Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 พยาธิสรีรภาพของไตและระบบทางเดิน ปัสสาวะ - Coggle Diagram
บทที่ 8 พยาธิสรีรภาพของไตและระบบทางเดิน ปัสสาวะ
ปัสสาวะมาก ( Polyuria )
ปัสสาวะมากผิดปกติ
ค่าเฉลี่ยของปรมิาณปัสสาวะในแตล่ะวันจะไม่เกิน3ลิตรในวัยผู้ใหญ่
และไม่ควรเกิน 2 ลิตรในวัยเด็ก
ไม่เก่ียวว่าจำนวนครั้งท่ีปัสสาวะต่อวันจะมากหรือน้อยวัดเฉพาะปริมาณเท่านั้น
จึงจำเป็นต้องตรวจวัดด้วยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวัน 24 ชั่วโมงเพื่อดูว่าแท้จริงแล้วปริมาณปัสสาวะมีเท่าไรหากเกินข้อกำหนดที่กล่าวไว้ข้างต้นค่อยเข้ารับการตรวจรักษาต่อไป
ปัสสาวะมากเกิดจากอะไร
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
มีภาวะโรคเบาจืด: เป็นโรคเกี่ยวกับการเสียสมดุลของน้ำในร่างกายซึ่งมีอัตราการเกิดน้อยมากนาน ๆ ครั้งจึงจะพบผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาจืดสักที่หนึ่งส่วนมากเป็นเพราะความผิดปกติของฮอร์โมนแอนติไดยูเรติกผู้ป่วยก็จะมีความกระหายน้ำอย่างรุนแรงต้องดื่มน้ำเข้าไปมากจึงปัสสาวะมากด้วยเช่นกันผลข้างเคียงอื่น ๆ ก็คือเมื่อดื่มน้ำมากแล้วจะทำให้ทานอาหารได้น้อยลงร่างกายจึงขาดสารอาหารที่จำเป็นเรียกว่าเสียสมดุลหลายระบบเลยที่เดียว
มีภาวะ Psychogenic polydipsia: เป็นความผิดปกติในด้านพฤติกรรมคือติดนิสัยการทานน้ำปริมาณมากเป็นพฤติกรรมที่บางครั้งเชื่อมโยงกับระบบประสาท แต่บางครั้งก็ไม่กลับกลายเป็นว่าถูกหล่อหลอมมาจากสภาพแวดล้อมแทนคนกลุ่มนี้จะนอนหลับได้ดีเป็นพิเศษและอาการปัสสาวะมากก็จะหยุดไปในช่วงที่หลับนี่เอง
มีโรคเบาหวาน: อันที่จริงตัวโรคเบาหวานเองไม่ได้มีอะไรที่เป็นอันตรายจนน่าวิตกกังวลนัก แต่สิ่งที่แทรกซ้อนเข้ามาต่างหากที่อันตรายอาการปัสสาวะมากก็เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนเหล่านั้นผู้ป่วยเบาหวานจะรู้สึกกระหายน้ำบ่อยกว่าปกติและทานอาหารมาก แต่น้ำหนักตัวกลับลดลงแน่นอนว่าต้องปัสสาวะมากตลอดทั้งวันแม้ในยามหลับหากเป็นขั้นรุนแรงก็อาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน
โรคเกี่ยวกับไต: ประเด็นนี้เน้นหนักไปที่โรคอะไรก็ตามที่ทำให้ไตไม่สามารถเก็บน้ำเอาไว้ได้เมื่อเก็บไม่ได้ก็ต้องปล่อยออกเท่านั้นเองตัวอย่างของโรคก็คือ hypercalcemia (ภาวะแคลเซียมสูงในเลือด) chronic pyelonephritis (ภาวะกรวยไตอักเสบ) chronic hypokalemia (ภาวะผิดปกติของค่าโพแทสเซียมในร่างกาย) เป็นต้น
ประเภทของอาการปัสสาวะมาก
อาการปัสสาวะมากจำพวก Polyuria ออกเป็นส่วนย่อย ๆ ตามองค์ประกอบของปัสสาวะได้ 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่ม Solute diuresis: เป็นภาวะปัสสาวะมากที่มีต้นตอมาจากเกิดปริมาณสารบางอย่างที่ดึงน้ำออกจากร่างกายแล้วกลายเป็นปัสสาวะโดยที่จะเป็นสาร electrolyte หรือ nonelectrolyte ก็ได้
กลุ่ม Water diuresis: เป็นภาวะที่ปัสสาวะถูกขับออกมาเร็วกว่าปกติลักษณะจะเป็นของเหลวที่เจือจางมากหากพูดให้เข้าใจง่ายก็คือน้ำผ่านกระบวนการดูดซึมน้อยเกินไปนั่นเองซึ่งจะต้องวินิจฉัยด้วยค่า urine osmolality <250 mosm / kg
ความสำคัญของค่า ADH
ADH หรือ Antidiuretic hormone เป็นฮอร์โมนต้านการขับปัสสาวะเราอาจเคยได้ยินชื่ออื่น ๆ นอกจากนี้มาบ้างเช่นเวโซเพรสซินนี่เป็นฮอร์โมนที่สร้างโดยสมองส่วนไฮโพทาลามัสแล้วส่งต่อไปยังคลังเก็บที่สมองส่วนหลังเพื่อรอการดึงออกมาใช้งานหน้าที่หลักของ ADH ก็คือควบคุมการทำงานของไตกลไกการดูดซึมและกรองสารพิษต่างๆจึงดำเนินไปได้อย่างสมบูรณ์ไม่ส่งผลกระทบในทางไม่ดีต่อร่างกายรักษาสมดุลน้ำในร่างกายให้เป็นปกติเนื่องจากสสารในร่างกายทั้งหมดเป็นน้ำมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์หากเสียสมดุลไประบบก็จะรวนและเสียหายนอกจากนี้ ADH ก็ยังดูแลเรื่องความเข้มข้นของของเหลวในร่างกายอีกด้วยในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะมากส่วนใหญ่จึงมีปัญหาค่า ADH ลดน้อยลงอาจเป็นเพราะร่างกายไม่สามารถผลิตสาร ADH ได้ตามปกติหรือมีพฤติกรรมบางฝึกให้ร่างกายดึงเอา ADH มาใช้งานน้อยลง
การตรวจวินิจฉัยอาการปัสสาวะมาก
อาการปัสสาวะมากนี้จะไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงในระยะสั้น แต่ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยจนกลายเป็นปัญหาใหญ่เมื่อรู้สึกว่ามีปริมาณปัสสาวะมากกว่าปกติจนผิดสังเกตก็ให้เก็บข้อมูลด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อนเข้าพบแพทย์ดังนี้
บันทึกความถี่ในการปัสสาวะและสิ่งที่ทำให้คิดว่าปริมาณปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น
สังเกตสีและลักษณะอื่น ๆ ของปัสสาวะ
