Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
A8 การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอำเภอวาร…
A8 การดูแลผู้ป่วยที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอำเภอวารินชำราบ
ลักษณะถิ่นที่อยู่อำเภอวารินชำราบ
ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานีตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองอุบลราชธานี คิดเป็นระยะทาง 2 กิโลเมตรซึ่งมีถนนสถิตย์นิมานกาลเชื่อมระหว่างตัวเมืองอุบลราชธานีกับเทศบาลเมืองวารินชำราบ
การปฏิบัติเมื่อมีการเจ็บป่วยของผู้สูงอายุในครอบครัว พบว่ามีวิถีปฏิบัติดังนี้
1) “พาไปหาหมอธรรม” หมายถึง การไปพบผู้ทรงคุณธรรมที่คนในชุมชนและผู้ป่วยให้ความเคารพนับถือ
2) “อาหารคะลำ” ในภาษาอีสาน หมายถึง อาหารห้ามรับประทานเพราะจะส่งผลต่อการเจ็บป่วยต่อโรคที่เป็น เช่นของดอง อ่อม บักหอย(อ่อมหอย)
3) “สวดอิติปิโส” การสวดอิติปิโส เป็นการสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เชื่อว่าจะนําสิ่งดีให้เข้ามาในชีวิต แคล้วคลาดในภัยทั้งปวง
4) “ทำข้าวต้ม ต้มผักให้กิน” เป็นการสะท้อนความเอาใจใส่ในการดูแลผู้สูงอายุด้านอาหารการกินเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเจริญอาหารและสามารถรับประทานอาหารได้โดยคำนึงถึงความสามารถในการเคี้ยวอาหารของผู้สูงอายุด้วยในสังคมอีสาน
5) “ลูกสิเต็ม” เป็นการสะท้อนถึงวัฒนธรรมที่ลูกหลานญาติพี่น้องจะมารวมตัวกันเมื่อมีญาติผู้ใหญ่เจ็บป่วย จึงมีลูกหลานเต็มแน่นบ้านเมื่อมีการเจ็บป่วย ทำให้ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยมีความสุขใจ ภาคภูมิใจ อุ่นใจว่าตนได้รับความเอาใจใส่ดูแล จึงมีกําลังใจที่จะปฏิบัติตนให้หายจากการเจ็บป่วย
6) “สิ่งสำคัญอาหารและปัจจัย” หมายถึง วัฒนธรรมการให้ความช่วยเหลือดูแลในเรื่องอาหารและให้การสนับสนุนในการจัดหาปัจจัยที่จําเป็นต่อการดำรงชีพและการดูแลสุขภาพช่วยเหลือกันยามลําบากเช่นการเจ็บป่วย
7) “ผู้สูงอายุป่วยดูแลตามอาการและให้กําลังใจ” หมายถึง การดูแลตามสภาวะการเจ็บป่วยคอยดูแลตามอาการพาไปพบแพทย์รับการรักษา นอกจากนี้ยังคำนึงถึงด้านจิตใจมีการให้กําลังใจควบคู่กันไป
8) “ใจท้อบ่อได้” เป็นการบอกกล่าว เพื่อการดูแลให้กําลังใจไม่ให้ท้อถอย เพราะจิตใจมีความสำคัญมากต่อการมีพละกําลังในการต่อสู้กับการเจ็บป่วย ความเชื่อในการปฏิบัติเมื่อเจ็บป่วยคือต้องรู้ที่จะวางจิตใจไม่ให้ท้อถอย รู้จักให้กําลังใจตนเอง
9) “เป็นเรื่องของธาตุลม ขันธ์ห้า” หมายถึง การมีความเชื่อว่าการเจ็บป่วยเป็นความแปรปรวนขององค์ประกอบในร่างกายซึ่งประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 คือดิน น้ำ ลม ไฟ และขันธ์ทั้ง 5
ประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ รูปขันธ์
10) “การช้อนขวัญ” เป็นกิจกรรมที่บุคคลจะจัดให้มีเพื่อเป็นการเรียกขวัญในกรณีเกิดการเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุทั้งกรณีรุนแรงและไม่รุนแรง โดยจะมีการนําสิ่งของของผู้ป่วยมาเข้าพิธีทั้งนี้ตัวผู้ป่วยจะมาด้วยตนเองหรือไม่ก็ได้ขึ้นกับความพร้อมและมีผู้รู้ไปทำพิธีช้อน โดยใช้สวิงหรือผ้า ช้อนขวัญในบริเวณที่มีอุบัติเหตุและนําขวัญมาเก็บไว้ที่บริเวณด้านบนของเตียงนอนใกล้ๆผู้ป่วย
11) “ผูกข้อต่อแขน”หมายถึง การจัดกิจกรรมผูกแขนให้กําลังใจ โดยอาจทำเป็นพิธีกรรม หรือผูกแขน โดยผู้ที่รักใคร่ผู้ที่เคารพนับถือผู้ป่วยนําด้ายสายสิญจน์มาผูกแขนพร้อมกล่าวคําให้กําลังใจ ในกรณีจัดทำเป็นพิธีกรรมสามารถทำได้โดยจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญในวัฒนธรรมอีสาน
การดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย
1 การให้ความเอาใจใส่ดูแลใกล้ชิด “ผู้อยู่ ดูแล ผู้เป็นพี่เป็นน้อง อยู่ไกล ให้กําลังใจ” “ผู้สูงอายุป่วยดูแลตามอาการให้กําลังใจ” โดยลูกหลานที่มีความพร้อมและได้รับการมอบหมายให้เป็นตัวแทนสำหรับการเป็นผู้ดูแลประจำ ในส่วนของลูกหลานอื่นๆที่มีภารกิจหรืออยู่ไกลจะสนับสนุนการดูแลโดยการโทรศัพท์ติดตามถามข่าวเป็นระยะ
