Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสำเร็จในการทำงานของพยาบาลบนหอผู้ป่วย - Coggle Diagram
ความสำเร็จในการทำงานของพยาบาลบนหอผู้ป่วย
การบริหารจัดการของหัวหน้าเวร
พยาบาลหัวหน้าเวร (Charge Nurse) เป็นผู้รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหอผู้ป่วยอีกต่อหนึ่งทำหน้าที่จัดให้มีการบริการพยาบาลที่มีคุณภาพแก่ผู้ป่วยในทีมและใช้คนให้มีประสิทธิภาพ (ปรางทิพย์ อุจะรัตน,2541,หน้า67) ซึ่งทางการบริหารจัดว่าพยาบาลหัวหน้าเวรเป็นผู้บริหารระดับต้นเช่นเดียวกับพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยแตกต่างกันในขอบเขตและปริมาณงานที่รับผิดชอบเท่านั้น
คุณลักษณะของพยาบาลหัวหน้าเวร
(พวงยุพา ยิ้มเจริญ, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และพรศรี ศรีอัษฎาพร, 2562)
เข้าใจและใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับงาน
มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมด้านการแต่งกาย อารมณ์และจิตใจ
มีภาวะผู้นำมีความสามารถในการบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์
คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้บรรลุตามพันธกิจและนโยบายที่กำหนด
มีความรู้ในด้านการวิจัยโดยแสวงหาความรู้ใหม่ๆเพื่อพัฒนางาน
มีทักษะความสามารถเชี่ยวชาญในการปฏิบัติการพยาบาลในงานที่ได้รับผิดชอบเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลที่ยังไม่หมดอายุมีประสบการณ์ทางการพยาบาลอย่างน้อย 3 ปีขึ้นไป
มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
บทบาทหน้าที่
ตัดสินใจแก้ปัญหาทางการพยาบาลในแต่ละสถานการณ์และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
วางแผนและมอบหมายงานให้หัวหน้าทีม
นำประชุมปรึกษากับทีมงานกำหนดแผนการพยาบาล
สามารถวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
ประสานงานกับทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์, นักกายภาพบำบัด, เภสัชกรเป็นต้น
กำหนดระบบและกระบวนการดำเนินงานนิเทศและประเมินผลงาน
บริหารบุคคลในสายงานพยาบาล, บริหารทรัพยากรในการดำเนินการพยาบาล
บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
การสร้างมนุษยสัมพันธ์
เทคนิค
ไม่ทำตัวเด่นจนเกินไปหรือด้อยจนเกินไป
ไม่แสดงอาการเบื่อ เต็มใจรับฟังผู้อื่น
มองผู้อื่นในแง่ดี ด้วยความจริงใจ
การพูด ต้องไม่พูดมากเกินไป และควรมีคำพูดแปลกใหม่ หรือเรื่องที่น่าสนใจในการสนทนา
มีอารมณ์ขัน ร่าเริง เก็บความรู้สึกได้ เป็นผู้ให้
รู้สักหน้าที่ในการเป็นสมาชิกที่ดีของกลุ่ม
มีความตั้งใจที่จะไม่ขัดผลประโยชน์ของผู้อื่น
ประโยชน์
ทำให้เกิดความสุขเพิ่มขึ้น มีความพอใจในการปฎิบัติงาน
ทำให้เกิดการแบ่งหน้าที่ รู้จักบทบาทและภารกิจ บนพื้นฐานของความเข้าใจและไว้วางใจ
ทำให้เกิดความร่วมมือกัน ความเข้าใจอันดีมีผลให้องค์กรดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำให้มีความพอใจในชีวิตเพิ่มขึ้น จากการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความคิดซึ่งกันและกัน
ประโยชน์ในการสื่อความคิด การติดต่อประชาสัมพันธ์
ความหมาย
“ มนุษยสัมพันธ์ ” เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ที่เป็นกลวิธีในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เพื่อให้ทำกิจกรรมร่วมกันแบบเต็มใจ มีจิตสาธารณะ ซึ่งสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับความต้องการแรงจูงใจของบุคคล ที่จะทำกิจกรรมใด ๆ ให้บรรลุเป้าหมาย ประสบผลสำเร็จในหน้าที่ของตน