สังเกตอาการปวดปัสสาวะช่วงเข้านอนว่าต้องตื่นและลุกมาเข้าห้องน้ำกลางดึกหรือไม่บ่อยแค่ไหน
การซักประวัติผู้ป่วย
การซักประวัติเป็นขั้นตอนแรกของการรักษาทุกโรคมีรูปแบบและวิธีการที่ไม่ตายตัวขึ้นอยู่กับประสบการณ์และทักษะของแพทย์ผู้ดูแลอย่างไรก็ตามนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งเก็บข้อมูลได้มากและถูกต้องเท่าไรก็ยิ่งดำเนินการแก้ไขได้อย่างตรงจุดมากเท่านั้นต่อไปนี้เป็นรูปแบบการซักประวัติที่จำเป็นต่อผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปัสสาวะมาก
เมื่อเทียบกับเวลาปกติอาการที่เกิดขึ้นคือปัสสาวะมากขึ้นหรือปัสสาวะบ่อยขึ้น
ในช่วงเวลากลางคืนที่นอนหลับไปแล้วเคยตื่นเพื่อลุกมาเข้าห้องน้ำหรือไม่บ่อยมากแค่ไหน
มีโรคประจำตัวอื่น ๆ หรือไม่เช่นโรคเบาจืดโรคเบาหวานเป็นต้น
เคยมีความกระทบกระเทือนทางสมองมีอุบัติเหตุหรือโรคภัยที่เกี่ยวข้องกับสมองหรือไม่
มียาอะไรที่ใช้เป็นประจำหรือไม่
น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงจนผิดสังเกตหรือไม่
เมื่อซักประวัติเรียบร้อยก็พอจะได้ข้อมูลคร่าวๆแล้วว่าใช่อาการปัสสาวะมากจริงหรือไม่จากนั้นก็ต่อด้วยการตรวจวัด
ตรวจปัสสาวะ
ทีมแพทย์จะทำการตรวจวัดปริมาณปัสสาวะ 24 ชั่วโมงซึ่งตรงนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยด้วยเช่นกันเพราะมักมีปัญหาว่าเก็บปัสสาวะไม่ครบจนเป็นเหตุให้การวินิจฉัยผิดเพี้ยนไปมากเมื่อเก็บตัวอย่างปัสสาวะเรียบร้อยแล้วก็จะทำการตรวจลงลึกในรายละเอียดต่อไปดังนี้
Urine specific gravity: การตรวจเบื้องต้นที่ถือว่าง่ายที่สุดเป็นการวัดค่าความถ่วงจำเพาะหรือพูดให้เข้าใจง่ายก็คือค่าความหนาแน่นของปัสสาวะเมื่อเทียบกับน้ำนั้นเองในคนปกติจะมีค่า Urine specific gravity อยู่ที่ 1.010-1.025 แต่ถ้าใครมีค่า Urine specific gravity ต่ำกว่า 1,005 ก็มีแนวโน้มมีอาการของ water diuresis
Urine osmolality: นี่เป็นการตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารละลายในปัสสาวะซึ่งโดยปกติก็จะที่ค่าอยู่ในช่วง 50-1200 mosm / kg หากตรวจผู้ป่วยแล้วพบว่ามีค่าน้อยกว่า 250 mosm / kg ก็มีโอกาสที่จะเป็น water diuresis แต่ถ้าค่านั้นมากกว่า 300 mosmkg ก็น่าจะเป็น solute diuresis มากกว่าจะเห็นได้ว่าค่าที่ใช้เป็นเกณฑ์ตรวจวัดไม่ได้ออกนอกช่วงค่าปกติที่พบเจอได้เพราะหากหลุดจากช่วงนั้นไปก็แสดงว่าเข้าสู่ภาวะอันตรายแล้ว
Urine glucose: เป็นการตรวจหาน้ำตาลกลูโคสในปัสสาวะซึ่งเป็นการตรวจขั้นพื้นฐานในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานถ้าในปัสสาวะน้ำตาลมากก็แสดงว่าร่างกายไม่สามารถดูดซึมหรือจัดการน้ำตาลได้ตามปกติในผู้ป่วยที่มีอาการปัสสาวะมากก็เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน
ตรวจเลือด
แม้ว่าจะดูเหมือนไม่ค่อยเกี่ยว แต่จริงๆแล้วเลือดนั้นเป็นเสมือนกุญแจที่ไขความลับทุกอย่างในร่างกายของแต่ละคนเมื่อเลือดแข็งแรงสมบูรณ์ดีร่างกายย่อมสมบูรณ์ดีเช่นกัน แต่ถ้ามีอาการผิดปกติไม่ว่าที่อวัยวะส่วนไหนหรือระบบใดต่างก็แสดงออกมาให้เห็นชัดในผลเลือดทั้งสิ้นสำหรับอาการปัสสาวะมากจะแบ่งการตรวจเลือดออกเป็น 4 แบบดังนี้
Serum sodium: เป็นการตรวจวัดค่าโซเดียมที่อยู่ในน้ำเลือดซึ่งเชื่อมโยงไปถึงสมดุลของน้ำในร่างกายและค่า ADH ค่าที่วัดได้สามารถใช้เพื่อแยกแยะสาเหตุได้ 2 อย่างคือถ้าค่าที่ได้ต่ำกว่าปกติอาการปัสสาวะมากอาจสาเหตุมาจาก primary polyuria แต่ถ้าค่าที่ได้สูงกว่าปกติก็มักจะมีผลมาจาก DI
Blood suger: เป็นการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเน้นหนักในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
Serum potassium: เป็นการตรวจวัดค่าโปแตสเซียมว่าอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่เพราะมีผลโดยตรงต่อความเข้มข้นของปัสสาวะ
Serum calcium เป็นการตรวจวัดค่าแคลเซียมในเลือดซึ่งอาจมีผลต่อการทำงานที่ผิดปกติของไตได้
กระบวนการ Water deprivation test
นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะตรวจสอบภาวะปัสสาวะมากที่มีสาเหตุมาจาก water diuresis โดยจะต้องให้ผู้ป่วยอดน้ำพร้อมกับวัดปริมาณปัสสาวะทุก 1 ชั่วโมงขณะเดียวกันนี้ก็วัดค่า urine osmolality ไปด้วยจากนั้นก็ตรวจ serum sodium และ plasma osmolality เพิ่มอีกทุก 2 ชั่วโมง
แนวทางการรักษาภาวะปัสสาวะมาก
กรณีผู้ป่วยมีภาวะ Center DI หรือมีภาวะเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน ADH ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการเสียสมดุลของน้ำในร่างกายใจความสำคัญในการรักษาก็จะเป็นการลดปริมาณปัสสาวะด้วย 3 แนวทางต่อไปนี้
