Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล, แนวคิดการพยาบาลแบบเอื้อาทร, ทฤษฏีการพยาบาลวัตส…
แนวคิดและทฤษฎีทางการพยาบาล
แนวคิดการพยาบาลแบบองค์รวม
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
Holism (ภาษาอังกฤษ) มาจากภาษาอังกฤษโบราณ "Hal" (ทั้งหมด) หรือ To heal (เพื่อบำบัด) หรือ Happy (ความสุข)
สมาคมพยาบาลองค์รวมของอเมริกา :
ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย จิตใจ สังคม และ
จิตวิญญาณ อยย่างสมดุล
ให้ความสำคัญกับการประเมินและการรักษาสมดุลของผู้รับบริการ
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
เป็นแนวคิดปรัชญา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม (Holistic Health)
ภาวะสมดุลของกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
การเจ็บป่วยไม่ใช่เพียงแต่ร่างกายเท่านั้นที่ผิดปกติ ทุกระบบมีความสัมพันธ์กัน
คุณลักษณะที่สำคัญของแนวคิด
ความสมดุล
1.1 ร่างกาย
สุขภาพ
ทักษะ
พฤติกรรม
1.2 จิตใจ
สมาธิ
เมตตา
เคารพผู้อื่น
1.3 อารมณ์
คิดสร้างสรรค์
มีเหตุผล
เข้าใจตนเองและผู้อื่น
1.4 สังคม
เสียสละ
สามัคคี
มีศีลธรรม
1.5 สิ่งแวดล้อม
เศรษฐกิจ การเมือง
สังคม วัฒนธรรม
ค่านิยม
กายภาพ
ชีวภาพ
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
เน้นการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบดูแลภาวะสุขภาพของบุคคลตามศักยภาพ
ความกลมกลืน
เน้นสุขภาพเชิงบวก
ดูแลสุขภาพบุคคลมากกว่าการรักษา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สุขภาพดีในระยะยาว เกิดจากการผสมผสานกันอย่างกลมกลืนในแต่ละมิติ (ร่างกาย จิตใจ อารมณ์) ให้สัมพันธ์กับบริบทภายนอก (สิ่งแวดล้อม)
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
เน้นบุคคลเป็นหน่วยรวมที่มีการดูแลครบทุกมิติ (ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ) กลมกลืนจนสมดุล
เน้นนการส่งเสริมให้ผู้รับบริการรู้จักดูแล ควบคุมตนเองในการฟื้นหายจากการเจ็บป่วย หรือสามารถรับมือกับโรคที่เป็นอยู่ได้อย่างมีความสุข
สุขภาพ
เป็นภาวะที่สุขทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม สามารถปรับตัวในการทำกิจวัตรประจำวันและดำเนินชีวิตได้ โดยไม่มีโรคภัยไข้เจ็บมาเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต
สิ่งแวดล้อม
สภาพความเป็นอยู่ รวมถึงบุคคลรอบข้าง บุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้าน เพราะการได้รับกำลังใจจากคนรอบข้างถือเป็นสิ่งแวดล้อมสำคัญที่ทำให้ผู้รับบริการรู้สึกมีคุณค่า ไม่คิดว่าการที่ตนเองมีโรคนั้นเป็นภาระแก่ครอบครัว
ค่านิยม วัฒนธรรมการกิน เป็นตัวกำหนดในการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับการควบคุมโรคที่ผู้รับบริการเป็น
การพยาบาล
เป็นการเลือกจัดการกับสิ่งแวดล้อม (อาหาร การจัดการกับความปวด ฯลฯ) ที่ดีและเหมาะสมกับทัศนคติ หรือวัฒนธรรม (ศาสนา) ของผู้รับบริการให้หายจากความเจ็บป่วย
ให้การพยาบาลโดยเน้นการส่งเสริมให้ผู้รับบริการรู้จักดูแลตนเองมากกว่าการรักษาและฟื้นฟู หากยังไม่เป็นโรค ก็รู้จักป้องกันการเกิดโรคได้
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นสุขภาพเชิงรุกไปทางบวก
เน้นการส่งเสริม ป้องกันการเกิดโรคมากกว่าการฟื้นฟูด้วยตนเอง
เน้นคุณค่าทางจิตวิญญาณ
เป้าหมายคือ การมีสุขภาพดีระดับสูงได้ในระยะยาว
ดูแลอย่างต่อเนื่อง
ให้ทางเลือกอื่นในการดูแลสุขภาพ (แพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทย) ควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบัน
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เบาหวาน ความดันในชุมชน
เพื่อป้องกันการเกิดโรคและส่งเสริมสุขภาพบุคคลในชุมชน
การดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
การจัดการกับความปวดโดยการสังเกตสีหน้าผู้ป่วย การให้ผู้ป่วยบอกคะแนนระดับความปวด
การให้คำแนะนำก่อน-หลังการผ่าตัด
การได้รับกำลังใจจากครอบครัว
การส่งทีมแพทย์ พยาบาล อสม.เยี่ยมบ้านเพื่อติดตามผลการรักษาในระยะยาว
แนวคิดการพยาบาลแบบต่อเนื่อง
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
เป็นกระบวนการเตรียมความพร้อมของผู้ป่วย จากระดับหนึ่ง (โรงพยาบาล) ไปอีกระดับหนึ่ง (บ้าน ศูนย์พักฟื้น ฯลฯ)
ความสำคัญของทฤษฎี คือ ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการพยาบาลได้เตรียมพร้อม ส่งต่อผู้ป่วยออกจากการดูแลของแพทย์สู่การดูแลตนเองที่บ้าน
ติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นการทำงานแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง
ผู้ป่วยและบุคลากรทางการพยาบาลทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะการตัดสินใจในแนวทางการรักษาต่อและการดูแลตนเอง
วางแผนดูแลผู้ป่วยอย่างเป็นทางการทุกครั้ง
เน้นการดูแลแบบองค์รวม มีการสื่อสารระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการพยาบาลที่ชัดเจน เพื่อคุณภาพบริการ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
สร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวผู้ป่วย
สุขภาพ
ควบคุมดูแล ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
สิ่งแวดล้อม
จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมการภาวะสุขภาพ
การพยาบาล
เยี่ยมบ้าน สอนสุขศึกษา
การวางแผนการจำหน่ายผูป่วย
ใช้หลักการ D-METHOD
