Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล - Coggle Diagram
แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล
แนวคิดการพยาบาล
แบบต่อเนื่อง
(Continuing Care)
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
การช่วยเหลือเพอื่ ให้การตอบสนอง
ความต้องการส่วนบุคคล
ประวัติความเป็นมา
เกิดจากระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
สาเหตุ
จำนวนเตียงในโรงพยาบาลมีจำกัด
การป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาล
ส่งผลให้
เกิดแนวคิดการดูแลต่อเนื่อง
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
เน้นการทำงานแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ผู้ป่วยและทีมงานต้องทำงานร่วมกันโดยเฉพาะการตัดสินใจในแนวทางการรักษาและการดูแลตัวเอง
การวางแผนดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องควรทำอย่างเป็นทางการ ทุกครั้งที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
การวางแผนดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องต้องเน้นการดูแลแบบองค์รวมและมีการสื่อสารระหว่างทีมงามที่ชัดเจนเพื่อคุณภาพการบริการ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
1.การส่งต่อ (Referral)
การส่งต่อภายใน
1.การขอคำปรึกษา(Concult)
2.การส่งต่อ ขอย้ายภายในโรงพยาบาล ระหว่างแผนก
การส่งต่อภายนอก
เป็นการส่งต่อผู้ป่วยไปยังหน่วยงานสุขภาพอื่นเพื่อการดูแลอย่างต่อเนื่อง
รูปแบบการส่งต่อ 2 แบบ
1.ส่งต่อระหว่างสถานพยาบาล
ข้อบ่งชี้การส่งต่อ
1.เพื่อรักษาเฉพาะทาง
2.ความไม่พร้อมของสถานพยาบาล เช่น ขาดเครื่องมือผ่าตัด เป็นต้น
3.ผู้ป่วยขอร้อง
2.จากสถานพยาบาลสู่ชุมชน
ข้อบ่งชี้การส่งต่อ
1.ผู้ป่วยต้องใช่อุปกรณ์การต่อแพทย์ต่อที่บ้าน เช่น เครื่องดูดเสมหะ
2.มีปัญหาสุขภาพซับซ้อน เช่น ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
2.การวางแผนจำหน่าย (Discharge plan)
ใช้หลัก
D Method
D : Diagnosis
ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็นอยู่ถึงสาเหตุ อาการ
การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M : Medicine
แนะนำการใช้ยาที่ตนเองได้รับอย่างละเอียด
สรรพคุณของยา ขนาด วิธีใช้ ข้อควรระวังในการใช้ยาตลอดจนการสังเกตภาวะแทรกซ้อนรวมทั้งข้อห้ามการใช้ยา
E ; Environment /Equipment/ Economic /
Environment
Environment
: การจัดการสิ่งแวดล้อมที่บ้านให้เหมาะสมกับ
ภาวะสุขภาพให้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ
Economic
: การใหข้อ้มลูเกี่ยวกับการจัดการปัญหาด้านเศรษฐกิจ สิทธิประโยชน์ต่างๆ
Equipment : อุปกรณ์ที่ติดตัวผู้ป่วย เช่น สายให้อาหารทางจมูก
สายสวนปัสสาวะ เป็นต้น
T : Treatment
: ทักษะที่เป็นตามแผนการรักษาเช่น การดูด
เสมหะรวมถึงการเฝ้าสังเกตอาการตนเองและแจ้งให้พยาบาลทราบ
H : Health
: การส่งเสริม ฟื้นฟูสภาพทางด้านร่างกายและ
จิตใจ ตลอดจนการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
O : Out patient
: การมาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน ในกรณีเกิดภาวะฉุกเฉิน
ตลอดจนการส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการดูแลต่อเนื่อง
D : Diet
: การเลือกรับประทานอาหารเหมาะสมกับโรคหลีกเลี่ยงหรืองดอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
3.การบริการสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care)
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
ประเมินปัญหาและความต้อง การของผู้ป่วยและครอบครัว
ประเมินความสามารถของญาติในการดูแลผู้ป่วย
เตรียมแผนการสอนระดับ
บุคคล ครอบครัว
ร่วมประชุม
Discharge planning
และ Team meeting
ประสานความร่วมมือระหว่าง บุคลากรทุกฝ่ายทั้งในและนอกโรงพยาบาล
แนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม
(Holistic Care)
ประวัติความเป็นมา
สุขภาพองค์รวม (Holistic Health)
เป็นการรวมกันของคำว่า สุขภาพ หรือ
“Health”
ซึ่งองค์กรอนามัยโลกได้ให้คำ นิยามว่า ภาวะที่แสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม มิใช่เพียงแค่การไม่เป็นโรคเท่านั้น ส่วนคำว่า
"องค์รวม”
หรือ
Holism
มาจาก คำว่า
"Holos"
ในภาษากรีก ซึ่งมีความหมายว่า Whole หรือทั้งหมดทั้งปวง ดั้งนั้น
Holistic Health
จึงหมายถึงการดูแลสุขภาพ ทั้งหมด อันได้แก้ร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณ
(Body Mind and Spirit)
ตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของบุคคลเพื่อทำให้ชีวิตดำเนินไปอย่างมีความสุข
การพยาบาลองค์รวม เป็นแนวคิดปรัชญาเพื่อส่งเสริมสุขภาพภาวะองค์รวม
หมายถึง ภาวะสมดุลของร่างกาย ซึ่งได้แก่ ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ของบุคคล ครอบครัวและชุมชน โดยเชื่อว่าการที่คนเราจะเกิดการเจ็บป่วยหรือเกิดความผิดปกตินั้น ไม่ได้ผิดปกติแต่ร่างกาย แต่มันรวมไปถึงส่วนที่เหลืออีกด้วยเพราะทุกระบบมีความสัมพันธ์กัน
ดังนั้นการแนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวมจึงไม่ใช่การรักษาเฉพาะส่วน
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
1.แนวคิดสุขภาพแบบองค์รวม
1.ความหมายขององค์รวม
อังกฤษ
: Holism เป็นคำนามมาจากภาษาอังกฤษโบราณคือ คำว่า Hal หมายถึง ทั้งหมด (Whole) หรือเพื่อบำบัด (To heal) หรือความสุข (Happy) ดังนั้น องค์รวม ในภาษาอังกฤษจึงเขียนได้ทั้ง
Holistic หรือ Wholistic
กรีก
: Holistic มาจากรากศัพท์ภาษากรีก คือ คำว่า Holos มี
ความหมายว่า หน่วยรวม หรือ องค์รวม
นายแพทย์ประเวศ วะสี
: สุขภาพองค์รวมเป็นแนวคิดที่มีความนายแพทย์ประเวศ วะสี : สุขภาพองค์รวมเป็นแนวคิดที่มีความแต่มองเป็นทุกอย่างในวิถีชีวิต และเป็นสิ่งที่มนุษย์ กำหนดด้วยตนเอง
สมาคมพยาบาลองค์รวมของอเมริกา
: ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาณ อย่างสมดุล จึงให้ความสำคัญกับการประเมินและการรักษาสมดุลของตนเอง
2.คุณลักษณะและจุดเน้นที่
สำคัญของแนวคิดสุขภาพ
แบบองค์รวม
1.การสมดุล
: การดูแลสุขภาพบุคคลให้มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมทั้งความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ตามความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม และสิ่งแวดล้อมมองการเจ็บป่วยเป็นโอกาส ที่ช่วยให้คนคนนั้นมีการพัฒนาเจริญงอกงาม
2. ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
1.เน้นที่ตัวบุคคลไม่ใช่โรค โดยคนเป็นภาพรวมไม่ใช่การนำเอาส่วน
ต่างๆ มาประกอบ
2.ผลกระทบต่อคนนั้นจะกระทบต่อคนโดยส่วนรวมไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
3. ความกลมกลืนกัน
: เป็นความกลมกลืนของตนเอง ในแต่ละมิติกับบริบทภายนอก
2.แนวคิดศักยภาพของมนุษย์
1.คุณลักษณะของพยาบาล ในการพัฒนาศักยภาพ
2.ให้ความสำคัญในมิติจิตวิญญาณเป็นอันดับแรกและทุกมิติต้องได้รับการประเมิน
มีการผ่อนคลายความเครียด
1.ความตั้งใจและใส่ใจ ในการประเมินและพัฒนาศักยภาพของตนเองเสมอ
2.การพัฒนาศักยภาพแต่ละด้าน
เพื่อให้การพยาบาลแบบองค์รวม
ด้านอารมณ์
(Emotional potential )