• Low solute diet: การใช้อาหารที่มีความเข้มข้นต่ำเพื่อลดการขับปัสสาวะของร่างกาย
•Desmopressin: เป็นการใช้สารสังเคราะห์ที่ทำหน้าที่เทียบเท่ากับฮอร์โมน ADH ในร่างกายโดยจะเริ่มที่ 5 mcg ก่อนแล้วค่อยปรับค่าเพิ่มหรือลดตามความเหมาะสม
•ใช้ยาอื่น ๆ ที่สามารถลดปริมาณปัสสาวะได้ตัวอย่างเช่น carbamazepine, NSAIDs, thiazid diuretic เป็นต้น
กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะ Nephrogenic DI หรือภาวะเบาจืดจากความผิดปกติของหน่วย
•Low sodium, Low protein diet
•ใช้ยาในกลุ่ม amiloride ซึ่งเป็นยาขับปัสสาวะชนิดหนึ่งโดดเด่นในเรื่องของการลดปริมาณน้ำและเกลือแร่ในปัสสาวะ
•Desmopressin: ใช้เมื่อรักษาด้วยแนวทางอื่นแล้วยังไม่ได้ผลที่น่าพอใจ
กรณีที่ผู้ป่วยเป็น Primary polydipsia ก็สามารถรักษาเบื้องต้นง่ายๆด้วยการ จำกัด น้ำและอาจใช้การรักษาในทางจิตเวชร่วมด้วยหากผู้ป่วยมีสัญญาณเกี่ยวกับภาวะทางจิต
ปัสสาวะออกน้อย (Oliguria and Anuria)
อาการปัสสาวะออกน้อยเราจะให้ความสำคัญกับปริมาณมีเกณฑ์มาตรฐานอยู่ที่ 400 มิลลิลิตรต่อ 24 ชั่วโมงในวัยผู้ใหญ่และ 100 มิลลิลิตรต่อ 24 ชั่วโมงในวัยเด็กหากปัสสาวะมีปริมาณน้อยกว่านี้ก็จะถือว่าเข้าสู่ภาวะปัสสาวะน้อยแล้วโดยไม่เกี่ยวกับจำนวนครั้งหรือความถี่ที่ปวดปัสสาวะเลยอันตรายจากภาวะปัสสาวะออกน้อยนี้จะทำให้เกิดน้ำคั่งภายในร่างกายมากเกินไปค่าโซเดียมและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ควรขับออกก็ไม่ได้ถูกขับออกร่างกายจึงบวมน้ำความดันโลหิตสูงกลายเป็นว่าคอยสะสมของเสียต่างๆอยู่ตลอดเวลาและเมื่อมีของเสียมากสมดุลร่างกายก็เสียไปยิ่งปล่อยไว้นานเท่าไรก็ยิ่งแพร่กระจายความเสียหายของระบบสมดุลมากขึ้นเท่านั้น
AKI คืออะไร
•ก่อนจะไปถึงตัวอย่างของสาเหตุที่พบได้บ่อยจำเป็นต้องรู้จักกับ AKI เสียก่อนเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นหรือ Acute kidney injury เป็นภาวะไตวายเฉียบพลันอวัยวะส่วนไตเกิดการเสียสมดุลไปจนถึงเสียประสิทธิภาพในการทำงานไปอย่างรวดเร็วซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การภาวะไตวายเฉียบพลันก็มีได้หลากหลาย แต่สุดท้ายมักจะให้ผลลัพธ์แบบเดียวกันทั้งสิ้น
• ส่วนของอาการปัสสาวะออกน้อยหากไม่ได้เข้าข่ายของการดื่มน้ำน้อยเกินไปที่กล่าวไว้ข้างต้นก็จะเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยๆเหล่านี้แทน
Pre-renal AKI: เป็นภาวะที่ effective arterial blood volume ลดลงอย่างรวดเร็วมักเกิดกับผู้ป่วยที่มีการเสียเลือดหรือเสียน้ำอย่างมากเมื่อร่างกายขาดสมดุลของน้ำและเลือดไปสิ่งที่จะส่งต่อเพื่อไปหล่อเลี้ยงการทำงานของไตก็ลดลงจึงเกิด AKI ขึ้น แต่ประเด็นก็ยังไม่น่ากลัวนักหากรักษาได้ทันท่วงทีการชดเชยน้ำและเลือดในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะปกติได้
Intrinsic AKI: นี่คือการเกิดพยาธิสภาพบริเวณ renal parenchymal โดยจะเกิดขึ้นที่ส่วนไหนก็ให้ผลลัพธ์เหมือนกันหมดไม่ว่าจะเป็น tubule, tubulointerstitial, glomerular, vascular เป็นต้น
Post-renal AKI: มักเป็นอาการอุดตันบริเวณ bladder outlet และการอุดตันที่ทางเดินปัสสาวะข้างเดียวหรือสองข้างสามารถตรวจวินิจฉัยได้ง่ายโดยการใช้อัลตร้าซาวด์หากเป็นการขยายตัวของท่อไตก็คาดคะเนไว้ก่อนได้ว่ามีการอุดตันเกิดขึ้นแม้ว่าจะฟังดูร้ายแรง แต่ส่วนนี้สามารถแก้ไขได้อย่างรวดเร็วเช่นกันและหลังการแก้ไขหน่วยไตก็จะกลับมาทำงานตามปกติได้
Sepsis-associated AKI: นี่คือการติดเชื้อในกระแสเลือดซึ่งมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ AKI มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อมีการติดเชื้อในระบบเลือดก็จะเกิด arterial vasodilation และ renal vasoconstriction ตามมานอกจากนี้ยังมีการบาดเจ็บที่ส่วนต่างๆของเซลล์อีกด้วย
Postoperative AKI: ส่วนใหญ่แล้ว Postoperative AKI เป็นภาวะที่เกิดมาจากการผ่าตัดหากเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องเสียเลือดจำนวนมากร่างกายก็ขาดสมดุลความดันโลหิตต่ำกว่ามาตรฐานก็จะส่งผลให้เข้าสู่ภาวะ AKI ได้ง่ายนี่ยังไม่รวมการได้รับพิษจากยาต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในระหว่างการผ่าตัดอีกด้วยหากเกิด AKI พร้อมกับมีภาวะเป็นพิษควบคู่กันไปก็จะทำให้การรักษายุ่งยากขึ้นระดับ
Burn and acute pancreatitis: กรณีนี้จะเป็นการสูญเสียน้ำปริมาณมากอย่างฉับพลันทำให้ตับอ่อนเกิดการอักเสบส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มีอาการผิวไหม้หรือภาวะ BURN มากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดในร่างกายนอกจากการเสียน้ำแล้วแผลเหล่านี้ก็ยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อซึ่งเพิ่มอัตราการเกิด AKI ได้มากขึ้นอีก