D : Diagnosis (การวินิจฉัยโรค)
ให้ความรู้เรื่องโรคที่เป็น สาเหตุ อาการ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง
M : Medicine (ยา)
E : Enviroment / Economic / Equipment
การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ / การให้ข้อมูลสิทธิการรักษา / การให้ข้อมูลการใช้อุปกรณ์การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับกลับบ้าน เช่น สายให้อาหารทางจมูก
T : Treatment สอนทักษะที่เป็นตามแผนการรักษา เช่น การดูดเสมหะ
H : Health การส่งเสริม ฟื้นฟูร่างกาย จิตใจและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
O : Outpatient มาตรวจตามนัด การติดต่อขอความช่วยเหลือจากสถานพยาบาลใกล้บ้าน
D : Diet การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับโรค
วางแผนดูแลตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
องค์ประกอบการดูแลอย่างต่อเนื่อง
การส่งต่อ (Referral)
1.1 การส่งต่อภายใน
การขอคำปรึกษา (Concult)
การส่งต่อขอย้ายภายในโรงพยาบาล ระหว่างแผนก (Transfering the patient)
1.2 การส่งต่อภายนอก
การส่งต่อผู้ป่วยไปหน่วยงานสุขภาพอื่น เพื่อดูแลอย่างต่อเนื่อง (Refering the patient)
การวางแผนจำหน่าย (Discharge plan)
การบริการสุขภาพที่บ้าน (Home Health Care)
จัดบุคลากรทางการพยาบาล (อสม.) เข้าไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน เดือนละครั้ง
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
การดูแลวางแผนจำหน่วยผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับจนถึงการส่งต่อผู้ป่วยดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้าน ติดตามและประเมินผลเป็นระยะๆ
ให้ความสำคัญกับศักยภาพของครอบครัว
การเยี่ยมบ้าน สอนสุขศึกษา ให้คำแนะนำ สาธิต ให้การรักษาพยาบาล
ทฤษฎีการพยาบาลไนติงเกิล
ทฤษฎีสิ่งแวดล้อม
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
เป็นทฤษฎีทางการพยาบาลที่ได้รับการยอมรับเป็นทฤษฎีแรก
เขียนไว้ในหนังสือ Note on nursing : What It Is and What It Is Not ที่พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1859
ประวัติของ มิสฟลอเรนซ์ไนติงเกิล
เป็นผู้นำคนแรกทางการพยาบาล
เริ่มชีวิตการเป็นพยาบาลที่ไคซ์เวิร์ธ ประเทศเยอรมันนีในปี ค.ศ. 1851
มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยและทหารบาดเจ็บในสงครามไครเมีย
มีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยโดยการจัดการในเรื่องความสะอาด
ดูแลเตียงให้สะอาด
ใช้ผ้าพันแผลที่สะอาด
อาหารที่สดทำให้สุขภาพทหารดีขึ้น
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
การวางแผนกิจกรรมการพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยได้อยู่ในกระบวนการชีวิตตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยบรรเทาทุกข์และฟื้นหายจากโรคได้
กิจกรรมการพยาบาลจะรวมถึงการร่วมมือกับแพทย์ในการปฏิบัติตามกระบวนการรักษาโรค
การประเมินสภาพอนามัยของบุคคล
1.2 สืบค้นความสามารถของบุคคลที่อยู่ตามธรรมชาติของเขาเอง ความตั้งใจ สนใจในการจัดการกับความเจ็บป่วย
1.1 สังเกตสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย ทั้งด้านกายภาพ จิตใจ สังคม และสืบค้นหาความสัมพันธ์หรือผลกระทบของสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อสุขภาพความเจ็บป่วยของบุคคล
เช่น สังเกตท่านอนของผู้ป่วยเป็นอย่างไร เตียงอยู่ไกลหน้าต่างเกินไปหรือไม่ สามารถเคลื่อนไหวหรือพูดคุยกับผู้ป่วยเตียงใกล้เคียงได้หรือไม่
การวินิจฉัยทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูล
หลังจากสังเกตสิ่งแวดล้อมและบุคคล จะทำให้สามารถมองเห็นกิจกรรมการพยาบาลได้ เพราะมองเห็นความต้องการของผู้ป่วย
เช่น ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เนื่องจากปวดบาดแผลจากการอักเสบ
เช่น ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เนื่องจากอากาศอบอ้าว
เช่น ผู้ป่วยวิตกกังวลสูงเนื่องจากไม่มีสัมพันธภาพที่ดีกับพยาบาลหรือผู้ป่วยอื่น
การปฏิบัติการพยาบาล
เป็นการเลือกจัดการกับสิ่งแวดล้อมและร่วมมือกับแพทย์ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วยที่มีอยู่ เริ่มจากการช่วยเหลือผู้ป่วยในการจัดสภาพที่เหมาะสมกับตัวผู้ป่วยเองต่อไป
การประเมินผลการพยาบาล
เป็นการประเมินสภาพการณ์ที่เป็นจริง ทั้งตัวผู้ป่วย สภาพแวดล้อมและการพยาบาล และปรับกิจกรรมให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เป็นธรรมชาติ
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นหลักความต้องการของบุคคล เพื่อความปลอดภัยและการป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อม
เน้นการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วย กิจกรรมการพยาบาลจะเป็นการปรับสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของผู้ป่วย
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
ผู้รับบริการได้รับการรักษายาบาลด้วยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ปลอดภัย จะมีศักยภาพฟื้นหายจากโรคหรือซ่อมแซมสุขภาพเมื่อเกิดการเจ็บป่วยและสามารถฟื้นคืนสภาพได้ดี
สุขภาพ
การปราศจากโรคและการใช้พลังอำนาจของบุคคลในการใช้ธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเกิดโรคหรือการเจ็บป่วย เป็นกระบวนการซ่อมแซมที่ร่างกายพยายามที่จะสร้างความสมดุล