ศักยภาพการตัดสินใจเลือก
(Choice potential)
ด้านจิตใจ
(Mental Potential )
ศักยภาพด้านสัมพันธภาพ
(Relationship potential)
ด้านร่างกาย
(Physical Potential)
ศักยภาพด้านจิตวิญญาณ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
ร่างกาย (physical)
โครงสร้างร่างกาย
จิตใจ/อารมณ์
(emotion)
อยู่ภายในแต่มีอิทธิพลต่อการแสดงออก, ร่างกาย
สังคม(social)
เป็นเรื่องความสัมพันธ์, วัฒนธรรมในสังคมใด ๆ มีผลต่อค่านิยม และวิถีดำเนินชีวิต
จิตวิญญาณ(spirituality/
wisdom)
ความเชื่อและศรัทธา,สิ่งที่มีความหมายต่อชีวิต, มีผลต่อการดำเนินชีวิต
ปัญญา: ความรู้ทั่ว รู้เท่าทัน แยกเหตุผลดี/ชั่ว ประโยชน์/โทษ นำไปสู่จิตที่ดีงาม
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
1.ตระหนักถึงคนในลักษณะองค์รวม ที่ไม่สามารถแยกกาย จิต และจิตวิญญาณออกจากกันได้
2.สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการ
3.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง
4.ฝึกทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างสัมพันธภาพเชิงบำบัดกับผู้ป่วยเพื่อสร้างศรัทธาของผู้ป่วย จะมีส่วนช่วยให้กระบวนการฟื้นหายจากความเจ็บป่วยหรือเป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5.พยาบาลจะต้องสามารถให้ข้อมูลและความรู้ต่างๆ กับผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการและประชาชนได้
6.เสริมสร้างพลังอำนาจให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการและครอบครัวในการดูแลสุขภาพของตนเอง
7.สนับสนุนกระบวนการฟื้นหายและการเจริญพัฒนาของผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการโดยการดูแลเอาใจใส่อย่างเอื้ออาทร
8.ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้วิธีพื้นบ้านหรือวิธีการอื่นๆ ที่เป็น
ประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การดูแลบำบัด
และการฟื้นฟูสภาพอย่างเหมาะสม
ตัวอย่างการนำไปใช้ในด้านต่างๆ
ด้านร่างกาย
ผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดอาจมีอาการปวดหรือเจ็บที่แผลผ่าตัด ดังนั้นการพยาบาลด้านร่างกาย จึงประกอบด้วย
การจัดการความเจ็บป่วย การพักผ่อน การทำความสะอาดร่างกาย
ด้านสังคม
อาการปวดหลังก่อนผ่าตัดยังส่งผลต่อด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ จากการรักษาที่มีระยะเวลาที่ยาวนานทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่ยาวนานทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆและยังคงต้องจ่ายอย่างต่อเนื่อง
ด้านจิตใจ
ผู้ป่วยที่เกิดปัญหาสุขภาพแทรกซ้อนหลังจากที่ได้รับการผ่าตัด การพยาบาลด้านจิตใจจึงควรมีการ สนทนาพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อช่วยบรรเทาอาการเครียดให้ลดน้อยลง
ด้านจิตวิญญาณ
เป็นด้านที่ส่งผลกระทบต่อทุกๆด้าน
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
ส่งเสริมสุขภาพเชิงรุก
สนับสนุนการดูแลตัวเอง
การดูแลอย่างต่อเนื่อง
สหวิชาชีพทำงานร่วมกัน
การดูแลคนไม่ใช่ลูก
ทางเลือกอื่นในการดูแลสุขภาพ
ทฤษฎีการพยาบาลเพนเดอร์
ประวัติความเป็นมา
ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ
ดร. โนลา เจ เพนเดอร์(Pender,Nola J.)
เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1941 ที่ Lansing รัฐ Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา จบการศึกษาจากที่ West Suburban Hospital ใน Oak Park รัฐ Illinoisได้รับ Diploma ในปี ค.ศ.1962 และเริ่มงานที่หอผู้ป่วย อายุรกรรม –ศัลยกรรมที่โรงพยาบาล Michigan ในปี ค.ศ. 1964 ได้รับ B.S.N. ที่มหาวิทยาลัย Michigan State ใน East Lansing จบการศึกษาในระดับปริญญาโทด้านการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ ที่มหาวิทยาลัยมิชิแกน ในปี ค.ศ.1965 และปริญญาเอก ด้านจิตวิทยาและการศึกษาในปี ค.ศ.1969 ที่Northwestern University ที่ Evanstion Illinois
กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตลอดจนการปฎิบัติกิจกรรมต่อเนื่อง
เป็นทฤษฎีที่ได้รับการพัฒนาจากทฤษฎีสังคมและมีการศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบ
ส่งเสริมการออกกำลังกายสร้างแบบแผนดำเนินชีวิตและมองคนอย่างเป็นองค์รวม
พัฒนาแบบจำลองสุขภาพเน้นการป้องกันและคงไว้
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
1.ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล
(Individual Characterists and Experiences )
พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
พฤติกรรมส่วนบุคคล
ปัจจัยด้านจิตวิทยา
ได้แก่ การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง
ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม
ได้แก่ สัญชาติ วัฒนธรรม การศึกษา เป็นต้น
ปัจจัยด้านชีววิทยา
ได้แก่ อายุ ดัชนีมวลกาย เป็นต้น
2.ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม
(Personal Factors)
2.1การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Benefits of Action)
2.2การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรม (Perceived Barriers to Action)
2.3.การรับรู้ความสามารถของตนเอง
(Perceived Self-Efficacy)
2.4.ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม
(Activity-Related Affect)
2.6.อิทธิพลจากสถานการณ์ (Situational Inflences)
2.5.อิทธิพลระหว่างบุคคล (Interpersonal Influences)
3.พฤติกรรมผลลัพธ์ (Behavioral Outcome)
3.1.ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรม
3.2ความจำเป็นอื่นและทางเลือกอื่นที่เกิดขึ้น
3.3พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
1.การนำมาใช้ใน
การศึกษา
ทางการพยาบาล
2.การนำมาใช้ใน
การวิจัย
ทางพยาบาล
3.การนำมาใช้ใน
การบริหาร
ทางการพยาบาล
4.การนำมาใช้ใน
การปฏิบัติ
ทางการพยาบาล
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
1.ลักษณะเฉพาะและประสบการณ์ของบุคคล
ปัจจัยส่วนบุคคล
1.เพศ
4.สภาวะวัยรุ่น
3.ลักษณะรูปร่าง
2.อายุ
พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
2.ความคิดและอารมณ์ต่อพฤติกรรม
รับรู้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติ
รับรู้ความสามารถในการปฏิบัติ
รับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ
3.พฤติกรรมผลลัพธ์
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ
ความจำเป็นอื่นและทางเลือกอื่น
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
บุคคลแสวงหาภาวะของชีวิตที่สร้างสรรค์
ให้คุณค่าการเจริญเติบโตในทางบวก
บุคคลประกอบด้วย กาย จิต สังคม
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ริเริ่มจากตนเอง สร้างแบบแผน ความสัมพันธ์ บุคคลกับสิ่งแวดล้อม
บุคลากรด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่ง
ของสิ่งแวดล้อม
บุคคลแสวงหาการควบคุมพฤติกรรมของตน
แนวคิดการพยาบาลแบบเอื้ออาทร
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
งานเขียน
2) ในปี ค.ศ. 1988 ทฤษฎีของวัทสันชื่อ “ ศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์และการดูแล ” (Human Science and Human Caring)