(วีรพงษ์ ปรองดอง,ละเอียด จงกลนี และประจิตร มหาหิง,2564)
การบริหารเวลา
การกําหนดและการควบคุมการปฏิบัติงานให้บรรลุผลตามเวลาและวัตถุประสงค์ที่กําหนด เพื่อก่อให้ เกิดประสิทธิภาพในงานหน้าที่ที่รับผิดชอบ
หลักการ (ดร.อารมณ์ จินดาพันธ์,2556)
3.จัดลําดับความสําคัญของงานที่จะต้องทํา
ตามลําดับความสําคัญหรือความจําเป็นเร่งด่วน
4.ลงมือปฏิบัติและควบคุมการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
2.กําหนดระยะเวลาในการทํางานของแต่ละเรื่อง
ให้ชัดเจนจากจุดเริ่มต้นจนสิ้นสุด
5.ตรวจสอบเวลาในขณะปฏิบัติงานเป็นระยะๆ
เพื่อจะได้ทราบว่าใช้เวลาไปแล้วเท่าไหร่เหลือเวลาอีกเท่าไหร่ เเละปรับวิธีการทํางานให้สมดุลกับเวลาที่เหลือ
1.บันทึกภาระงานทั้งหมดที่จะต้องทํา โดยจําแนกเป็นเรื่องๆ
ประโยชน์
2.เพื่อให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
3.ช่วยจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมได้
เพื่อให้ได้บรรลุเป้าหมายชีวิตที่ได้ตั้งไว้แน่นอน
4.ทำให้มีเวลาในการทำงานกับบุคคลและกิจกรรมที่ต้องการได้มากขึ้น
5.ช่วยให้ความเครียดลดลง ผ่อนคลาย
ศุภรา อภิญญานนท์(2551) พบว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยให้ความสำคัญกับการพัฒนาตนเอง โดย การศึกษาหาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ตลอดจนนำความรู้ท่ีได้มาถ่ายทอดและประยุกต์ใช้ในงาน เพื่อพัฒนางานที่รับผิดชอบให้มีคุณภาพ ส่วนในด้านชีวิตส่วนตัว พบว่าหัวหน้าหอผู้ป่วยส่วนใหญ่จะแยกงานกับชีวิตส่วนตัวออกจากกันอย่างชัดเจน มีการเเบ่งเวลาการทำงาน ไม่ให้เบียดบังเวลาในชีวิตส่วนตัว เพราะเห็นความสำคัญของการทำชีวิตให้สมดุล
การบันทึกทางการพยาบาล
หลักการ
ใช้หลัก 4C
(มะลิวัลย์มูลมงคล, ศศิธร ศรีภูษณาพรรณ, ฉวี สิทธิวางค์กูล, ยุพิน ตันอนุชิตติกุล และ ปิยธิดา จุลละปีย , 2560)
Complete
การบันทึกครบถ้วย
Clear
ชัดเจน
Correct
เนื้อหาถูกต้อง
Concise
ได้ใจความ
รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล
(จันทร์ทิรา เจียรณัย, 2557)
การบันทึกโดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computerized Electronic Charting)
การบันทึกโดยใช้แผนการดูแลผู้รับบริการ (Clinical pathway, Care map charting)
การบันทึกโดยใช้ระบบปัญหา (problem oriented record)
การบันทึกระบบชี้เฉพาะ (Focus charting record)
จากการศึกษาผลการใช้การบันทึกทางการพยาบาลแบบ Focus Charting งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำปาง (2560) ของ มะลิวัลย์มูลมงคล, ศศิธร ศรีภูษณาพรรณ, ฉวี สิทธิวางค์กูล, ยุพิน ตันอนุชิตติกุล และ ปิยธิดา จุลละปีย
พบว่า การเลือก ช้การบันทึกแบบชี้เฉพาะ ในโรงพยาบาลลำปาง เป็นการบันทึกรูปแบบใหม่ที่มีการเขียนสากลและสื่อสารระหว่างวิชาชีพได้มากที่สุดที่มีความยืดหยุ่น ปรับใช้ได้ทุกหน่วยบริการพยาบาล สะท้อนกระบวนการพยาบาล เอื้อให้มัข้อมูลที่วบรัดและกระชับ ง่ายต่อการหาข้อมูลสำคัญ ลดระยะการบันทึก ส่งเสริมการสื่อสาร และพฤติกรรมของแพทย์เปิดอ่านแบบชี้เฉพาะเพิ่มขึ้น
การบันทึกโดยใช้กระบวนการพยาบาล (Nursing process record)
การบันทึกบอกเล่าเรื่องราว (narrative record)
ประโยชน์
(จันทร์ทิรา เจียรณัย, 2557)