2 การดูแลด้านจิตใจและจิตวิญญาณ เมื่อมีผู้สูงวัยในบ้านเจ็บป่วย กรณีเจ็บป่วยฉับพลันเช่น หกล้ม กรณีเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วยที่มากซับซ้อน จะมีการทำพิธีสู่ขวัญ โดยมีพราหมณ์มาทำพิธีเรียก ขวัญหรือเชิญขวัญ เพื่อให้คลายความตกใจ ใจหาย หรือวิตกกังวล พิธีกรรมนี้จะนําให้ลูกหลาน
3 การดูแลด้านอารมณ์ “กินข้าวฮ่วมพา กินปลาฮ่วมถ้วย” ด้วยวัฒนธรรมการเยี่ยมยาม โดยลูกหลานที่อยู่ใกล้ไกล เพื่อน ญาติพี่น้องจะผลัดกันมาเยี่ยมมาถามข่าวให้กําลังใจเป็นระยะ เพื่อเป็นการร่วมกันดูแลทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลใกล้ชิด
4 การดูแลด้านสังคมจะมีวัฒนธรรม “ไปส่องเบิ่ง” พี่น้องอยู่ใกล้อยู่ไกลจะถือตะกร้ามาถามข่าว หมายถึงการที่มีญาติพี่น้องมาเยี่ยมถามไถ่อาการเจ็บป่วย เป็นการดูแลกันในเครือญาติ
การดูแลสุขภาพในระยะสุดท้าย
1 การดูแลตามความประสงค์ของผู้สูงอายุ “ระยะสุดท้ายไม่มีคะลำ” หมายถึง ผู้ป่วยระยะสุดท้ายหากประสงค์ต้องการรับประทานอาหารชนิดใด สามารถเลือกรับประทานได้ โดยไม่มีข้อห้ามใดๆ เพราะโดยทั่วไปผู้ที่ป่วยระยะสุดท้ายจะเบื่ออาหาร การให้ได้เลือกรับประทานอาหารที่ชอบจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุข
4 การร่วมส่งพลังจากการร่วมสวดมนต์ “สวดอิติปิโส” หมายถึง การร่วมกันสวดมนต์ เพื่อน้อมใจผู้ป่วยให้ได้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง โดยการร่วมกันสวดบทสรรเสริญพระรัตนตรัย เป็นกิจกรรมที่ทำร่วมกันได้ทุกระยะของการเจ็บป่วย
5 “การผูกแขน” หมายถึง การให้กําลังใจผู้ป่วยโดยการนําด้ายที่ผ่านพิธีสวดมนต์ที่ถือว่าเป็นด้ายสายสิญจน์สำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็นการถ่ายทอดความรักความห่วงใย การให้กําลังใจผ่านด้ายสายสิญจน์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจน
3 การดูแลเอาใจใส่ใกล้ชิด “อาการมาก ซอมใจลูกหลานต้องมาตุ้มมาโฮม” หมายถึง การมาเยี่ยมและอยู่เฝ้าผู้ป่วยร่วมกันของญาติพี่น้อง ลูกหลานที่ใกล้ชิด เรียกว่ามาตุ้ม มาโฮม โดยในวัฒนธรรมอีสาน การตุ้มโฮม เป็นการมาร่วมประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง หากมีช่วงเวลายืดยาวออกไป
2 แสดงความรู้สึกที่ดีต่อผู้สูงอายุด้วยความเคารพรัก “กิจกรรมขอขมา” หมายถึง กิจกรรมที่เป็นโอกาสให้ลูกหลาน ญาติ พี่น้องได้แสดงความรักต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย
6 จัดกิจกรรมร่วมทำบุญ “เชื่อเรื่องบุญ” หมายถึง การมีความเชื่อในเรื่องบุญ ความดีสิ่งที่ทำผ่านมาเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยว การพูดคุยให้ระลึกถึงคุณงามความดีหรือการจัดโอกาสให้ได้ทำบุญ กุศลในรูปแบบต่างๆในยามป่วยไข้จึงเป็นสิ่งจําเป็นสำคัญตอบสนองต่อความเชื่อที่มีของลูกหลานและผู้สูงอายุ
8 กิจกรรมแสดงกตัญญู “กิจกรรมสักอนิจจา” หรือกิจกรรมสวดบังสุกุล หมายถึง กิจกรรมที่เป็นการทำบุญให้ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้วหรือเรียกว่า ทำบุญอัฐิบรรพบุรุษ ในประเพณีอีสานลูกหลานทุกคนไม่ว่าอยู่ใกล้ ไกลไปทำงานต่างถิ่นจะกลับมาร่วมกันทำบุญสักอนิจจาในวันปีใหม่ไทย
7 การสื่อสารแสดงออกในทางบวก “การพูดจากันดีๆในครอบครัว” หมายถึง การมีแนวปฏิบัติที่ทุกคนจะรับรู้ว่าจะระมัดระวังคําพูดและการปฏิบัติดีต่อกัน เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวล
อาหารอีสานเพื่อการดูแลเมื่อเวลาเจ็บป่วย
อาหารสำหรับผู้สูงอายุเวลาเจ็บป่วย พบว่ายังไม่มีข้อมูลที่เป็นอาหารเฉพาะสำหรับการดูแล แต่จะเน้นการหาและนำอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้รับประทาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารพื้นบ้านที่คุ้นเคยหรือเป็นอาหารที่เคี้ยวง่าย รสไม่จัด สำหรับข้าวแม้ยามเจ็บป่วยข้าวเหนียวยังเป็นคําตอบสำหรับผู้สูงอายุไทยอีสาน ข้าวสวยหรือข้าวต้มจะไม่นิยมเลือกรับประทาน