู้ป่วย
ข้อดีคือ พยาบาลมีโอกาสได้พัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานบางอย่างจนกลายเป็น ผู้ชำนาญการในเรื่องนั้นได้ บุคคลไม่รู้สึกสับสนในการทำงาน บุคลากรน้อยสามารถทำงานให้สำเร็จได้ ประหยัดเวลาและเครื่องมือเครื่องใช้ การตรวจสอบประเมินผลสามารถทำได้ง่ายและสะดวก
7.4 การนิเทศและการประเมินผลทางการพยาบาล
1 การนิเทศ
การนิเทศและเปลี่ยนแนวปฏิบัติจากประเพณี ดั้งเดิมที่ได้ปฏิบัติกันมาในรูปของการตรวจงานเพื่อดูว่างานที่บุคคลใต้บังคับบัญชาได้ปฏิบัติได้เสร็จ มาเป็นการ ปฏิบัติงานร่วมกันเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลนั้นผลดีและบรรลุวัตถุประสงค์
2 หลักการนิเทศการพยาบาล
เทคนิคในการนิเทศงาน
การนิเทศการพยาบาล (Supervision of Patient Care) เป็นการให้การนิเทศ ชี้แนะเกี่ยว กับการ ปฏิบัติงานการพยาบาล
การนิเทศบุคลากรทางการพยาบาล (Supervision of Nursing Personal) เป็นการนิเทศบุคคล ผู้ปฏิบัติงานการพยาบาล
คุณสมบัติผู้นิเทศ
คุณสมบัติทางบุคลิกลักษณะ
1.1 มีลักษณะเป็นผู้นำ
1.2 มีอารมณ์ขัน
1.3 มีสุขภาพดีทั้งกายและจิต คล่องแคล่ว ว่องไว
1.4 สุภาพเรียบร้อย
1.5 ซื่อสัตย์สุจริต
คุณสมบัติทางด้านวิชาการ
2.1 มีความรู้ในงานที่รับผิดชอบ
2.2 หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ
2.3 สนใจแต่ความเคลื่อนไหวทางวิชาการ
คุณสมบัติทางด้านจิตวิทยา
3.1 รู้ความต้องการของคน ความแตกต่างของคน และเข้าใจอาการของความคับข้องใจ
3.2 ความสามารถปรับตัวให้เข้ากับคนได้
3.3 มีความจริงใจต่อผู้อื่น
3.4 รู้จิตวิทยาในการส่งเสริมให้คนทำงาน
ชื่อ นางสาวสุภิศรา เกิดทรัพย์ รหัสนักศึกษา 61440101002