สิ่งแวดล้อม
ปัจจัยภายนอกทั้งหมดที่มีอิทธิพลต่อชีวิตและพัฒนาการ
การระบายอากาศ
แสงสว่างที่เพียงพอ ความอบอุ่น
การควบคุมเสียง
การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลต่างๆออกจากร่างกาย
อาหารและน้ำที่สะอาด
การพยาบาล
เป็นการจัดสิ่งเอื้ออำนวยให้เกิดกระบวนการหายด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด
มุ่งเน้นที่บุคคลต้องการมีกระบวนการซ่อมแซมของร่างกาย การปฏิบัติต่อผู้ป่วยจะเริ่มด้วยการสังเกตบุคคลและสิ่งแวดล้อมเพื่อการประเมินและการจัดกิจกรรมการพยาบาล
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
นำแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและบุคคลมาประเมิน ทำให้เห็นความต้องการของผู้ป่วยได้
การระบายอากาศในหอผู้ป่วยให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างเพียงพอ
จัดการกับขยะปนเปื้อนโดยการแยกขยะใส่ถุงขยะสีส้ม ไม่ทิ้งสารคัดหลั่งของผู้ป่วยติดเชื้อลงโถชักโครกส่วนรวม
ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยในการบอกความจริง พูดให้กำลังใจ ไม่แสดงอาการไม่พอใจใส่ผู้ป่วย
ทฤษฎีการพยาบาลรอย
ทฤษฎีการปรับตัว
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นการปรับตัวเพื่อเอาชนะสิ่งแวดล้อม / ปัญหาที่ตนเองยังขาด เมื่อไม่สามารถเอาชนะได้ ต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม / ปัญหา เพื่อให้สอดคล้องตามสิ่งแวดล้อม
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
เป็นการปรับตัวและการให้ความช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาในการปรับตัวเมื่อมีเหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงเข้ามาในชีวิต
การปรับตัวเป็นกระบวนการและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการที่บุคคลมีความคิดและความรู้สึก จากการใช้ความตระหนักรู้ทางปัญญา และการสร้างสรรค์ในการบูรณาการระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมให้กลมกลืน
นำเข้า (Input)
การเผชิญปัญหา (Coping)
การปรับตัว (Adaptation)
ส่งออก (Output)
Feedback
ระดับปรับตัวผสมผสานกันได้ดี
ระดับการปรับตัวบกพร่อง
ด้านร่างกาย
ด้านอัตมโนทัศน์
2.1 ด้านร่างกาย
2.2 ด้านความรู้สึก
ด้านบทบาทหน้าที่
3.1 ปฐมภูมิ บทบาทที่ติดตัวมาแต่เกิด พัฒนาการแต่ละช่วงวัย
3.2 ทุติยภูมิ บทบาทที่เกิดขึ้นภายหลัง สอดคล้องกับปฐมภูมิ เช่น บทบาทผู้หญิงต้องเป็นแม่
3.3 ตติยภูมิ บทบาทชั่วคราว เช่น การเป็นครู นักร้อง แม่ค้า
ด้านการพึ่งพา
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป
4.1 บุคคลใกล้ชิด เช่น บิดา มารดา
4.2 ระบบเกื้อหนุน ความสัมพันธ์น้อยกว่าบุคคลใกล้ชิด เช่น เพื่อนร่วมงาน
กลไกการควบคุม (Regulator subsystem)
เป็นกลไกที่เกิดขึ้นอัตโนมัติ จากการทำงานของระบบประสาท
กลไกการคิดรู้ (Cognator subsystem)
เกิดต่อเนื่องจากกลไกควบคุม สมองสั่งการให้รับรู้ เรียนรู้ ตัดสินใจและตอบสนองทางอารมณ์
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
สร้างโดยซิสเตอร์ คอลลิสตารอย (Sister Collista Roy)
เชื่อว่า เมื่อบุคคลเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิต จะมีการปรับตัวได้ดีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิ่งที่มากระทบและความสามารถของบุคคลในการปรับตัว
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล (Person)
เป็นระบบเปิด มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม มีการปรับตัวแบบองค์รวม (กาย จิต สังคมและจิตวิญญาณ)
สุขภาพ (Health)
เป็นผลมาจากการปรับตัว 4 ด้าน
ปรับตัวได้ = สุขภาพแข็งแรง
ปรับตัวไม่ได้ = สุขภาพไม่ดี / เจ็บป่วย
ด้านร่างกาย
ด้านอัตมโนทัศน์
ด้านบทบาทหน้าที่
ด้านการพึ่งพา
สิ่งแวดล้อม (Enviroment)
เป็นสิ่งเร้า (Stimuli)
สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli)
เผผชิญโดยตรง กระทบต่อบุคคลมากที่สุด ทำให้บุคคลต้องปรับตัว
สิ่งเร้าร่วม (Contexual stimuli)
เสริมสิ่งเร้าตรง ให้มีผลกระทบต่อบุคคลมากขึ้น / ลดลง
สิ่งเร้าแฝง (Residual stimuli)
เป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีต เชื่อมโยงความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติ นิสัย และบุคลิกภาพ จะมีหรือไม่มีขึ้นอยู่กับตัวบุคคล
การพยาบาล (Nursing)
ช่วยเหลือดูแลและส่งเสริม
ขั้นที่ 1 ประเมินพฤติกรรม สังเกต สอบถาม
ขั้นที่ 2 ประเมินสิ่งเร้า หาสาเหตุ
ขั้นที่ 3 วินิจฉัยการพยาบาล
ขั้นที่ 4 ตั้งเป้าหมายการพยาบาล
ขั้นที่ 5 ให้การพยาบาล
ขั้นที่ 6 ประเมินผล
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
การส่งเสริมการปรับตัวของญาติ โดยใช้สมรรถนะการพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
ประเมินพฤติกรรมการปรับตัวของญาติผู้ดูแล 4 ด้าน
ร่างกาย
การรับประทานอาหาร การนอนหลับพักผ่อน การขับถ่าย
ร่างกาย
ญาติผู้ดูแลรู้สึกว่าตนเป็นลูกต้องดูแลมารดา แสดงความกตัญญู
บทบาทหน้าที่
บริหารจัดการเวลาและการงาน
บริหารจัดการงานบ้าน
บริหารจัดการดูแลความเจ็บป่วยของมานดา
การพึ่งพา
สมาชิกในครอบครัวช่วยกันแบ่งเบาภาระหน้าที่จากผู้ดูแลหลัก
อสม.เข้าเยี่ยมบ้าน
วางแผนการพยาบาลและพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวของญาติผู้ดูแล
ประเมินผลการปรับตัวของญาติผู้ดูแล
ทฤษฎีการพยาบาลโอเร็ม
ทฤษฎีการดูแลตนเอง