เป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร เพราะจากการบันทึกจะทำให้ทราบว่าบุคลากรมีจุดอ่อนหรือความสามารถในด้านใด เพื่อจะได้นำมาช่วยเหลือและแก้ไขได้ถูกต้อง
เป็นข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า วิจัยต่าง ๆ
ใช้เป็นหลักฐานทางด้านกฎหมาย
ทำให้ผู้รับบริการได้รับการบริการที่สมบูรณ์ ต่อเนื่อง ถูกต้อง
ส่งเสริมให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลถูกต้องมากขึ้น และช่วยลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากการขาดข้อมูลในการประเมินปัญหา
ป้องกันไม่ให้ผู้รับบริการได้รับการกระทำซ้ำ ๆ ในเรื่องเดิมโดยไม่จำเป็น เช่น การซักประวัติ การสอน แนะนำในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนการหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมบางอย่างที่ผู้รับบริการไม่พึงพอใจ
ช่วยให้เกิดความร่วมมือในการดูแลผู้รับบริการจากเจ้าหน้าที่หลาย ๆ ฝ่าย
ความสำคัญ
(ลักขณา ศรสุรินทร์, 2561)
ใช้เป็นเกณฑ์ในการจำแนกผู้รับบริการ
ให้ข้อมูลแก่ฝ่ายบริหารเพื่อการวางแผน
ช่วยในการแยกแยะบทบาทของพยาบาลจากวิชาชีพอื่น
นำมาใช้เป็นเครื่องมือในกระบวนการประกันคุณภาพการดูแลรักษาผู้รับบริการและเป็นหลักฐานในการรับรองคุณภาพบริการพยาบาลและโรงพยาบาล
ช่วยในการวางแผนการพยาบาลและให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่ต่อเนื่อง รวมทั้งให้ผู้รับบริการได้รับการดูแลที่ปลอดภัย
ข้อมูลที่บันทึกสามารถนำมารวบรวม เปรียบเทียบและประเมินความต้องการการดูแลของผู้รับบริการ
ข้อมูลที่บันทึกนำมาใช้เพื่อการติดต่อสื่อสรา ความก้าวหน้าในการผู้รับบริการระหว่างบุคลากรในทีมสุขภาพ
การบำรุงขวัญและการเสริมแรง
ปัจจัย
2.ลักษณะและพฤติกรรมของผู้นำหรือผู้บริหาร มีผลต่อขวัญและกำลังใจของผู้ร่วมงาน
3.ระเบียบของการจัดการ ที่มีอิทธิพลต่อขวัญและกำลังใจในการทำงานนั้นรวมถึงนโยบายหรือวิธีการทำงานที่เกี่ยวกับค่าจ้าง
1.ภูมิหลัง รวมถึง สติปัญญา การศึกษา อุปนิสัย ขวัญและกำลังใจในการทำงานจะมากหรือน้อยขึ้นกับความพึงพอใจในความต้อง ดังกล่าวข้างต้น
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
stogdill ได้ชี้ให้เห็นว่าสภาวะที่จะช่วยส่งเสริมในหน่วยงาน มี 2 ปรการ
1.จะต้องกำหนดบทบาทของบุคลากรให้ชัดเขน ให้ทุกคนทราบว่าหน่วยงานมีความหวังให้ตนทำอะไร
2.สมาชิกมีอิสระในการริเริ่มงาน เพื่อการปฏิบัติงานด้วยความเชื่อมั่น ภูมิใจในความสำเร็จของงาน
ความหมาย
ความพึงพอใจร่วมกันของคนทำงานแต่ละคนที่ได้รับจากงานของเพื่อมร่วมงานและสภาพการทำงานต่างๆ และหมายรวมถึงเจตคติของผู้ปฏิบัติงานที่นำไปสู่ขวัญกำลังใจของกลุ่ม ซึ่งขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงานสูงจะทำให้เกิดความสนใจในงาน เชื่อมั่น และศรัทธาในองค์กรแรงจูงใจที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพโรงงพยาบาลเอกชนในจังหวัดสมุทรปราการ (วัชระ ยี่สุ่มเทศ, 2562)
วิธีการ
1.สร้างความเข้าใจและพอใจในวัตถุประสงค์ของหน่วยงานร่วมกัน
2.แบ่งงานให้เหมาะสม โดยให้ทุกคนได้ใช้พลังและความสามารถอย่างเต็มที่
3.มีการนิเทศงานสม่ำเสมอและใกล้ชิด
4.สัมพันธภาพระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกันดี
5.สร้างมาตรฐานใหนการวัดความสำเร็จของงานอย่างเที่ยงธรรม
6.เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ระบายความรู้สึก ชี้แจงข้อขัดข้องในการทำงาน
การบริหารจัดการความเสี่ยง