สร้างโดย ดร.จีน วัทสัน (Jean Watson)
วัทสันเกิดปี ค.ศ. 1940 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
ได้รับการตีพิมพ์การพัฒนาทฤษฎีการดูแลระหว่างบุคคล
วัตสันเชื่อว่า การพยาบาลต้องเข้าใจความเป็นตัวตนและจิตใจของผู้ใช้บริการ รวมถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลด้วยความเอื้ออาทร
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
ข้อตกลงเบื้องตนที่สัมพันธ์กับคุณค่าการดูแลมนุษย์ในการพยาบาลไว้ 11 ประการ
5.การพยาบาลต้องยึดถือการดูแลความเป็นมนุษย์
-ภาวะสุขภาพดีและการเจ็บป่วย
10.การดูแลมนุษย์
-ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
4.รักศักดิ์ศรีของตนเอง
6.การดูแล
-เป็นจุดเน้นในการปฏิบัติการพยาบลา
-แกนกลางของการพยาบาล
2.มนุษย์ต้องการความรักและการดูแลซึ่งกันและกัน
11.ประโยชน์ของวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคม
-การยึดมั่นในการดูแลเชิงมนุษย์นิยมทั้งด้านทฤษฎี การปฏิบัติ และการวิจัย
8.ค่านิยมเกี่ยวกับการดูแลของพยาบาล
-ค่านิยม/อุดมคติที่เน้นความเป็นมนุษย์จึงอยู่ในภาวะวิกฤติ
-ถูกบดบังไว้จากการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้น
3.ก่อนจะดูแลผู้อื่นพยาบาลต้องดูแลตนเองด้วยความสุภาพอ่อนโยน
7.การดูแลเชิงมนุษย์นิยม
-รายบุคคลหรือกลุ่ม ได้รับความสนใจจากระบบบริการสุขภาพน้อยลง
9.การอนุรักษ์และการศึกษาเรื่องการดูแลมนุษย์
1.การดูแลและความรักเป็นพลังสากล
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
เป็นเอกลักษณ์ขององค์ความรู้และเป็นองค์ประกอบทางจริยธรรมที่สำคัญในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาล
เป็นศิลปะในการสร้างความสัมพันธ์ที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีต่อผู้รับบริการ ทำให้อบอุ่นใจ ปลอดภัย พึงพอใจ และมีความหวัง
สัมพันธภาพที่เอื้ออาทรจะมีผลต่อภาวะสุขภาพ
และการหายจากโรคของผู้ ป่วย
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นประเมินผล
ต้องมีจุดหมายเป็นเกณฑ์วัดตัดสินว่าบรรลุจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด
ขั้นวินิจฉัยทางการพยาบาล
ได้จากการรับรู้ข้อมูลจากผู้ป่วยเป็นการเขียนปัญหาที่เกิดขึ้น
ขั้นปฏิบัติการพยาบาล
พยาบาลต้องปฏิบัติตามแผนโดยมีปัจจัยการดูแล10ประการเชื่อม
ขั้นประเมินสภาพ
ประเมินสภาพร่างกายและตรวจทางห้องทดลองในการประเมินความต้องการจะประเมินตามทัศนะของผู้ป่วย
ขั้นวางแผนการพยาบาล
โดยวางแผนร่วมกับผู้ป่วยตกลงจุดมุ่งหมายร่วมกัน
ตัวอย่างการนำไปใช้
: การกล่าวทักทายผู้ป่วยด้วยคำพูดที่สุภาพและไม่กระทบจิตใจ,พูดปลอบโยนและให้กำลังใจเมื่อผู้ป่วยเกิดความรู้สึกท้อแท้
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
2. ปัจจัยการดูแล (Carative Factors)
2.1 ระบบคุณค่าการสร้างประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์
2.2 ความศรัทธา และความหวัง
2.3 ความไวต่อความรู้สึกของตนเองและบุคคลอื่น
2.4 การสร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือไวว้างใจ
2.5 การยอมรับการแสดงออกของความรู้สึกทั้งทางบวกและทางลบ
2.6 การใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรคในกระบวนการดูแล
2.7 การส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจของบุคคล
2.8 การประคับประคองสนับสนุนและแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตสังคม และ จิตวิญญาณ
2.9การช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล
2.10 การเสริมสร้างพลังจิตวิญญาณในการมีชีวิตอยู่
1. การดูแลที่เข้าถึงจิตใจของบุคคล
(Transpersonal Caring) เหตุการณ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับอดีต ปัจจุบัน
และอนาคต
1.1 ตัวตน (self)
บุคคลมีตัวตนทั้นลักษณะที่เป็นอยู่จริงและตัวตนในอุดมคติที่บุคคลอยากจะเป็น
1.2 สนามปรากฏการณ์ (Phenomena Field)
ภูมิหลังหรือประสบการณ์ชีวิตของบุคคล
1.3 การดูแลที่เกิดขึ้นจริง (Actual Caring Occasion)
เป็นการดูแลขณะเวลาที่พยาบาลผู้ให้การ
ดูแลและผู้รับการดูแลรับรู้ตรงกนั หรือเข้าใจถึงความรู้สึกซึ่งกันและกัน
ทฤษฎีการพยาบาลของรอย
ประวัติความเป็นมา
พัฒนาขึ้นโดย
คอลลิสต้า รอย ( Sister Callista Roy )
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 รอยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเม้าเซ็นต์ แมรี่ รัฐลอสแองเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา และสำเร็จปริญญาโททางการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ในปี ค.ศ. 1966 และศึกษาต่อด้านสังคมศาสตร์จนจบปริญญาโทและปริญญาเอกในปี ค.ศ. 1975 และ 1977 ตามลำดับ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
1. บุคคลเป็นระบบการปรับตัว
( Human as Adaptive System )
บุคคลเป็นระบบเปิด มีหน่วยย่อยทำงานประสานกันอย่างเป็นระบบ ทำให้สามารถปรับตัวได้ดีเมื่อมีการปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในการปรับตัวของบุคคลมีกระบวนการทำงานที่ประกอบด้วย
1. สิ่งนำเข้า ( Input ) เป็นขั้นตอนแรกของระบบซึ่งในขั้นตอนนี้สิ่งนำเข้า คือ สิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมหรือจากตัวบุคคล และระดับการปรับตัวของบุคคล ( Adaptive Level )อาจจะมีระดับยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าที่ผ่านเข้ามา
3. สิ่งนำออกหรือผลลัพธ์ ( Output ) เป็นผลของการปรับตัวของบุคคลที่จะสังเกต
ได้จากกพฤติกรรมการปรับตัวทั้ง 4 ด้าน การปรับตัวที่แสดงออกอาจเป็นการ
ปรับตัวที่ดีหรือมีปัญหาได้ การปรับตัวที่ดีจะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมาย
ของการดำรงชีวิตและพัฒนาการซึ่งในระบบเมื่อมีผลลัพธ์ออกมาแล้ว
จะสามารถนำผลย้อนกลับ ( feedback ) เข้าสู่ระบบใหม่ได้
2. กระบวนการ ( Process ) เป็นกลไกที่ภายในตัวบุคคลที่มีการทำงานเป็นระบบและให้ผลลัพท์ออกมา ซึ่งกระบวนการในที่นี้หมายถึง กลไกควบคุม หรือกลไกการเผชิญ (Coping Mechanism) ที่ประกอบด้วยกลไลย่อย 2 กลไก
2.2 กลไกการรับรู้ (Cognator mechanism )
เป็นกลไกที่เกิดจากการเรียนรู้นั่นคือการทำงานของจิตและอารมณ์ 4 กระบวนการ ได้แก่ การรับรู้ การเรียนรู้ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา ซึ่งจะช่วยให้บุคคลเลือกหรือจดจำสิ่งต่างๆรวมทั้งมีการหยั่งรู้และมีการตัดสินใจในเรื่องนั้นๆก่อให้เกิดการตอบสนองด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพาระหว่างกัน ทั้งนี้ต้องอาศัยการทำงานของสมองในด้านการรับรู้ การรับส่งข้อมูล การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต การตัดสินใจและการควบคุมอารมณ์
2.1 กลไกการควบคุม ( Regulator Mechanism )
เป็นกลไกการควบคุมที่เกิดขึ้นในระบบตามธรรมชาติ นั่นคือกลไกการปรับตัวพื้นฐานของบุคคลซึ่งเกิดจากการทำงานประสานกันระหว่างกระบวนการทางระบบประสาทของร่างกายและฮอร์โมนที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อสิ่งแวดล้อมมากระทบก็จะมีการตอบสนองอัตโนมัติ และมีกระบวนการทำงานภายในที่ต้องอาศัยการประสานกันทั้ง ทางเคมี ทางระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อเกิดการตอบสนองทางสรีระ และจะส่งออกมาเป็นพฤติกรรมที่ปรากฏ และส่งผลกระทบบางส่วนไปยังศูนย์การรับรู้