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ประวัติของโดโรธี โอเรม (Dorothea Orem)
ปี ค .ศ.1956 โอเรมได้พิมพ์เผยแพร่หนังสือ เกี่ยวกับแนวคิดของการดูแลผู้รับบริการโดยการช่วยเหลือให้บุคคลดูแลตนเอง และให้สมาชิกในครอบครัวช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย
ปี ค.ศ. 1971 โอเรมเสนอแนวคิดทางการพยาบาล อธิบายแนวคิดการดูแลตนเอง ระบบการพยาบาล และปัจจัยพื้นฐาน
ต่อมามีการพัฒนาแนวคิดให้มีความชัดเจนมากขึ้น โดยการเพิ่มเติมแนวคิดความสามารถในการดูแลตนเอง ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด ความสามารถทางการพยาบาล และความพร่องในการดูแลตนเอง
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
1.1 มีศักยภาพในการเรียนรู้
1.2 ขาดศักยภาพในการเรียนรู้ ต้องได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น
สุขภาพ
เป็นสภาพการทำงานร่วมกันระหว่างร่างกาย จิตใจ สังคม และระหว่างบุคคล
สิ่งแวดล้อม
3.1 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
3.2 องค์ประกอบและสภาพการณ์ของสิ่งแวดล้อม
3.3 สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา
การพยาบาล
ช่วยเหลือบุคคลที่บกพร่องในการดูแลตนเอง ใช้ทักษะความรู้ทางการพยาบาลมาช่วยเหลือให้สอดคล้องกับบทบาท
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
ประกอบด้วย 3 ทฤษฎี ที่มีความสัมพันธ์กัน
ทฤษฎีการดูแลตนเอง (The theory of self-care)
ความสามารถในการดูแลตนเองและความต้องการดูแลตนเองทั้งหมด
ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง (The theory of self-care deficit)
ความไม่สมดุลของความสามารถในตัวบุคคล และความต้องการดูแลตนเองทั้งหมด
เมื่อบุคคลมีความต้องการมากกว่าความสามารถที่จะกระทำได้ จะอยู่ในภาวะต้องการความช่วยเหลือการพยาบาล
ทฤษฎีระบบการพยาบาล (The theory of nursing system)
การช่วยเหลือปฏิบัติกิจกรรมแทนบุคคล และช่วยให้บุคคล
สามารถดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพและความผาสุกของบุคคลนั้น ๆ
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นเรื่องการดูแลตนเองระดับบุคคล มุ่งช่วยเหลือบุคคลที่มีความพร่องในการดูแลตนเอง ให้สามารถสนองความต้องการของตนเองได้เพียงพอและคงอยู่ต่อไป
การดูแลตนเอง (self-care)
ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (therapeutic self-care demand)
ความสามารถในการดูแลตนเอง (self-care agency)
ความพร่องในการดูแลตนเอง (self-care deficit)
ความสามารถทางการพยาบาล (nursing agency)
ปัจจัยเงื่อนไขพื้นฐาน (basic conditioning factors)
การดูแลตนเองเป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ในการดำรงไว้ซึ่งชีวิต มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
การยอมรับในความเจ็บป่วยในโรคนั้นๆ
ความสามารถในการดำรงชีวิตตามสภาพของข้อจำกัดของโรคและการรักษานั้นๆ อย่างปกติสุข
การส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการชีวิตและการพัฒนาวุฒิภาวะในแต่ละช่วงวัยของพัฒนาการ
การรับรู้ในการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคหรือการเจ็บป่วย
ทฤษฎีการพยาบาลคิง
(ทฤษฎีการบรรลุเป้าหมาย)
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ประวัติคิง (Imogene M. King)
เป็นพยาบาลชาวอังกฤษ
ปี ค.ศ. 1917 เสนอมโนทัศน์ระบบปฏิสัมพันธ์ (The interaction system framework)
ปี ค.ศ. 1981 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่
ปี ค.ศ. 1990 หลังเกษียณยังทำหน้าที่สอนและส่งเสริมให้บุคลากรในวิชาชีพ ได้นำ "ทฤษฎีการบบรลุเป้าหมาย" ไปศึกษา วิจัย ประยุกต์ในการปฏิบัติการพยาบาล
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้น “กระบวนการปฏิสัมพันธ์” การสร้างปฏิสัมพันธ์จะทำให้สะท้อนภาพลักษณ์ของพยาบาล่ และบทบาทของการให้คำปรึกษา (Counseling) ชี้แนะ (Guiding) สอน (Teaching) แก่ผู้รับบริการในการหาความหมายของภาวะสุขภาพหรือการเจ็บป่วย
ระบบบุคคล (Personal system)
1.1 การรับรู้ (Perception)
1.2. อัตตาตัวตน (Self)
1.3. ภาพลักษณ์ (Body image)
1.4. การเจริญเติบโตและพัฒนาการ (Growth and development)
1.5. เวลา (Time)
1.6. อาณาบริเวณ (Space)
ระบบระหว่างบุคคล (Interpersonal system)
2.1. การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
2.2. การติดต่อสื่อสาร (Communication)
2.3. การบรรลุเป้าหมายของการปฏิสัมพันธ์ (Transaction)
2.4. บทบาท (Role)
2.5. ความเครียด (Stress)
ระบบสังคม (Social system)
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
มีการประเมินการกระทำ (action) และการตอบสนอง (reaction) ต่อปัญหาผู้รับบริการ
พยาบาลและผู้รับบริการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน
ตัดสินใจเลือกแนวทางปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย
ดำเนินการแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย (Transaction)
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล (Person)
1.1 บุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
1.2 ทุกคนมีความนึกคิด มีความรู้สึกเป็นของตนเอง
1.3 ทุกคนมีเหตุผลของตนเอง
1.4 บุคคลเป็นผู้มีการรับรู้
1.5 มีความสามารถที่จะแสดงความโต้ตอบ (React) ตามการรับรู้ของตนเอง
1.6 มีความสามารถที่จะกระทำสิ่งต่างๆ (Action-oriented being)