และความปลอดปลอดภัยในหอผู้ป่วย
เป้าหมาย
(สันต์ฤทัย, 2564)
มีการรองรับคุณภาพโรงพยาบาลและคุณภาพการพยาบาล
บุคลากรมีการปฏิบัติงานตามมาตรฐานได้อย่างปลอดภัย
การฏิบัติงานและพัฒนาระบบคาวมาปลอดภัยให้มีคุณภาพ
บุคคลากรมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน
แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงและความปลอดภัยในหอผู้ป่วย
(สันต์ฤทัย, 2564)
การจัดหาและพัฒนา
บุคคลากร (Staffing)
จัดหา ประเมินความสามรถ และพัฒนาบุคคลการให้มี่ความสามารถในการทำงานได้อย่างเหมาะสม และมีสัมพันธภาพในระหว่างการทำงาน
การอำวยการ (Leading)
การควบคุมและนิเทศงาน ตลอดจนการใช้ทักษะต่างๆในการบริหารงาน เช่น ความเป็นผู้นำ มนุษย์สัมพันธ์ และการติดต่อสื่อสารเป็นต้น
การจัดองค์กร (Organize)
การจัดแบ่งส่วนงานเป็นฝ่าย หรือแผนก ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
ดูแลวิธีการจัดการและการปฏิบัติงานให้อยู่บนองค์ความรู้ในเรื่องของความปลอดภัย และเป็นไปตามมาตรฐานสากล
การควบคุมประเมินผล
(Controlling)
ควบคุมให้แผนงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ และประเมินคุณภาพของการปฏิบัติงาน
การวางแผน (Planning)
เป็นการคิดหรือเตรียมการหรือเตรียมแผนงาน
ไว้ล่วงหน้า ว่าจะทำอะไรในอนาคต
ประโยชน์(สันต์ฤทัย, 2564)
(คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
เป็นการลดปริมาณต้นทุนความเสี่ยงทางสังคม
ลดโอกาสและปริมาณความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
เป็นการรองรับคุณภาพโรงพยาบาลและคุณภาพการพยาบาลของบุคลากร
กระบวนการการบริหารความเสี่ยง
(คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
ประเมินผลการกำกับดูแล
เลือกวิธีการจัดการความเสี่ยง
จัดทำคู่มือบริหารความเสี่ยง
การประเมินมูลค่าความเสี่ยง
การค้นหาความเสี่ยงและระบุความเสี่ยง
การสร้างความมีส่วนร่วมของคนในองค์กร
การทำงานเป็นทีม
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของทีม
ลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
กัญจน์ชยารัตน์ และลัดดาวัลย์ (2561) กล่าวว่า ต้องมี การกระจายหน้าที่ความรับผิดชอบจากหัวหน้าหอผู้ป่วยไปยังหัวหน้าทีม พยาบาลหัวหน้าทีมเปลี่ยนความรับผิดชอบจากให้การพยาบาลด้วยตนเอง เป็นการนิเทศ รวมถึงการประชุมปรึกษา (pre-post conference) หาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน มีการประชุมเพื่อหาแนวทางใหม่ๆ ในการปฏิบัติงาน
การเข้าใจบทบาทของตนเองและเพื่อนร่วมทีมงาน
การมีปฏิสัมพันธ์ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
วิธีการทำงาน
เป้าหมายของทีมควรมีความสอดคล้องกับเป้าหมายส่วนตัวของสมาชิก
ระบบการให้รางวัล
ความไว้วางใจกัน
บรรยากาศ/สภาพแวดล้อม
เป็นกันเอง
ตามแนวคิดของ French & Bell (1984) อ้างใน James (2005) กล่าวว่า ทีมที่มีประสิทธิผลนั้น จะต้องมีบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ไม่เป็นทางการ ง่ายต่อการประสานงาน บุคลากรมีส่วนร่วมแสดงความรู้สึกและความคิดเห็นร่วมกัน และรู้สึกเป็นเจ้าของ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพของพยาบาลวิชาชีพ รพ.แพร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หมายความว่า การปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะมีลักษณะการทำงานเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ
การเลือกสมาชิกเข้าร่วมทีม
หลักการ
การสร้างทีมงานที่ดี โดยหัวหน้าทีมงานจะต้องพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ของบุคลากรที่จะเข้ามาร่วมงาน และสร้างทีมงานด้วยความสามารถหรือจุดเด่นของแต่ละคน
ตรงไปตรงมา จริงใจต่อกัน และให้การสนับสนุนกัน
สร้างเป้าหมายร่วมกัน ซึ่งจะต้องเข้าใจในเรื่องเดียวกัน
เพิ่มความสนิทสนม สานสัมพันธ์ และมีการทํางานร่วมมือกันเป็นอย่างดี
เข้าใจการทำงานของตนเอง และคนอื่น
มีเป็นผู้นำที่ดี และผู้ตามต้องมีวินัย
การวิเคราะห์ความจําเป็นที่บุคลากรในหน่วยงานนั้นจําเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการปฏิบัติงาน เช่น ก่อให้เกิดผลงานอันเป็นของหน่วยงานนั้น
ความหมาย
หมายถึง ความร่วมมือในการปฏิบัติงานตามเป้าหมายขององค์การ โดยสมาชิกทีมมีการประสานงานสัมพันธ์กันอย่างดี ตั้งแต่กำหนดเป้าหมาย วิธีการทำงาน การปฏิบัติงาน และการประเมินผลงาน
ประโยชน์
สมาชิกในทีมได้เรียนรู้และพัฒนาตัวเองจากการแลกเปลี่ยนและช่วยเหลือกันภายในทีม
ทำให้มีความคิดเห็นและไอเดียที่หลากหลาย ช่วยให้งานที่ทำเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพมากกว่า
ดำเนินงานได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพ
สร้างการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ช่วยให้เกิดรู้รักสามัคคี ระหว่างสมาชิกในทีมงาน ในการทำงาน และ สร้างพลังในการทำงาน
มีแรงจูงใจในการทำงาน สร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์
ช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่ต้องการขององค์กร
การนิเทศ ตรวจสอบ ประเมินผล
อ้างอิง : การให้คำปรึกษาทางสุขภาพ วารสารพยาบาลตำรวจ
ความหมาย
Supervision ( super + video )
เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อให้งานประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ โดยมีผู้นิเทศเป็นผู้ที่คอยช่วยเหลือ ให้ความรู้ แนะนำ กระตุ้น สนับสนุนและให้บริการที่จำเป็นแก่บุคลากร เพื่อความเจริญก้าวหน้า มีการพัฒนาตนเองในการทำงาน โดยเปิดโอกาสให้ได้มีการกำหนดวัตถุประสงค์และวางแผนงานของตนเอง เพื่อให้งานมีผลดี และบุคลากรได้พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพด้วย
วิธีการ
นิเทศอย่างใกล้ชิด (close supervision) คือ การติดตาม ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานของบุคลากรคนใดคนหนึ่งอย่างใกล้ชิด
นิเทศแบบทั่วไป (general supervision) จะไม่ติดตามดูแลใกล้ชิดแต่จะอยู่ห่างๆ ให้คำแนะนำเป็นบางโอกาส
ความสำคัญ
ช่วยประสานความเข้าใจระหว่างฝ่ายผู้บริหารและฝ่ายผู้ปฏิบัติการพยาบาล ในการนิเทศทางการพยาบาล ผู้นิเทศเปรียบเสมือนบุคคลผู้อยู่ตรงกลาง
ช่วยพัฒนาบุคลากรทางการพยาบาล
ช่วยสนับสนุนบุคลากรทางการพยาบาลให้ปฏิบัติการพยาบาลได้สำเร็จตามเป้าหมาย
หลักการ
ดำเนินการนิเทศงานการพยาบาลครบทุกขั้นตอนและเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
ยึดหลักการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆของกระบวนการนิเทศ
ศึกษานโยบายการดำเนินงานของหน่วยงาน
ทำการนิเทศหรือทำการพัฒนาผู้ได้รับการนิเทศ ณ . แหล่งที่ปฏิบัติงานนั้น ๆ
ศึกษาสายงานการบังคับบัญชาของหน่วยงาน
การคาดหวังเป็นสิ่งที่ผู้นิเทศต้องวางเป้าหมายในการนิเทศว่าต้องการให้บรรลุในเรื่องใดบ้าง
ประเภท (โรงพยาบาลวชิรบารมี, 2560)
การนิเทศทางการบริหาร (Management Supervision)