Nephrotoxic drug associated AKI: เนื่องจากไตเป็นหน่วยกรองทุกสิ่งทุกอย่างในร่างกายหากเรารับสารพิษเข้าไปมากภาระก็ไปตกที่หน่วยไตนเองและไตของเราก็ไม่ใช่เครื่องจักรที่ไม่มีวันบุบสลายเมื่อไรที่ทำงานหนักมากไปก็ย่อมเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ กรณีนี้เป็นผลกระทบของการใช้ยาต่างๆเช่น aminoglycoside, amphoterincin B เป็นต้นทางแก้อย่างแรกที่ต้องทำทันทีคือหยุดยาที่ใช้ให้เร็วที่สุดนั่นหมายความหากหาสาเหตุนี้เจอได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งแก้ไขได้เร็วเท่านั้น
Endogenous toxin: อาจเรียกได้ว่าเป็นอาการติดพิษจากสารที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเองเช่น myoglobin, hemoglobin, uric acid และ myeloma light chain ทุกตัวสามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะ AKI ได้ทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดอาการติดพิษเสมอไปอาการ Endogenous toxin นี้จะทำให้ท่อไตบาดเจ็บและปัสสาวะมีความเป็นด่างสูงกว่าที่ควรจะเป็น
Tumor lysis syndrome: ส่วนใหญ่เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากการบำบัดด้วยเคมีอย่างที่เรารู้กันดีว่าการบำบัดด้วยเคมีในผู้ป่วยนั้นมักมีผลลัพธ์อันไม่พึงประสงค์อยู่เสมอจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่ความเข้มข้นและสภาพร่างกายของผู้ป่วยทีนี้หากการบำบัดนั้นกระตุ้นให้มีการหลั่ง uric acid ออกมาในปริมาณมากก็จะทำให้เสียสมดุลของ uric acid ในท่อไตและปัสสาวะที่ออกมาก็กลายเป็นสภาพด่างที่ผิดปกติ
ผลกระทบที่เห็นได้ชัดเจนจากภาวะปัสสาวะน้อย
. มีอาการบวมของร่างกายเพราะไม่สามารถขับของเสียออกไปได้ตามปกติโซเดียมและแร่ธาตุต่างๆเพิ่มขึ้นสูงเกินกว่าระดับที่ร่างกายต้องการเนื้อเยื่อต่างๆจึงเกิดอาการบวมขึ้น
ระดับฮอร์โมนอดรีนลเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติซึ่งฮอร์โมนตัวนี้มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของกลุ่มท่อต่างๆภายในหน่วยไตเมื่อมีฮอร์โมนอครีนัลมากไปการดูดกลับของโซเดียมก็มากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง
มีการหลั่งสารเรนินจากเซลล์ผนังหลอดเลือดในส่วนของไตมากขึ้นส่งผลให้ตับจำเป็นต้องสร้างแอนจิโอเทนซินวันขึ้นมาแล้วผ่านกระบวนการเปลี่ยนโครงสร้างเล็กน้อยกลายเป็นสารที่กระตุ้นการหดตัวของหลอดเลือดความดันเลือดจึงสูงและส่งผลวนไปจนถึงส่วนไตทำให้ไตดูดกลับโซเดียมมากขึ้น
เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะตามมาและถ้ารุนแรงเรื้อรังไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้กลายเป็นอาการปัสสาวะออกน้อยซึ่งต้องทำการรักษากันขนานใหญ่
การตรวจร่างกายและวินิจฉัยโรคปัสสาวะน้อย
1.ประวัติการสูญเสียน้ำออกจากร่างกายในช่วงระยะที่ผิดปกติเป็นอย่างไรให้รวมทุกช่องทางที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นท้องเสียคลื่นไส้อาเจียนเลือดออกผิดปกติเป็นต้น
ประวัติการใช้ยาทั้งยาที่ใช้เฉพาะกิจและยาที่ต้องทานประจำต้องซักให้แน่ใจว่าเป็นยาชนิดใดทานต่อเนื่องด้วยขนาดเท่าไรมีการทานยาที่ผิดวิธีหรือผิดขนาดด้วยหรือไม่ทั้งนี้ให้รวมไปถึงยาสมุนไพรและอาหารเสริมต่างๆด้วย
ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและติดเชื้อต้องสอบถามว่าก่อนหน้านี้มีไข้หรืออาการเจ็บป่วยใดมาก่อนล่วงหน้าในเวลาไล่เลี่ยกันหรือไม่มีพฤติกรรมใดที่สุ่มเสี่ยงการติดเชื้อหรือไม่เช่นเข้าไปอยู่ในจุดที่คนพลุกพล่านใกล้ชิดกับคนป่วยโดยไม่ได้ป้องกันเป็นต้น
ประวัติเกี่ยวกับไตโดยเฉพาะหากผู้ป่วยเคยมีโรคหรืออาการเจ็บป่วยอื่นใดเกี่ยวกับไตมาก่อนก็ต้องบันทึกเอาไว้เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่สำคัญด้วยถึงแม้ว่าจะหายขาดไปแล้วก็อย่าได้ละเลย
ลักษณะของปัสสาวะตามปกติปัสสาวะของคนสุขภาพดีจะเป็นสีใสไม่มีฟองดังนั้นหากปัสสาวะมีความผิดปกติไปเช่นมีเลือดปนออกมามีของแข็งลักษณะคล้ายกับกรวดเม็ดเล็กหรือเป็นฟองจนสังเกตได้ชันก็เป็นข้อมูลที่ช่วยระบุได้ว่าการทำงานของไตบกพร่องหรือเสื่อมสมรรถภาพในจุดไหน
ประวัติโรคมะเร็งต้องไม่ลืมที่จะเก็บประวัติของมะเร็งในส่วนของอวัยวะที่ใกล้เคียงกันเช่นมะเร็งสำไส้มะเร็งมดลูกเป็นต้น
อาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่นอาการปวดปัสสาวะที่ผิดปกติอาการหน่วงบริเวณช่องท้องเป็นต้น
การรักษาอาการปัสสาวะออกน้อย
(Oliguria and Anuria)