1.7 มีความสามารถที่จะวางเป้าหมายในการกระทำสิ่งต่างๆ
1.8 มีความสามารถที่จะตัดสินใจและควบคุมตนเองได้
1.9 ทุกคนมีเวลาในเรื่องต่างๆที่เหมาะสมเฉพาะของตนเอง
สิ่งแวดล้อม (Environment)
สิ่งแวดล้อมภายในและสิ่งแวดล้อมภายนอก
บุคคลมีความสามารถในการนำ
พลังงานมาช่วยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อย่างต่อเนื่อง
สุขภาพ (Health)
“ภาวะสุขภาพ” เป็นความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่
ตามบทบาททางสังคม
“ภาวะเจ็บป่วย” เป็นภาวะที่มีการเบี่ยงแบนของโครงสร้างร่างกายหรือจิตใจ
หรือภาวะที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับสัมพันธภาพของบุคคลในสังคม
การพยาบาล (Nursing)
เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ของพยาบาลและผู้รับบริการ โดยทั้งสองฝ่ายมีการสื่อสาร รับรู้สถานการณ์ มีการตั้งเป้าหมาย และกำหนดจุดมุ่งหมายของความสำเร็จร่วมกัน
เป้าหมายของการพยาบาลตามแนวคิดของคิง คือ การช่วยบุคคลและกลุ่มคนให้ฟื้นคืนสภาพ ดำรงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพดี หรือในวาระสุดท้ายของชีวิต จากไปยอย่างมีศักดิ์ศรี
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
การประเมินสภาพ (Assessment)
คือ ขั้นตอนของการสร้างสัมพันธภาพ การติดต่อสื่อสาร มีการแลกเปลี่ยนการรับรู้ระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
คือ ขั้นตอนการร่วมกันกำหนดเป้าหมาย แสวงหาวิธีปฏิบัติ ตกลงยอมรับวิธีปฏิบัติร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างบรรลุเป้าหมาย
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
คือ การที่ผู้รับบริการปฏิบัติกิจกรรมตามวิธีที่ตกลงร่วมกัน เพื่อการบรรลุเป้หมายที่วางร่วมกันและ
พยาบาลมีหน้าที่ปฏิบัติบทบาทของพยาบาลเพื่อบรรลุเป้าหมายเช่นกัน
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
คือ การที่พยาบาลและผู้รับบริการร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติ ว่าสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกันหรือไม่ ถ้ามีสิ่งใดเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติจะช่วยกันหาวิธีขจัดอุปสรรคนั้น
ตัวอย่างข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ผู้รับบริการต้องการหายจากแผลผ่าตัดเร็วที่สุด เพื่อไปทำงาน
ทฤษฎีการพยาบาลเพนเดอร์
ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพ
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล (Person)
1.1 แสวงหาภาวการณ์ของชีวิต
1.2 ตระหนักรู้ในตนเอง
1.3 ให้คุณค่าความสมดุลของชีวิต
1.4 ควบคุมพฤติกรรมของตน
1.5 บุคคลประกอบด้วยองค์รวม มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
1.6 บุคลากรด้านสุขภาพมีอิทธิพลต่อบุคคล
1.7 การสร้างสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
สิ่งแวดล้อม (Enviroment)
สุขภาพ (Health)
การพยาบาล (Nursing)
การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นการพยาบาลที่สนับสนุนให้บุคคลสามารถประเมินรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความสามารถในการเอาชนะอุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพเชิงบวกและคงไว้ซึ่งสุขภาพดีได้
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
การสำรวจพฤติกรรมส่งเสริม (การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร) สุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน
การจัดระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
การกำหนดให้ทุกที่ ทุกเวลา สามารถออกกำลังกายได้
การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมศักยภาพให้บุคคลรับรู้สมรรถนะแห่งตน และรู้สึกสนุกต่อการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพนั้น ๆ
การอบรม การจัดค่ายอาหารสำหรับป้องกันโรคอ้วนในวัยเด็ก
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ปี ค.ศ. 1975 เพนเดอร์ (Pender) พัฒนาแบบจำลองการป้องกันสุขภาพที่กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ และการปฏิบัติของปัจเจกบุคคลต่อการป้องกันโรค
ปี ค.ศ. 1982 พัฒนาแบบจำลองส่งเสริมสุขภาพ
"การป้องกันสุขภาพ" เป็นมโนทัศน์ทางสุขภาพเชิงลบ เพราะพฤติกรรมส่วนหญ่เป็นการหลีกเลี่ยง
"การส่งเสริมสุขภาพ" เป็นมโนทัศน์ทางสุขภาพเชิงบวก เพราะเป็นการยกระดับสุขภาพให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
พฤติกรรมเดิมที่เกี่ยวข้อง
การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ
การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติ
ปัจจัยส่วนบุคคล : ชีววิทยา
จิตวิทยา สังคม วัฒนธรรม
อิทธิพลระหว่างบุคคล (ครอบครัว เพื่อน ทีมสุขภาพ บรรทัดฐาน )
อิทธิพลจากสถานการณ์
ความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติ
ทฤษฎีการพยาบาล TTM (Transtheoretical model)
ทฤษฎีขั้นการเปลี่ยนพฤติกรรม
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ปี ค.ศ. 1980 ได้ถูกพัฒนาเป็นโมเดลที่อธิบายความตั้งใจ / ความพร้อมของบุคคลที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตนเอง โดยเน้นที่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการตัดสินใจ (decisional making) ของบุคคล
ผู้คิดค้นทฤษฎี
James O. Prochaska, Ph.D.
