Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 8.4 -8.6 การจัดการคุณภาพเชิงการบริการพยาบาลและกลยุทธ์การจัดการ -…
หน่วยที่ 8.4 -8.6 การจัดการคุณภาพเชิงการบริการพยาบาลและกลยุทธ์การจัดการ
การวางแผนเชิงกลยุทธ์
คือ กระบวนการบริหาร เป็นขั้นตอนในการนำทรัพยากรการบริหารมาใช้ในการบริหารงานเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ
แนวคิดเกี่ยวกระบวนการบริหาร
Henri Fayol นำเสนอแนวคิดการจัดการตามหลักการบริหาร เป็นกระบวนการบริหารที่มีชื่อย่อว่า POCCC ประกอบด้วยการบริหาร 5 ขั้นตอน ต่อมา ต่อมา Luther Gulick และ Lyndall Urwick ได้ปรับปรุงเป็นกระบวนการบริหารที่มีชื่อย่อว่า POSDCORB ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการบริหาร 7 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning: P)
ลักษณะของการวางแผนที่ดี
สามารถนำแผนไปปฏิบัติได้จริง
มีความชัดเจน (clear) และมีความครอบคลุม (comprehensiveness)
มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนแผนได้
ประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพ
มีความต่อเนื่องทั้งในกระบวนการดำเนินงานและการประเมินผล
ประเภทของแผน
จำแนกตามขอบเขต
จำแนกตามระยะเวลา
จำแนกตามระดับการบริหาร
จำแนกตามลักษณะของหน้าที่
กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 1
การวิเคราะห์กลยุทธ์ (Strategic analysis)
ก.กำหนดวิสัยทัศน์
ข.กำหนดพันธกิจ
ค.กำหนดเป้าหมาย
ง.กำหนดวัตถุประสงค์
จ.วิเคราะห์องค์การ
ขั้นตอนที่ 2
การกำหนดกลยุทธ์ (Strategic formulation)
ขั้นตอนที่ 3
การปฏิบัติตามกลยุทธ์ (Strategic implementation)
ขั้นตอนที่ 4
การควบคุมและการประเมินกลยุทธ์ (Strategic Control and strategic
evaluation)
การวางแผนกลยุทธ์ขององค์การพยาบาล มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือการวิเคราะห์องค์การ
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดทิศทางและเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ทางการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดแผนกลยุทธ์
ขั้นตอนที่ 4 การน าแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ
ขั้นตอนที่ 2 การจัดองค์กร (Organizing: O)
ขั้นตอนที่ 3 การจัดบุคลากร (Staffing: S)
ขั้นตอนที่ 4 การอำนวยการ (Directing: D)
ขั้นตอนที่ 5 การประสานงาน (Coordinating: Co)
ขั้นตอนที่ 6 การรายงาน (Reporting: R)
ขั้นตอนที่ 7 การจัดทำงบประมาณ (Budgenting: B)
การจัดการความเสี่ยง
การป้องกันความผิดพลาดทางการพยาบาลหรือมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หรือเสี่ยงจะเกิดซ้ำในเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบจนเกิดอันตรายต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจมีความรุนแรงถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิตได้ ขณะที่ความคาดหวังของผู้ใช้บริการสูงขึ้นมีต้องการ ให้บริการสุขภาพที่ได้รับต้องมีความคุ้มค่าคุ้มทุนกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่นับวันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ผิดพลาด (Error)
หมายถึง การทำงานที่เบี่ยงเบนไปจากที่วางแผนหรือที่ตั้งใจไว้ หรือการทำงานใดๆ
ที่ไม่บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ อาจจะเกิดจากตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ
ความเสี่ยง
หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง มีโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเป็นการบาดเจ็บ ความเสียหาย ความผิดพลาด เหตุร้ายหรืออันตราย เกิดความไม่แน่นอน เกิดความสูญเสีย จนต้องมีการชดใช้ค่าเสียหาย ความสูญเสียหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ลักษณะความเสี่ยง
1) ความเสี่ยงภายในองค์กร ได้แก่ ความเสี่ยงที่
เกิดขึ้นจากระบบงานและทรัพยากรบุคคลขององค์กร
2) ความเสี่ยงภายนอกองค์กร ได้แก่ ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สาเหตุของความเสี่ยง 2 ปัจจัย
1.ความล้มเหลวจริง (Active Failure)
ความล้มเหลวแฝง (Latent Failure)
ประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง
1.ช่วยให้การพัฒนาองค์การเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2.ช่วยให้ผู้บริการสามารถมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมและทันเวลา
3.ทำให้พนักงานภายในองค์การมีความเข้าใจถึงเป้าหมายและภารกิจหลักขององค์การ และตระหนักถึง
ความเสี่ยงสำคัญ
4.สร้างฐานข้อมูล ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการ
บริหารและการปฏิบัติงานในองค์การ
5.พัฒนาการบริหารและจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสม
กระบวนการบริหารความเสี่ยง
1.ค้นหาระบุความเสี่ยง
2.ประเมินความเสี่ยง
3.จัดการความเสี่ยง
4.ติดตามและประเมินผล
การจัดการความรู้ (Knowledge management: KM)
การจัดการความรู้
หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล
หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ
ความรู้
คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถ
เชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ
รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท
คือ
1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ
2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย
กระบวนการจัดการความรู้
การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification)
การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)
การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
การเรียนรู้ (Learning)