ทานน้ำให้มากขึ้นโดยค่อยๆเพิ่มทีละนิด ๆ เพื่อช่วยปรับสมดุลร่างกายให้กลับมาเป็นปกติแม้ว่าในบางรายจะไม่ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน แต่การทานน้ำอย่างพอเหมาะก็จะช่วยให้ระบบร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
ป้องกันและลดอัตราการสูญเสียน้ำของร่างกายในทุกกรณี
ดูแลเรื่องสารอาหารให้สมดุลและลดในส่วนที่จะเพิ่มโซเดียมให้ร่างกายเน้นผักผลไม้ให้มากขึ้นกว่าปกติเพื่อการดีท็อกซ์หรือล้างพิษตามวิถีธรรมชาติ
ฝึกวินัยในการปัสสาวะไม่อั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
นอกจากนี้ก็จะเป็นการใช้ยาและการบำบัดเชิงเทคนิคในทางการแพทย์ที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงอย่างเช่นการขับของเสียออกจากร่างกายด้วยเครื่องมือแพทย์การใช้ยาเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมนที่ผิดปกติไปจากเดิมเป็นต้น
การป้องกันอาการปัสสาวะออกน้อย
หากไม่นับอุบัติเหตุที่ควบคุมไม่ได้อย่างเช่นการเสียสมดุลน้ำจากบาดแผลรุนแรงในอุบัติเหตุนี่ก็ไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเพราะส่วนใหญ่มักจะมีเรื่องของพฤติกรรมมาเกี่ยวข้องเกินกว่าครึ่งผู้ป่วยมักมีนิสัยชอบกลั้นปัสสาวะหรือทานน้ำน้อยเกินไปแรก ๆ ก็ไม่ค่อยมีผลกระทบอะไรมากนัก แต่เมื่อนานวันเข้าร่างกายก็ฟื้นฟูจากการโดนทำร้ายในทุกๆวันไม่ได้จึงสะสมเป็นอาการเจ็บป่วยในที่สุดดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือปรับแก้ที่ต้นเหตุคือการทานน้ำให้มากเพียงพอกับความต้องการของร่างกายและเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่รู้สึกปวดปัสสาวะไม่งั้นเอาไว้หลังจากเข้าห้องน้ำหรือสูญเสียน้ำในทางอื่นเช่นเหงื่อน้ำตาน้ำเลือดเป็นต้นก็ให้ดื่มน้ำชดเชยทันทีเพื่อไม่ให้ร่างกายเสียสมดุลของน้ำไป
โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยมากทั้งกลางวันกลางคืนปวดกลั่นมากขณะที่จะไปห้องน้ำจนบ่อยครั้งหรือบางครั้งกลั้นไม่อยู่ราดออกไปก่อนสตรีหลังคลอดบุตรตามธรรมชาติผ่านช่องคลอด 2-3 คนแล้วอาจจะพบว่ามีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาบ้างทั้งน้อยหรือมากเมื่อเวลาเป็นหวัดมีไอและจามพบว่าปัสสาวะเล็ดเรียกว่าปัสสาวะเล็ดเมื่อมีการออกแรงเบ่งช่องท้อง (Stress Urinary Incontinence, SUI) รวมทั้งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อก้มลงยกของหนักจากพื้นหรือกระโดดออกเอกเซอร์ไซส์หรือแม้แต่ก้าวขึ้นบันไดหลาย ๆ ขั้นก็ตาม
สาเหตุและผลของโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
สาเหตุหลักที่สำคัญและเกี่ยวข้องโดยตรงในสตรีเพศเป็นเพราะว่ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนลงบางทีเรียกกันว่ากระบังลม (เชิงกราน) หย่อน
ประเภทโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
โรค / กลุ่มอาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ที่เป็นมา แต่กำเนิด (Congenital
ปัสสาวะรดที่นอน (Bed Wetting Enuresis)
ปัสสาวะกลั้นไม่อยู่จากระบบประสาท (Neurogenic)
ปัสสาวะเล็ดเมื่อออกแรงเบ่ง (Stress Urinary Incontinence
ปัสสาวะราดกลั้นไม่ได้ (Urge Incontinence
ปัสสาวะเล็ดและราดร่วมกัน (Mixed Incontinence) หมายถึงอาการข้อ 4 และข้อ 5 เป็นร่วมกัน
ปัสสาวะล้นซึม (Over Flow Incontinence)
ปัสสาวะบ่อยมากในช่วงกลางวัน (Urinary Freguency Daytime)
ความชุกของโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ข้อมูลความชุกของโรคและกลุ่มอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สำหรับเพศหญิงในประเทศไทย (ตาราง)
การตรวจวินิจฉัยและการรักษา
เริ่มเน้นที่การซักถามประวัติและอาการปัจจุบันอย่างละเอียดเป็นสำคัญจะสามารถแยกแยะอาการแสดงที่เป็นอยู่และพอที่จะทราบชนิดของปัสสาวะกลั้นไม่อยู่
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตรวมทั้งโรคที่เป็นอยู่ถึงปัจจุบันเช่นโรคความดันเบาหวานหัวใจระบบประสาทรวมทั้งการผ่าตัดรักษาและและอุบัติเหตุที่ส่งผลถึงระบบทางเดินปัสสาวะ
ประวัติการคลอดบุตรและในเพศชายเน้นอาการโรคต่อมลูกหมากโตรวมทั้งระบบทางเพศและฮอร์โมน ฯลฯ
ประวัติการใช้ยารักษาในปัจจุบันโดยเฉพาะยาขับปัสสาวะยานอนหลับกล่อมประสาทเป็น
สภาพทางจิตใจและอารมณ์ ฯลฯ
อาชีพความเป็นอยู่ทางสังคม ฯลฯ
อาหารและน้ำดื่มเครื่องดื่มน้ำชากาแฟแอลกอฮอล์บุหรี่ ฯลฯ
การออกกำลังกายพักผ่อนนอนหลับ
การรักษาโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
การรักษาโรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่และกลุ่มอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกันในที่นี้จะเน้นโรคปัสสาวะเล็ดเวลาออกแรงเบ่งเช่นไอหรือจาม (Stress Urinary Incontinence) เป็นหลักรวมทั้งปัสสาวะปวดกลั้นและราดออกไปก่อนจะเดินถึงห้องน้ำ (Urgency Incontinence) และหรือกลุ่มความรู้สึกกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Over Active Bladder)
การบริหารฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งกราน Kegel Exercise
การบริหารทานยาปกติไม่สามารถช่วยในกลุ่มอาการปัสสาวะเล็ดได้เนื่องจากเป็นปัญหาของกลุ่มกล้ามเนื้อเชิงกรานยาอาจจะช่วยได้ในอาการปัสสาวะกลั้นไม่อยู่ Urgency Incontinence เท่านั้น แต่อาจมีผลข้างเคียงทำให้ปัสสาวะขัดไปอีกด้วย
การผ่าตัดรักษาผ่านบริเวณช่องคลอด
ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการเป็นมากและเป็นมานานอาจจะไม่สามารถหายได้จากการฝึกฝนกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอาจจะต้องได้รับการผ่าตัดรักษาใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นสาย Sling ยกให้ท่อปัสสาวะส่วนต้นและกระเพาะปัสสาวะไม่หย่อนลงไปตามกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
ปัสสาวะคั่งค้าง (Urinary Retention)
ปัสสาวะคั่งค้างเป็นภาวะที่ไม่สามารถขับปัสสาวะได้ตามปกติแม้ว่ารู้สึกปวดปัสสาวะมากหรืออาจต้องใช้เวลาเบ่งปัสสาวะนานกว่าจะออกในรายที่เป็นไม่รุนแรงยังถ่ายปัสสาวะได้ตามปกติ แต่มักถ่ายได้ไม่สุดทำให้น้ำปัสสาวะบางส่วนค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
อาการ
โดยทั่วไปภาวะนี้อาจแบ่งลักษณะอาการที่พบได้บ่อยตามความรุนแรงซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปดังนี้
ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน (Acute Urinary Retention)
ปวดปัสสาวะ แต่เบ่งหรือปัสสาวะไม่ออก:
ปวดแน่นท้องรู้สึกไม่สบายบริเวณท้องช่วงล่าง
ท้องอืดบริเวณท้องช่วงล่าง
ปัสสาวะไม่ออกเรื้อรัง (Chronic Urinary Retension)
ปัสสาวะบ่อยมากกว่า 8 ครั้งขึ้นไปต่อวัน
ถ่ายปัสสาวะไม่สุด
มีอาการแสบขัดขณะปัสสาวะ
ผู้ที่มีอาการปัสสาวะไม่ออกควรไปพบแพทย์ทันทีบางรายอาจมีอาการปวดแน่นท้องปวดบริเวณท้องช่วงล่างและทางเดินปัสสาวะร่วมด้วยนอกจากนี้อาการปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันในบางคนอาจไม่พบอาการปกติหรืออาการไม่รุนแรงจนรบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันจึงทำให้หลายคนละเลยในการรักษาให้หายขาดซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนตามมาเช่นกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence) หรือโรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection: UTI)
สาเหตุ
สาเหตุที่พบได้บ่อยมีดังนี้
ปัสสาวะอุดตันเป็นสาเหตุหลักของอาการฉีไม่ออกอาจเกิดได้จากโรคหรือความผิดปกติบางสภาวะจนค่อย ๆ เกิดการสะสมและอุดตันจึงทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายน้ำปัสสาวะออกจากร่างกายได้ตามปกติเช่น
ต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia: BPH) เป็นสาเหตุที่พบมากในผู้ชายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 50-60 ปี
อวัยวะภายในอุ้งเชิงกรานหย่อน (Genitourinary Prolapse) พบได้ในผู้หญิง
ท่อปัสสาวะตีบแคบ (Urethral Stricture) ท้องผูกนิ่วในกระเพาะปัสสาวะความผิดปกติของผนังช่องคลอดด้านหน้าหย่อนหรือกระเพาะปัสสาวะยืนย้อย (Cystocele ไส้ตรงยืนย้อย (Rectocele) เนื้องอกหรือมะเร็งบางชนิดอาจเกิดขึ้นในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเป็นอาการหลังการผ่าตัดซึ่งอาการจะดีหลังจากหมดฤทธิ์ยาชา
ยากลุ่มแก้แพ้ลดน้ำมูกหรือยาต้านแอนติฮิสตามีนเช่นยาเอฟีดรีน (Ephedrine) ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ยาไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ยาเฟกโซเฟนาคืน (Fexofenadine)
กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะอ่อนแรงอายุที่เพิ่มมากขึ้นทำให้กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะเสื่อมไปตามเวลาจึงไม่สามารถบีบตัวได้เต็มที่หรือนานพอให้น้ำปัสสาวะไหลลงไปยังท่อปัสสาวะเพื่อขับออกสู่ร่างกายซึ่งมักพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ
การวินิจฉัย
เบื้องต้นแพทย์สอบถามอาการผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะการใช้ยาประวัติทางแพทย์อื่น ๆ และการตรวจร่างกายโดยคลำบริเวณท้องช่วงล่างเพื่อดูขนาดของกระเพาะปัสสาวะและไตว่ามีขนาดใหญ่ผิดปกติหรือไม่และสำหรับผู้หญิงจะมีการตรวจภายใน
หลังการตรวจร่างกายควบคู่กับการสอบถามประวัติทางการแพทย์จนทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพทย์จะพิจารณาการตรวจเพิ่มเติมตามปัจจัยด้านสุขภาพของแต่ละคนเช่น