Carlo DiClemente, Ph.D.
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกระบวนการที่ทำต่อเนื่อง 5 ขั้นตอน
สุขภาพ
พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์คงที่
พฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ไม่คงที่ บุคคลกลับไปทำพฤติกรรมเดิม (Relapse)
สิ่งแวดล้อม
การพยาบาล
ให้ข้อมูล เสริมแรง
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ประสบความสำเร็จ พฤติกรรมใหม่ควรอยู่อย่างยั่งยืน
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
ความสมดุลในการตัดสินใจ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ ให้ออกกำลังกาย
ระยะก่อนชั่งใจ (Precontemplation) ▶ กระตุ้น ปลูกจิตสำนึก
ระยะชั่งใจ (Contemplation) ▶ ประมินตนเอง เปรียบเทียบผลดี ผลเสียการออกกำลังกาย
ระยะปฏิบัติ / เปลี่ยนแปลง (Action or Making the change) ▶ หาแรงสนับสนุนในสังคม (การมีสุขภาพดี เป็นที่ยอมรับ)
ระยะเตรียมการ (Preparation) ▶ รับรู้สิ่งแวดล้อม (สุขภาพแข็งแรงขึ้น ป้องกันการเจ็บป่วย) ที่สนับสนุนสุขภาพ
ระยะการทำกิจกรรมคงที่ / สม่ำเสมอ (Maintenance) ▶ ควบคุมสิ่งเร้า (การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร) มีวินัยในตนเอง ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เชื่อว่าตนเองทำได้
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นกระบวนการที่ทำต่อเนื่อง 5 ขั้นตอน
ระยะก่อนชั่งใจ (Precontemplation)
ระยะชั่งใจ (Contemplation)
เริ่มตระหนัก แต่ยังไม่พร้อมเปลี่ยน
ระยะเตรียมการ (Preparation)
ระยะปฏิบัติ / เปลี่ยนแปลง (Action or Making the change)
ระยะการทำกิจกรรมคงที่ / สม่ำเสมอ (Maintenance)
เน้นการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างแรงจูงใจให้บุคคลลมีความตั้งใจจะปฏิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งเสริมการคงอยู่ของพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของบุคคลไว้ได้
การพยาบาลข้ามวัฒนธรรม
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
ระดับที่ 1 เป็นมุมมองโลกและระบบสังคม
ระดับที่ 2 เป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล กลุ่มบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสถาบัน
ระดับที่ 3 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบกลุ่มชน วิชาชีพ รวมถึงการพยาบาล
ระดับที่ 4 บอกระดับการตัดสินใจ เพื่อปฏิบัติการดูแล
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
การมองโลก (Worldview)
เป็นการมองของบุคคล
มองที่โครงสร้างสังคม
(ปัจจัยองค์กรศาสนา เศรษฐกิจ การศึกษา) และ
มองด้านสิ่งแวดล้อม
(สภาพสังคม ความเป็นอยู่) ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (วิถีชีวิต)
มิติทางวัฒนธรรมและโครงสร้างทางสังคม (Culture & social structure)
ศาสนา
ระบบเครือญาติ (สังคม)
การเมือง
ระบบเศรษฐกิจ
การศึกษา
เทคโนโลยี
ค่านิยมวัฒนธรรม
ประวัติชาติพันธุ์
ประวัติทางชาติพันธุ์ (Ethno history)
ความเป็นอยู่วิถีชีวิต
ความเป็นพื้นบ้าน (Generic, Folk)
การเรียนรู้และถ่ายทอดกันมา
เป็นความรู้ท้องถิ่นของชนพื้นเมือง
ระบบการดูแลทางวิชาชีพ
(Professional care system) เป็นระบบสหสาขาวิชาชีพ
การพยาบาลที่สอดคล้องกับวัฒนธรรม (Cultural congruent nursing care)
การตระหนักรู้ที่เกิดจากการให้การช่วยเหลือ เหมาะสมกับความต้องการของบุคคล สอดคล้องกับวัฒนธรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
กระบวนการพยาบาลที่สงวนและคงไว้ซึ่งการดูแลทางวัฒนธรรม
การดูแลสุขภาพตามคุณค่าทางวัฒนธรรมของตน เคารพความเชื่อของบุคคล ดำรงไว้ซึ่งความผาสุก การฟื้นหายจากการเจ็บป่วย
กระบวนการพยาบาลที่สงวนและคงไว้ซึ่งการต่อรองทางวัฒนธรรม
ช่วยเหลือเอื้ออำนวยให้บุคคลปรับตัวต่อสิ่งเร้าได้ เกิดประโยชน์ทางสุขภาพ
กระบวนการพยาบาลที่พัฒนาสร้างรูปแบบใหม่ในการดูแลด้านวัฒนธรรม
ให้ผู้รับบริการเกิดแนวคิดใหม่ต่างจากเดิม และส่งผลดีต่อแบบแผนการดูแลสุขภาพ
เช่น การจัดพื้นที่ให้ผู้ป่วยละหมาดได้ ในผู้ป่วยอิสลาม
การอนุญาตให้ญาติผู้ดูแลนิมนต์พระมาสวดให้ผู้ป่วยวาระสุดท้ายของชีวิต ในผู้ป่วยชาวพุทธ
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ประวัติ Dr. Madeleine M Leininger
ปี ค.ศ. 1985 ตีพิมพ์หนังสือ Nursing science quarly เขียนถึงศาสตร์การดูแลจากพื้นฐานมนุษยศาสตร์
ปี ค.ศ. 1988 มีการอธิบายเพิ่มเติม
มีพื้นฐานมาจากความรู้ทางวัฒนธรรมทางการพยาบาล โดยมีความเชื่อ และให้คุณค่าแก่วัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพ การเจ็บป่วย
