ทฤษฎีการบริหารยุคคลาสสิก
(Classical organizational theory)
หลักการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์
(Scientific Management)
เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 18-19
ผู้เสนอแนวคิด คือ Frederick Winlow Taylor
บิดาแห่งหลักการบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์
ค.ศ.1911 Taylor ได้เสนอหลักการบริหารไว้ 4 ประการ
1) Scientific Job Analysis คือ การวิเคราะห์งานตามหลักวิทยาศาสตร์ โดยใช้วิธีการสังเกต การรวบรวมข้อมูลและการวัดอย่างรอบคอบ จนเกิด“วิธีที่ดีที่สุดหรือ one best way”
ในการทำงานแต่ละงานซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า Time - and -motion study
2) Selection of Personnel คือการคัดเลือกบุคลากรที่เหมาะสมกับงานแต่ละงาน
3) Management Cooperation คือการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้บริหารและ
ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้แน่ใจว่างานที่ทำอยู่นั้นเป็นไปตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
4) Functional Supervising คือการกำกับดูแลการทำงาน โดยผู้บริหารทำหน้าที่วางแผน(planning) จัดองค์การ (organizing) และตัดสินใจ (decision-making)
ในขณะที่ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติหน้าที่ของตนซึ่งในอดีตนั้นความรับผิดชอบงานเกือบทั้งหมดถูกผลักให้เป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน
หลักการจัดการตามหลักการบริหาร (Administrative Management)
ผู้เสนอเเนวคิดนี้คือ Henri Fayol
เป็นวิศวกรและนักอุตสาหกรรมชาวฝรั่งเศส
เป็นผู้คิดค้นหลักการ 14 หลักการ
ได้ชื่อว่าเป็น ผู้ริเริ่มหลักการจัดการตามหลักการบริหาร
เสนอหลักการจัดการไว้ 14
หลักการในปี ค.ศ.1949
หลักการ14 หลักการ
- การแบ่งงานกันทำ(division of work)
- การให้อำนาจ (authority)
อำนาจคือสิทธิในการสั่งการให้ผู้ปฏิบัติงานกระทำตามส่วนความรับผิดชอบคือผลที่ตามมาของอำนาจซึ่งเป็นข้อผูกพันในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- ความมีวินัย (discipline)
วินัยหมายถึงการเคารพในกฎที่ควบคุมองค์การ เป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน
- เอกภาพในการบังคับบัญชา(unity of command)
ผู้ปฏิบัติงานควรรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวเท่านั้นเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดในเรื่องการให้อำนาจและความมีวินัย
- หลักการมีทิศทางเดียวกัน(unity of direction)
องค์การจะต้องมีทิศทางในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน
- การถือประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนบุคคล
(subordination of individual interest to general interest)
ผลประโยชน์ของบุคคลไม่ควรมีความสำคัญเหนือผลประโยชน์ขององค์การ
- การจ่ายค่าตอบแทน(remuneration)
ค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานควรมีความเป็นธรรมและเป็นที่พึงพอใจต่อทั้งผู้ปฏิบัติงานและต่อองค์การ
- การรวมอำนาจ(centralization)
ผู้บริหารควรกำหนดระดับการรวมอำนาจและกระจายอำนาจอย่าง
เหมาะสม และควรให้ผู้ปฏิบัติงานมีอำนาจมากพอที่จะทำภารกิจได้สำเร็จ
- สายการบังคับบัญชา(scalar chain)
สายการบังคับบัญชาคือกลุ่มผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ผู้มีอำนาจสูงสุดไปจนถึงตำแหน่งต่ำสุด
- ความมีระเบียบ (order)
ทรัพยากรมนุษย์และวัสดุควรได้รับการจัดให้อยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมและในเวลาที่เหมาะสม
- ความเท่าเทียมกัน(equity)
ผู้บริหารจะต้องมีความยุติธรรมและความเมตตาต่อผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน
- ความมั่นคงของบุคลากร
(stability of personnel)
องค์กรที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีความมั่นคงของบุคลากรในการบริหารจึงควรส่งเสริมให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์การในระยะยาว
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(initiative)
ผู้บริหารควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบุคลากรรวมทั้งเปิดโอกาสให้แสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- หลักความสามัคคี(esprit de corps)
ผู้บริหารควรส่งเสริมและรักษาความเป็นทีมด้วย
จิตวิญญาณของทีมและความสามัคคีระหว่างทีมงาน
เป็นวิศวกรชาวอเมริกัน
หลักการจัดการตามระบบราชการ (Bureaucracy management)
ผู้เสนอแนวคิดคือ Max Weber
การจัดการตามระบบราชการ 7 หลักการคือ
นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน
ผู้เขียนตำราชื่อ
“Theory of Social and Economics Organization”
เสนอหลักการจัดการตามระบบราชการ 7 หลักการคือ
Max Weber เชื่อว่าหลักการจัดการตามระบบข้าราชการเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเเละเป็นวิธีที่เหมาะสมกับ
องค์การที่มีขนาดใหญ่เเละมีโครงสร้างซับซ้อน
1) การแบ่งงานกันทำ (division of work)
ตามความรู้ ความชำนาญ (specialization)
2) การจัดตำแหน่งตามสายบังคับบัญชา (scalar chain) จากระดับสูงมายังระดับรอง
3) การกำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับ และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
วัตถุประสงค์คือการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยการลดของเสีย
การเพิ่มผลผลิต และการทำงานให้ง่าย
4) บุคคลทำหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการโดยไม่ยึดความเป็นส่วนตัว
5) การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ (professional qualities)
6) มีความก้าวหน้าในอาชีพ (career aspects)
7) มีอำนาจตามกฎหมาย (legal authority)
นางสาววรรณพร สมรรถชัยรหัสนักศึกษา 62110214
นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3