การวัดปริมาณปัสสาวะที่ตกค้าง (Post-Voiding Residual Volume) เป็นการตรวจปริมาณน้ำปัสสาวะที่ตกค้างภายในกระเพาะปัสสาวะอาจใช้การตรวจอัลตราซาวด์หรือการใช้หลอดสวน (Catheter) ผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ
การส่องกล้องทางเดินปัสสาวะ (Cystoscopy) แพทย์จะสอดกล้องขนาดเล็กที่เรียกว่า Cystoscope เข้าไปทางท่อปัสสาวะดูความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะโดยต้องทำร่วมกับการใช้ยาชาหรือยาสลบเพื่อดูว่าการอุดตันส่วนไหนจนไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกได้หมดท่อปัสสาวะตีบแคบหรือเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือ
ภาวะแทรกซ้อน
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะน้ำปัสสาวะเป็นของเสียที่ต้องขับออกจากร่างกายเมื่อไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออกได้ตามปกติก็อาจเพาะเชื้อแบคทีเรียจนเกิดติดเชื้อภายในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะเสียหายหรือทำงานผิดปกติกระเพาะปัสสาวะต้องขยายอยู่ตลอดเวลาเนื่องจากไม่สามารถขับน้ำปัสสาวะออกมาได้ตามปกติจึงอาจส่งผลให้กระเพาะปัสสาวะได้รับเสียหายหรือทำงานผิดปกติ
ทำงานผิดปกติในบางรายอาจเกิดการไหลย้อนกลับของน้ำปัสสาวะกลับเข้าไปในไตทำให้ไตได้รับ (ไตได้รับความเสียหายหรือเกิดรอยแผลเป็น
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้เป็นภาวะแทรกซ้อนแบบชั่วคราวจากการผ่าตัดผ่านทางท่อปัสสาวะซึ่งไปรบกวนระบบขับปัสสาวะในสภาวะปกติทำให้ผู้ป่วยกลั้นปัสสาวะไม่ได้โดยระยะเวลาในการฟื้นตัวจะอยู่หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน
การป้องกัน
อาการฉีไม่ออกเกิดได้จากหลายสาเหตุจึงยังไม่สามารถป้องกันได้เต็มที่ แต่อาจลดความเสี่ยงได้ด้วยการรักษาโรคต้นเหตุให้หายขาดเช่นผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากควรรับประทานยาที่แพทย์สั่งจ่ายและเลี่ยงการใช้ยาแก้หวัดยาแก้แพ้หรือยาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือดช่วยในการลดบวมของเนื้อเยื่อ (Decongestant) เพราะเป็นยาในกลุ่มที่มีผลต่ออาการมากขึ้นสำหรับผู้หญิงที่มีภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อนลงมาในช่องคลอดหรือไส้ตรงยืนย้อยในระดับไม่รุนแรงควรออกกำลังกายฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตบางส่วนเพื่อป้องกันอาการฉีไม่ออกจากปัญหาท้องผูก
ภาวะโปรตีนในปัสสาวะ
ภาวะโปรตีนในปัสสาวะหมายถึงการตรวจพบ proteine หรือ albumin ในปัสสาวะซึ่งมักจะมีสาเหตุจากโรคไตการรับประทานยาบางชนิด
Protein ในเลือดส่วนใหญ่เป็น Albumin ซึ่งจะเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายเช่นกล้ามเนื้อกระดูกผมเล็บและยังมีหน้าที่อื่น ๆ เช่นทำให้เลือดแข็งตัวเป็นภูมิคุ้มกันโรคเมื่อเลือดผ่านเข้าไต Proteinuria มีโมเลกุลใหญ่ไม่สามารถกรองผ่านไตได้ดังนั้นเราจึงตรวจไม่พบ Proteinuria ในปัสสาวะ
คนปกติจะมีโปรตีนในปัสสาวะหรือไม่ปกติปัสสาวะของคนจะตรวจไม่พบโปรตีน Protein โปรตีนส่วนใหญ่เป็น Albumin ดังนั้นหากตรวจนรวจพบ Protein ก็หมายถึงตรวจพบ Albumin นั่นเองการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะจะบ่งบอกว่าเริ่มจะเกิดโรคไตหากไม่ตรวจ แต่แรกก็อาจจะกลายเป็นโรคไตเสื่อมและในที่สุดกลายเป็นโรคไตวายเรื้อรังดังนั้นการตรวจปัสสาวะเพื่อหา Albumin ในผู้ป่วยบางโรคเช่นโรคเบาหวานความดันคลหิตสูงจึงมีความจำเป็น
วิธีการตรวจโปรตีนในปัสสาวะโปรตีน
โดยการใช้แทบตรวจปัสสาวะจุ่มในปัสสาวะแล้วเทียบสีจะตรวจพบโปรตีนเมื่อมีปริมาณโปรตีน 300-500 มกข้อเสียคือไม่สามารถวัดปริมาณโปรตีน
วัดปริมาณ Protein ที่ขับออกมาตลอด 24 ชั่วโมงโดยการเก็บปัสสาวะตลอดทั้งวันและส่งตรวจหาโปรตีนและค่า Creatinin
การตรวจปัสสาวะหาค่า Protein Creatinine. ค่าอัตราส่วน Protein / Creatinine ค่าปกติจะน้อยกว่า 0.2
ค่าอัตราส่วน Albumin / Creatinine ค่าปกติจะน้อยกว่า 30 mg / g creatinine หาค่าดังกล่าวอยู่ระหว่าง 30-300 แสดงว่ามีโปรตีนออกมาในปริมาณไม่มากหากมากกว่า 300 mg / g แสดงว่าโปรตีนออกมาม
ผู้ป่วยท่านใดที่เสี่ยงต่อการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ
ผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้จะวะดังต่อไปนี้จะตรวจปัสสาวะหาโปรตีน (protein) ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 การตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะจะเป็นสัญญาณของการเป็นโรคไต