เป้าหมายสอดคล้องตามความเชื่อ ปฏิบัติการพยาบาลสอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่อย่างกลมกลืน
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
การดูแลตนเอง มีปฏิสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้อื่น การดูแลมีความเป็นสากลสอดคล้องกลมกลืนกับวัฒนธรรม
สุขภาพ
ภาวการณ์อยู่ดีมีสุข ปฏิบัติตามวัฒนธรรมสัมพันธ์กับความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพ
3.สิ่งแวดล้อม
มุมมองโครงสร้างสังคม บริบทสิ่งแวดล้อมสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัฒนธรรม
การพยาบาล
อาศัยการเรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล บทบาทหน้าที่ในการส่งเสริม ดำรงไว้ซึ่งสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยสอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่
แนวคิดการพยาบาลแบบเอื้อาทร
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
เป็นเอกลักษณ์ขององค์ความรู้และจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของพยาบาล
เป็นศิลปะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย ทำให้รู้สึกปลอดภัย พึงพอใจและมีความหวัง
สัมพันธภาพที่เอื้ออาทรมีผลต่อภาวะสุขภาพและการหายจากโรคของผู้ป่วย
Watson เชื่อว่า การพยาบาลต้องเข้าใจถึงความเป็นตัวตนและความรู้สึก จิตใจของผู้ป่วย ทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์กันอย่างธรรมชาติ
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
ส่งเสริมและปกป้องความเป็นบุคคลของผู้ป่วย
1.1 สร้างสัมพันธภาพที่มีความไว้วางใจ
ความเชื่อมั่น ศรัทธา ความหวัง
ไวต่อการรับรู้ ยอมรับและร่วมรู้สึก
เมตตากรุณา มีความอบอุ่น จริงใจ
1.2 เกิดจากการสนับสนุน
การเอาใจใส่ เฝ้าสังเกต ควบคุม ตรวจสอบ ให้ความสุขสบายแก่ผู้ป่วย
ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพยาบาล และขอบเขตความต้องการของบุคคล
การป้องกัน ปกป้อง ดูแล ไม่ให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายจากการพยาบาล (การทำแผล การดูแลไม่ให้ผู้ป่วยติดเชื้อ ฯลฯ)
สร้างศรัทธาและความหวัง
ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล ทันเวลา
พูดปลอบโยนให้กำลังใจ
ส่งเสริมมให้ผู้ป่วยเข้มแข็งกล้าเผชิญกับความเจ็บป่วย
ไวต่อความรู้สึกตนเองและผู้อื่น
ไม่แสดงท่าทีเร่งรีบให้การพยาบาล
ช่วยเหลือผู้ป่วยทันที โดยไม่ต้องรอให้ผู้ป่วยร้องขอ
สร้างสัมพันธภาพในการช่วยเหลือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
จำชื่อและรายละเอียดเกี่ยวกับโรคของผู้ป่วยได้
ฟังผู้ป่วยเล่า ระบายความในใจอย่างใจจริง
ยอมรับการแสดงออกของความรู้สึกทั้งทางบวกและทางลบ
ไม่ตำหนิผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยแสดงอารมณ์โกรธ
ชมเชยผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง
การใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ให้การพยาบาลเหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจด้วยเหตุผลในการพยาบาลทุกครั้ง
สร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลในกระบวนการเรียนรู้
ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และปฏิบัติได้แก่ผู้ป่วย
ประคับประคอง สนับสนุน และแก้ไขสภาพแวดล้อมทางกาย จิตสังคม และจิตวิญญาณ
ให้ผู้ป่วยได้พูดคุยกับผู้ป่วยอื่นที่มีปัญหาคล้ายๆกัน
ช่วยเหลือให้การตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล
ทำหน้าที่แทนในการรักษาเอกสทธิ์ให้กับผู้ป่วยในการติดต่อประสารงานกับแพทย์
บรรเทาความไม่สุขสบายแก่ผู้ป่วย
สร้างเสริมพลังจิตวิญญาณ
ใช้หลักศาสนาในการสร้างกำลังใจให้ผู้ป่วย
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
ความสามารถในการสื่อสาร ใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกต่อกันระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วย
สุขภาพ
ดูแลผู้ป่วยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก
กระตุ้นให้ผู้ป่วยเปิดเผยเล่าระบายความรู้สึกภายในใจ
สิ่งแวดล้อม
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมภายในหอผู้ป่วย ไม่ให้มีกลิ่น เสียงมารบกวน แสงสว่างเพียงพอ
การพยาบาล
ให้การพยาบาลเหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นจ่อการรักษา
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นสร้างสัมพันธภาพที่ประกอบด้วย ความเข้าใจถึงธรรมชาติของกันและกัน มีมิตรไมตรี เชื่อถือไว้วางใจ ถ่ายทอดความรู้สึกต่อกันระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองตามความสามารถ โดยไม่ขัดต่อภาวะความเจ็บป่วย
