Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา (Internal Quality Assurance) - Coggle…
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
(Internal Quality Assurance)
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
ถือเป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของตนเอง
(Self-evaluation)
สถานศึกษา ควรกำหนดให้การประเมินภายใน เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องของสถานศึกษาและดำเนินการทุก 1 ปี
การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ควรดำเนินการประเมิน 2 ลักษณะ
1.ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.ประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย เพื่อให้สถานศึกษามีการดำเนินงานมีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ
ความหมาย "การประกันคุณภาพภายใน"
การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคคลากรของสถานศึกษานั่นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
1.เพื่อตรวจสอบคุณภาพและผลการปฏิบัติของสถานศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.เพื่อนำผลการประเมินมาจัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการสึกษาของสถานศึกษา
3.เพื่อรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
4.เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินจากองค์กรภายนอก
แนวทางการประเมินคุณภาพในของสถานศึกษา
ระดับสถานศึกษา
1.จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 6 ขั้นตอน
1.กำหนดมาตรฐานของสถานศึกษา
2.การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
3.การดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
4.การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
5.การติดตามผลการดำเนินการ
6.จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
2.สถานศึกษาแต่ละแห่งให้ความร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
3.ดำเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักการของการประกันคุรภาพภายในของสถานศึกษา
ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
1.ศึกษา วัิเคราะห์ รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
2.รวบรวมและสังเคราะห์รายงานผลประเมินตนเองของสถานศึกษา
3.ติดตามผลการดำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
4.ให้ความร่วมมือ สมศ.ในการประเมินคุณภาพภายนอก
5.อาจมอบหมายบุคคลที่ไม่ได้เป็นผู้ประเมินเข้าร่วมสังเกตการณ์
ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ)
1.ส่งเสริม สนับสนุน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2.ศึกษาวิเคราะห์สรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
3.ติดตามผลการดำเนินงาน ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
4.ประสานความร่วมมือกับ สมศ ในการจัดบุคคลร่วมเป็นผู้ประเมินคุณภาพภายนอก
การประกันคุณภาพภายในใช้หลักการบริหารวงจรคุณภาพ PDCA
P (Plan) = ร่วมกันวางแผน
D (Do) = ร่วมกันปฏิบัติ
C (Check) = ร่วมกันตรวจสอบ
A (Act) = ร่วมกันปรับปรุง
ขั้นตอนการประกันคุณภาพภายใน
การควบคุมคุณภาพ (สอดคล้องกับ P,D)
1.ศึกษาและเตรียมการ
ตั้งคณะทำงานประกัน
ให้ความรู้แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
2.กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพ
จัดทำสารสนเทศสภาพปัจจุบัน
จำทำแผนปฏิบัติการประจำปี
3.การจำทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3.1 แผน (Plan)
3.2 แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
3.3แผนปฏิบัติการประจำปี (Action Plan/Operation plan)
การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
(สอดคล้องกับ A)
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพ
เน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินของสถานศึกษากับตัวชี้วัด
การตรวจสอบคุณภาพ (สอดคล้องกับ C)
4.การประเมินผลและการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
5.การติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา
6.จัดทำรายงานผลกรประเมินตนเอง
แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ
กำหนดระยะเวลาและแนวทางการตรวจสอบ
มาตรฐานการศึกษา
ความหมาย
มาตรฐานการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึ่งประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง
ความสำคัญ
1.สถานศึกษาทุกแห่งมีเกณฑ์เปรียบเทียบกับมาตรฐาน
2.มาตรฐานทำให้สถานศึกษาเข้าใจชัดเจนว่าจะพัฒนาคุณภาพทิศทางใด
3.การกำหนดมาตรฐานเป็นการกำหนดความคาดหวีงที่ชัดเจนให้กับครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและชุมชน
การกำหนดมาตรฐานการศึกษา
มีความสอดคล้องกับมาตรฐานแห่งชาติ
มาตรฐานการศึกษาในแต่ละระดับ
มุ่งเน้นคุณภาพมาตรฐานขั้นต้นและมาตรฐานขั้นสูง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตรวจประเมินคุณภาพในสถานศึกษา
1.การให้การสนับสนุนของฝ่ายบริหารของสถานศึกษา
2.ความพร้อมของบุคลากรและหลักฐานต่าง ๆ
3.ความชัดเจนของอำนาจหน้าที่
4.ความร่วมมือของผู้รับการตรวจประเมิน
5.ความถูกต้อง ชัดเจนของการรายงานผลการตรวจประเมิน
6.การดูแลของฝ่ายบริหาร
7.มีวิธีการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องที่เหมาะสม