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยโรคไตอักเสบ
โปรตีนในปัสสาวะหายเองได้หรือไม่
โปรตีนในปัสสาวะแบ่งออกเป็นสามชนิด ได้แก่
โปรตีนในปัสสาวะที่หายเองได้ Transient proteinuria มักจะพบในคนที่มีไข้หรือออกกำลังกายอยู่ในที่หนาวหรือมีความเครียดโปรตีนนี้หายได้เองเมื่อภาวะที่กระตุ้นดังกล่าวหายไปแล้วภาวะนี้จะไม่กลายเป็นไตวายปริมาณโปรตีนมักจะน้อยกว่า 1 กรัมต่อวัน
โปรตีนในปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่ายืน Orthostatic (postural) proteinuria โปรตีนมักจะน้อยกว่า 1 กรัมต่อวันจะตรวจพบเมื่ออยู่ในท่ายืนเมื่อนอนโปรตีนก็จะหายไป
เมื่อตรวจปัสสาวะ 2-3 ครั้งยังพบโปรตีนทุกครั้งที่ตรวจเราเรียกว่า Persistent proteinuria ซึ่งจะบ่งว่ามีโรคที่ไตปริมาณโปรตีนก็สามารถบอกตำแหน่งของโรคไตได้
เมื่อตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะแพทย์จะตรวจอะไรต่อ
ซักประวัติเพิ่มเติมโดยเฉพาะประวัติการใช้ยาประวัติการเจ็บป่วยในครอบครัวประวัติการเจ็บป่วยในอดีตอาชีพ
วัดความดันโลหิต
เจาะเลือดตรวจเช่นการทำงานของไต
ตรวจเลือดหาระดับน้ำตาลในเลือด
ตรวจเลือดหาระดับไขมันในเลือด
นำปัสสาวะไปส่องกล้องตรวจหาเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวหากมีเม็ดเลือดขาวมากและย้อมพบเชื้อแบคทีเรียสาเหตุของโปรตีนในปัสสาวะน่าจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
วัดระดับโปรตีนในปัสสาวะ 24 และระดับ creatinine เพื่อประเมินความรุนแรงของโปรตีนในปัสสาวะเพื่อพิจารณาวางแผนการรักษา:
ตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีโรค SLE
การประเมินภาวะสุขภาพ
อาการสำคัญปัสสาวะแสบขัดเป็นมา 2 วัน
ประวัติการเจ็บป่วยในปัจจุบัน 2 วันก่อนมามีอาการปวดหน่วงท้องน้อยปัสสาวะกะปริดกะปรอยปัสสาวะแสบขัดตอนถ่ายสุดปัสสาวะไม่มีเลือดปนไม่มีไข้ซื้อยาหญ้าหนวดแมวมารับประทานปัสสาวะอาการไม่ดีขึ้นจึงมารพ
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตมีเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อยส่วนใหญ่จะเป็นเป็นไข้ปวดศีรษะมีน้ำมูกใสซื้อยามารับประทานเองจะมีปัญหาบ้างเรื่องกระเพาะปัสสาวะอักเสบ แต่ไม่เคยมีปัสสาวะเป็นลักษณะคล้ายกรวดทรายปนออกมาปฏิเสธการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือการเจ็บป่วยหนักที่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลปฏิเสธการผ่าตัดไม่มีประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร
ประวัติส่วนบุคคลและจิตสังคม (personal and Psycho social history อุปนิสัย: รื่นเริงสนุกสนานใจเย็นอารมณ์: อารมณ์ดีไม่ค่อยหงุดหงิดไม่เคยปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับใครการพักผ่อน: นอนหลับสบายทุกคืนเข้านอนเวลาประมาณ 23-22.00 น. ตื่นนอนประมาณ 04.30 น. การรับประทานอาหาร: ส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารพื้นบ้านทั่วไปส่วนใหญ่รับประทานอาหารจืดเนื่องจากปู่และย่าป่วยเป็นโรคเบาหวานส่วนมากประกอบอาหารรับประทานเองรับประทานอาหารตรงเวลาการออกกำลังกาย: ไม่เป็นรูปแบบที่แน่นอนส่วนใหญ่จะทำงานบ้านทำนารับจ้างทั่วไปและดูแลปู่และย่าที่มีโรคประจำตัวทั้งคู่อาบน้ำ: วันละ 1 ครั้งตอนเย็นการขับถ่ายปัสสาวะวันละ 3-5 ครั้งผู้ป่วยชอบอั้นปัสสาวะอุจจาระ 1- 2 วันครั้งมีท้องผูกเป็นและแสบร้อนท้องเป็นบางครั้งผู้ป่วยชอบใช้ไม้พันสำลีแคะหูเป็นประจำยา: ให้ประวัติเมื่อมีการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ จะเข้ารับการรักษาที่สถานีอนามัยใกล้บ้านงานอดิเรก: เมื่อมีเวลาว่างจะดูโทรทัศน์กิจกรรมทางศาสนา: ร่วมทำบุญในช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆการศึกษา: จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประวัติทางเพศ: ไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาและการเจ็บป่วย: มีความเชื่อทั้งทางด้านการรักษาแพทย์แผนโบราณบางครั้งใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและแพทย์แผนปัจจุบันเวลาเจ็บป่วยจะไปหาหมอที่คลินิกหรือโรงพยาบาล
ความสัมพันธ์ในครอบครัวและสังคมเป็นที่รักของครอบครัวและญาติพี่น้องช่วยเหลืองานในสังคมเป็นอย่างดี
แสบร้อนท้องเป็นลานเป็นโรคเบาหวานและย่างรับระทานงแคะออกให้หลังจากนั้น 1 วันการเผชิญความเครียดมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเนื่องจากไม่เคยเจ็บป่วยเจ็บมาก่อนกลัวจะหูหนวกลดความวิตกกังวลโดยการใช้การพูดคุยกับสามีญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านเพื่อขอคำปรึกษาและบางครั้งก็เครียดเรื่องการดูแลปู่กับย่าที่ชราและมีโรคประจำตัว