2. พฤติกรรมการปรับตัว
( Adaptive mode )
เป็นพฤติกรรมเพื่อบอกผลลัพธ์ของการปรับตัวของบุคคล มี 4 ด้านดังนี้
2.2 การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ ( Self - concept Mode ) เป็นการปรับตัวเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงทางด้านจิตใจ อัตมโนทัศน์เป็นความเชื่อและความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับด้านรูปร่างหน้าตา ความสามารถหรือความเชื่อ ซึ่ง
อัตมโนทัศน์มิได้มีแต่กำเนิดแต่เป็นผลจากการที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมหรือสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เกิด ดังนั้นอัตมโนทัศน์จึงเกิดจากการเรียนรู้และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบทบาท เวลาและสถานการณ์ การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
2.2.2 อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคล ( Personal self )
เป็นความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง หรืออุมคติ ความคาดหวังในชีวิต ซึ่งประกอบด้วย
อัตมโนทัศน์ด้านความคาดหวัง ( Self – ideal / expectancy)
เป็นการรับรู้ตนเองในเรื่องเกี่ยวกับความนึกคิด และความคาดหวังของบุคคลที่ปรารถนาจะเป็นว่าตนเองจะเป็นอะไรหรือทำอย่างไร ตลอดจนความคาดหวังของบุคคลอื่นที่มีต่อตนเอง ถ้าเกิดปัญหาบุคคลจะแสดงพฤติกรรมสะท้อนถึงความรู้สึก หมดหวัง ท้อแท้ เบื่อหน่ายชีวิต หมดกำลังใจ รู้สึกขาดอำนาจในการควบคุมสถานการณ์
อัตมโนทัศน์ด้านศีลธรรม จรรยา ( Moral ethical self )
เป็นความรู้สึกนึกคิดที่มีต่อตนเองเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา กฏเกณฑ์ ค่านิยมทางสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี ถ้ามีความบกพร่องก็จะแสดงออกในรูปของรู้สึกผิด ตำหนิตนเองหรือโทษตนเอง
อัตมโนทัศน์ด้านความมั่นคงในตนเอง ( Self - consistency )
เป็นการรับรู้ต่อตนเองตามความรู้สึกเกี่ยวกับความพยายามในการดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงหรือความปลอดภัย ถ้าหากมีการปรับตัวไม่ได้บุคคลจะแสดงออกในพฤติกรรม เช่นความวิตกกังวล ไม่สบายใจ เจ็บปวดทางด้านจิตใจ
2.2.3 การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ ( Role function mode )
การปรับตัวด้านนี้เป็นการตอบสนองด้านสังคมของบุคคลเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางสังคม บุคคลมีบทบาทในสังคมแตกต่างกันออกไปและในบุคคลเดียวอาจต้องมีหลายบท ซึ่งการปรับตัวด้านบทบาทมี 3 ด้าน
ในการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่บุคคลจะแสดงออกทางพฤติกรรมและทางใจเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก ทัศนคติและความชอบไม่ชอบที่บุคคลมีต่อบทบาทของตน ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะเกิดความบกพร่องในการแสดงบทบาทหน้าที่ ได้ใน 4 ลักษณะ
ไม่ประสบผลสำเร็จในบทบาทใหม่ที่บุคคลได้รับ ( Ineffective role transition ) เป็นพฤติกรรมที่มีการแสดงถึงความรู้สึกที่ไม่สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเองได้ บทบาทการปรับตัวนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขาดความรู้ การฝึกปฏิบัติและเป็นแบบอย่าง เช่นมีความพึงพอใจเต็มใจเป็นพยาบาล แต่การแสดงบทบาทหน้าที่พยาบาลไม่สมบูรณ์ หรือบทบาทแม่ที่มีลูกคนแรกแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่มารดาได้อย่างเหมาะสม
การแสดงบทบาทไม่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง ( Role distance ) เป็นภาวะที่บุคคลแสดงบทบาททั้งทางด้านกายและใจ แต่ไม่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง เช่น การหัวเราะรื่นเริงในขณะที่ร่างกายเจ็บป่วยและมีความกังวล ถ้ามีพฤติกรรมนี้บ่อยครั้งจนกลายเป็นนิสัยจะทำให้เป็นคนไม่เข้าใจตนเอง หรือเก็บกด
ความขัดแย้งในบทบาท ( Role conflict ) เป็นภาวะที่บุคคลไม่สามารถแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเต็มที่ตามที่ควรจะเป็น เช่น มารดาที่มีความเจ็บป่วยแล้วทำให้ไม่สามารถแสดงบทบาทในการเลี้ยงดูบุตรได้เต็มที่ ทำให้เกิดความรู้สึกผิด สับสน
ความล้มเหลวในการแสดงบทบาท ( Role failure ) เป็นภาวะที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ตามบทบาทหน้าที่ที่ควรจะทำ เช่น บิดาไม่สามารถทำหน้าที่หัวหน้าครอบครัวหารายได้ให้ครอบครัวได้ เพราะมีความพิการ
บทบาทตติยภูมิ ( Tertiary role )
เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลมีอิสระที่จะเลือกเพื่อส่งเสริมให้บรรลุซึ่งเป้าหมายบางอย่างของชีวิต เช่น บทบาทของสมาชิกสมาคม
บทบาทปฐมภูมิ ( Primary role ) เป็นบทบาทที่มีติดตัว เกิดจากพัฒนาการช่วงชีวิต บทบาทนี้เป็น
ตัวกำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมของบุคคลตลอดช่วงระยะเวลาที่บุคคลเจริญเติบโตเช่น บทบาทวัยรุ่น บทบาทของลูก การกำหนดบทบาทเช่นนี้ช่วยในการคาดคะเนว่าแต่ละเพศและวัยนั้นบุคคลควรมีพฤติกรรมอย่างไร
บทบาททุติยภูมิ ( Secondary role)
เป็นบทบาทที่เกิดจากพัฒนาการทางด้านสังคมการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับงานที่ทำซึ่งบทบาททุติยภูมิอาจมีหลายบทบาท เช่น หญิงไทยอายุ 50 ปีทำงานพยาบาลต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้างานการพยาบาลด้วย
2.2.1 อัตมโนทัศน์ด้านร่างกาย ( Physical self ) เป็นความรู้สึกและการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อสภาพด้านร่างกายและสมรรถภาพในการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของตนเอง เช่น ขนาด รูปร่างหน้าตา ท่าทาง ความสวยงาม สมรรถภาพในการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ เมื่อใดที่บุคคลรับรู้หรือรู้สึกว่าสภาพร่างกายและสมรรถภาพของตนเองบกพร่องหรือเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถยอมรับได้จะนำมาซึ่งความสูญเสีย กังวลได้ อัตมโนทัศน์ด้านร่างกายแบ่งได้ 2 ด้านดังนี้
ด้านภาพลักษณ์ของตนเอง ( Body image
) เป็นความรู้สึกที่มีต่อขนาดรูปร่าง หน้าตา ท่าทางของตนเอง เช่น คิดว่าเป็นคนสวย เป็นคนผิวดี ร่างกายสมส่วน
ด้านรับรู้ความรู้สึกด้านร่างกาย ( Body sensation )
เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับสภาวะและสมรรถภาพของร่างกาย เช่น ความรู้สึกเหนื่อยอ่อนเพลีย
2.1 การปรับตัวด้านร่างกาย ( Physiological Mode )
เป็นวิธีการตอบสนองด้านร่างกายต่อสิ่งเร้าโดยสะท้อนให้เห็นการทำงานระดับเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ การปรับตัวด้านสรีระเป็นการตอบสนองที่เกี่ยวข้องกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่ ออกซิเจน อาหาร การขับถ่าย การมีกิจกรรมและการพักผ่อน การป้องกันและเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ถือว่าเป็นตัวประสานและควบคุม 4 กระบวนการคือ การรับความรู้สึก น้ำและอิเลคโตรลัยท์ การทำงานของระบบประสาท และการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