ความหมาย
การนิเทศที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารจัดการ เพื่อติดตาม ประเมินผลการนำนโยบาย มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติต่างๆที่ได้กำหนดไว้ลงสู่ การปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพในทุกหน่วยบริการพยาบาลที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกลุ่มการพยาบาล โดยผู้บริหารการพยาบาล ทีมนำทางการพยาบาล และผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้นิเทศ
การนิเทศทางคลินิก (Clinical Supervision)
ความหมาย
การนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะและ คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาล โดยเน้นศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ สมรรถนะ ทักษะ ความรู้ที่จ าเป็น เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหัวหน้างาน พยาบาลผู้ช่วยหัวหน้างาน และพยาบาล ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานนั้นๆ การนิเทศเพื่อส่งเสริมสมรรถนะและ คุณภาพการปฏิบัติงานของพยาบาล โดยเน้นศักยภาพ ความเชี่ยวชาญ สมรรถนะ ทักษะ ความรู้ที่จ าเป็น เพื่อให้พยาบาลปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหัวหน้างาน พยาบาลผู้ช่วยหัวหน้างาน และพยาบาล ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในงานนั้นๆ ทำการนิเทศการพยาบาล ในหน่วยบริการพยาบาลในเรื่อง
การให้คำปรึกษา
ความหมาย
กระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อาศัยการสื่อสารสองทาง ระหว่างบุคคลหนึ่งในฐานะผู้ให้การปรึกษา(counselor ) ซึ่งทำหน้าที่เอื้ออำนวยให้อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็น ผู้รับการปรึกษา ( client ) ได้สำรวจและทำความเข้าใจ สิ่งที่เป็นปัญหา และแสวงหาหนทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง
ประโยชน์
ได้ข้อมูลรอบด้านที่เป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ
มีหลักและแนวทางในการแก้ไขปัญหา
เอื้ออำนวยให้ผู้มีปัญหาได้สำรวจปัญหาของตนเอง
การบริหารความเสี่ยง (Risk management)
ความเสี่ยง คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวัง มีโอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียหรือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การบาดเจ็บ ความเสียหาย เหตุร้าย การเกิดอันตราย สูญเสียทรัพย์สิน สูญเสียชื่อเสียง ภาพลบขององค์การ และบุคลากร เกิดความไม่แน่นอน การไม่พิทักษ์สิทธิหรือศักดิ์ศรีหรือเกิดความสูญเสียจนต้องมีการชดใช้ค่าเสียหาย (วัลลภา คชภักดี, 2560 )
เหตุการณ์พึงสังวรณ์ (Sentinel Event) หมายถึง เหตุการณ์สําคัญรุนแรงและไม่พึงประสงค์ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดหมายที่อาจเกิดขึ้นได้ มีผลต่อ ชีวิต ร่างกาย การสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะของผู้ปุวย ทรัพย์สินหรือมีผลกระทบต่อชื่อเสียงของโรงพยาบาล ตามที่โรงพยาบาลกําหนด 11 รายการ(วัลลภา คชภักดี, 2560 )
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse Event) หมายถึง อันตรายที่ผู้ป่วยได้รับ ซึ่งเกิดจากการรักษาและไม่ได้เป็นผลสืบเนื่องมาจากโรคหรือความผิดปกติเดิม ของผู้ป่วย อันตรายดังกล่าวส่งผลให้ระยะเวลาการรักษานานขึ้น นอนโรงพยาบาลนานขึ้นหรือเกิดความพิการตามมา ลักษณะของสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ได้แก่ การบาดเจ็บ เหตุร้าย ภัยอันตราย การคุกคามก่อให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคง ความไม่แน่นอน การถูกเปิดเผย เป็นต้น (วัลลภา คชภักดี, 2560 )