ให้การพยาบาลผู้ป่วยโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยทั้งคำพูดและภาษากาย
ทฤษฏีการพยาบาลวัตสัน
ทฤษฎีการดูแลมนุษย์
ข้อตกลงเบื้องต้น / จุดเน้นของทฤษฎี
เน้นการดูแลเป็นคุณธรรม ดำรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อาศัยการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้ได้รับการดูแล ภายใต้ความรักในความเป็นเพื่อนมนุษย์ ให้ความสำคัญทั้งร่างกาย จิตวิญญาณควบคู่กัน
ผู้ดูแลตระหนักได้ถึงการดูแล ทำให้เกิดความรัก ความเข้าใจผู้อื่น (Caring occasion)
นำไปสู่การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างคนสองคน ภายใต้สนามปรากฎการณ์ (Phenominal field) ของแต่ละบุคคล
หลอมรวมกันจนเข้าถึงจิตใจระหว่างคนสองคน (Transpersonal)
คนสองคนค้นพบความหมายของสิ่งต่างๆที่เป็นสาระสำคัญในชีวิต (ความเจ็บป่วย ความทรมาน และความตายตามสภาพความเป็นจริง)
เกิดการยอมรับในตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดสัมพันธภาพที่นำไปสู่การฟื้นหาย (Healing Relationship)
การดูแลที่เข้าถึงจิตใจบุคคล
สร้างระบบค่านิยมที่มีเมตตาต่อกัน
สร้างความศรัทธา
สร้างความไวต่อความรู้สึก
สร้างสัมพันธภาพ
ส่งเสริมและยอมรับความรู้สึก
ใช้กระบวนการพยาบาลแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ส่งเสริมการเข้าถึงจิตใจบุคคล
ประคับประคอง สนับสนุน แก้ไขสิ่งแวดล้อม (กายภาพ จิตสังคม จิตวิญญาณ)
ช่วยเหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคล
เสริมสร้างพลังจิตวิญญาณในการมีชีวิตอยู่
ต้องให้การพยาบาลด้วยความรัก (Caritas nursing) เพราะความรักคือพลังผลักดันให้เกิดกระบวนการบำบัด เพื่อการฟื้นหายจากการเจ็บป่วย
มโนทัศน์หลักของทฤษฎี
บุคคล
เป็นแหล่งรวมความตระหนักในตนเอง สมควรได้รับการดูแล นับถือ เข้าใจและช่วยเหลือ
สุขภาพ
มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ
3.สิ่งแวดล้อม
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง มีอิทธิพลต่อการรับรู้และพัฒนาการระหว่างบุคคลที่อยู่ในการดูแลซึ่งกันและกัน (ค่านิยม)
การพยาบาล
เป็นกระบวนการเข้าถึงจิตใจ ความรู้สึกของบุคคล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เยียวยารักษา และฟื้นฟูสุขภาพ
แนวคิด/หลักการสำคัญของทฤษฎี
ดูแลอย่างอุดมคติ เชิงคุณธรรมที่ยึดมั่นในพยาบาล
การปฏิบัติการพยาบาลเป็นแกนกลางของพยาบาล
เป้าหมายการพยาบาล คือ การช่วยเหลือให้มนุษย์เพิ่มระดับคุณภาพ และความกลมกลืนระหว่างกาย จิต และจิตวิญญาณ ในการก่อให้เกิดความรู้ในตนเอง รู้คุณค่าในตนเอง
จิตวิญญาณเป็นแก่น / ตัวตนในบุคคล ช่วยให้ค้นพบคุณค่า เป้าหมายในชีวิต มีพัฒนาการตามประสบการณ์ เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ความศรัทธาในศาสนา
พยาบาลสามารถช่วยให้บุคคลได้สะท้อนคิด ค้นพบคุณค่าในตนเองได้ ด้วยการนำความเชื่อทางศาสนาพูดให้กำลังใจและปลอบโยน
ตัวอย่างการนำทฤษฎีไปใช้ในการพยาบาล
เห็นอกเห็นใจผู้ป่วย ไม่ชักสีหน้า หรือแสดงอารมณ์โกรธใส่ผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยต้องการทราบอาการและการดูแลตนเองจากโรคที่เป็นอยู่
แสดงความอบอุ่น มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ให้กำลังใจผู้ป่วย ให้คำแนะนำก่อนและหลังการรักษา ยิ้มแย้ม
รับฟังความในใจผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้ระบายความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่ตนเป็น และให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม นำหลักศาสนามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับผู้ป่วย
ประวัติความเป็นมาของทฤษฎี
ประวัติ ดร. จีน วัตสัน (Jean Watson)
ปี ค.ศ. 1979 งานเขียนเรื่อง "ปรัชญาและศาสตร์ของการดูแล" ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก
เกิดปี ค.ศ. 1940
ปี ค.ศ. 1988 "ทฤษฎีศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์" ได้รับการตีพิมพ์เป็นตำรา มีอิทธิพลต่อการพัฒนา "ทฤษฎีการดูแลระหว่างบุคคล"
ความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรม
การรับรู้ความสามารถของตน
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
การพยาบาล
มีบทบาทในการจัดการ
สิ่งแวดล้อม
ที่เอื้อต่อสุขภาพ
สร้างแรงจูงใจห้
บุคคล
มีความตั้งใจจะปฏิบัติ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งเสริมการคงอยู่ของพฤติกรรม
สุขภาพ
ที่พึงประสงค์ของบุคคลไว้ได้
ควบคุมอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
การพยาบาล
ความจำเป็นและทางเลือกอื่น
การกระตุ้น
ให้ข้อมูลและเสริมแรง
ควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องของการกระทำ