3. สิ่งเร้า ( Stimuli )
สิ่งเร้า ( stimuli ) รอยให้ความหมายของสิ่งเร้าว่า เป็นทุกสถานการณ์หรือทุกภาวะการณ์ที่อยู่รอบตัวบุคคลและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล ( Roy, 1984 : 22 ) สิ่งเร้าเป็นทั้งภายในและภายนอกซึ่งกระตุ้นให้บุคคลมีการปรับตัว รอยใช้แนวคิดของเฮลสัน (Helson, 1964) แบ่งสิ่งเร้าออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
1. สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli )
หมายถึง สิ่งเร้าที่บุคคลเผชิญโดยตรงและมีความสำคัญมากที่สุดที่ทำให้บุคคลต้องปรับตัว เช่น ได้รับการผ่าตัดหรือการฉายรังสี เป็นต้น
3. สิ่งเร้าแฝง ( Residual stimuli )
หมายถึง สิ่งเร้าที่เป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีตซึ่งเกี่ยวกับทัศนคติ อุปนิสัยและบุคลิกภาพเดิม สิ่งเร้าในกลุ่มนี้บางครั้งตัดสินยาก ว่ามีผลต่อการปรับตัวหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยรายหนึ่งที่รับไว้รักษาในโรงพยาบาลบ่นว่านอนไม่หลับ สิ่งเร้าตรงที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นเสียงจากการปฏิบัติการพยาบาลหรือเสียงผู้ป่วยข้างเตียงร้อง สิ่งเร้าร่วมอาจจะเป็นความไม่คุ้นเคยกับสถานที่ ส่วนสิ่งเร้าแฝงคือประสบการณ์ในอดีตต่อการอยู่โรงพยาบาล ทำให้เชื่อว่าการนอนหลับให้เพียงพอในโรงพยาบาลเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
2. สิ่งเร้าร่วม ( Contexual stimuli )
หมายถึง สิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากสิ่งเร้าตรงและมีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลนั้น เช่น คุณลักษณะทางพันธุกรรม เพศ ระยะพัฒนาการของบุคคล ยา สุรา บุหรี่ อัตมโนทัศน์ การพึ่งพาระหว่างกัน บทบาทหน้าที่ แบบแผนสัมพันธภาพทางสังคม กลไกการเผชิญความเครียด ความเครียดทางร่างกายและจิตใจ ศาสนา ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมต่าง ๆ
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
ปรับตัวเพื่อเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรือปัญหา เพื่อถ่วงดุลสิ่งที่ตนเองยังขาดอยู่ ปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือปัญหา เมื่อไม่สามารถเอาชนะได้ จึงปรับตนเองให้สอดคล้องตามสิ่งแวดล้อมและปัญหานั้น เพื่อรักษาสมดุลนั้นไว้
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
ปรับตัวเพื่อเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรือปัญหา เพื่อถ่วงดุลสิ่งที่ตนเองยังขาดอยู่ ปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือปัญหา เมื่อไม่สามารถเอาชนะได้ จึงปรับตนเองให้สอดคล้องตามสิ่งแวดล้อมและปัญหานั้น เพื่อรักษาสมดุลนั้นไว้
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินสภาวะ ( Assessment )
การประเมินสภาวะเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการพยาบาลซึ่งในขั้นตอนนี้ตามแนวคิดของรอยทำการประเมิน 2 ขั้นตอนย่อยดังนี้
1.1 ประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วย (Assessment of behaviors)
1.2 ประเมินองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว (Assessment of influencing factors)
ขั้นตอนที่ 2 การวินิจฉัยการพยาบาล ( Nursing diagnosis)
การวินิจฉัยการพยาบาล ( Nursing diagnosis) เป็นขั้นตอนที่สองของกระบวนการพยาบาลที่จะกระทำหลังการประเมินสภาวะ แต่ถือเป็นขั้นตอนย่อยที่ 3 ตามแนวคิดของรอย โดยการระบุปัญหาหรือบ่งบอกปัญหาจากพฤติกรรมที่ประเมินได้ในขั้นตอนที่1และระบุสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุของปัญหา เมื่อได้ปัญหาและสาเหตุแล้วจะสามารถให้การวินิจฉัยการพยาบาลได้ เช่น ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากเคมีรักษา เมื่อกำหนดปัญหาได้ครบแล้วต้องจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ทฤษฎีนี้ได้เสนอแนวทางซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลำดับความสำคัญของปัญหาไว้ดังนี้
1. ปัญหาซึ่งคุกคามชีวิตของบุคคล
2.ปัญหาซึ่งกระทบกระเทือนการเจริญเติบโตของบุคคล
3. ปัญหาซึ่งกระทบกระเทือนต่อบุคคลหรือ กลุ่มชนที่เกิดขึ้นอย่างยืด เยื้อและต่อเนื่อง
4.ปัญหาซึ่งกระทบกระเทือนขีดความสามารถของบุคคลที่จะบรรลุผลสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการพยาบาล ( Nursing plan )
เป็นขั้นตอนที่ 3 ของกระบวนการพยาบาลแต่ตามแนวคิดของรอยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ 4 คือการกำหนดเป้าหมายการพยาบาล
(Goal setting) พยาบาลจะกำหนดเป้าหมายการพยาบาลหลังจากที่ได้ระบุปัญหาและสาเหตุแล้ว จุดมุ่งหมายของการพยาบาลคือการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม ส่วนพฤติกรรมที่เหมาะสมแล้วต้องคงไว้หรือส่งเสริมให้ดีขึ้น การตั้งเป้าหมายการพยาบาลนั้นอาจจะเป็นเป้าหมายระยะสั้นๆได้ เช่น ผู้ป่วยบรรเทาอาการปวดภายใน 1 ชั่วโมง หรือเป้าหมายระยะยาวได้
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติการพยาบาล ( Nursing Intervention )
ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลเป็นขั้นตอนที่ 5 ตามแนวคิดของรอย โดยเน้นจัดการกับสิ่งเร้า หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาการปรับตัว โดยทั่วไปมักจะมุ่งปรับสิ่งเร้าตรงก่อนเนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหา ขั้นต่อไปจึงพิจารณาปรับสิ่งเร้าร่วมหรือสิ่งเร้าแฝง และส่งเสริมการปรับตัวให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5 การประเมินผล (Evaluation)
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการพยาบาลคือ การประเมินผลการพยาบาล โดยดูว่าการพยาบาลที่ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ถ้าผู้ป่วยยังคงมีปัญหาการปรับตัวอยู่ พยาบาลต้องประเมินตามขั้นตอนที่ 1.1 และ 1.2 ใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ได้ข้อมูลและ สิ่งเร้าเพิ่มเติม จนกระทั่งเป้าหมายการพยาบาลทุกอย่างบรรลุผลตามที่ตั้งไว้
ตัวอย่างการประยุกต์
มาประยุกต์ในการดูแล ผู้ป่วยที่บ้าน ผู้ป่วย Stroke มีความจำกัดในด้านการเคลื่อนไหว ผู้ป่วยจะรู้สึก หมดหวังไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากตาย และจะไม่ร่วมมือปฏิบัติตามแผนการ รักษา ไม่ยอมทำกิจกรรมฟื้นฟูสภาพ พยาบาลต้องพูดคุยและใช้เทคนิคการฟื้นฟู สภาพจิตใจเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดกำลังใจทำใจยอมรับสภาพความพิการที่เกิดขึ้นได้ และมีกำลังใจที่จะฟื้นฟูเพื่อให้ร่างกายส่วนที่ดีกลับมาทำหน้าที่ทดแทน มีความ หวังที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปและพยายามทำทุกอย่างเพื่อเอาชนะความพิการ และ สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปแม้จะมีความพิการก็ตาม ผู้ป่วยอาจต้องทำกายภาพ บำบัด และต้องเรียนรู้การใช้กายอุปกรณ์ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่โดยไม่พึ่งพาใคร นอกจากนี้บทบาทในครอบครัวจากการเป็นผู้นำต้องหาเลี้ยงครอบครัว ต้องปรับ บทบาทหน้าที่ทั้งในครอบครัวและในสังคมจากบทบาทผู้นำมาเป็นบทบาท สมาชิก การปรับตัวอาจต้องใช้เวลาและความเข้าใจตลอดจนวิธีคิดเพื่อการ ยอมรับสภาพโดยมีพยาบาลเป็นผู้ช่วยให้สามารถปรับตัวได้
ทฤษฎีการพยาบาลไนติงเกล
ประวัติความเป็นมา
ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎีแรก ซึ่งถือว่าเป็นการพยาบาลแนวใหม่
(Modern Nursing)
สงครามไครเมีย ไนติงเกลได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐบาลจัดการสิ่งแวดล้อมภายใน
หอผู้ป่วยใน
ประเทศตุรกี
ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
เกิดเมื่อ ค.ศ.1820 ที่ประเทศอิตาลี
มีบิดามารดาเป็นชาวอังกฤษ
ในปี ค.ศ.1851 ได้เข้ารับศึกษาวิชาการพยาบาลที่
เมืองไคซ์เวิร์ธ ประเทศเยอรมัน
ในปี ค.ศ.1853 ได้ปฏิบัติงานในฐานะหัวหน้าพยาบาลที่โรงพยาบาลที่โรงพยาบาลหญิงใน
เมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ในปี ค.ศ. 1860 ไนติงเกลได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับแนวคิดการพยาบาลชื่อ
" Note on nursing What is and What it is not "
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยนั้นเป็นสำคัญ การพยาบาลจะเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ธรรมชาติมีส่วนให้ผู้ป่วยหายเร็วขึ้น
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
ทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกลกับกระบวนการพยาบาล
การประเมินสุขภาพอนามัยของบุคคล
สังเกตสิ่งแวดล้อมของผปู้่วยท้ังด้านกายภาพ จิตใจ
เช่น ท่านอนของผู้ป่วยเป็นอย่างไร เตียงอยไูกลหน้าต่างเกินไปหรือไม่
สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดคุยกับผู้ปู้่วยเตียงใกลเ้คียงได้หรือไม่
การวินิจฉัยทางการพยาบาลวิเคราะห์ข้อมูล
การมองเห็นความต้องการของผู้ป่วย เช่นความไม่สุขสบายจากอากาศอบอ้าว ความเจ็บปวดของบาดแผลจากการอักเสบ ความรู้สึกเบื่อหน่ายในชีวิตินื่องจากไม่มีกิจกรรมในหอผู้ป่วยหรือช่วยตวัเองไม่ได้ การพักผ่อนไม่เพียงพอเนื่องจากมีเสียงรบกวนตลอด วิติกกังวลสูงเนื่องจากไม่มีสัมพันธภาพที่ดีกับพยาบาลหรือผู้ป่วยอื่น
การปฏิบัติการพยาบาล
เป็นการจัดการกับ สิ่งแวดล้อมและร่วมมือกับแพทยเ์พื่อส่งเสริม กัยกภาพของผู้ป่วยที่มีอยู่เริ่มด้วยการให้ความช่วยเหลือจัดสภาพแวดล้อมและ ให้ผู้ป่วย ช่วยเหลือจัด สภาพที่เหมาะสมกับตัวเองต่อไป
การวางแผนการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้อยู่ในสภาพที่กระบวนการชีวิตตามธรรมชาติเกิดขึน
ซึ่งจะช่วยบรรเทาทุกข์และหายจากโรค
การประเมินผลการพยาบาล
เป็นการประเมินสภาพการณ์ที่เป็นจริงท้ังในด้านผู้ป่วยสภาพแวดลอ้อม
และการพยาบาลและปรับกิจกรรมใหเ้หมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์
ที่เป็นธรรมชาตินั้น
แนวคิดหรือหลักการสำคัญของทฤษฎี
เน้นสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยนั้นเป็นสำคัญ การพยาบาลจะเป็นการจัดสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุดให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ธรรมชาติมีส่วนให้ผู้ป่วยหายได้เร็วขึ้น
ทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกิลสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้โดยการประยุกต์ใช้ตามแนวคิดกระบวนการพยาบาลที่สามารถใช้ได้ตั้งแต่ขั้นประเมินสภาพ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูล มองเห็นความต้องการของผู้ป่วย
การประเมินสุขภาพอนามัยของบุคคล สังเกตผู้ป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ
และความสัมพันธ์ต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพความเจ็บป่วยของผู้ป่วย
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
สุขภาพ : เป็นความสามารถดำรงภาวะสุขภาพดีด้วยพลังอำนาจบุคคล
บุคคล : ผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบุคคล ทำให้มีศักยภาพในการซ่อมแซมและสามารถฟื้นคืนสภาพได้
สิ่งแวดล้อม : เป็นสถานการณ์และแรงผลักดันภายนอกที่มีผลโดยตรงต่อชีวิตและพัฒนาการของบุคคล
การพยาบาล : เป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด เป็นการอำนวยความสะดวกต่อการหายจากการเจ็บป่วย
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
ประวัติความเป็นมา
เริ่มพัฒนาทฤษฎีในปี ค.ศ. 1965 ผู้คิดค้น
Madeleine lininger
เป็นปฏิบัติการ การดูแลสุขภาพที่คํานึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและความแตกต่างทางวัฒนธรรม
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
4.เสริมสร้างความปรารถนาที่จะมีสมรรถนะทางวัฒนธรรมโดยใช้วิธีสร้างแรงจูงใจ
3.สร้างความสามารถให้เผชิญและจัดการ
1.ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมให้พยาบาล
2.ฝึกให้พยาบาลมีทักษะเกี่ยวกับวัฒนธรรมโดยฝึกให้เกิดความรับรู้ และเข้าใจผู้อื่นอย่างแท้จริง
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
ด้านสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางการกายภาพและสิ่งแวดล้อมทางสังคม สื่งแวดล้อมที่เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม เช่น ค่านิยมบรรทัดฐานของแต่ละบุคคล
ด้านบุคคล
แต่ละคนย่อมมีแบบแผนการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพแตกต่างกัน
ด้านสุขภาพ
เป็นการผสมผสานตอบสนองความเจ็บป่วยตามมาตรฐานการพยาบาล ควบคู่กับการให้คุณค่าทางวัฒนธรรม
การพยาบาล
มุ่งให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
การพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่าและการปฏิบัติโดยเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของบุคคลหรือกลุ่ม รวมทั้งวิเคราะห์พฤติกรรมการดูแลและการให้บริการทางการพยาบาลแบบแผนและพฤติกรรมต่างๆของคนในเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้ความตอบสนองที่สอดคล้องกับความต้องการการดูแลเฉพาะของเชื้อชาติหรือวัฒนธรรม
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
เป็นการศึกษาทางวิจัยเชิงเปรียบเทียบ เพื่อสะท้อนความเหมือนหรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม ที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย ทั้งในระดับบุคคลและกลุ่ม และเน้นการศึกษาเพื่อค้นหาความหมายวิธีคิด ปัจจัยทางสังคมและรูปแบบความสัมพันธ์กลุ่มที่มีบริบทและวัฒนธรรมที่ต่างกัน รวมทั้งศึกษาถึงวิธีการที่นำไปสู่ความลงตัวและสมบูรณ์แบบของการดูแลหรืออยู่ร่วมอย่างเข้าใจ เข้าถึงและพัฒนาร่วมกันระหว่างผู้ป่วยและพยาบาล
ทฤษฎีการพยาบาลโอเรม
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
การดูแลตนเอง (Self-care)
ความบกพร่องในการดูแลตนเอง (Self-care deficit)
ความต้องการในการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic self-care demand)
ความสามารถในการดูแลตนเอง (Self-care agency)
ความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องพึ่งพา (Dependent care agency)
ความสามารถทางการพยาบาล
ระบบการพยาบาล(Nursing system)
ปัจจัยพื้นฐาน (Basic conditioning factors)
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นที่บุคคล คือความสามารถของบุคคลที่จะตอบสนองต่อความต้องการในการดูแล
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
ประเมินความสามารถในการดูแลตนเอง
มีการทำงานของระบบประสาทปกติ ความรู้สึกเจ็บปวด ร้อนหนาวถูกต้อง
มีความสามารถพูดคุยสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ดี
มีความตั้งใจและสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตัวขณะเจ็บป่วย
ประเมินความต้องการการดูแลตามความจำเป็นทั้ง 3 ด้าน
ประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
แผนการพยาบาล
ตัวอย่างการประยุกต์
มาประยุกต์ในการ ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน ผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงที่กระดูกสันหลัง มีผลให้เป็น อัมพาตครึ่งท่อนล่าง ระยะแรกผู้ป่วยทำใจไม่ได้กับภาวะพิการของตนเอง ไม่ร่วมมือในการรับประทานยา ไม่รับประทานอาหารฯ พยาบาลต้องพูดคุยให้ กำลังใจ และให้การช่วยเหลือ เช็ดตัวทำความสะอาดร่างกายให้ทั้งหมด และ แนะนำให้รู้จักผู้ที่เป็นโรคเดียวกับผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตนั่งรถเข็นมาพูดคุยด้วยหลายครั้งผ่านไป ผู้ป่วยเริ่มสนใจรับประทานอาหารและ ตัดสินใจสู้ ชีวิต การทำกายภาพบำบัดเริ่มขึ้นพยาบาลปรับบทบาทให้การช่วยเหลือน้อยลง เช่น นำผ้าเช็ดตัวพร้อมถังน้ำมาให้ผู้ป่วยเช็ดตัวเอง พยาบาลช่วยเช็ดหลังให้ และแนะนำวิธีทำความสะอาดร่างกายให้ญาติ/ผู้ดูแลให้รู้ว่าควรช่วยเหลือ กิจกรรมใด อย่างไร และควรส่งเสริมการใช้ศักยภาพที่มีอยู่ของผู้ป่วย ต่อมา ผู้ป่วยแข็งแรงสามารถนั่งรถเข็นไปเช็ดตัวที่ห้องน้ำเอง เมื่อผู้ป่วยได้รับอนุญาต ให้กลับบ้าน บ้านผู้ป่วยเป็นห้องแถวมีธรณีประตูผู้ป่วยนั่งรถเข็นอยู่ในบ้านโดย ไม่ได้ออกไปไหน พยาบาลเยี่ยมบ้านแนะนำให้ทำทางลาดข้ามธรณีประตูผู้ป่วย สามารถใช้รถเข็นนั่งไปเยี่ยมบ้านเพื่อนได้และในที่สุดก็เลือกอาชีพขาย ลอตเตอรี่ ใช้ชีวิตมีความสุขอยู่กับครอบครัว
ประวัติความเป็นมา
ผู้ก่อตั้ง คือ
Dr.Dorothea E. Orem
เริ่มพัฒนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958
ในปี 1995 ได้เพิ่มมิติของการดูแลตนเองเป็นความรับผิดชอบของบุคคล ครอบครัวและชุมชน
ในปี 1962 ได้เขียนหนังสือ
"The hope of Nursing"
ในวารสาร
"The journal of Nursing Education"
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง
ความต้องการที่น้อยกว่าความสามารถ (TSCD <SCA)
ความต้องการมากกว่าความสามารถ (TSCD >SCA)
ความต้องการที่สมดุล (TSCD= SCA)
ทฤษฎีการดูแลตนเอง
การดูแลตนเองที่จำเป็นโดยทั่วไป การกระทำด้วยตนเองเพื่อดำรงชีวิตไว้ การดูแลตนเองนั้นเป็นผู้ที่ต้องใช้ความสามารถหรือพลังในการกระทำที่จงใจโดยแบ่งเป็นระยะตัดสินใจ และระยะผลของการกระทำ
ความต้องการในการดูแลตนเองทั้งหมด เป็นเป้าหมายสูงสุดของการดูแล
ความสามารถในการดูแลตนเอง ความสามารถของบุคคลที่เอื้อต่อการกระทำกิจกรรมการดูแลตนเองอย่างจงใจ
ทฤษฎีการพยาบาล TTM
(Transtheoretical model)
ประวัติความเป็นมา
ทฤษฎีการพยาบาล TTM เป็นโมเดลที่อธิบายความตั้งใจหรือความพร้อมของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง
ผู้คิดค้น
"
James O.
Prochaska, Ph.D.
Carlo diClemente,Ph.D."
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (self-efficacy)
เป็นความเชื่อมั่นที่บุคคลมีต่อตนเอง มีความสามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมายได้สำเร็จ
ความสมดุลและการตัดสินใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การที่บุคคลประเมินสมดุลระหว่างผลดี และผลเสีย ที่จะได้รับการปฏิบัติพฤติกรรมเป้าหมาย
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
2.ขั้นมีความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
: การประเมินตนเองการเปรียบเทียบผลดีและผลเสียของพฤติกรรม
3.ขั้นเตรียมการ
: การรับรู้สิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสุขภาพ
4.ขั้นปฏิบัติการ
: การหาแรงสนับสนุนทางสังคม
1.
ขั้นก่อนมีความตั้งใจในการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรม การปลูกจิตสำนึก
: การประเมินพฤติกรรม
5.ขั้นพฤติกรรมคงที่
: การควบคุมสิ่งเร้า การให้การเสริมแรง การส่งเสริมความมั่นใจในความสามารถของตนเอง
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
5.Maintenance
คนไข้สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ ได้อย่างน้อย 6 เดือน
3.Preparation
คนไข้เริ่มวางแผนการปรับเปลี่ยน เริ่มตั้งเป้าหมาย
1.Pre-contemplation
คนไข้ยังไม่พร้อมในการปรับเปลี่ยน
6.Relapse
เป็นขั้นตอนที่อาจเกิดหรือไม่ก็ได้ คือ คนไข้กลับไปกระทำพฤติกรรมเดิม
2.Contemplation
คนไข้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและคิดว่าน่าจะปรับเปลี่ยนได้
4.Action
คนไข้เริ่มปฏิบัติตามแผน
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
1.บุคคลแสวงหาภาวการณ์ของชีวิตที่สร้างสรรค์ด้านสัขภาพของตน
4.บุคคลแสวงหาการควบคุมพฤติกรรมตนเอง
6.บุคลากรด้านสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม
5.บุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
2.บุคคลตระหนักรู้ในตนเอง
7.การริเริ่มด้วยตนเองในการสร้างแบบแผนในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
3.บุคคลให้คุณค่าแก่การเจริญเติบโต
ทฤษฎีการพยาบาลวัตสัน
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
ข้อตกลงเบื้องตนที่สัมพันธ์กับคุณค่าการดูแลมนุษย์ในการพยาบาลไว้ 11 ประการ
11.ประโยชน์ของวิชาชีพพยาบาลต่อสังคม
-การยึดมั่นในการดูเเลเชิงมนุษย์นิยมทั้งด้านทฤษฎี การปฎิบัติ เเละการวิจัย
7.การดูแลเชิงมนุษย์นิยม
-รายบุคคลหรือกลุ่ม ได้รับความสนใจจากระบบบริการสุขภาพน้อยลง
9.การอนุรักษ์และการศึกษาเรื่องการดูแลมนุษย์
6.การดูแล
-เป็นจุดเน้นในการปฏิบัติการพยาบาล
-แกนกลางของการพยาบาล
5.การพยาบาลต้องยึดถือการดูแลความเป็นมนุษย์
10.การดูเเลมนุษย์
-ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
1.การดูเเลเเละความรักเป็นพลังสากล
4.รักศักดิ์ศรีของตนเอง
8.ค่านิยมเกี่ยวกับกาดูแลของพยาบาล
-ค่านิยม/อุดมคติที่เน้นความเป็นมนุษย์จึงอยู่ในภาวะวิกฤติ
3.ก่อนจะดูแลผู้อื่นพยาบาลต้องดูแลตนเองด้วยความสุภาพอ่อนโยน
2.มนุษย์ต้องการความรักและการดูแลซึ่งกันและกัน
ประวัติความเป็นมา
มีประสบการณ์ในวิชาชีพพยาบาล
กว้างขวาง
งานเขียนประสบการณ์ส่งผลต่อการพัฒนาทฤษฎี
ค.ศ.1988 ทฤษฎีของวัตสัน
“ศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์และการดูแล เป็นไปได้ทั้งทฤษฎี ปรัชญา ทัศนะ กระบวนการพยาบาลได้รับการพิมพ์
ได้รับแรงจูงใจจากความต้องการที่จะทำความเข้าใจบทบาทในการบำบัดทางการพยาบาล
ทฤษฎีของวัตสันได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง
เกิด ค.ศ.1940
ที่อเมริกา
งานเขียนปรัชญาศาสตร์ของการดูแลถูก
ตีพิมพ์ ค.ศ.
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
1. การใช้ในระดับพื้นฐาน
ปัจจัยการดูแล :10 ประการ (Ten carative factors)
5.ยอมรับความรู้สึกทางบวกและทางลบ
7.ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจผู้อื่น
8.ประคับประคอง สนับสนุน และแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตสังคม และจิตวิญญาณ
9.พึงพอใจที่จะช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่น
2.สร้างความศรัทธาและความหวัง
6.ใช้วิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เพื่อการตัดสินใจ
10.ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและสร้างเสริมพลังที่มีอยู่
1.สร้างระบบค่านิยมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
4.สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลือและการไว้วางใจ
3.สร้างความไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น
2.การใช้เพื่อการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง
คือการนำรูปแบบการดูแลที่เข้าถึงจิตใจกันระหว่างคนสองคน (Transpersonal caring)
มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการฟื้นหาย (Healing)
โดยมีกระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือสู่การปฏิบัติการพยาบาลโดยในแต่ละขั้นของกระบวนการพยาบาล
ต้องอาศัยTen Carative Factor และ Clinical Caritas Process
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
ปัจจัยการดูแล10ประการ
5.ส่งเสริมและยอมรับความรู้สึกทางบวกและทางลบ / ส่งเสริมให้มีการแสดงความรู้สึกออกมาทั้งทางบวกและลบ
9.พึงพอใจที่จะช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่น / ช่วยเหลือโดยมุ่งตอบสนองความต้องการของบุคคล
4.สร้างสัมพันธภาพการช่วยเหลืออย่างไว้วางใจ / สร้างสัมพันธภาพ
ประคับประคอง สนับสนุน และแก้ไขสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ จิตสังคม และจิตวิญญาณ / สร้างสรรค์ สภาพแวดล้อมแห่งการบำบัด
2.สร้างความศรัทธาและความหวัง / มีชีวิตอยู่กับความจริง
ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น-พลังที่มีอยู่ / เปิดรับพลังทางจิตวิญญาณ สิ่งลึกลับและยังไม่มีคำอธิบายอันเกี่ยวกับการมีชีวิต ความตาย
ปลูกฝังความไวต่อความรู้สึกของตนเองและผู้อื่น/ ปลูกฝังการปฏิบัติทางจิตวิญญาณ
1.สร้างระบบค่านิยมการเห็นแก่ประโยชน์ของผู้อื่น และมีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
ส่งเสริมการเรียนการสอนที่เข้าถึงจิตใจผู้อื่น / ส่งเสริมการสอน การเรียนรู้ประสบการณ์ ซึ่งระหว่างกันของพยาบาลและผู้ป่วย
6.ใช้วิธีการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ เพื่อการตัดสินใจ / ใช้ตนเองและทุกวิถีแห่งความรู้
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
4.การพยาบาล
วิชาที่กล่าวถึงประสบการณ์การเยียวยารักษาความเจ็บป่วย และสุขภาพของบุคคล
โดยปฏิบัติการดูแลบุคคลอย่างวิชาชีพ อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์และศิลปะการคำนึงถึงความเป็นุคคลและความมีจริยธรรม
2.สุขภาพ
สุขภาพเป็นภาวะที่เป็นสุขทางกาย จิต สังคม และ จิตวิญญาณมีสุขภาพดี หมายถึง การมีภาวะที่ดีทั้ง ทางด้านร่างกาย จิตใจ และความผาสุกทางสังคม
3.สิ่งแวดล้อม
สังคมที่เข้ามามีอิทธิพล สิ่งแวดล้อมมีส่วนร่วมสร้างค่านิยม
และพฤติกรรมที่คนควรปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่คนต้องการดิ้นรนไปถึง
1.บุคคล
บุคคลมีความเป็นองค์รวมที่ประกอบขึ้นด้วย
การหลอมรวม ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
ทฤษฎีการพยาบาลคิง
ประวัติความเป็นมา
ปี ค.ศ. เสนอ “มโนทัศน์ระบบประปฏิสัมพันธ์”
สร้างโดย IMogene M.King
เป็นพยาบาลชาวอเมริกัน
ข้อตกลง / จุดเน้นของทฤษฎี
พยาบาลปฎิบัติตามบทบาทและความรับผิดชอบ ช่วยเหลือบุคคลแต่ละคนและกลุ่มในสังคมจะได้รับการคงไว้ การรักษา การมีสุขภาพที่ดี
ความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และกระบวนการของชีวิตตั้งแต่เกิดจนชราภาพ วัฒนะธรรมของสังคมที่พยาบาลอาศัยและทำงาน
แนวคิดหรือหลักการสำคัญ
ของทฤษฎี
ระบบสังคม
(Social System)
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ใช้บริการ
ระบบบริการสุขภาพ
ระบบสังคมทั่วไป
ระบบระหว่างบุคคล
(Interpersonal System)
ความเครียด(Stress)
การบรรลุเป้าหมายของการปฎิสัมพันธ์(Transaction)
การมีปฏิสัมพันธ์(Interaction)
บทบาท(Role)
การติดต่อสื่อสาร(Communication)
ระบบของบุคคล
(Personal System)
เวลา (Time)
การเติบโตและพัฒนาการ
(Growth And Development)
อาณาบริเวณ(Space)
ภาพลักษณ์
(Body Image)
อัตตาตัวตน
(Body Image)
การรับรู้(Perception )
ตัวอย่างการนำทฤษฎีการพยาบาลนั้นๆ
ไปใช้ในการพยาบาล
การวางแผน
Planning
ยอมรับวิธีปฎิบัติร่วมกัน
ขั้นตอนการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย
แสวงหาวิธีปฎิบัติ
การประเมินผลพยาบาล
Evaluation
ช่วยกันหาวิธีขจัดอุปสรรค
ประเมินผลการปฎิบัติว่าสำเร็จตามเป้าหมาย
ที่กำหนดร่วมกันหรือไม่
การปฏิบัติการพยาบาล
Implementations
พยาบาลมีหน้าที่ปฎิบัติบทบาทของพยาบาล
ผู้รับบริการปฎิบัติกิจกรรมตามวิธีที่ตกลงร่วมกัน
การประเมินสภาพ
Assessment
ขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพ
มีการแลกเปลี่ยนการรับรู้ ระหว่างพยาบาลกับผู้บริการ
การติดต่อสื่อสาร
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
1.สุขภาพ
ความเจ็บป่วย ภาวะที่โครงสร้างร่างกายและจิตใจ มีความเบี่ยงเบน
และมีความขัดแย้งกันในความสัมพันธภาพของบุคคลในสังคม
ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในสังคม
2.บุคคล
บุคคลมักเป็นผู้มีการรับรู้
มีความสามารถในการวางเป้าหมายที่จะทำสิ่งต่างๆ
มีความสามารถที่จะตัดสินใจและควบคุมตนเองได้
ทุกคนมีความนึกคิดมักมีความรู้สึกของตนเอง
3.สิ่งแวดล้อม
บุคคลมีทั้งสิ่งแวดล้อมภายใน
และภายนอก
บุคคลมีความสามารถในการนำพลังงานมาช่วยในการ
ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอก
ได้อย่างต่อเนื่อง
4.การพยาบาล
เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ของพยาบาลและผู้ใช้บริการโดยทั้ง2ฝ่าย
มีการสื่อสาร รับรู้สภาพการณ์มีการตั้งเป้าหมายและกำหนด
จุดมุ่งหมายของความสำเร็จร่วมกัน