ประเภท
ความเสี่ยงทั่วไป (Non Clinic Risk )
ความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะประสบกับความสูญเสียหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ปุวย
เช่น สิ่งแวดล้อม อัคคีภัย เครื่องมือ ข้อร้องเรียน เป็นต้น
ระดับความรุนแรงความเสี่ยงทั่วไป
. รุนแรงปานกลาง (Moderate Risk)
รุนแรงสูง (High Risk)
รุนแรงน้อย (Low Risk)
เกือบพลาด ( Near Miss)
ความเสี่ยงทางคลินิก (Clinical Risk)
ความเสี่ยงทางคลินิกทั่วไป (Common Clinical Risk)
เหตุการณ์หรือการดูแลรักษาที่อาจเกิดอันตรายหรือเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์กับผู้ปุวยทั่วไปรายใดก็ได้ไม่
จําเพาะโรค
ความเสี่ยงเฉพาะโรค (Specific Clinical Risk)
ความเสี่ยงใดๆที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ปุวยและอาจเกิดภาวะไม่พึงประสงค์หรือเสียชีวิตโดยระบุจาเพาะ
โรคและภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับโรคนั้นๆ
ระดับความรุนแรงความเสี่ยงทางคลินิก
E ต้องให้การรักษา
F ต้องเสียเวลานอน
นาน
D ต้องเฝูาระวังไว
G ต้องพิการถาวร
C ถึงแต่ไม่เป็นไร
H ต้องช่วยชีวิต
B เกิดแต่ยังไม่ถึง
I เสียชีวิต
A เสี่ยงแต่ยังไม่เกิด
ขั้นตอนการบริหารความเสี่ยง
การประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk Assessment)
จัดการความเสี่ยง (Action to Manage Risk)
การค้นหาความเสี่ยง (Risk Identification)
มาตรฐานสากลของโรงพยาบาล (โรงพยาบาลวิภาวดี, 2562)
JCI
(Joint Commission International)
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ และความปลอดภัยในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยให้กับสถานพยาบาลต่างๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
การตรวจประเมิน
เพื่อพิจารณารับรองสถานพยาบาลตามมาตรฐาน JCI นั้น ครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการองค์กร ทิศทางและภาวะผู้นำ ระบบโครงสร้างความปลอดภัยทางกายภาพ ระบบการรองรับภาวะฉุกเฉิน ระบบการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ ระบบการสื่อสารและสารสนเทศ ระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ระบบคุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย รวมไปถึงการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการดูแลรักษาตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามาในโรงพยาบาล จนกระทั่งผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย การให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคและอาการที่เป็น ตลอดจนการปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อให้กระบวนการดูแลรักษาเกิดผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย
มาตรฐาน HA (Hospital Accreditation)
“มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี”
ข้อกำหนดสำคัญมาตรฐาน
มาตรฐานการสร้างเสริมสุขภาพ
เกณฑ์บริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ
มาตรฐานการดูแลผู้ป่วย
รับรองคุณภาพสถานพยาบาลของประเทศไทย ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล